ข้อใดคือการส่งเสริมความปลอดภัย (4a)

การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมทัศนคติจิตสำนึก ความรู้และความเข้าใจของพนักงานทุกระดับคือ ตั้งแต่ฝ่ายจัดการ ผู้ควบคุม จนถึงพนักงาน นั่นคือ เมื่อผู้บริหารทุกระดับมีจิตสำนึก และ ความรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัย และถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการบริหารงานด้านอื่นๆ แล้ว ก็ย่อมจะหวังได้ว่า พนักงานระดับปฏิบัติจะได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งในด้านการป้องกันอุบัติเหตุและสุขภาพอนามัย และในระดับถัดไปจะต้องพยามยามส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มีจิตสำนึก และ ทัศนคติ ตลอดจนความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และร่วมมือในการดูแลให้สถานที่ทำงานนั้นปลอดภัยตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะการป้องกันอันตรายจากงานขึ้นอยู่กับความ "ปรารถนา" ของบุคคล ผู้ที่นับว่ามีบทบาทในการประสานงานส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยนี้อาจมีหลายกิจกรรมทั้งที่เป็นกิจกรรมที่ให้พนักงานปฏิบัติ และ กิจกรรมจูงใจ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้ปฏิบัติด้วยความปลอดภัยอีกด้วย ดังนี้

1) การเผยแพร่ข่าวสารด้านความปลอดภัย
2) สนทนาความปลอดภัย
3) การประกวดลดอุบัติเหตุ
4) การประกวดความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย
5) การประกวดคำขวัญ
6) การประกวดพนักงานสวมเครื่องป้องกัน
7) การประกวดพนักงานตัวอย่าง
8) การประกวดความคิด
9) แถลงนโยบาย
10) ฝึกอบรม
11) การพบปะรายบุคคล
12) ชมเชยพนักงานที่ไม่เคยป่วยในงาน
13) ตอบปัญหาชิงรางวัล
14) ให้รางวัลและสิ่งตอบแทน
15) ตู้รับความคิดเห็น
16) ทัศนาจรนอกโรงงาน
17) การประกวดพนักงานดีเด่นด้านความปลอดภัยประจำปี
18) การรายงานสภาพที่ไม่ปลอดภัย
19) ป้ายประกาศและแผ่นป้ายความปลอดภัย
20) แผ่นป้ายสถิติอุบัติเหตุ
21) การแสดงผลงานด้านลดอันตราย
22) การจัดนิทรรศการความปลอดภัย
23) เลี้ยงสังสรรค์ฉลองความสำเร็จด้านความปลอดภัย
24) การติดโปสเตอร์ที่สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย
25) การติดสัญลักษณ์ความปลอดภัย
26) ตั้งคณะกรรมการระดับพนักงาน เป็นต้น

        การประชุมครั้งนี้ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ให้มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ให้ได้รับความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์

ฃอุบัติเหตุในสถานที่ทำงานสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากตัวบุคคลมากถึง 80% พนักงานจึงเป็นแปรสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด แต่อุบัติเหตุสามารถเลี่ยงได้ โดยการใช้กลยุทธ์ 4As เป็นแนวทางวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย ดังนี้

  1. Awareness ตระหนักรู้

การเสริมสร้างการตระหนักรู้ถึงอันตรายในสถานที่ทำงาน สามารถสร้างโดยการกำหนดข้อปฏิบัติ กฎระเบียบ คำเตือน นโยบายของบริษัท เพื่อให้พนักงานทุกคนทราบและเข้าใจถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้การประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานและกรรมการในบริษัท เป็นแนวทางให้พนักงานเสนอความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้บริษัทเข้าใจและร่วมกันป้องกันอุบัติเหตุได้

  1. Attention สนใจด้านความปลอดภัย

การให้พนักงานรับรู้ด้านความปลอดภัยเป็นแนวทางที่ลดอุบัติเหตุมากที่สุด เช่น สื่อด้านความปลอดภัย ภาพข่าวสาร วีดีทัศน์ โดยพนักงานต้องเห็นภาพ ได้ยินเสียง สัมผัสได้ จนทำให้พนักงานเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง

  1. Action การกระตุ้นพฤติกรรมให้เห็นความปลอดภัย

การทำงานในสภาพปกติโดยไม่เห็นความเสี่ยงไม่ทราบถึงอุบัติเหตุ ทำให้พนักงานไม่เห็นความสำคัญของความปลอดภัย ไม่สามารถมองเห็นอุบัติอันแสนเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ การเกิดข้อผิดพลาดใดๆในสถานที่ทำงานเป็นวิธีการหนึ่งที่สร้างพฤติกรรมให้กับพนักงานทุกคนตระหนักจริง เข้าใจจริง และแก้ไขจริงๆได้ ผลลัพธ์คือทุกคนร่วมกันแก้ไขและแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งนี้การสร้างเหตุการณ์สมมุติฐาน เช่น จำลองสถานการณ์ไฟไหม้ ไฟดับ เป็นการกระตุ้นพฤติกรรมทุกคนให้เตรียมพร้อมได้ทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง

  1. Attitude ทัศนคติเชิงบวก

การเสริมสร้างทัศนคติให้อยู่ในเชิงบวกให้กับพนักงานทุกคน เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีความสุข เมื่อมีความสุขกับงานจึงปราศจากพฤติกรรมทำให้เกิดอุบัติเหตุ

วัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตาม เมื่อทำได้แล้วจะทำให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ และผลลัพธ์ที่ตามมาคือทุกคนมีความสุขกับหน้าที่ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่บริษัทต้องการ

               เมื่อองค์กรสร้างฐานพีระมิดตั้งแต่ขั้นที่ 1-3 ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการในช่วงท้าย คือ การสร้างร่วมมือจากทุกคนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการดำเนินการเพื่อให้ภาพเป้าหมายเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีในแบบที่องค์กรต้องการเป็นจริงและยั่งยืน  ด้วยการทำวงจร 4D วงจรแห่งการร่วมคิดและทำ (Devid Cooperider,1985)