กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง บุคคล

             เจ้าหน้าที่ในกระบวนการทางกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น ศาล ตำรวจ อัยการ มีอำนาจเพียงภายในประเทศ ในกรณีที่ต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาในต่างประเทศ จะต้องร้องขอเพื่ออาศัยอำนาจหน่วยงานของประเทศนั้น ๆ ดำเนินการแทน จะกระทำเองโดยตรงไม่ได้ เช่น การส่งประเด็นไปสอบสวนสืบพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ในต่างประเทศ การส่งคำฟ้อง หมายเรียก ฯลฯ   หนังสือร้องขอต้องส่งโดยวิถีทางการทูต และต้องระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือตามหลักปฏิบัติต่างตอบแทนในทำนองเดียวกันเมื่อถูกร้องขอ แต่หากประเทศไทยมีความตกลงว่าด้วยร่วมมือทางแพ่งหรือทางอาญากับประเทศใดไว้ การดำเนินความร่วมมือก็ให้เป็นไปตามความตกลงนั้น ๆ

ความร่วมมือทางแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 ให้อำนาจศาลไว้ว่า "ถ้าจะต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาทั้งเรื่อง หรือแต่บางส่วนโดยอาศัยหรือโดยร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ในเมืองต่างประเทศเมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศหรือไม่มีข้อกฎหมายบัญญัติไว้สำหรับเรื่องนี้นั้นให้ศาลปฏิบัติตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ"  ดั้งนั้น เมื่อกฎหมายไทยให้อำนาจศาลส่งเรื่องทางแพ่งขอความร่วมมือจากศาลต่างประเทศเพื่อดำเนินการแทน การดำเนินการของศาลต่างประเทศในเรื่องดังกล่าวย่อมมีผลเสมือนศาลไทยดำเนินการเอง ปัจจุบันประเทศไทยทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางศาล (Agreement on Judicial Co-Operation) ในคดีแพ่งกับ 6 ประเทศ คือ ลาว อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย สเปน เวียดนาม การดำเนินความร่วมมือก็จะต้องเป็นไปตามความตกลงดังกล่าว สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไทยไม่มีความตกลงในเรื่องนี้ ถ้าศาลไทยจำเป็นต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาในต่างประเทศศาลไทยก็จะปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น  เท่าที่ผ่านมา ศาลไทยจะขอความช่วยเหลือจากศาลต่างประเทศในเรื่องต่อไปนี้ อาทิ การให้จำเลยซึ่งอยู่ในต่างประเทศทราบถึงการถูกฟ้องและวันนัด พิจารณา หรือการส่งสำเนาคำฟ้อง และหมายเรียกให้จำเลย การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศ การให้จำเลยซึ่งอยู่ในต่างประเทศทราบถึงการออกคำบังคับ ฯลฯ

วิธีการขอความร่วมมือให้ศาลต่างประเทศดำเนินกระบวนการพิจารณา

ในกรณีที่ไม่มีความตกลงร่วมมือทางแพ่งระหว่างไทยกับประเทศนั้นๆ การดำเนินการต้องผ่านช่องทางการฑูต (Diplomatic Channel) กล่าวคือ ในทางปฏิบัติเมื่อศาลไทยมีคำสั่งอนุญาตให้ขอความช่วยเหลือจากศาลต่างประเทศ ศาลจะส่งหนังสือร้องขอและเอกสารทั้งหมดพร้อมคำแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศไปยังกระทรวงยุติธรรมเพื่อขอให้กระทรวงยุติธรรมแจ้งกระทรวงการต่างประเทศจัดส่งให้สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ดำเนินการต่อไป

เมื่อสถานทูต/สถานกงสุลได้รับหนังสือแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว ให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลแจ้งกระทรวงการต่างประเทศนั้น เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายในประเทศนั้น เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้นจะแจ้งผลการดำเนินการให้สถานทูต/สถานกงสุลทราบ หากเป็นกรณีส่งสำเนาคำฟ้องหรือหมายเรียก ให้จำเลยหรือผู้รับลงชื่อในเอกสารตอบรับมาให้ เพื่อสถานทูตหรือสถานกงสุลแจ้งกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมค่าใช่จ่าย

เอกสารที่ใช้สำหรับมอบหมายให้ศาลดำเนินการ

กระทรวงยุติธรรมแจ้งว่าตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้ระบุว่า การที่ศาลต่างประเทศร้องขอให้ศาลไทยดำเนินการพิจารณาโดยผ่านขั้นตอนทางการทูตนั้น หนังสือร้องขอควรมีข้อความประกอบด้วย

  - ระบุให้รู้ว่าเป็นคดีแพ่ง
  - ระบุให้รู้ว่าเป็นคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
  - มีความจำเป็นต้องสืบพยานหรือจะขอให้ศาลดำเนินการให้อย่างใดบ้าง
  - ชื่อและที่อยู่ของจำเลย หรือพยาน ที่ขอให้ดำเนินการ
  - ถ้ามีผู้แทนอยู่ในต่างประเทศให้ระบุชื่อ ที่อยู่หรือสำนักงานของผู้แทนนั้น
  - แจ้งให้ทราบว่าจะจัดการอย่างใดกับเงินค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมศาล
  - ระบุพันธะกรณีในการช่วยเหลือต่อศาลไทยในทำนองเดียวกัน

ทั้งนี้หนังสือร้องขอและเอกสารประกอบหนังสือร้องขอกระทรวงยุติธรรมต้องการใช้ต้นฉบับจำนวน 2 ชุด

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เป็นกรอบในการดำเนินความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานงานกลางซึ่งมีอำนาจในการพิจารณาขอและให้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ

ประเทศที่มีความตกลงหรือมีสนธิสัญญาความร่วมมือทางอาญา (Mutual Legal Assistance Treaty-MLAT) กับไทย 7 ประเทศ คือ

ประเทศ มีผลบังคับใช้
สหรัฐอเมริกา 10 มิถุนายน 2536 
แคนาดา 3  ตุลาคม 2537 
สหราชอาณาจักร 10  กันยายน 2540 
ฝรั่งเศส  มิถุนายน 2543 
นอร์เวย์ 22 กันยายน 2543 
สาธารณรัฐเกาหลี 6 เมษายน 2548 
สาธารณรัฐประชาชนจีน 20 กุมภาพันธ์ 2548 

ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศกับประเทศทั้ง 7 นี้ สามารถดำเนินการระหว่างผู้ประสานงานกลางฝ่ายไทยกับผู้ประสานงานกลางหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ของประเทศนั้นๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านช่องทางการทูต แต่หากไม่มีความตกลงร่วมมือทางอาญาจะต้องดำเนินการผ่านช่องทางการฑูตของทั้งสองฝ่าย และระบุหลักการต่างตอบแทนในคำร้องขอความร่วมมือด้วยเสมอ

ปัจจุบันกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานระหว่างสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลต่างๆ กับสำนักงานอัยการสูงสุดในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือทางอาญา และกับสำนักงานศาลยุติธรรมในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือทางแพ่ง แต่หากประเทศนั้นๆ มีความตกลงร่วมมือทางแพ่งหรืออาญากับไทย การดำเนินความร่วมมือก็เป็นไปตามที่ระบุในความตกลงนั้น ๆ

บุคคลใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง

(1) บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ได้แก่ ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้เสียหาย คู่ความ ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี และในบางกรณีมีอัยการเข้าเกี่ยวข้องด้วย (2) กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งเริ่มต้น โดยคู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาล จากนั้นศาลจะทำการพิพากษาคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเป็นผู้จัดการบังคับให้บรรลุผลตามคำพิพากษา

บุคคลใดอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเท่านั้น

บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือ ผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา จ าเลย ผู้เสียหาย พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจ พนักงานอัยการ ศาล พนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ ราชทัณฑ์ และทนายความ การเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในกรณ ผู้เสียหายแจ้งความต่อต ารวจ ส่ง¿้อง

กระบวนการยุติธรรมมีอะไรบ้าง

(1) การไต่สวนมูลฟ้อง (2) การพิจารณาคดีอาญา (3) การ และการ พิพากษาคดี (4) การขอให้ศาลรอการลงโทษจำคุก (5) การ อำนวย อุทธรณ์ฎีกา (6) การอภัยโทษ (7) การรื้อฟื้นคดีอาญา ความ ยุติธรรม

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีอะไรบ้าง

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา หมายถึง กระบวนการนับตั้งแต่มีการกระทำความผิดอาญา เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยผ่านขั้นตอนการหาตัวผู้ต้องหา ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนในชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ การฟ้องร้อง การพิจารณาชั้นศาล ...