ใคร เป็น บุคคล สำคัญ ที่สุด ในการประเมิน การแสดงละคร

หน่วยที่ ๓ เรื่องละครไทย

ละครไทยจะต้องมีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรูปแบบ ในการสื่อความหมายในการแสดง ละครไทย มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในแต่ละยุค

หน่วยที่ 4 เรื่องการชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง

การชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง จะต้องวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร ตลอดจนพัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินการแสดง

คุณลักษณะนี้ถูกปิดใช้งานโดยผู้ดูแล

Lesson: บุคคลสำคัญในวงการละครของไทย

  • Overview
  • Exercise Files

About Lesson

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๘
  • เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๖
  • ผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวอิเหนา นางดรสา พระพิราพ นางเมขลา ไชยเชษฐ์ พระไวย ไกรทอง มีฝีมือการรำเป็นเลิศ เชี่ยวชาญเพลงอาวุธทุกชนิด เช่น กระบี่ ทวน กริช เป็นต้น
  • ผลงานด้านประดิษฐ์ชุดการแสดง ประเภทรำ ได้แก่ อิเหนาฉายกริช มโนห์ราตอนบูชายัญ และได้ประดิษฐ์ท่ารำร่วมกับครูลมุล ยมะคุปต์ ได้แก่ รำพม่าไทยอธิษฐาน รำลาวไทยปณิธาน ลาวกระทบไม้

ครูรงภักดี (เจียร จำรุจรณ)

  • ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๙
  • เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒
  • เมื่ออายุ ๑๓ ปี ที่กรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ ๖ ต่อมาเข้ารับราชการเป็นศิลปินในกรมมหรสพ
  • สมัยรัชกาลที่ ๗ มีหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์โขน
  • มีความสามารถในการรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นนาฏศิลป์สูงสุดได้
  • เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรงภักดี ประกอบพิธีครอบองค์พระ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นครั้งที่ ๒ โดยให้ศิลปินต่อท่ารำจากภาพยนตร์ ที่พระองค์บันทึกท่ารำของครูรงภักดีไว้

Exercise Files

No Attachment Found

หน่วยที่ ๓ เรื่องละครไทย

ละครไทยจะต้องมีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรูปแบบ ในการสื่อความหมายในการแสดง ละครไทย มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในแต่ละยุค

หน่วยที่ 4 เรื่องการชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง

การชม วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง จะต้องวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร ตลอดจนพัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินการแสดง

คุณลักษณะนี้ถูกปิดใช้งานโดยผู้ดูแล

   
ใคร เป็น บุคคล สำคัญ ที่สุด ในการประเมิน การแสดงละคร
 

การประเมินคุณภาพของการแสดง

ใคร เป็น บุคคล สำคัญ ที่สุด ในการประเมิน การแสดงละคร


           การประเมินคุณภาพการแสดง  จะทำให้เข้าใจการแสดงและองค์ประกอบต่างๆ ในการแสดมากขึ้น  การประเมินคุณภาพของการแสดงจุต้องพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้
  ๑. คุณภาพด้านการแสดงการประเมินคุณภาพด้านการแสดง  จะต้องประเมินจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในการแสดง  เช่น  ผู้กำกับการแสดงจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกบทละคร  เลือกตัวละครในการแสดง  หรือผู้แสดงจะต้องมีบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง มีความตั้งใจ รับผิดชอบในการแสดงและมีความสามารถในการแสดง  การแสดงที่ดีมีคุณภาพนั้นจะเกิดขึ้นได้  จากการร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการจัดการแสดง  ทำให้การแสดงประสบความสำเร็จเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่รับชม
    ๒. คุณภาพด้านองค์ประกอบของการแสดง  การประเมินคุณภาพด้านการแสดงจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเพื่อที่จะประเมินคุณภาพได้อย่างถูกต้อง  องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการแสดงมีดังนี้
  ๒.๑ นาฏกรรม คือ งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การแสดงท่าทาง หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราวในละครหรือโขน ซึ่งจะประกอบด้วยลีลาการแสดงของนักแสดงหรือตัวละคร ตลอดจนท่าทางการร่ายรำ และการเคลื่อนไหวต่างๆ ในการแสดงนาฎศิลป์ให้ออกมาอ่อนช้อยงดงาม และสื่อถึงอารมณ์ของการแสดงออกนั้นได้ด้วย
  ๒.๒ ดนตรี คือ เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง หรือเครื่องบรรเลงที่มีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณืรัก โศกเศร้า รื่นเริงได้ตามทำนองเพลง ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่สำคัญในการแสดง โดยดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดงนาฏศิลป์และละครนั้น มีทั้งเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า ประกอบกันไปตามความเหมาะสมของรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์และละครประเภทต่างๆ โดยเฉพาะวงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นที่นิยมในการนำมาบรรเลงประกอบการแสดงละครหรือโขน
  ๒.๓ วรรณกรรม  คือ  งานประพันธ์ที่เป็นเรื่องราวโดยใช้ภาษาเป็นสื่อ  ให้ผู้ชมการแสดงเกิดจินตนาการหรืออารมณ์  ตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการให้เกิดขึ้นจากบทละครที่เขียนให้ตัวละครแสดงออกมา  ซึ่งนับเป็นความงามที่เกิดขึ้นจากการประพันธ์วรรณกรรม  ทางด้านบทละครและบทภาพยนตร์ ประกอบด้วยงานเขียนทั้งร้อยแล้วและร้อยกรองที่มีการสัมผัสคล้องจอง  การเล่นคำและเล่นเสียงสูงต่ำ  เสมือนเสียงดนตรีจากการพูดและแสดงอารมณ์ตามบทพูด  ในการแสดงนาฏศิลป์หรือละครเรื่องนั้นๆ
  ๒.๔ จิตรกรรม คือ ศิลปะการวาดหรือวาดภาพที่แสดงความรู้สึกและถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ งานนาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับงานจิตรกรรม มีดังนี้ การตกแต่งฉากละครให้วิจิตรงดงามตามสถานการณ์ในบทละคร การเขียนลวดลายในเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้านักแสดง การนำเรื่องราวจากภาพจิตรกรรม เช่น พุทธประวัติ ชาดก หรือเรื่องจากวรรณคดีมาสร้างเป็นบทละคร เช่น เรื่องอิเหนา พระอภัยมณี หรือขุนช้างขุนแผน ซึ่งต้องมีในบทละคร
  ๒.๕ ประติมากรรม คือ ศิลปะการปั้น การแกะสลัก  และการหล่อรูปต่างๆ  งานนาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับงานประติมากรรม มีดังนี้ การสร้างเครื่องแต่งกายและอุปกรร์การแสดงต่างๆ เช่น การสร้างหัวโขน เครื่องประดับตกแต่งเวทีที่เป็นรูปหล่อ รูปปั้น และงานแกะสลักต่างๆ เป็นต้น ซึ่งงานประติมากรรมในการแสดงนาฏศิลป์จะมีลักษณะเป็นนูนต่ำ นูนสูง หรือภาพลอยตัว ที่ให้ความรู้สึกและสะท้อนอารมณ์  ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในบทละครเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้ชมการแสดงเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดง
    ๒.๖ สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะแห่งการก่อสร้างในงานนาฏศิลป์ ได้แก่ การสร้างฉากและเวทีการแสดง โดยฉากการแสดง หมายถึง การจำลองสถานที่ตามสถานการณ์ของเรื่องราวในการแสดงนาฏศิลป์  ที่จะช่วยกำหนดสถานที่  บ่งชี้ยุคสมัย  ให้บรรยากาศและการแสดงเกิดความสมจริง   ส่วนเวทีที่ใช้เป็นสถานที่ในการแสดงนาฏศิลป์ต้องมีขนาดรูปร่าง  และการออกแบบที่เหมาะสมกับรูปแบบและประเภทของการแสดงนาฎศิลป์  ให้ผู้ชมดูการแสดงได้ชัดเจน  รูปแบบเวทีการแสดงประกอบด้วย  เวทีดูได้ด้านเดียว  สองด้าน  สามด้าน  สี่ด้าน  และเวทีแบบประเพณีนิยม  โดยการก่อสร้างแกและเวทีการแสดงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์ประกอบต่างๆ ของนาฎศิลป์  จะช่วยเสริมสร้างให้การแสดงนาฏศิลป์และละครมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ใคร เป็น บุคคล สำคัญ ที่สุด ในการประเมิน การแสดงละคร

   
ใคร เป็น บุคคล สำคัญ ที่สุด ในการประเมิน การแสดงละคร