เบิก พร บ มอเตอร์ไซค์ ได้ ที่ไหน

เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร?

        พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่รถยนต์ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยจะได้รับเป็นเงินชดเชยต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น แต่ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าขั้นตอนการเบิกประกัน พ.ร.บ. ทำอย่างไร และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้ ANC มีคำตอบมาแชร์ค่ะ

เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ภายหลังจากได้ถูกนำส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อทำการแจ้งเคลมและบอกเหตุการณ์

  2. ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. ผ่านทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  3. แต่ทางผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยชอบธรรมจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อนำใบแจ้งความมาเป็นเอกสารในการเบิก พ.ร.บ.

  4. นำเอกสารต่างๆ ไปยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  5. จากนั้นทาง พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม ภายใน 7 วันทำการ

  6. การดำเนินเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ. สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ

เอกสารที่ใช้เบิกประกัน พ.ร.บ.

  1. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)

  2. สำเนาทะเบียนบ้าน

  3. สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ

  4. สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)

  5. ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

  6. สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.

Show

เอกสารเพิ่มเติม กรณีบาดเจ็บ

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย

  2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

เอกสารเพิ่มเติม กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล เป็นผู้ป่วยใน

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย

  2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

เอกสารเพิ่มเติม กรณีทุพพลภาพ

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

  2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ

  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

เอกสารเพิ่มเติม กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ

  2. ใบมรณบัตร

  3. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท

  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น

– ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท

– กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) เบิกได้คนละ  35,000 บาท

ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์ว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ดังนี้

– ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท

– กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสินเชิง คนละ 500,000 บาท

– กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 500,000 บาท

– กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย คนละ 250,000 บาท

– กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 200,000 บาท

– ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย คนละ 300,000 บาท

– กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

        ความคุ้มครองของประกัน พ.ร.บ. ก็สามารถบรรเทาความทุกข์ร้อนในยามเมื่อเกิดเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินชดเชยต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าให้ พ.ร.บ. ขาดเด็ดขาด

“รถล้ม” เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งกับผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซด์ เช่น ขับรถล้มเอง ยิ่งหากเกิดเหตุรถล้มกลางคืนด้วยแล้ว ก็ยิ่งอันตรายกับผู้ขับขี่มากขึ้น โดยเฉพาะอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์แบบที่ไม่มีคู่กรณี

แน่นอนว่าอุบัติเหตุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รถล้มเอง คนส่วนใหญ่เลยมักจะตกใจจนทำอะไรไม่ถูก และไม่แน่ใจว่าจะสามารถ เบิก พ.ร.บ. หรือเรียกร้องค่าเสียหายอะไรได้บ้าง

รถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี พ.ร.บ. คุ้มครองเท่าไหร่?

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ นั้นจะคุ้มครองผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุทุกกรณีโดย ไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เช่น กรณีรถล้มเอง, ชนแล้วหนี หรือกรณีที่ยังไม่สามารถตัดสินความผิดได้ แล้วพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง?

เมื่อขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะคุ้มครองค่าเสียหายในการรักษาพยาบาล ทั้งตัวผู้ขับขี่และผู้ซ้อน โดยมีรายละเอียดวงเงินค่าชดเชยดังนี้

เบิก พร บ มอเตอร์ไซค์ ได้ ที่ไหน

การจ่ายค่าชดเชยของเหตุการณ์รถล้มเอง หรือรถล้มแบบไม่มีคู่กรณีนั้น จัดอยู่ในการเกิดอุบัติเหตุโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งจะแบ่งการจ่ายชดเชยออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ (จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง) วงเงินค่าชดเชยสูงสุด 30,000 บาท ต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะ วงเงินค่าชดเชยสูงสุด 35,000 บาท ต่อคน
  • กรณีบาดเจ็บ และเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะตามมา วงเงินค่าชดเชยสูงสุด 65,000 บาท ต่อคน

ในวงเงินนี้ผู้ขับขี่ที่เกิดเหตุรถล้ม และผู้ซ้อนเองนั้นสามารถ เบิกค่าชดเชยได้ทั้งคู่ โดยจะต้องดำเนินการทางเอกสารภายใน 180 วัน หลังจากวันที่เกิดเหตุ ซึ่งหลังจากที่มีการยื่นเอกสารอย่างครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินชดเชยค่าเสียจากกรณีรถล้มครั้งนี้ภายใน 7 วัน

รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

เบิก พร บ มอเตอร์ไซค์ ได้ ที่ไหน

กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล

เอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำหรับชาวต่างชาติสามารถใช้ สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัย แทนได้เช่นกันครับ พร้อมกับ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ย้ำว่าต้องเป็น ฉบับจริง เท่านั้น ไม่สามารถใช้ฉบับสำเนาได้นะครับ

กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

เอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ตัวตนผู้ประสบภัย ได้เช่นเดียวกับกรณีการเบิกค่ารักษาพยาบาล

สำหรับกรณี เบิกค่าสินไหมทดแทน เมื่อสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรจะต้องมี ใบรับรองแพทย์ และ หนังสือรับรองคนพิการ ยื่นพร้อมกับ สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือสามารถใช้หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์แทนได้เช่นกันครับ

เบิก พร บ มอเตอร์ไซค์ ได้ ที่ไหน

กรณีเสียชีวิต

เอกสารที่ต้องเตรียมได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต, ใบมรณบัตร,สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรม และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม พร้อมกับ สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

นอกจากนี้หากค่ารักษาพยาบาลนั้นเกินวงเงิน ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ ยังมีหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่นๆ เพิ่มเติมได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือสิทธิบัตรทอง สำหรับผู้ที่ทำ ประกันอุบัติเหตุ ไว้ก็ยังมีสิทธิส่วนนี้ในการเบิกค่ารักษาหรือค่าเสียหายเพิ่มเติมได้อีกด้วยครับ

เบิก พร บ มอเตอร์ไซค์ ได้ ที่ไหน

สรุป

พ.ร.บ. รถเป็นสิ่งจำเป็นที่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ทุกคันจะต้องมี เพราะจะช่วยคุ้มคุ้มครองผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุได้ทุกกรณี รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือ ขาดต่อพ.ร.บ. นั้นถือเป็นการกระทำผิดกฏหมาย ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบเข้า ก็จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท เลยทีเดียว

เงินติดล้อขอแนะนำให้ ผู้ขับขี่ทุกท่านไม่ลืมที่จะต่ออายุ พ.ร.บ.ของรถทุกคัน ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซด์ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฏหมายนะครับ เพราะถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบ โทษปรับที่ต้องเสียนั้นไม่คุ้มกับค่าต่ออายุ พ.ร.บ. แน่นอน

และถ้าอยากให้การขับขี่รถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซด์ของคุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เงินติดล้อขอแนะนำให้คุณ ซื้อประกันภัยรถยนต์ เพิ่มเติมติดไว้ด้วยครับ

สนใจติดต่อประกันรถยนต์กับเงินติดล้อ สามารถทำได้โดย

  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

หรือถ้าคุณต้องการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินติดล้อ” จัดการได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เพียง 5 ขั้นตอน ไม่เกิน 5 นาที รถของคุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ใหม่เอี่ยมได้เรียบร้อย!

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือของคุณ ตามลิงก์นี้เลยครับ

ระบบปฏิบัติการ IOS (Iphone)
ระบบปฏิบัติการ Android (โทรศัพท์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Iphone)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปพลิเคชันเงินติดล้อได้ที่ >>>
https://www.tidlor.com/th/ntlapp.html#ctp