พรบ รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม

พรบ รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม
Website 9

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกฎหมายใหม่ หากรถชนเมื่อคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดพ.ร.บ. ของคู่กรณีต้องจ่ายค่าสินไหมอย่างต่ำ 500,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากที่มีข้อมูลระบุว่ากฎหมายใหม่ หากรถชนเมื่อคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด พ.ร.บ. ของคู่กรณีต้องจ่ายค่าสินไหมอย่างต่ำ 500,000 บาท ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การจ่ายสินไหมทดแทนของประกันภัย พ.ร.บ. จะมีเงื่อนไขการจ่ายแต่ละกรณีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และพ.ร.บ.ของคู่กรณีไม่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนขั่นต่ำ 500,000 บาททันที ดังนี้

พ.ร.บ. หากเกิดอุบัติเหตุจากรถ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับความคุ้มครอง หากได้รับความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันต้องรับผิดตามกฎหมาย

หากรถชนเมื่อคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด มีกรณีพิสูจน์ความรับผิดแล้ว บริษัทที่รับประกันภัย พ.ร.บ. ของคู่กรณีต้องจ่าย ดังนี้

1.กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามความเสียหายที่แท้จริง

แต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน

  1. กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000

– 500,000 บาทต่อหนึ่งคน (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)

  1. กรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน
  2. กรณีที่เข้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล (คนไข้ใน) บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท

(จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน)

นอกจากนี้ ในธรณีที่ยังไม่มีการพิสูน์ความรับผิด บริษัทที่รับประกันภัย พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่

ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

  1. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจำนวนที่ จ่ายไปจริง

แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน

  1. กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
  2. กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพ ตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน

หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน

พรบ รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม

ดังนั้นข้อมูลและภาพที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.oic.or.th หรือโทร 0-2515-3999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การจ่ายสินไหมทดแทนของประกันภัย พ.ร.บ. จะมีเงื่อนไขการจ่ายแต่ละกรณีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และพ.ร.บ.ของคู่กรณีไม่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนขั่นต่ำ 500,000 บาททันที

พ.ร.บ.คุ้มครองใครบ้าง

พ.ร..รถยนต์ คุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

รถชน พรบ คุ้มครองอะไรบ้าง

วิธีเบิกเงินจาก พ.ร.บ.รถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน เบิกสูงสุดได้ 5แสนบาท.
กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง โดยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน.
กรณีทุพพลภาพถาวร สูญเสียอวัยวะ หากผู้ประสบภัยเกิดกรณีทุพพลภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน.

เป็นฝ่ายผิด พรบ.คุ้มครองไหม

หากรถไม่มี พ.ร.. รถยนต์ หรือไม่ได้ต่อพรบรถยนต์ หากประสบอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ในกรณีที่คู่กรณีเป็นฝ่ายผิด หากต้องทำการเบิกหรือเคลมค่ารักษาพยาบาลสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องออกค่าใช้จ่ายล่วงหน้าไปก่อน ระหว่างที่รอผลการพิสูจน์ว่าผิดหรือถูก

พรบมอไซค์ คุ้มครองคู่กรณีไหม

พ.ร.. รถจักรยานยนต์ หรือ พ.ร.. มอเตอร์ไซค์ เปรียบเสมือนการทำประกันภัยชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยจะอยู่ในความดูแลของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.. นั้นจะให้ความคุ้มครองแค่ตัวบุคคล ไม่รวมทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับ ...