สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่

สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก ( disk ) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

ฟล็อปปี้ดิสก์ ( Floppy disks ) สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับความนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อใช้ได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ ( diskette ) หรือแผ่นดิสก์ การเก็บข้อมูลจะมีจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง

แผ่นดิสก์ในอดีตจะมีขนาดจานบันทึกที่ใหญ่มากถึง 5.25 นิ้ว ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเลิกใช้งานแล้ว จะเห็นได้เฉพาะขนาด 3.5 นิ้วแทน ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่า โครงสร้างการทำงานของแผ่นดิสก์จะต้องมีการจัดข้อมูลโดยการ ฟอร์แมต ( format ) เมื่อใช้ครั้งแรกก่อนทุกครั้ง (ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะมีการฟอร์แมตแผ่นมาตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิตแล้ว (ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตก่อนใช้งานซ้ำอีก)

ฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้กันในปัจจุบัน

การฟอร์แมตเป็นกระบวนการจัดพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลก่อนใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลนั่นเอง โครงสร้างของแผ่นจานแม่เหล็กเมื่อทำการฟอร์แมตแล้วจะมีลักษณะดังนี้

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่

โครงสร้างของดิสก์เมื่อทำการฟอร์แมตแล้ว

• แทรค ( Track ) เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น ซึ่งแผ่นแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุข้อมูลที่จะจัดเก็บต่างกันตามไปด้วย

• เซกเตอร์ ( Sector ) เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วน ๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว เซกเตอร์ก็เปรียบได้เหมือนกับห้องพักต่าง ๆ ที่แบ่งให้คนอยู่กันเป็นห้อง ๆ นั่นเอง แผ่นดิสเก็ตต์ที่พบทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นแบบความจุสูงหรือ high density สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.44 MB ซึ่งเราอาจคำนวณหาความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ได้โดยการเอาจำนวนด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก ( side ) จำนวนของแทรค ( track ) จำนวนของเซคเตอร์ในแต่ละแทรค ( sector/track ) และความจุข้อมูลต่อ 1 เซกเตอร์ ( byte/sector ) ว่ามีค่าเป็นเท่าไหร่ แล้วเอาตัวเลขทั้งหมดมาคูณกันก็จะได้ปริมาณความจุข้อมูลในแผ่นชนิดนั้น ๆ เมื่อเก็บหรือบันทึกข้อมูลแล้วสามารถที่จะป้องกันการเขียนทับใหม่ หรือป้องกันการลบข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น โดยเลือกใช้ปุ่มเปิด – ปิดการบันทึกที่อยู่ข้าง ๆ แผ่นได้ ซึ่งหากเลื่อนขึ้น (เปิดช่องทะลุ) จะหมายถึงการป้องกัน ( write-protected ) แต่หากเลื่อนปุ่มลงจะหมายถึง ไม่ต้องป้องกันการเขียนทับข้อมูล ( not write-protected ) นั่นเอง

ปุ่มป้องกันการบันทึก

การป้องกันการบันทึกข้อมูลในแผ่นดิสก์

แผ่นดิสเก็ตต์จะมีอายุการใช้งานที่มากสุดถึง 7 ปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งข้อแนะนำเพื่อให้แผ่นดิสเก็ตต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นคือ ควรเก็บรักษาแผ่นดิสเก็ตต์ให้มีอายุยาวนานขึ้นคือ ควรเก็บรักษาแผ่นไว้ในอุณหภูมิที่พอเหมาะไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ตลอดจนหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง รวมถึงการเก็บรักษาแผ่นดิสเก็ตต์ไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บที่ปลอดภัย เช่น กล่องหรือถาดเก็บเฉพาะ เป็นต้น

หน่วยความจำสำรองที่อยู่ภายนอกเครื่อง จะช่วยให้เราสามรถเก็บรักษาข้อมูล  เพื่อเก็บไว้ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต  สื่อบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด  ทั้งนี้เนื่องมาจากเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก จึงทำให้สื่อบันทึกข้อมูลมีการพัฒนาตามไปด้วยโดยมีขนาดเล็กลงมีความจุมากขึ้น

                     ปัจจุบันเทคโนโลยีเทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมาก  ทำให้สื่อบันทึกข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  โดยมีขนาดเล็กลงแต่มีความจุในการบันทึกข้อมูลเพิ่มมากขึ้น สื่อบันทึกข็อมูลเป็นหน่วยความจำสำรองซึ่งเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลไว้ตลอดไปหลังจากที่เราได้ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว  หน่วยความจำสำรองจะช่วยให้เราสามรถเก็บรักษาข้อมูลเพื่อเก็บไว้ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต  ทั้งนี้เพราะการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องกระทำกับข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำหลักเท่านั้น  แต่เนื่องจากเนื้อที่ในหน่วยควาจำหลักมีจำกัดหรือมีไม่เพียงพอ  บางครั้งจึงไม่สามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดเอาไว้ได้  ดังนั้นถ้าผู้ใช้ต้องการเก็บข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักไว้อย่างถาวรเพื่อจะได้นำมากลับมาใช้อีกหรือนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ก็จำเป็นต้องถ่ายโอนข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปเก็บไว้ที่สื่อบันทึกข้อมูล หรือหน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) สื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่าง ๆ ที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์มีดังนี้

แผ่นดิสค์ Disk หรือ Floppy Disk

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่

                     เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย  มีราคาไม่แพงนัก  และยังสะดวกต่อการพกพาไปใช้งานยังที่ต่าง ๆ ลักษณะของแผ่นดิสก์เกตต์มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็กห่อหุ้มด้วยซองพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นได้รับการสัมผัสจนเกิดรอยขีดข่วนและเป็นสื่อบันทึกข้อมูล ขนาด 1.44 Mb.หรือประมาณ 1,440,000 ( ตัวอักษร ) ไบท์

 ฮาร์ดดิสค์ Harddisk

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่

                      เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการเก้บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเก็บข็อมูลทั้งหมดตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ  โปรแกรมใช้งาน  และข้อมูลฮาร์ดดิสก์หรือมักมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฟิกซ์ดิสก์ (Fixed Disk) และยังเป็นสื่อบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ ติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้มาก มีขนาดตั้งแต่ 1 Gb. จนถึง 80 Gb .ปัจจุบันอาจมีถึง 100 ถึง 200 Gb.

เมมโมรี่สติกค์ Memory Stick

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่


                   เป็นสื่อบันทึกข้อมูล ที่ใช้ในกล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ
มีขนาดตั้งแต่ 32, 64, 128, 256, 512 ขึ้นไป เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็กมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ

ซีดีรอม CD-Rom

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่


                    เป็นสื่อในการจัดเก็บข้อมูลแบบออปติคัล  ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูลและเป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอ่านได้อย่างเดียว เก็บข้อมูลประเภท  แฟ้มข้อมูลทั่วไป ภาพ เสียง เป็นต้น
มีขนาดตั้งแต่ 500 Mb. - 800 Mb.

แฟลช ไดร์ฟ Flash Drive หรือ แฮนดี้ ไดร์ฟ Handy Drive

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่


                      เป็นสื่อบันทึกข้อมูลขนาดเล็ก ที่ใช้ร่วมกับช่อง USBคอมพิวเตอร์  ปัจจุบันเป็นที่นิยม มีขนาดตั้งแต่ 128, 256 ขึ้นไป บางรุ่น สามารถฟังเพลง MP3 อัดเสียง ฟังวิทยุได้

ซิมการ์ด Sim Card

สื่อบันทึกข้อมูล มี 2. ชนิด ได้แก่

ซิมการ์ดคือ IC card ที่ใส่ไว้ในมือถือทุกเครื่องและสมาร์ทโฟน มันจำหมายเลขของเครื่อง รวมไปถึงเบอร์โทรศัพท์ของเครื่องนั้นๆ และมันเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ / สมาร์ทโฟน