ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการทําธุรกิจ electronic commerce

9.5 รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce


1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น


2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)


4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น
เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

ให้นักศึกษากรอกข้อมูลให้ครบถ้วยและทำแบบทดสอบให้ครบถ้วน

1. ข้อใดคือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business)

A. กิจกรรมซื้อขายผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

B. กิจกรรมซื้อขายผ่านสื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่

C. กิจกรรมซื้อขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

D. กิจกรรมทุกอย่างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2. ข้อใดคือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

A. กิจกรรมการซื้อขายผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

B. กิจกรรมซื้อขายผ่านสื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่

C. กิจกรรมซื้อขายผ่านสื่อโทรทัศน์

D. กิจกรรมซื้อขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์คือข้อใด

4. ข้อใดไม่ใช่ความจำเป็นที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ

5. การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ติดต่อหลายระดับยกเว้น ข้อใด

6.  สาระสำคัญของการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือข้อใด

7. ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ต่อลูกค้าข้อใดสำคัญมากที่สุด

B. สินค้ามีตามความต้องการ

8. ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ต่อธุรกิจมากที่สุดคือข้อใด

B. ซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง

C. ลดค่าใช้จ่ายทุกด้านได้มาก

D. เพิ่มภาพลักษณ์ให้องค์กร

9.  ข้อใดไม่ได้แสดงถึงจรรยาบรรณของนักการตลาด

A. มุ่งแสวงหาหวังผลกำไรสูงสุด

B. เสนอผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคอุปโภค

D. บริการลูกค้าอย่างเท่าเทียมกัน

10.ข้อแตกต่างระหว่าง CSR กับ SE คือข้อใด

A. CSR แสวงหากำไรสูงสุดกับความรับผิดชอบต่อสังคม

B. SE มุ่งผลกำไรปกติ ผลกำไรคืนผู้ถือหุ้น

C. CSR มุ่งกำไรปกติ ผลกำไรคืนสังคม

D. SE มุ่งกำไรสูงสุด กับความรับผิดชอบต่อสังคม

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม