ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย จบมาทํางานอะไร

ทำงานเกี่ยวกับอะไร

กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย, อาจารย์สอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศ, พนักงานต้อนรับ, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, เลขานุการ, นักเขียน, นักแปล/ล่าม, เจ้าหน้าที่สถานทูต/สถานกงสุลต่างประเทศ, มัคคุเทศก์ ฯลฯ

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

เรียนเกี่ยวกับ

ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย จบมาทํางานอะไร

     ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และวิวัฒนาการ ของภาษา วรรณกรรมไทย ตลอดจนศิลปะการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมีวิจารณญาณภาควิชาภาษา ไทยมุ่งที่จะให้นักศึกษาได้รู้จักและตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทยในทุก ๆ ด้าน จนเกิดความ ซาบซึ้งสามารถเป็นผู้นำในการศึกษาวิจัย เผยแพร่และถ่ายทอดสรรพวิทยาการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ทาง ภาษาไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การประกอบอาชีพ พัฒนาสังคม และประเทศชาติสืบไป

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า
4. สนใจศึกษาภาษาไทย และวรรณกรรมไทย
5. ต้องการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและวรรณกรรม
6. มีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

#มหาวิทยาลัยคณะ/สาขาระดับชั้นที่เปิดรับปวช.ปวส.ป.ตรีป.โทป.เอก
ปวช.ปวส.ป.ตรีป.โทป.เอก

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ข้าราชการ
2. นักเขียนบทโฆษณา
3. ครูอาจารย์
4. นักอ่านบทโฆษณา
5. นักวิจัยภาษา
6. บรรณาธิการ
7. นักแปล
8. นักเขียน
9. นักข่าวและประมวลข่าว
10. ประชาสัมพันธ์
11. นักหนังสือพิมพ์
12. นักวิเคราะห์-วิจารณ์
13. เลขานุการ
14. งานการท่องเที่ยว-มัคคุเทศก์
15. นักประชาสัมพันธ์
16. งานด้านวัฒนธรรมไทย
17. ผู้ประกาศ-โฆษก
18. งานวิเทศสัมพันธ์
19. นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์
20. พัฒนากร
21. นักแต่งเพลง

ที่มาข้อมูล

http://www.tu.ac.th/org/arts/th.htm
http://humannet.chandra.ac.th/thai
https://www.facebook.com/thai.major.ssru
http://www.cnxnews.net/สัมมนาพัฒนาการศึกษาและ

SHARED

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

  •   ปริญญาตรี
  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  •   ประกาศนียบัตร
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
  •   ปริญญาโท
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  •   ปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Thai

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม(ไทย) : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
ชื่อย่อ(ไทย) : ศษ.บ. (ภาษาไทย)
ชื่อเต็ม(อังกฤษ) : Bachelor of Education (Thai)
ชื่อย่อ(อังกฤษ) : B.Ed. (Thai)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือระดับอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
2. นักวิชาการทางการศึกษา
3. รับราชการตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่ กพ.ประกาศรับ
4. นักวิจัยทางการศึกษาหรือผู้ช่วยวิจัย
5. บุคลากรทางการศึกษาและอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
6. ประกอบอาชีพอิสระ
7. อาชีพอื่นๆ

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู ที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาไทย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังนี้

1. มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างกัลยาณมิตร และมีบุคลิกภาพเป็นแบบอย่างที่ดีเหมาะสมกับความเป็นครูวิชาชีพ

2. มีความรอบรู้ ใฝ่รู้ในศาสตร์ภาษาไทยอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและเป็นระบบ มีทักษะการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายและเชี่ยวชาญ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิด ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

3. มีทักษะและประสบการณ์ในการสอนแบบบูรณาการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ และศิลป์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อเชื่อมโยง ความรู้และปรับตัวสู่ความเป็นสากลได้

4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การประมวลผล การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

5. มีความสามารถในการแสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพและสังคมอย่างมีเหตุผล โดยการบูรณาการศาสตร์แบบสหวิทยาการและ พหุวิทยาการเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

ศศบ คณะอะไร

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.., BA หรือ AB จาก baccalaureus artium และ artium baccalaureus ในภาษาละติน) คือปริญญาทางวิชาการที่ได้รับจากหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ในสาขาศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือทั้งคู่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตโดยทั่วไปใช้เวลาสามถึงสี่ปีขึ้นอยู่กับประเทศ สถาบัน และความเชี่ยวชาญเฉพาะ วิชาเอก หรือวิชาโท คำว่า ...

ศศ.บ. เรียนเกี่ยวกับอะไร

เป็นหลักสูตรการพัฒนาวิชาภาษาไทยเพื่อให้เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านวิชาการ และในด้านทักษะ จนสามารถนำความรู้ทางภาษาไทยไปพัฒนาตนในด้านวิชาชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ เลขานุการ การใช้ภาษาไทยในวงการธุรกิจ ครูสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศเพิ่มอีก 1 ภาษาในฐานะ ...

จบเอกประวัติศาสตร์ทำงานอะไรได้บ้าง

ทำงานเกี่ยวกับเอกสารและหนังสือ เช่น ศูนย์ข้อมูล หอสมุดเอกชน พิพิธภัณฑ์เอกชน ทำงานเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่วิจัย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

ศศ.บ ภาษาอังกฤษ คืออะไร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ภาษาไทย ชื่อเต็ม ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) ชื่อย่อ ศศ..(ภาษาอังกฤษ) ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Arts (English) ชื่อย่อ B.A. (English)