พร บ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 7

Facebook

邮箱或手机号 密码

忘记帐户?

注册

无法处理你的请求

此请求遇到了问题。我们会尽快将它修复。

  • 返回首页

  • 中文(简体)
  • English (US)
  • 日本語
  • 한국어
  • Français (France)
  • Bahasa Indonesia
  • Polski
  • Español
  • Português (Brasil)
  • Deutsch
  • Italiano

  • 注册
  • 登录
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 地点
  • 游戏
  • Marketplace
  • Meta Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 筹款活动
  • 服务
  • 选民信息中心
  • 小组
  • 关于
  • 创建广告
  • 创建公共主页
  • 开发者
  • 招聘信息
  • Privacy Policy
  • 隐私中心
  • Cookie
  • Ad Choices
  • 条款
  • 帮助中心
  • 联系人上传和非用户
  • 设置
  • 动态记录

Meta © 2022

ด้วยประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งทุกสิ่งอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง เพื่อเกิดประสิทธิภาพยอดเยี่ยม สำหรับการติดต่อ การสื่อสาร การส่งข้อมูล การเชื่อมโยง การขนส่งในชีวิตประจำวันของคนในสังคม โดยมีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารดิจิทัลผ่านเครือข่ายของแต่ละค่าย ล้วนเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงข้อมูล การติดต่อสื่อสารได้อย่างทั่วถึง คอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เกิดความสะดวก รวดเร็ว และมีได้หลายช่องทางหลายวิธีการ เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน สังคม ด้วยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบดิจิทัล ส่งเสริมให้คน ในสังคมมีองค์ความรู้และเพิ่มพูนทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในด้านการคมนาคม การขนส่ง การโอนเงิน การทำธุรกิจออนไลน์ ธุรกรรมทางลิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในรูปแบบต่างๆ แม้กระทั้งเรื่องของการกู้ยืมเงินของคนในสังคมเกิดขึ้นในระบบโลกออนไลน์ ส่งข้อความผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) จึงเกิดปัญหาขึ้นว่า ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือ ที่รู้จักกันนามเรียกว่า เจ้าหนี้ จะมีโอกาสได้เงินคืนหรือไม่ และข้อความต่างๆ ที่ได้สนทนากัน แชท (Chat) ผ่านระบบออน์ไลน์ ส่งข้อความผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีสำหรับการฟ้องร้องและบังคับคดีกันได้ตามกฎหมายหรือไม่

ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จะเห็นว่า ถ้าเป็นการกู้ยืมเงินกันจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท ถึงแม้ว่าผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงินจะไม่ได้ทำหรือไม่มีหลักฐานใดเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินให้ผู้ให้กู้ยืมเงินยึดถือไว้เป็นหลักฐานไว้ต่อกัน หากผู้กู้ยืมเงินไม่ยอมชำระหนี้ ผู้ให้กู้ยืมเงินก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้ ผู้กู้ยืมเงินนั้นชำระหนี้ได้ เพราะกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้บังคับว่าการกู้ยืมเงินกันไม่เกิน 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงิน ดังนั้น กรณีนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินสามารถใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับ ชำระหนี้ได้ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจะมีสักกี่คน ที่จะยอมเสียเวลาไปฟ้องต่อศาลเพื่อทวงเงินคืนแม้จะได้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย หากต้องเสียค่าทนายความ น่าจะไม่คุ้มค่าและใช้เงินมากเกินจำนวนไปแล้ว

แต่หากเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป หากผู้ให้กู้ยืมเงินหรือเรียกว่า เจ้าหนี้ ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญ ก็ไม่สามารถฟ้องร้องกันได้ พยานหลักฐานที่ผู้ให้กู้ยืมเงิน จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในการฟ้องร้องบังคับคดี พยานหลักฐานนั้นจะต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้กู้ยืมเงินได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อไว้เพียงฝ่ายเดียวก็พอ แม้ว่าผู้ให้กู้ยืมเงินนั้นจะมิได้ลงลายมือชื่อในหลักฐานนั้นด้วยก็ตาม และกรณีแม้ไม่ได้ทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกันระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงินแต่อย่างใดก็ตาม ขอเพียงแต่พยานหลักฐานนั้นได้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าผู้กู้ยืมเงินได้กู้ยืมเงินไปจากผู้ให้กู้ยืมเงินจริง และลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินไว้ เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น ก็เพียงพอที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือเจ้าหนี้ ใช้ฟ้องร้องบังคับให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้เงินกู้คืนได้

พยานหลักฐานเป็นหนังสือแห่งการกู้ยืมเงิน ไม่จำเป็นที่จะต้องทำขึ้นเป็นกระดาษเสมอไป จะทำขึ้นบนวัตถุใดๆ ก็ตาม ก็สามารถที่จะนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีได้ หากปรากฏข้อความเป็นตัวอักษร สามารถสื่อสารกันได้ว่า เป็นการกู้ยืมเงินกันระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงิน และที่สำคัญผู้กู้ยืมเงินได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ตามมาตรา 653 วรรคแรก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว

หากได้นำมาตรา 653 วรรคแรก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว มาใช้พิจารณากับปัญหาตามหัวข้อเรื่อง การกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีส่งข้อความผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ซึ่งเป็นระบบออน์ไลน์ ที่นิยมใช้สื่อสารอันอยู่ทางโลกออนไลน์ ในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่า การส่งผ่านข้อความสื่อสารถึงกัน หากเป็นการสื่อสารเพื่อกู้ยืมเงินกัน มีข้อความ มีตัวอักษร ตัวหนังสือ แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงินให้เห็นแต่อย่างใด จึงเกิดเป็นปัญหาว่า ข้อความที่ผู้กู้ยืมเงิน สื่อสารถึงผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อขอยืมเงินนั้น แม้หากผู้ให้กู้ยืมเงินได้ตกลงยินยอมให้กู้ยืมเงินก็ตาม โดยมีข้อความส่งถึงกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ที่สามารถเข้าใจได้ว่ามีการกูยืมเงินกันจริง เป็นจำนวนเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป และภายหลังผู้กู้ยืมเงินไม่ยอมคืนเงิน ปัญหาเกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ผู้ให้กู้ยืมเงิน จะนำข้อความที่ได้ส่งถึงกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ดังกล่าว มาใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้จำนวนที่กู้ยืมกันไม่ได้ เพราะแม้จะมีข้อความที่สื่อสารส่งถึงกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ระหว่างผู้กู้ยืมเงินกับผู้ให้กู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด ดังนั้น หากพิจารณาตาม มาตรา 653 วรรคแรก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว ไม่อาจถือได้ว่าข้อความที่สื่อสารกัน ส่งข้อความถึงกันผ่านทางระบบไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค(Facebook) นั้น ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันตามกฎหมายดังกล่าว

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ใช้บังคับเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีประเด็นปัญหาว่า การที่ผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงิน ได้กู้ยืมเงินกันโดยส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) นั้น ถือได้ว่าเป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมายของคำว่า“ธุรกรรม” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4 คำว่า “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น และคำว่า “ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ส่วนคำว่า “ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ ส่วนคำว่า“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร และคำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นด้วย โดยสรุปการกู้ยืมเงินโดยส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) นั้น ถือได้ว่าข้อความนั้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ดังนั้น โดยผลของกฎหมายตามมาตรา ๗ ดังกล่าว ผู้กู้ยืมเงินจึงไม่อาจที่จะปฏิเสธความผูกพันกับผู้ให้กู้ยืมเงินตามข้อความที่มีการสื่อสารส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ซึ่งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ยังได้บัญญัติให้การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาให้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และให้ถือว่าข้อความนั้น เป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ตามมาตรา 8 วรรคแรก บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว”

โดยผลของกฎหมาย จึงถือได้ว่า ข้อความที่ผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินได้สื่อสารขอกู้ยืมเงินกันโดยผ่านการส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) นั้น ได้ทำเป็นหนังสือต่อกันระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงินแล้ว และทั้งคู่ต่างก็ยินยอมและสมัครใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าว ด้วยวิธีการระบุ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินได้สร้างขึ้น ให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิคส์ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของการใช้แอพพลิเคชั่นนั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) แล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 9 บัญญัติว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ (2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี วิธีการที่เชื่อถือได้ตาม (2) โดยให้คำนึงถึง

ก. ความมั่นคงและรัดกุมของการใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการระบุตัวบุคคล สภาพพร้อมใช้งานของทางเลือกในการระบุตัวบุคคล กฎเกณฑ์เกี่ยวกับลายมือชื่อที่กำหนดไว้ในกฎหมายระดับความมั่นคงปลอดภัยของการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัวบุคคลผู้เป็นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับหรือไม่ยอมรับ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทำธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ช่วงเวลาที่มีการทำธุรกรรมและติดต่อสื่อสาร

ข. ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทำ จำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการทำธุรกรรม ประเพณีทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสำคัญ มูลค่าของธุรกรรมที่ทำ หรือ

ค. ความรัดกุมของระบบการติดต่อสื่อสาร ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการประทับตราของนิติบุคคลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโดยอนุโลม”

โดยผลของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงถือได้ว่าการส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงินนั้น เป็นหลักฐานเป็นหนังสือโดยที่มีผู้กู้ยืมได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว ประกอบกับมาตรา 653 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น หากใช้กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ ในการฟ้องร้องต่อสู้คดีในศาล ผู้ให้กู้ยืมเงินในฐานะเจ้าหนี้ น่าจะมีแนวทางการต่อสู้คดี พยานหลักฐาน จนน่าจะมีโอกาสชนะคดี และได้รับเงินกู้ยืมเงินคืนมา ปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏแนวคำพิพากษาฎีกาตัดสินไว้เป็นประเด็นโดยตรง แต่ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินไว้ทำนองเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2556 วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า “การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสด ควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการ ลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8 และมาตรา 9 ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อ มาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง”

คำพิพากษาฎีกาที่ 6757/2560 เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ประชดลูกหนี้โดยการปลดหนี้ให้ในแชท (chat) สนทนา ศาลฎีกาได้นำหลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้บังคับโดยตีความว่าการปลดหนี้ในแชท (chat) ในเครือข่ายออนไลน์ เป็นการปลดหนี้โดยได้ทำเป็นหนังสือ จึงมีผลเป็นการปลดหนี้ที่สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว

ดังนั้น เห็นว่า การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ต้องมีการรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับการทำเป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือการรับรองวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการรับฟังพยาน หลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดความน่าเชื่อถือขึ้น และให้เกิดมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม ซึ่งในทางปฏิบัติทางคดีความ ศาลยุติธรรม ได้มีการใช้กฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มากขึ้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ในการพัฒนาการใช้และการตีความกฎหมายของไทย ให้เกิดมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

.

นายฉัตรมงคล รุ่งรัตน์มณีวงษ์

ส่วนกฎหมาย ฝ่ายอำนวยการสำนักงาน | สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล