เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

อ้างอิงรูป : http://www.9engineer.com

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

อ้างอิงรูป : http://www.motorival.com

ความแตกต่างของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซล


  • ข้อแตกต่าง

การส่งเชื้อเพลิงและการจุดระเบิด

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

น้ำมันและอากาศ จะถูกผสมกันนอกกระบอกสูบในคาร์บูเรเตอร์และท่อไอดี และส่วนผสมนั้นจะถูกดดูเข้าไปในกระบอกสูบในจังหวะดูด และจะถูกอัดในจังหวะอัด จากนั้น จะถูกจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน และเกิดการเผาไหม้

  • เครื่องยนต์เล็กดีเซล

เฉพาะอากาศอย่างเดียวที่จะถูกอัดเข้าไปในกระบอกสูบในจังหวะอัดอากาศจะมีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น จากนั้น หัวฉีดจะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบ เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่มีความดันและอุณหภูมิที่สูงอยู่แล้ว ก็จะเกิดการระเบิดหรือเผาไหม้


  • ข้อแตกต่าง

อัตราส่วนกำลังอัด

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนมีอัตราส่วนกำลังอัดที่ต่ำ เพราะใช้ประกายไฟจากหัวเทียนในการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ หากน้ำมันที่ผสมกับอากาศ ถูกอัดด้วยอัตราส่วนที่สูง จะเกิดการจุดระเบิดก่อนที่จะเกิดประกายไฟจากหัวเทียน “ผิดจังหวะการเคลื่อนที่ของลูกสูบ” กลายเป็นแรงดันที่สวนทางการเคลื่อนที่ของลูกสูบ “ลูกสูบน็อค”

  • เครื่องยนต์ดีเซล

เครื่องยนต์ดีเซลมีกำลังอัดที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดการจุดระเบิดในจังหวะอัด ทำในกระบอกสูบมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีพอที่จะจุดระเบิดด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดโยหัวฉีดเข้าไปในกระบอกสูบ


  • ข้อแตกต่าง

การออกแบบส่วนประกอบเครื่องยนต์

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียนไม่ต้องมีกำลังสูง ส่วนประกอบของเครื่องยนต์จึงไม่ต้องแข็งแรงเท่าไหร หรือทดต่อความร้อนสูงมากนัก จึงทำให้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะมีน้ำหนักเบา และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ

  • เครื่องยนต์ดีเซล

เครื่องยนต์ดีเซลจุดระเบิดด้วยกำลังอัดและความร้อนสูง ดังนั้นส่วนประกอบของเครื่องยนต์จำเป็นต้องมีความแข็งแรง และทนความร้อนได้สูง จึงทำให้ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ มีน้ำหนักมาก และมีต้นทุนการผลิตสูง


  • ข้อแตกต่าง

น้ำมันเชื้อเพลิง

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะใช้น้ำมันเบนซิน หรือแก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงแต่มีปริมาณอะตอนของไฮโดรเจนภายในโมเลกุลน้อยกว่า จึงในพลังงาน “แรงฉุด” ที่น้อยกว่า และมีอุณหภูมิในการจุดติดไฟที่สูง (ติดไฟง่าย ไวไฟ)

  • เครื่องยนต์ดีเซล

เครื่องยนต์ดีเซล ใช้น้ำมันดีเซลหรือโซลาร์เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งน้ำมันชนิดนี้มีปริมาณอะตอนของไฮโดรเจนภายในโมเลกุลที่มากกว่าจึงให้พลังงานที่มากกว่า แต่มีอุณหภูมิในการจุดติดไปต่ำ (ไม่ติดไฟง่าย)


  • ข้อแตกต่าง

ความประหยัดเชื้อเพลิง

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเปลืองกว่า และมีราคาแพง

  • เครื่องยนต์ดีเซล

ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่า และราคาน้ำมันที่ถูก


  • ข้อแตกต่าง

ระยะเวลาในการใช้งานก่อนการบำรุงรักษา และการทำงานที่สม่ำเสมอ

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

ระยะเวลาในการทำงานที่เสถียรที่สั้น จึงต้องทำการบำรุงรักษาที่เร็ว และความสม่ำเสมอในการทำงานมีน้อย

  • เครื่องยนต์ดีเซล

ระยะเวลาในการทำงานที่เสถียรที่นาน ต้องทำการบำรุงรักษาไม่บ่อย และความสม่ำเสมอในการทำงานมีมาก


  • ข้อแตกต่าง

ระยะเวลาก่อนที่จะเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น และประสิทธิภาพของเครื่องยนต์

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

เกิดการทำงานที่ไม่สม่ำเสมอ จะต้องเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นให้ตรงเวลา

  • เครื่องยนต์ดีเซล

เครื่องยนต์ยังสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ และมีประสิทธิภาพคงที่


  • ข้อแตกต่าง

น้ำหนักต่อแรงม้า อัตราเร่ง และจำนวนรอบสูงสุดต่อนาที

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

มีน้ำหนักเบากว่า มีความคล่องตัวสูง และมีอัตราเร่งสูง จึงทำให้จำนวนรอบมีมาก

  • เครื่องยนต์ดีเซล

มีน้ำหนักมากว่า อัตราการเร่งต่ำกว่า จำนวนรอบน้อย แต่มีแรงฉุดมาก


  • ข้อแตกต่าง

ราคาเครื่องยนต์

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

มีราคาที่ถูกกว่า

  • เครื่องยนต์ดีเซล

มีราคาที่แพง


  • ข้อแตกต่าง

การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิต่ำ

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

สตาร์ทติดง่ายที่อุณหภูมิที่ต่ำ

  • เครื่องยนต์ดีเซล

สตาร์ทติดยากที่อุณหภูมิที่ต่ำ


  • ข้อแตกต่าง

อุณหภูมิในการเผาไหม้ในกระบอกสูบ

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

มีอุณหภูมิในการจุดระเบิดในกระบอกสูบ ประมาณ 2000-2500 องศาเซลเซียส

  • เครื่องยนต์ดีเซล

มีอุณหภูมิในการจุดระเบิดในกระบอกสูบ ประมาณ 2500-3000 องศาเซลเซียส


  • ข้อแตกต่าง

อุณหภูมิไอเสียที่เครื่องยนต์ปล่อยออก

  • เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

อุณหภูมิไอเสียที่เครื่องยนต์ปล่อยออก ประมาณ 800-900 องศาเซลเซียส

  • เครื่องยนต์ดีเซล

อุณหภูมิไอเสียที่เครื่องยนต์ปล่อยออก ประมาณ 500-600 องศาเซลเซียส


“หมายเหตุ”

                อุณหภูมิการเผาไหม้ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องดีเซลมีเท่ากัน แต่ไอเสียที่ปล่อยออกมามีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่างเครื่องยนต์เบนซินมีอุณหภุมิของไอเสียที่สูงกว่า แสดงว่าเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนจากการเผาไหม้เป็นประโยชน์มากกว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ดังนั้นเครื่องยนต์ดีเซลจึงประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า และปล่อยมลพิษน้อยกว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซล

เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน

  • ข้อดีเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน
  1. มีการจุดระเบิดมากกว่า 2 เท่า รอบจัด แรงต้นดีกว่า เครื่องยนต์เล็กดีเซล
  2. มีน้ำหนักเบา
  3. มีชิ้นส่วนที่ประกอบเครื่องยนต์น้อย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
  4. ราคาถูก
  • ข้อเสียเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน
  1. มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ
  2. สร้างมลพิษสูง เนื่องจากมีไอเสียปนกับไอดีในกระบอกสูบ และมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ติดออกมากับไอเสีย
  3. สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงค่อนข้างมาก
  4. เครื่องยนต์บางรุ่นต้องผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับน้ำมันหล่อลื่น (2T) หรือไอดี

เครื่องยนต์เล็กดีเซล

  • ข้อดีเครื่องยนต์เล็กดีเซล
  1. แรงมาสูง เครื่องยนต์มีความร้อนสะสมน้อย แรงปลายดีกว่า
  2. เครื่องยนต์เดินเรียน เนื่องจัฃากอัตราความเร็วรอบต่ำ ในประสิทธิภาพในจังหวะดูด และอัดดี
  3. ประหยัดเชื้อเพลิงมาก
  4. ปล่อยมลพิษออกน้อย
  • ข้อเสียเครื่องยนต์เล็กดีเซล
  1. แรงบิดต่ำ รอบไม่จัด
  2. ชิ้นส่วนประกอบของเครื่องยนต์มาก และซับซ้อน ซ่อมบำรุงยาก
  3. มีน้ำหนักมาก
  4. ราคาแพง

วีดีโอข้อดี-ข้อเสียของเครื่องดีเซลและเบนซินหรือแก๊สโซลีน


ความแตกต่างส่วนประกอบของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแลดีเซล

               แม้ชิ้นส่วนประกอบของเครื่องยนต์เบนซินทั้ง 2 และ 4 จังหวะ จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่บางชิ้นส่วนอาจจะทำงานแตกต่างกันออกไป โดยชิ้นส่วนประกอบบางตัวของเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ จะมีการทำงานที่แตกตางจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ดังต่อไปนี้


เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

อ้างอิงรูป : http://www.howvehicleworks.blogspot.com            

      1) ห้องเพลาข้อเหวี่ยงเป็นห้องไอดี ไม่ใช่ห้องใส่น้ำมันหล่อลื่นเหมือนเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ดังนั้นจะต้องมีซีล เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศรั่วซึมออก กำลังของเครื่องยนต์จะตกทันที และจะสตาร์ทเครื่องยนต์ติดยากมาก

          2) ห้องเผาไหม้ (กระบอกสูบ) จะมีห้องบรรจุไอดี ส่วนห้องไอเสียจะเป็นรูทะลุผนังห้องเผาไหม้

                3) หัวลูกสูบจะมีสันนูน เพื่อบังคับทิศทางการไหลของไอดี และช่วยขับไล่ไอเสียได้ดี

             4) แหวนลูกสูบจะไม่มีน้ำมันหล่อลื่น โดยปากแหวงจะเว้าตามเดือยสลักกัน และสะดุดช่องกระบอกสูบ

                5) สลักลูกสูบมีลักษณะตันตรงกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ไอดีไหลผ่านได้

                6) เพลงข้อเหวี่ยงถูกออกแบบให้สามารถถอดแยกชิ้นได้ เนื่องจากต้องประกอบลูกปืนเข้าก้านสูบ

คำแนะนำในการเลือกใช้เครื่องยนต์

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

อ้างอิงรูป : http://www.truck2hand.com

                   ในการเลือกซื้อเครื่องยนต์ หากเครื่องยนต์มีซีซีเท่ากัน ควรเลือกที่มีแรงบิดที่รอบต่ำ จะทำให้ประหยัดนำมันมากกว่า และในลักษณะเดียวกันควรเลือกเครื่องยนต์ที่มีแรงมากสูงสุดที่รอบต่ำ จะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ที่มีแรงม้าสูงและรอบที่สูง

ปัยจัยที่มีผลต่อสมรรถนะเครื่องยนต์

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

อ้างอิงรูป : http://www.thairath.co.th

เครื่องยนต์จะมีสมรรถนะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญหลายประการ ดังนี้

  • กำลังอัดในกระบอกสูบของเครื่องยนต์
  • จังหวะการจุดระเบิดหรือองศาการจุดระเบิด
  • อัตราส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง
  • น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ต้องมีออกเทนถูกต้อง
  • อัตราส่วนการอัด
  • ความจุของกระกอบสูบ
  • ประสิทธิภาพในการดูดไอดี

องค์ประกอบเหล่านี้ต้องได้ค่าตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ หากองค์ประกอบใดมีค่าที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ลดลง


วิธีการอ่านค่าน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์

เครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้พลังงานใด

อ้างอิงรูป : http://www.taradfilter.com