สถิติพื้นฐาน มี กี่ ประเภท

สถิติมี 2 ประเภท คือ 1. สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง...

Posted by Researcher Thailand on Wednesday, April 8, 2020

หมายถึง สถิติที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออธิบายสรุปลักษณะบางประการของประชากร โดยมีการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้ สถิติสาขานี้ ได้แก่ การประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ เป็นต้น

***    โดยปกติแล้วนักวิจัยนิยมใช้สถิติมีพารามิเตอร์ทั้งนี้เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้สถิติมีพารามิเตอร์มีอำนาจการทดสอบ (Power of Test) สูงกว่าการใช้สถิติไร้พารามิเตอร์ สถิติมีพารามิเตอร์เป็นการทดสอบที่ได้มาตรฐาน มี 2 ขั้นตอนต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อข้อมูลมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้สถิติมีพารามิเตอร์จึงไม่มีผู้ใดคิดที่จะหันกลับไปใช้สถิติไร้พารามิเตอร์ในการทดสอบสมมติฐาน   ***

1. สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่มีการอ้างอิงไปยังประชากร แต่เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลเท่านั้น เช่น การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) การวัดแนวโน้มเข้าสู้ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล ฯลฯ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาจะอยู่ในรูปตาราง (table) และแผนภูมิ (Chart) ชนิดต่างๆ

2. สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) หรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้เพื่อนำผลสรุปที่คำนวณได้จากการสุ่มตัวอย่าง ไปอธิบายหรือสรุปลักษณะของประชากรทั้งหมด วิธีที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรนั้น คือ การประมาณค่า (Estimation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance) การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์ (regression and correlation analysis)

สถิติอ้างอิงจำแนกเป็น 2 ชนิดคือ

แบบอ้างอิงพารามิเตอร์ (Parametric statistics) (ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test, z-test, ANOVA, regression analysis ตัวแปรที่ต้องการวัดเป็น interval scale กลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ กลุ่มประชากรจะต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน)

และแบบไม่อ้างอิงพารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) (ใช้สถิติ chi-square, medium test, sign test กลุ่มตัวอย่างเป็น free distribution เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่ทราบลักษณะการแจกแจงของประชากรที่สนใจจะศึกษา)

พารามิเตอร์ หมายถึง ค่าที่ใช้อธิบายคุณลักษณะประชากร (Population) เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากร (population mean)

ค่าสถิติ หมายถึง ค่าที่ได้จากตัวอย่าง (sample) เช่น ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง (sample mean)

ลักษณะข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัย

– ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งเป็นข้อมูลต่อเนื่อง (continuous data) คือค่าที่มีจุดทศนิยมได้ และข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (discrete data) คือค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ

– ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ เช่น เพศ ตำแหน่งหรือจำแนกตัวแปรตามระดับการวัด ได้แก่

– นามบัญญัติ (nominal scale) จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม เช่น 1=ชาย 2=หญิง ตัวเลขไม่สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้

– เรียงอันดับ (ordinal scale) ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น ระดับการศึกษา ผลการเรียน ความเก่ง ตัวเลขอันดับที่แตกต่างกันไม่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้ เช่น ไม่สามารถบอกได้ว่าเก่งกว่ากันเท่าไหร่ ตัวเลขสามารถนำมาบวกหรือลบกันได้

– อันตรภาค หรือระดับช่วง (interval scale) กำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่าๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะไม่มีศูนย์ที่แท้จริง เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ (อุณหภูมิ 0 องศา มิได้หมายความว่าจะไม่มีความร้อน) ตัวเลขสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้

– อัตราส่วน (ratio scale) สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ (เช่น ถนน 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนน 25 กิโลเมตร)

หรือจำแนกตามหน้าที่ ได้แก่ ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น) และตัวแปรตาม ซึ่งเป็นตัวแปรที่ต้องการศึกษา นอกจากนั้นอาจมีตัวแปรที่ไม่ได้ต้องการศึกษาแต่ต้องควบคุม เช่น ตัวแปรภายนอก (ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน) และตัวแปรเชื่อมโยง (ตัวแปรสอดแทรก)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงปริมาณ

– การแจกแจงข้อมูล ความถี่ (Frequency distribution) ร้อยละ (percentage)

– วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) นำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล / มัธยฐาน (median) เป็นสถิติในการจัดอันดับข้อมูล เป็นค่าที่อยู่ตรงกลาง เมื่อนำค่าที่ได้จากการวัดที่นำมาเรียงลำดับจากมากไปน้อย หรือน้อยไปมาก / ฐานนิยม (mode) หรือคะแนนที่มีความถี่สูงที่สุด

– บอกตำแหน่งของข้อมูล ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไทล์ (percentile) เดไซล์ (decide) ควอไทล์ (quartile)

– วัดการกระจายของข้อมูล ได้แก่ พิสัย (range) หรือค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (quartile deviation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ความแปรปรวนของข้อมูล (variance)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพ

ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) สัดส่วน (proportion) อัตราส่วน (ratio) ฐานนิยม (mode)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้นของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s correlation coefficient)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงคุณภาพ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเครเมอร์วี (Cramer’s V)

– สร้างตารางไขว้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (crosstabulation table)

ที่มา : สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย

Share:

Share on facebook

Facebook

Share on twitter

Twitter

Share on pinterest

Pinterest

Share on linkedin

LinkedIn

ขอคำปรึกษา

สถิติพื้นฐาน มี กี่ ประเภท

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

PrevPreviousเทคนิคการตั้งคำถามในแบบสอบถาม

Nextวิธีใช้แอพZOOMประชุมออนไลน์สำหรับชาวWork From HomeNext

On Key

สถิติพื้นฐาน มี กี่ ประเภท

เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน

สถิติพื้นฐาน มี กี่ ประเภท

เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน

สถิติพื้นฐาน มี กี่ ประเภท

6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ !

1. วางแผนเกี่ยวกับ ME ต้องรู้จักเราให้ดีพอ เพื่อที่จะวางแผนการเตรียมข้อมูลที่ตั้งใจไว้ ตั้งแต่ศึกษารายปีที่ 1 เพื่อที่เราจะได้เตรียมงานในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และสิ่งที่สำคัญคือจะต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อทุกอย่างเอื้ออำนวยไปพร้อมๆกันเราจะสามารถทำวิจัยได้ระดับดีมากค่ะ 2. การวางแผนการทำวิจัย เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ต้องอ่านเอกสารที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับวิจัยที่ทำและเก็บรวบรวมให้ได้มากที่สุด แล้วจึงตัดออกภายหลังค่ะ จากนั้นสร้างเครื่องมือรวบรวมความคิดเห็นจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเพื่อใช้ในการสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลจะสรุปโดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก และสรุปให้ตรงประเด็น/ชัดเจนตามความเป็นจริงที่เราเก็บข้อมูลมาเลยค่ะ ในส่วนของการอภิปรายผลนั้น แนะนำเลยนะคะให้อภิปรายตามข้อค้นพบที่ได้ จากนั้นลงมือเขียน 3. การวางแผนเกี่ยวกับคน MAN หรืออาจารย์นั้นเองค่ะ บุคคลสำคัญในการทำงานงานวิจัยให้แล้วเสร็จโดยง่าย ซึ่งหลักในการเลือกพิจารณาจาก * ต้องมีความรู้ในงานบริหารโครงการวิจัย เพื่อดูภาพรวมให้เรา 5 บท * อาจารย์ในสาขา ที่มีความรู้ในเรื่องที่เราจะทำ อาจารย์จะดูให้ คือ บทที่ 1,2 และ5  * อาจารย์ที่เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย หรือการประเมิน คือ อาจารย์จะดูบทที่ 3,4 ให้เราค่ะ * อาจารย์ทั้งหมดต้องทำงานกันเป็นทีม พูดภาษาเดียวกัน ไม่ตีกัน เท่านี้เราก็วางใจว่าเราจบได้แล้วค่ะ 4. Money การเตรียมเงินไว้สำหรับทำวิจัย 1. IS 15,000-30,000 บาท 2. Thesis 30,000-70,000 บาท 3. Dissertation 100,000 บาท ขึ้นไป จำนวนเงินที่บอกจะเป็นค่าถ่ายเอกสาร ค่าหนังสือ ค่าบทความ ค่าจ้างพิมพ์งานค่าเดินทาง ค่าจ้างเก็บข้อมูล ค่าวิเคราะห์ ค่าทำเล่ม ค่านำเสนอผลงานวิจัย และอื่น ๆ 5. การบริหารเวลาการทำวิจัย มีกลยุทธ์ที่สำคัญคือ มีการร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาวางแผนตารางเวลานัดหมาย มีการค้นคว้าเอกสารตลอดเวลาที่ว่างโดยค้นคว้าเอกสารในห้องสมุดทุกวันแล้วจดบันทึกสรุปรายละเอียด มีการจัดสรรเวลาในการเขียนวิจัยอย่างต่อเนื่อง 6. MATERIALS การเตรียมเรื่องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการสืบค้น การสังเคราะห์ และการเขียนงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย การเขียนให้กระชับชัดเจน รัดกุม ถูกต้องตามหลักภาษาและอย่าเขียนให้เกิดข้อสงสัยมีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกันทุกบท และนี่คือ 6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ ! เชื่อว่าหากเพื่อนๆ นำเทคนิคเหล่านี้ไปบ้าง จะทำให้คุณพิชิตงานวิจัยจนสำเร็จง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ หากติดปัญหาทำวิจัย วิทยานิพนธ์ขั้นตอนใดๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้เสมอนะคะ 🙂

สถิติพื้นฐาน มี กี่ ประเภท

ก่อนตัดสินใจต้องรู้ ข้อดีข้อเสียการเรียนปริญญาเอก

ถึงเพื่อนๆที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเรียนปริญญาเอกดีไหม? ลองมาดูข้อดีข้อเสียของการเรียนปริญญาเอกกันอีกสักครั้งก่อนการตัดสินใจครั้งสุดท้ายนะคะ มันอาจทำให้อะไร ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ “ข้อดี” 1. วิชาที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณ เพื่อน ๆ จะได้เจาะลึกลงไปในขอบเขตที่ไม่คุ้นเคย จะได้ผลักดันตัวเองให้ลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์และอาจสร้างความแตกต่างได้ค่ะ มันเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ได้ใช้ศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของความคิดตัวเอง ค้นคว้าและวิจัย เพื่อน ๆ จะเป็นคนที่ขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ในเรื่องที่ศึกษา 2. มุมมองต่อโลก มุมมองของโลกที่เพื่อน ๆ เห็นจะเปลี่ยนไปตลอดกาลค่ะ