หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนใดที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

องค์ความรู้กฎหมาย:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550

Show

Table of Contents

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

ตราไว้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2550

เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค 2550 พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัตสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสีดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นำความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดำเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสำหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคำนึงพิเศษในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำใหม่นี้มีสาระสำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทำนุบำรุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ

หมวด 1 บททั่วไป

หมวด 2 พระมหากษัตริย์

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

ส่วนที่ 1 บททั่วไป

ส่วนที่ 2 ความเสมอภาค

ส่วนที่ 3 สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล

ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

ส่วนที่ 5 สิทธิในทรัพย์สิน

ส่วนที่ 6 สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

ส่วนที่ 7 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน

ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

ส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน

ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม

ส่วนที่ 12 สิทธิชุมนุม

ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

หมวด 4 หน้าที่ชนชาวไทย

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ส่วนที่ 1 บททั่วไป

ส่วนที่ 2 แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ

ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม

ส่วนที่ 5 แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม

ส่วนที่ 6 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ

ส่วนที่ 7 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ

ส่วนที่ 8 แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 9 แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน

ส่วนที่ 10 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

หมวด 6 รัฐสภา

ส่วนที่ 1 บททั่วไป

ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร

ส่วนที่ 3 วุฒิสภา

ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง

ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ส่วนที่ 7 การตราพระราชบัญญัติ

ส่วนที่ 8 การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

ส่วนที่ 9 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ

หมวด 9 คณะรัฐมนตรี

หมวด 10 ศาล

ส่วนที่ 1 บททั่วไป

ส่วนที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญ

ส่วนที่ 3 ศาลยุติธรรม

ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง

ส่วนที่ 5 ศาลทหาร

หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง

2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน

3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ส่วนที่ 2 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

1. องค์กรอัยการ

2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

3. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

ส่วนที่ 1 การตรวจสอบทรัพย์สิน

ส่วนที่ 2 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์

ส่วนที่่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง

ส่วนที่ 4 การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

หมวด 13 จริยธรรมของผุ้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

บทเฉพาะกาล