ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้


ตัวแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
ถึงแม้ว่า ตัวแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล จะมีหลายตัวแบบ เช่น NI-AM (Nijssen’s Information Analysis Methodology), หรือ ตัวแบบอี-อาร์ (Entity-Relationship Model) และแต่ละแบบยังมีผู้เสนอรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไปอีกก็ตาม แต่แบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งก็คือ ตัวแบบอี-อาร์ หรือ เอ็นทิตี้-รีเลชั่นชิพ โมเดล ซึ่งแนะนำโดย ปีเตอร์ เชน (Peter-Shan Chen) เมื่อปี ค.ศ. 1976 ที่ได้รับความนิยมมากเพราะมีแผนภาพช่วยแสดงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
8.1 ตัวแบบอี-อาร์
ตัวแบบอี-อาร์ ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และแผนภาพอี-อาร์ (E-R Diagram : Entity-Relationship Diagram) ซึ่งเป็นการนำเอาวัตถุเหล่านั้นมาจำลองเป็นรูปทรงต่างๆ และแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างวัตถุเหล่านั้น ซึ่งวัตถุส่วนใหญ่ก็คือ เอ็นทิตี้ นั่นเอง ส่วนความสัมพันธ์ก็คือ “สัมพันธภาพ” (Relationship) ในหมู่เอ็นทิตี้นั่นเอง
8.1.1 แผนภาพอี-อาร์ (E-R Diagram/Entity-Relationship Diagram)
แผนภาพอี-อาร์ เป็นแผนภาพแสดงโครงสร้างเชิงตรรกโดยรวมของฐานข้อมูล ความง่ายและความชัดเจนของแผนภาพนี้ทำให้เทคนิคการสร้างแผนภาพอี-อาร์ถูกนำไปใช้กันทั่วไป ตัวอย่างแผนภาพอี-อาร์ซึ่งเป็นที่มาของตาราง Supplier, Product และ Shipment

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้

SNO SNAME STATUS CITY

SUPPLIER
QTY
SHIP
MENT
SNO
PNO

PRODUCT
CITY
PNO
WEIGHT
PNAME COLOR
ตัวอย่างที่ 2 มีที่มาจากตาราง SPJ ในบทที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อมูลจาก 3 ตารางกลัก คือ S, P และ J เมื่อ
ตาราง S เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดส่ง (Supplier)
ตาราง P เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือวัสดุ (Product)
ตาราง J เก็บข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ (Project) ซึ่งต้องมีการใช้วัสดุจากผู้จัดส่งรายต่างๆ
ถ้าเราทราบว่า มีผู้จัดส่งรายหนึ่ง คือ Smith จากข้อมูลในตาราง S
มีวัสดุอย่างหนึ่ง คือ ประแจ จากข้อมูลในตาราง P
Smith ส่งวัสดุอย่างหนึ่ง คือ ประแจ จากข้อมูลในตาราง SP
มีโครงการหนึ่ง คือ โครงการแมนฮัตตัน จากข้อมูลในตาราง J
แต่เราไม่ทราบว่าผู้จัดส่งรายใดส่งวัสดุอะไรไปใช้ในโครงการใดบ้าง
ถ้าเราต้องการทราบเพื่อตอบการสอบถาม (Query) เราจะต้องออกแบบให้ตาราง S, P, SP และ J มีความสัมพันธ์กันเพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้สำหรับตอบการสอบถามในกรณีที่ต้องการทราบว่ามีผู้จัดส่งรายใดส่งวัสดุอะไรไปใช้ในโครงการใดบ้างดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเราอาจออกแบบได้ 2 วิธี ดังแผนภาพอี-อาร์ ดังต่อไปนี้

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
วิธีที่ 1
S

N
N M
SP SPJ J
M

P
วิธีที่ 2

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
S
N

SPJ N J
M
P
สังเกตว่า วิธีที่ 2 นี้ ไม่มีตาราง SP ซึ่งอาจจะทำให้ขาดข้อมูลที่จะตอบการสอบถามที่ว่า ผู้จัดส่งรายใดส่งสินค้าอะไรบ้างในปริมาณเท่าใด ซึ่งการออกแบบว่าจะเลือกแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจ หรือระเบียบวิธีในการดำเนินกิจกรรมในองค์การแต่ละแห่ง สำหรับในชั้นนี้นักศึกษาควรเลือกออกแบบวิธีที่ 1 เพราะจะทำให้มีข้อมูลครบทุกอย่าง กล่าวคือ ให้มีรายละเอียดเกินกว่าที่ต้องการทราบดีกว่าที่จะให้ขาดรายละเอียดบางอย่างไปแล้วไม่สามารถตอบการสอบถามได้อย่างสะดวกและง่าย
8.1.2 สัญลักษณ์ต่าง ๆ
วิธีการออกแบบด้วยตัวแบบอี-อาร์จะมีการแสดงกลุ่มของข้อมูล และความสัมพันธ์ออกมาเป็นแผนภาพ โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
สัญลักษณ์พื้นฐาน ความหมาย

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
1. เอนทิตี้ (Regular Entity : สิ่งที่สามารถระบุได้อย่างแจ้ง ชัด เป็นวัตถุที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมก็ได้ เป็นสิ่งที่เราสนใจจะนำมาไว้เป็นตารางในฐานข้อมูล แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดอ่อนแอ กับชนิดธรรมดา)
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
2. รีเลชั่นชิพ หรือความสัมพันธ์ระดับปรกติ (Regular Relationship : เป็นความสัมพัน์ระหว่างเอนทิตี้ปรกติตั้งแต่ 2 เอนทิตี้ขึ้นไป
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
3. พร็อบเพอร์ตี้ หรือคุณสมบัติ (Property : คือ รายละเอียดซึ่งปรากฏได้ทั้งในเอนทิตี้ หรือรีเลชั่นชิพ ซึ่งภายหลังจะถูกกำหนดให้เป็นแอตทริบิวต์)
4. อัตราส่วนความสัมพันธ์ของแถวข้อมูลระหว่างสองเอนทิตี้ (Cardinality Ratio) มี 3 ชนิด คือ 1 ต่อ 1 (One to One)
1 ต่อ หลาย (One to Many) หรือ กลับกัน
และหลายต่อหลาย (Many to Many
ต่อ 1 (to One)
ต่อหลาย (to Many) คือ ต่อ 1 หรือมากกว่า
ต่อ 0 หรือ 1 (to zero or one)
ต่อ 0 หรือมากกว่า (to zero or more)
ต่อมากกว่า 1 (to More than 1) คือ ต่อมากกว่า 1
สัญลักษณ์เพิ่มเติม ความหมาย
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
5. เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity : เป็นเอนทิตี้ที่ขึ้นอยู่
กับเอนทิตี้อื่น ถ้าไม่มีเอนทิตี้นั้นก็จะไม่มีเอนทิตี้ชนิด
อ่อนแอนี้)
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
6. เอนทิตี้ที่แปลงมาจากรีเลชั่นชิพ (Associative Entity :
เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เอนทิตี้ขึ้นไป ซึ่งเป็นแบบ
หลายต่อหลาย และจะถูกแปลงให้เป็นตารางในที่สุด)
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
7. วีครีเลชั่นชิพ หรือความสัมพันธ์ระดับอ่อนแอ (Weak
Relationship : เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ที่เป็น
ชนิดอ่อนแออย่างน้อย 1 เอนทิตี้
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
8. คุณสมบัติแบบมีหลายค่า (Multi-Value Property เช่น ถ้า
ในตาราง Supplier โดยผู้จัดส่งแต่ละรายมีเมืองที่ตั้งหลาย
แห่ง CITY ก็จะกลายเป็นคุณสมบัติแบบมีหลายค่า)
9. เส้นคู่แสดงความสัมพันธ์แบบ Total Participation เช่น
พนักงานทุกคนในตาราง Emp ต้องสังกัดแผนกใดแผนก
หนึ่งในตาราง Dept อย่างนี้ถือว่าเป็น Total Participation แต่ถ้าบางแผนกไม่มีพนักงานในสังกัดเลยถือว่าเป็นความ
สัมพันธ์แบบ Partial Participation
8.1.3 ลักษณะของตัวแบบอี-อาร์ ประกอบด้วย
1. เอนทิตี้
2. คุณสมบัติ (Property) ของเอนทิตี้ ซึ่งก็คือ แอตทริบิวต์ของรีเลชั่น เป็นรายละเอียดของข้อมูลในเอนทิตี้ใด ๆ โดยอาจจะมีหน้าที่เป็นคีย์หลัก (Primary Key) คีย์ประกอบ (Composite Keys) คีย์นอก (Foreign Key) หรือเป็นแอตทริบิวต์ธรรมดา (Nonkeys)
3. ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (หรืออัตราส่วนความสัมพันธ์ของแถวข้อมูลระหว่างสองเอนทิตี้) อาจเป็นความสัมพันธ์แบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
3.1 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One) ใช้ตัวย่อว่า 1:1
3.2 แบบหนึ่งต่อหลาย (One to Many) ใช้ตัวย่อว่า 1:N
3.3 แบบหลายต่อหลาย (Many to Many) ใช้ตัวย่อว่า M:N
8.1.4 ขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้แผนภาพอี-อาร์
1. วิเคราะห์งานในระบบธุรกิจ
2. กำหนดเอนทิตี้ในระบบและคุณสมบัติเบื้องต้น
3. กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้
4. ร่างแผนภาพอี-อาร์ ตามเอนทิตี้และความสัมพันธ์ที่กำหนดไว้
5. ทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของเอนทิตี้ คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ รวมทั้งกำหนดคีย์
ต่าง ๆ
6. แปลงแผนภาพอี-อาร์ เป็นรีเลชั่น ตามหลักเกณฑ์ที่แนะนำ
7. จัดทำพจนานุกรมข้อมูลจากรีเลชั่นและรายละเอียดที่เตรียมไว้
ตัวอย่างการออกแบบโดยใช้แผนภาพอี-อาร์ ตามขั้นตอนที่เสนอแนะข้างต้น
1. วิเคราะห์งานในระบบ
ระบบงานจริงย่อมจะมีความละเอียดซับซ้อนและจะเป็นระบบใหญ่เป็นส่วนมาก แต่เพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจตามข้อจำกัดของเวลาในการเรียนรู้และพื้นที่หน้ากระดาษ จึงจะขอนำมาเป็นตัวอย่างเฉพาะบางส่วนของระบบงานทั้งหมด
ระบบงานที่จะนำมาเป็นตัวอย่างต่อไปนี้เป็นระบบบริหารสถานศึกษา เพียงบางลักษณะที่สนใจเท่านั้น
2. กำหนดเอนทิตี้และคุณสมบัติเบื้องต้น
2.1 TEACHER เป็นเอนทิตี้ที่แสดงรายละเอียดของอาจารย์ในสถานศึกษา มีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ รหัสอาจารย์ ชื่อ นามสกุล เป็นต้น
2.2 DEPARTMENT เป็นเอนทิตี้ที่แสดงรายละเอียดของแผนกวิชา หรือแผนกงาน มีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ รหัสแผนก ชื่อแผนก เป็นต้น
2.3 DEPENDANT เป็นเอนทิตี้ที่แสดงรายละเอียดของสมาชิกในครอบครัวขออาจารย์ โดยที่เป็นเอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเอนทิตี้ TEACHER มีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ รหัสคนในครอบครัว ชื่อ นามสกุล ความสัมพันธ์ เป็นต้น
2.4 CLASS เป็นเอนทิตี้ที่แสดงรายละเอียดของชั้นเรียนที่อยู่ภายใต้การให้คำปรึกษาของอาจารย์ มีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ รหัสชั้น ชื่อชั้น ภาคเรียนเริ่มต้น ภาคเรียนปัจจุบัน เป็นต้น
สมมติว่าระเบียบปฏบิตของสถานศึกษากำหนดไว้ดังนี้

  1. อาจารย์หนึ่งคนจะต้องสังกัดอยู่เพียงหนึ่งแผนกเท่านั้
  2. ชั้นเรียนหนึ่ง ๆ จะมีอาจารย์หลายคนจากแผนกใด ๆ มาเป็นที่ปรึกษาก็ได้ ปรกติชั้นละ 3 คน
  3. ชั้นเรียนหนึ่ง ๆ จะมีรหัสเฉพาะไม่ซ้ำกันเลยในระบบ เมื่อชั้นเรียนเลื่อนระดับไป เช่น ชั้นปีที่ 2 ชื่อชั้นจะเปลี่ยนไป แต่เลขรหัสจะยังคงเดิม
  4. อาจารย์คนหนึ่งเป็นที่ปรึกษาได้หลายชั้น แต่เป็นได้เพียงปีละ 1 ชั้น เท่านั้น

3. กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้
3.1 ความสัมพันธ์ชื่อ “WORK-IN” (ทำงานสังกัดในแผนกใด) เป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย ระหว่างเอนทิตี้ DEPARTMENT กับ TEACHER ดังรูป

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้

1 N
DEPARTMENT WORK-IN TECHER
3.2 ความสัมพันธ์ชื่อ “SUPERVISE” (บังคับบัญชา) เป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลายระหว่างเอนทิตี้ TEACHER (SUPERVISOR ในฐานะผู้บังคับบัญชา) กับ TEACHER (SOBORDINATE ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา) ดังรูป
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้

TEACHER
1 N
SUPERVISOR SUBORDINATE
SUPERVISE
3.3 ความสัมพันธ์ชื่อ “ADVISE” (ให้คำปรึกษา) เป็นความสัมพันธ์แบบหลายต่อหลายระหว่างเอนทิตี้ CLASS กับ TEACHER ดังรูป
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้

M N
TEACHER ADVISE CLASS
ซึ่งอาจเขียนได้อีกแบบหนึ่ง ดังนี้
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้
1 N N 1
TEACHER ADVISE CLASS
3.4 ความสัมพันธ์ชื่อ “SUPPORT” (อุปการะ) เป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย ระหว่างเอนทิตี้ TEACHER กับ DEPEMDANT ดังรูป
ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้

1 N
TEACHER SUPPORT DEPARTMENT

  1. ร่างแผนภาพอี-อาร์ ตามเอนทิตี้และความสัมพันธ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ดังภาพ
  2. ทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของเอนทิตี้ คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ รวมทั้งกำหนดคีย์ต่าง

หลังจากที่เราได้ร่างแผนภาพอี-อาร์ขึ้นมาแล้ว จะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวม ช่วยให้สะดวกในการที่จะเพิ่มเติมหรือแก้ไขการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น เช่น อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมเอนทิตี้ คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระบบงานมากที่สุด เป็นต้น
6. แปลงแผนภาพอี-อาร์ เป็นรีเลชั่น ตามหลักเกณฑ์ที่แนะนำ ให้ศึกษาจากหัวข้อ 8.2 เรื่อง หลักการสร้างฐานข้อมูลจากแผนภาพอี-อาร์ ซึ่งจะได้รีเลชั่น แอตทริบิวต์ และคีย์ต่าง ๆ ดังนี้
ตารางที่ 1 DEPARTMENT (รหัสแผนก,ชื่อแผนก)
ตารางที่ 2 TEACHER (รหัสอาจารย์,ชื่ออาจารย์,สกุลอาจารย์,รหัสหัวหน้า,รหัสแผนก*)
ตารางที่ 3 CLASS (รหัสชั้น,ชื่อชั้น,ภาคเริ่มต้น,ภาคสุดท้าย)
ตารางที่ 4 ADVISE (รหัสอาจารย์*,รหัสชั้น*,ปีที่ปรึกษา)
ตารางที่ 5 DEPENDANT (รหัสคนในอุปการะ,ชื่อ,สกุล,รหัสอาจารย์*)
แอตทริบิวต์ที่มีเครื่องหมาย * แสดงว่าเป็นคีย์นอก (Foreign Key)
7. จัดทำพจนานุกรมข้อมูลจากรีเลชั่นและรายละเอียดที่เตรียมไว้ ให้ทบทวนจากหัวข้อ 5.1 พจนานุกรมข้อมูล ซึ่งจะได้รายละเอียดพจนานุกรม ดังนี้ป็นตารางข้อมูลและแอตทริบิวต์ต่าง ๆ โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้
1. เอนทิตี้ปรกติ หรือ Regular Entity จะถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างตาราง (Relvar) ได้เลยโดยคุณสมบัติที่ถูกขีดเส้นใต้เอาไว้จะต้องทำเป็นคีย์หลัก (Primary Key) ส่วนเอนทิตี้ชนิดอ่อนแอให้เก็บไว้พิจารณาภายหลังก็ได้
2. ความสัมพันธ์แบบหลายต่อหลาย หรือ Many to Many จะถูกนำไปสร้างเป็นโครงสร้างตาราง ซึ่งก็คือ เอนทิตี้ที่แปลงมาจากความสัมพันธ์ (Associative Entity)นั่นเอง โดยให้นำเอาคีย์หลักของเอนทิตี้ทั้งสองฝั่งมาเป็นคีย์หลักแบบประสม (Composite Primary Keys) หรืออาจสร้างแอตทริบิวต์ใหม่สำหรับเก็บหมายเลขรหัสที่กำหนดขึ้นใหม่โดยเฉพาะก็ได้ ตัวอย่างเช่น ตาราง SP หรือ Shipment
3. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย หรือหลายต่อหนึ่ง ไม่ต้องสร้างตารางใหม่ขึ้นมา แต่ให้เอาคีย์หลักของตารางด้านที่เป็นหนึ่งไปเป็นคีย์นอก (Foregin Key) ในตารางด้านที่เป็นหลาย
4. เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ หรือ Weak Entity ควรสร้างตารางใหม่ขึ้นมา โดยให้นำเอาคีย์หลักของเอนทิตี้ปกติ ไปเป็นคีย์นอกอยู่ในเอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ
5. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ให้พิจารณาให้รอบคอบว่าเอนทิตี้ด้านใดสำคัญกว่า หรือให้ดูว่าด้านใดในอนาคตอาจมีข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นมาทำให้กลายเป็นแบบต่อหลายได้ ก็ให้อนุโลมทำตามวิธีการในข้อ 3
6. ตารางที่ได้มาตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นเชื่อได้ว่าจะอยู่ในรูปแบบปรกติขั้นที่ 1 แน่นอน นอกจากนั้นจะพบว่าตารางที่สร้างมาจากเอนทิตี้ปรกติทุกตารางจะอยู่ในรูปแบบปรกติขี้นที่ 2 ส่วนการสร้างคีย์หลักขึ้นมาโดยการกำหนดแอตทริบิวต์ใหม่บางตารางอาจอยู่ในรูปแบบปรกติขั้นที่ 3 เลยก็เป็นได้
ตัวอย่างเช่น แผนภาพอี-อาร์ ที่แสดงไว้ในหน้า 1 ของบทนี้ สามารถจะนำมาแปลงเป็นตารางข้อมูลและแอตทริบิวต์ต่าง ๆ ดังนี้
SUPPLIER [SNO, SNAME, STATUS, CITY]
SHIPMENT [SNO, PNO, QTY]
PRODUCT [PNO, PNAME, COLOR, WEIGHT, CITY]
8.3 เครื่องมือที่ใช้สร้างแผนภาพอี-อาร์
ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการออกแบบฐานข้อมูลหลายโปรแกรม ดังต่อไปนี้

  1. โปรแกรม Micorsoft Word
  2. โปรแกรม Visio
  3. โปรแกรม ER Win

8.3.1 โปรแกรม Microsoft Word
เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่มีผู้ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันบนระบบปฏิบัติการประเภทติดต่อกับผู้ใช้ด้วยภาพ (Graphical User Interface : GUI) ผู้ใช้สามารถสร้างแผนภาพอี-อาร์ได้จากการใช้ปุ่มคำสั่ง AutoShapes แล้วเลือก Basic Shapes และเลือกรูปทรงที่ต้องการได้ การคลิกขวาจะมี Pop-up menu ขึ้นมาทำให้เลือกได้ว่าจะพิมพ์ข้อความอะไรลงไปในรูปทรงนั้น ๆ ดังภาพ
8.3.2 โปรแกรม Visio
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับวาดแผนภาพต่าง ๆ เป็นการเฉพาะ ซึ่งจะมี Template ให้เลือกมากมาย วิธีใช้ให้เลือก Template ชื่อ Database และคลิกเลือก Chen ERD ดังภาพ
8.3.3 โปรแกรม ER Win
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับวาดแผนภาพอี-อาร์ โดยเฉพาะ และมีความสามารถในการสร้าง (Generate) คำสั่งภาษา SQL เพื่อสร้างตารางข้อมูลพร้อมเขตข้อมูลต่าง ๆ จนเป็นฐานข้อมูลในที่สุด ดังภาพ

ข้อ ใด เป็น วิธี การกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่าง เอน ทิ ตี้