ประเภท ภาวะ ผู้นำ การเปลี่ยนแปลง

  • หน้าแรก

  • Articles All

  • People Management

  • Talent Management

  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

     ผู้นำ คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์ก

     ภาวะผู้นำ คือพลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์

ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้

     1. ใฝ่รู้

     2. คิดสร้างสรรค์

     3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์

     4. ทุนทางปัญญา

     5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

     ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการผันผวนในทุกๆด้าน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรฝ่าวิกฤตยืนหยัดไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไปได้ ซึ่ง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1. ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ (Charismatic – Inspirational Leadership)
     ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะแสดงออกด้วยการเป็นแม่แบบที่เข้มแข็งให้ผู้ตามได้เห็นตาม เกิดการรับรู้ในพฤติกรรมของผู้นำ ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผู้นำขึ้น นอกจากนี้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังมีพฤติกรรมปฏิบัติที่มีมาตรฐานทางศีลธรรม และศีลธรรมสูงจนเกิดการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทำให้ได้รับความศรัทธา ความไว้วางใจ การยอมรับ นับถืออย่างลึกซึ้งจากผู้ตามพร้อมได้รับความไว้วางใจอย่างสูงอีกด้วย แต่ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าผู้ตามจะเกิดความชื่นชมและศรัทธาแล้วก็ตาม เพราะยังไม่เกิดแรงจูงใจที่สูงพอที่จะเปลี่ยนความยึดติดผลประโยชน์ของตนไปเป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมซึ่งค่อนข้างมีลักษณะเป็นนามธรรม ดังนั้น ผู้นำจะต้องแสดงออกด้วยการสื่อสารให้ผู้ตามทราบถึงความคาดหวังที่ผู้นำมีต่อผู้ตามด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ให้ยึดมั่นและร่วมสานฝันต่อวิสัยทัศน์ขององค์การ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายแทน การทำเพื่อประโยชน์เฉพาะตน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นผู้ที่ส่งเสริมน้ำใจแห่งการทำงานเป็นทีม ผู้นำจะพยายามจูงใจผู้ตามให้ทำงานบรรลุเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการสร้างจิตสำนึกของผู้ตามให้เห็นความสำคัญว่า เป้าหมายและผลงานนั้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จได้

2. ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation)
 
     เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกด้วยการกระตุ้นให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยใช้วิธีการคิดทวนกระแสความเชื่อและค่านิยมเดิมของตนหรือผู้นำหรือองค์การ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะสร้างความรู้สึกท้าทายให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม มองปัญหาเป็นโอกาส และจะให้การสนับสนุนหากต้องการทดลองวิธีการใหม่ ๆ ของตน หรือการริเริ่มสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ให้กับองค์การ ส่งเสริมให้ผู้ตามแสวงหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองเปิดโอกาสให้ผู้ตามได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้ทุกคนได้ทำงานอย่างอิสระในขอบเขตของงานที่ตนมีความรู้ความชำนาญ 

3. ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) 
     เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ให้ความสำคัญในการใส่ใจถึงความต้องการความสำเร็จและโอกาสก้าวหน้าของผู้ตามเป็นรายบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลบางคนอาจต้องดูแลใกล้ชิด ในขณะที่บางคนมีความรับผิดชอบสูงอยู่แล้ว จะให้อิสระในการทำงาน เป็นต้น โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาทเป็นครู พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการช่วยเหลือผู้ตามให้พัฒนาระดับความต้องการของตนสู่ระดับที่สูงขึ้น สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ส่งเสริมการเรียนรู้และความมั่นใจให้แก่ผู้ตามเพื่อให้ทำงานได้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ     ภาวะทั้ง 3 องค์ประกอบ จะหลอมรวมพลังกาย พลังใจ พลังปัญญา ของคนทั่วทั้งองค์กร ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใคร ก็ต้องเก่งพอ และ ดีเพียงพอที่จะเป็นแบบอย่าง
          

ย้ำนะครับ เก่ง และ ดี นะครับ!!!

ที่มา :http://masterly.igetweb.com 

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership) เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในตัวบุคคล โดยผู้นำจะมุ่งเน้นให้ผู้ตามเกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยม คุณธรรม มาตรฐาน และการมองการณ์ไกลในอนาคต ทั้งนี้ Bass & Avolio ได้เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และจำแนกพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 องค์ประกอบ (สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์, 2548) ได้แก่
1. อุดมการณ์ หรือความเสน่หา (Idealized Influence or Charisma) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ตาม ผู้ตามจะรับรู้พฤติกรรมของผู้นำและเกิดการเลียนแบบพฤติกรรม
2. กระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Stimulation) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกด้วยการกระตุ้นให้ผู้ตามเกิดความคิดสร้างสรรค์ ทดลองหาวิธีการใหม่ๆ และแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
3. มุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน (Individualized Consideration) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำมุ่งเน้นการเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี และตอบสนองความต้องการของผู้ตามเป็นรายบุคคล เช่น การให้คำแนะนำและการช่วยเหลือ และการกระจายอำนาจการตัดสินใจ
4. ดลใจ (Inspirational Motivation) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกด้วยการสื่อสารให้ผู้ตามทราบถึงความคาดหวังของผู้นำที่มีต่อผู้ตามด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ตามเข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์การ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และจูงใจให้ปฏิบัติงานเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

เอกสารอ้างอิง
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.

Post Views: 932

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คืออะไร

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership ) หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้นำแสดง ให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการ กระบวนการจัดการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตาม ปฏิสัมพันธ์ที่ผู้นำ และผู้ตามมีต่อกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้อง ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตามและกระตุ้นผู้ตามให้ ...

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีกี่ประเภท

ทั้งนี้ลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปคือ 1) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) เป็นคนกล้าเปิดเผย 3) เป็นคนที่เชื่อมั่นในคนอื่น

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ฮอย และมิสเกล (Hoy and Miskel. 2008 : 121) กล่าวว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. การสร้างวิสัยทัศน์ การถ่ายทอดวิสัยทัศน์และการปลูกฝังค่านิยม 2. การสร้างบารมี 3. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเป็นอย่างไร

คอยพัฒนาอยู่ภายใต้โครงการที่เป็นการ ตอบสนอง (Reactive) มุ่งความสัมพันธ์ความคิดเป็นแบบเปลี่ยนแปลงสิ้นเชิงเกิดขึ้น จากวิกฤติการณ์เป็นลักษณะการริเริ่ม (Proactive) แรงจูงใจ รางวัล (ภายนอก) การเห็นคุณค่า (ภายใน) อานาจ ประเพณีปฏิบัติ ความมีบุคลิกพิเศษ จุดเน้น ผลที่ได้ วิสัยทัศน์ ผู้นา เน้นในกิจกรรม ชี้บทบาทชัดเจน ตระหนักใน