หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

HOME ISSUE

SECTION

ABOUT

หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

COMMON PURPOSE

The Master Key

หลังจากพุทธทาสภิกขุเริ่มเผยแผ่พุทธศาสนาแนวทางใหม่ในสังคมไทยเมื่อกว่า 5 ทศวรรษที่แล้ว มาวันนี้ Seeing with the Eye of Dhamma ฉบับแปลภาษาอังกฤษของหนังสือ ‘ธรรมะเล่มน้อย’ อีกหนึ่งผลงานชิ้นเอก กำลังเป็น จุดเริ่มต้นใหม่ที่จะผลักดันให้คำสอนของพุทธทาสกลายเป็นที่รู้จักของชาวโลกในรูปแบบสมบูรณ์กว่าที่เคยเป็นมา

หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด
หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

  1. หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

พระธรรมโกศาจารย์ หรือท่านพุทธทาสภิกขุ คือหนึ่งในพระสงฆ์ผู้อุทิศตนเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยตลอดชีวิตใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ผลงานของพุทธทาสมีทั้งหนังสือธรรมะที่ลงมือเขียนด้วยตนเอง และบทบรรยายธรรมที่มีการบันทึกไว้แล้วนำมาถอดเทปให้ผู้ศรัทธาได้อ่านต่อในภายหลัง หากนับรวมจำนวนทั้งหมดแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าพุทธทาสมีผลงานหนังสือออกสู่สังคมไทยนับหลายร้อยเล่ม

แม้พุทธทาสภิกขุจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่อยธรรมะให้อยู่ในภาษาที่ร่วมสมัยตั้งแต่ครั้งที่เทคโนโลยีโลกเริ่มเจริญจากยุควิทยุ โทรทัศน์ มาจนถึงคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อกาลเวลาหลายทศวรรษผ่านพ้นไป กระทั่งภาษาของพุทธทาสก็ยังอาจไม่ได้ง่ายที่สุดสำหรับคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะเมื่อการสำรวจ วิเคราะห์ วิจารณ์ และตั้งคำถามต่อแก่นแท้ของพุทธศาสนาผ่านโลกทัศน์สมัยใหม่ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานพุทธทาส ยิ่งทำให้งานของพุทธทาสถือว่าลึกสำหรับคนที่ไม่ได้สนใจธรรมะ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงงานแปล ซึ่งในขณะที่มีผู้แปลงานของพุทธทาสจากภาษาไทยสู่ภาษาอื่นหลายเล่มแล้ว แต่กล่าวได้ว่ายังไม่มีงานชิ้นไหนที่เป็น ‘มาสเตอร์คีย์’ ที่จะทำให้ผู้อ่านชาวต่างชาติเข้าใจงานของพุทธทาสได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องตะลุยอ่านผลงานของท่านทุกเล่ม

สถานการณ์เพิ่งมาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อมีการตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า Seeing with the Eye of Dhamma ออกสู่สายตาชาวโลกเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับแปลของ ‘ธรรมะเล่มน้อย’ ผลงานชิ้นเอกของพุทธทาสที่มุ่งกลั่นแก่นแท้ของแนวคิดพุทธเถรวาทเพื่อรวบรวมเป็นหนังสือที่ง่ายต่อการศึกษาและเข้าใจในเล่มเดียว แม้จะได้รับการเผยแพร่หลังจากที่พุทธทาสมรณภาพไปเกือบ 30 ปีแล้ว แต่หนังสือ Seeing with the Eye of Dhamma ได้รับการแปลและเกลาภาษาให้เข้ากับโลกสมัยใหม่ในยุคดิจิทัลอย่างละเมียดละไม ซึ่งนับเป็นโอกาสดีในการแสดงให้ผู้สนใจพุทธศาสนานานาชาติได้รู้จักธรรมะผ่านการวิเคราะห์และการสำรวจจิตใจตนเอง อีกทั้งยังตอบโจทย์ความต้องการองค์ความรู้มาพัฒนาตนเองในแบบ Self Help ของคนยุคปัจจุบันที่กำลังกลายเป็นธุรกิจทำเงินหลายพันล้านดอลลาร์ทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือที่แนะนำการทำสมาธิทั่วๆ ไปอย่างที่ชาวต่างชาติมักคุ้นเคย สันติกโร หนึ่งในบรรณาธิการผู้แปลและลูกศิษย์ผู้เคยอุปัฏฐากพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า หนังสือเล่มนี้คือแบบฝึกหัดให้ผู้อ่านได้เข้าถึง ‘ชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยการพิจารณา’ ด้วยเหตุนี้ แม้จะเพิ่งตีพิมพ์แต่หนังสือเล่มนี้อาจเป็นการย้อนรอยสู่จุดกำเนิดการผลิตผลงานของพุทธทาสเมื่อครั้งอดีต เพราะในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่พุทธทาสห่วงใยที่สุดก็คือการที่ศาสนาพุทธไม่สามารถเชื่อมต่อได้กับโลกสมัยใหม่ แต่ในเมื่อการตีพิมพ์ Seeing with the Eye of Dhamma ครั้งนี้ได้แชมบาลา สำนักพิมพ์ระดับโลก เข้ามาช่วยทำงานแปลและเรียบเรียงอย่างพิถีพิถัน ผู้อ่านรุ่นใหม่ย่อมจะได้รับโอกาสเข้าถึงเนื้อหาของพุทธทาสได้ในรูปแบบและโวหารที่เข้ากับจริตเป็นอย่างดี

กระบวนการรวบรวมหลักธรรมคำสอนของพุทธทาสเป็นหนังสือธรรมะเล่มน้อยไปจนถึงการตีพิมพ์ฉบับแปล Seeing with the Eye of Dhamma กินเวลายาวนานกว่าทศวรรษ แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเกิดขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการพบกันระหว่างนิกโก โอดิซีออส ประธานสำนักพิมพ์ชัมบาลา (Shambhala Publications) และนพ.บัญชา พงษ์พานิช ณ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ระหว่างที่นิกโกเยือนประเทศไทย

หนังสือเล่มนี้อาจเป็นการย้อนรอยสู่จุดกำเนิดการผลิตผลงานของพุทธทาสเมื่อครั้งอดีต เพราะในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่พุทธทาสห่วงใยที่สุดก็คือการที่ศาสนาพุทธไม่สามารถเชื่อมต่อได้กับโลกสมัยใหม่

หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

นิกโกเคยทำงานเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ในบริษัทไมโครซอฟต์มาก่อน เขาตัดสินใจลาออกและเข้าบริหารสำนักพิมพ์ชัมบาลาจากการชักชวนของครอบครัวที่เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ฯ สำนักพิมพ์แห่งนี้มีชื่อเสียงด้านการพิมพ์เผยแพร่หนังสือเกี่ยวกับประเพณีของเอเชียควบคู่กับศาสตร์หรือวิธีการร่วมสมัยต่างๆ เช่น จิตวิทยา โดยเฉพาะการเขียนเนื้อหาให้เข้าถึงได้ทุกยุคสมัย และยังคอยดัดแปลงต่อยอดอยู่เสมอเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านในวงกว้าง ตัวนิกโกเองยังเคยศึกษาแนวคิดและธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนาในฐานะนักศึกษา ทั้งพุทธเถรวาท พุทธนิกายเซน และพุทธแบบธิเบตในประเทศอินเดียและเมียนมาเป็นระยะเวลาหลายปี ซึ่งทำให้เขาตกผลึกได้ว่าโลกตะวันตกยังเข้าใจวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผิดไปจากความเป็นจริงอยู่มาก

“จากที่ผมได้พูดคุยกับเหล่าอาจารย์และนักวิชาการในประเทศไทย ผมเห็นว่าคนจากโลกตะวันตกนิยามวัตรปฏิบัติแบบพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คลาดเคลื่อนไปมาก พวกเขามักจำกัดมุมมองอยู่แค่การทำสมาธิหรือการวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการมองพุทธเถรวาทแบบตื้นเขินและไม่ถูกต้องเลย ทั้งที่ความจริง พุทธนิกายนี้รุ่มรวยไปด้วยหลักธรรมและวัตรปฏิบัติที่หลากหลายน่ามหัศจรรย์” นิกโกกล่าว

เป้าหมายของนิกโกในการทำสำนักพิมพ์ชัมบาลาคือการแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดนี้ผ่านการตีพิมพ์ผลงานชั้นเยี่ยมที่จะเปิดโลกทัศน์ของชาวตะวันตกเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยชุดข้อมูลที่ถูกต้อง การพบปะพูดคุยกับนพ.บัญชา ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส จึงไม่ใช่การเจรจาทางธุรกิจ แต่เป็นการเล่าให้ฟังถึงงานที่นิกโกกำลังทำและจุดมุ่งหมายที่ต้องการ รวมถึงข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายมี ซึ่งนำไปสู่การค้นพบว่าพวกเขามีพื้นฐานชีวิตและความสนใจที่ใกล้เคียงกัน

นพ.บัญชาเองก็ลาออกจากอาชีพแพทย์ที่กำลังก้าวหน้าและมั่นคงเพื่อไปศึกษาธรรมะกับพุทธทาสที่วัดสวนโมกข์ หลังพุทธทาสมรณภาพ นพ.บัญชาได้ร่วมก่อตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาสเพื่อสืบสานหลักธรรมคำสอนกับผลงานของท่าน และเพื่อเผยแพร่สู่คนรุ่นต่อๆ ไป เมื่อนิกโกได้แสดงความสนใจต่อผลงานของพุทธทาสและอธิบายหลักการทำงานของสำนักพิมพ์ชัมบาลาให้นพ.บัญชาทราบ พวกเขาก็เห็นตรงกันว่าหนังสือธรรมะเล่มน้อยเหมาะสมที่สุดที่จะหยิบยกเอามาแปล

“นี่เป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่เราจะได้แบ่งปันและเผยแพร่คำสอนที่เป็นประโยชน์กับสังคมของเราให้คนทั้งโลกได้รู้จัก ไม่ใช่แค่เฉพาะคนที่พูดไทยได้ มันน่าตื่นเต้นมาก” นพ.บัญชากล่าว

นิกโกเองก็เห็นด้วยกับแนวทางนี้แม้เขาจะไม่เคยได้ยินหรือได้ฟังชุดคำสอนของพุทธทาสมาก่อนก็ตาม แต่เมื่อนพ.บัญชาอธิบายให้เขาเข้าใจถึงงานดังกล่าว รวมถึงความมุ่งมั่นของพุทธทาสในการตั้งคำถามต่อธรรมเนียมปฏิบัติทางศาสนาที่ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน นิกโกจึงยิ่งแน่ใจว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายของสำนักพิมพ์ที่เขาบริหารอยู่

“เนื้อหาในหนังสือนั้นพิเศษมาก ท่านพุทธทาสเป็นบุคคลที่หาได้ยาก เพราะเนื้อหาที่ท่านเขียนนั้นลึกซึ้งกว่าหนังสือศาสนาทั่วไป ซึ่งตรงนี้นับว่าสอดคล้องกับความต้องการของเราในการทำให้ผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลกได้เข้าใจและตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ ความหลากหลาย และความซับซ้อนของพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นิกโกกล่าว

เนื้อหาในหนังสือนั้นพิเศษมาก ท่านพุทธทาสเป็นบุคคลที่หาได้ยาก เพราะเนื้อหาที่ท่านเขียนนั้นลึกซึ้งกว่าหนังสือศาสนาทั่วไป ซึ่งตรงนี้นับว่าสอดคล้องกับความต้องการของเราในการทำให้ผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลกได้เข้าใจความหลากหลายและซับซ้อนของพุทธศาสนา

หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

ในส่วนของการทำงานแปลนั้น โชคดีว่าหนังสือธรรมะเล่มน้อยเคยได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษมาบ้างแล้วโดยธัมมวิทูภิกขุ พระภิกษุชาวอังกฤษ ผู้เลื่อมใสและศึกษาพระธรรมคำสอนของพุทธทาสอย่างจริงจังมากว่าสองทศวรรษ ถึงขนาดเรียนพูดและอ่านภาษาไทยโดยเฉพาะเพื่อจะได้เข้าใจธรรมะอย่างถ่องแท้ เพียงแต่การแปลของธัมมวิทูภิกขุนั้นเป็นการแปลให้เพื่อนฝูงหรือผู้มาเยือนสวนโมกข์ที่ไม่เข้าใจภาษาไทยได้ทำความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือพอสังเขป ฉบับแปลอย่างไม่เป็นทางการของธัมมวิภิกขุจึงยังไม่เหมาะสมจะนำไปตีพิมพ์โดยทันทีเพราะเนื้อหาสำนวนยังไม่สละสลวยหรือใช้คำแปลอย่างเป็นทางการตามมาตรฐานของทางสำนักพิมพ์

เหตุนี้เอง เพื่อให้กระบวนการแปลเป็นไปอย่างถูกต้องและมีสำนวนภาษาตรงตามมาตรฐานในการตีพิมพ์หนังสือ อุบาสกสันติกโร จึงได้รับเชิญมาให้ทำหน้าที่นี้

สันติกโร หรือโรเบิร์ต ลาร์สัน เป็นชาวอเมริกันที่เดินทางมาประเทศไทยในฐานะครูสอนหนังสือเมื่อปี 2523 และตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุในอีก 5 ปีต่อมา สันติกโรติดตามถวายงานพุทธทาสอย่างใกล้ชิดตลอด 9 ปีสุดท้ายในชีวิตของพุทธทาสและศึกษาหลักธรรมคำสอนของพุทธทาสมาตลอดกว่า 35 ปีจนเข้าใจอย่างถ่องแท้และแตกฉาน อีกทั้งยังเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับศรัทธาและผลงานต่างๆ ของพุทธทาสมากที่สุด ผ่านการสนทนาธรรมและแปลหนังสือของพุทธทาสหลายเล่มให้ชาวต่างชาติทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทยได้อ่าน จึงไม่แปลกหากจะกล่าวว่าสันติกโรเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้แปลหนังสือเล่มนี้ รวมถึงการช่วยขัดเกลาสำนวนภาษาให้จับต้องและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นสำหรับผู้อ่านชาวต่างชาติที่อาจจะยังมีความรู้ไม่มากพอจะเข้าใจความซับซ้อนในคำสอนของพุทธทาสได้

“สมัยก่อนชาวต่างชาติหลายคนบอกว่างานของท่านพุทธทาสยากที่จะทำความเข้าใจ หากนิกโกและทีมงานของเขาไม่เข้ามาช่วยขัดเกลาสำนวนภาษาของคำแปลฉบับนี้ ก็อาจทำให้ชาวต่างชาติที่ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคยกับท่านพุทธทาสพลาดโอกาสที่จะหันมาสนใจธรรมะของท่านได้” นพ.บัญชากล่าว

ในตอนแรกสันติกโรไม่สะดวกใจที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแปล เนื่องจากธัมมวิทูภิกขุ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแปลหนังสือธรรมะเล่มน้อยมาก่อน คือมิตรสหายของเขา อีกทั้งสันติกโรยังเป็นผู้ประกอบพิธีอุปสมบทให้ธัมมวิทูภิกขุเมื่อครั้งเป็นพระภิกษุในประเทศไทย สันติกโรจึงไม่ต้องการเข้าไปโต้แย้งสำนวนภาษาเดิมของธัมมวิทูภิกขุ รวมถึงเปลี่ยนแปลงแก้ไขและเรียบเรียงใหม่ด้วย

“การปรับปรุงแก้ไขผลงานของผู้อื่นล้วนมีความเสี่ยง เพราะมันคือสมดุลบางๆ ระหว่างการต้องเคารพความตั้งใจของผู้แปลกับการไม่เห็นด้วยกับคำแปลต้นฉบับ ตามความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยและคำสอนของพุทธทาสที่เรามี” สันติกโรกล่าว

นอกจากนี้ระยะเวลาของกระบวนการทำคำแปลที่จำกัดและภาระหน้าที่ที่มีในมือซึ่งค่อนข้างล้นของสันติกโรในช่วงที่ได้รับการติดต่อก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เขาไม่สะดวกใจจะมีส่วนร่วมในงานครั้งนี้ กอปรกับเขายังมองว่าตัวเองเป็นคนทำงานช้าจากการมีนิสัยไม่ปล่อยผ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วย แต่สุดท้ายก็สามารถหาข้อตกลงกันได้ว่าสันติกโรจะรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมคุณภาพงานแปลในช่วงแรก ซึ่งเขาพอจะปลีกเวลามาช่วยได้

ก่อนหน้านี้ สันติกโรได้เดินทางกลับสหรัฐอเมริกา และตั้งสถานปฏิบัติธรรมชื่อ Kevala Retreat ในรัฐวิสคอนซิน ขึ้นในปี 2547 เพื่อเผยแผ่หลักธรรมทางพุทธศาสนา และวิธีการทำสมาธิตามคำสอนของพุทธทาส แต่การเกิดวิกฤตโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 ทำให้คลาสเรียนที่เปิดสอนในสถานปฏิบัติธรรมต้องถูกยกเลิก สันติกโรจึงมีเวลามากขึ้นในการอ่านงานแปลหนังสือธรรมะเล่มน้อย เขาจึงได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ควบคุมคุณภาพฉบับแปลมาเป็นบรรณาธิการอาวุโส เปิดโอกาสให้ท่านแก้ไขคำแปลและเติมรายละเอียดที่ฉบับแปลแรกยังไม่มี

หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด

สันติกโรกล่าวว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการทำงานแปลเล่มนี้ไม่ใช่แค่การแปลคำสอนของพุทธทาสให้ถูกต้องเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการเรียบเรียงออกมาให้เป็นสำนวนภาษาที่ผู้อ่านชาวตะวันตกสามารถเข้าใจได้ง่ายด้วย

“งานแปลส่วนใหญ่ผู้แปลมักใส่ความคิดของตัวเองลงไปในงาน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผู้เขียนหรือผู้แต่งหนังสือต้นฉบับต้องการจะสื่อสาร ผมคิดว่านั่นไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้แปล ผู้แปลควรจะเคารพและยึดตามเนื้อหาของต้นฉบับ แต่การแปลก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเสมอไป สิ่งที่ผู้แปลต้องคำนึงถึงด้วยคือผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคำแปลฉบับนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนอาจไม่เข้าใจถึงความสำคัญข้อนี้” สันติกโรกล่าว

ด้วยเหตุนี้สำนักพิมพ์ชัมบาลาจึงเชิญ ปาโก้-ฟรองซัวส์ เมอริโกส์ (François ‘Paco’ Merigoux) มาเป็นบรรณาธิการผู้ประสานงานในการจัดทำคำแปลหนังสือธรรมะเล่มน้อย ซึ่งจะเผยแพร่ออกสู่สายตาผู้อ่านทั้งชาวอเมริกัน ยุโรป และประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เนื่องจากปาโก้มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ปาโก้จึงมีบทบาทสำคัญในการปรับภาษาและขัดเกลางานแปลให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านในวงกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นกลุ่มคนที่ได้เริ่มหันมาศึกษาพุทธศาสนาแล้ว ซึ่งเคยเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในงานแปลเล่มก่อนๆ ของสันติกโร

“นี่ไม่ใช่คู่มือฝึกทำสมาธิแบบทั่วไปที่หาอ่านได้ดาษดื่นในหนังสือแปลประเภท ‘ฮาวทู’ หรือ ‘แคนดู’ ซึ่งกำลังครองตลาดในอเมริกา เพราะสิ่งที่ท่านพุทธทาสสอนคือการนำทางคนไทย รวมถึงผู้อ่านที่ใช้ภาษาอังกฤษ ให้เข้าสู่การพินิจพิจารณาชีวิตอย่างลึกซึ้ง และที่ท่านใช้ธรรมะของศาสนาพุทธเข้ามาประกอบนั้นไม่ใช่เพื่อให้ศึกษาศาสนา แต่เป็นการนำมาใช้เพื่อสำรวจการทำงานของจิตที่อยู่ภายใน” สันติกโรอธิบาย

การแปลและเรียบเรียงหนังสือธรรมะเล่มน้อยเป็นภาษาอังกฤษใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ปี และในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้ข้อสรุปของชื่อหนังสือในเวอร์ชั่นนี้ว่า Seeing with the Eye of Dhamma ซึ่งน่าจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านชาวต่างชาติได้ไม่น้อย ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาหนังสือแปลฉบับเสร็จสมบูรณ์ขนาด 300 หน้า ได้เริ่มจัดจำหน่ายทั่วโลกผ่านสำนักพิมพ์ Penguin Random House โดยบางส่วนถูกจัดส่งมายังประเทศไทย ในราคาพิเศษผ่านหอจดหมายเหตุพุทธทาส เพื่อเผยแผ่ให้กับเครือข่ายนักแปลงานของพุทธทาส, พระสงฆ์และวัดไทยในต่างแดน, พระสงฆ์ต่างชาติ และมวลหมู่ภาคีงานธรรมของหอจดหมายเหตุพุทธทาส

หนังสือ Seeing with the Eye of Dhamma ไม่ได้เป็นเพียงผลงานที่ช่วยให้ผู้ใช้ภาษาอังกฤษเข้าถึงและสนใจพุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมอบโอกาสให้ผู้คนจากหลากหลายสาขาอาชีพในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักบริหารธุรกิจหรือนักการศึกษา ได้สำรวจและวิเคราะห์ชีวิตของตัวเองผ่านแง่มุมใหม่ๆ ได้ลองเริ่มต้นฝึกจากตัวเองและสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต ผ่านธรรมะที่พอเหมาะพอดี ทั้งนี้โดยมีภาษาอังกฤษเป็นบันไดไต่ข้ามข้ามอุปสรรคของภาษาบาลีและภาษาไทยยุคก่อนซึ่งผู้อ่านไทยยุคใหม่หลายคนไม่ได้สันทัดเท่าใดนัก

การช่วยให้คำสอนของพุทธทาส ผู้ละสังขารจากโลกไปนานเกือบ 30 ปีแล้ว ได้รับการสืบสานและเผยแพร่ไปในโลกกว้างด้วยภาษาอังกฤษครั้งนี้ จึงมีผลประหลาดที่ทำให้กลุ่มผู้อ่านชาวไทยที่อ่านต้นฉบับภาษาไทยได้อยู่แล้ว ยังพลอยได้ประโยชน์ไปด้วย

นับว่าเป็น ‘มาสเตอร์คีย์’ สู่การพัฒนาจิตใจสำหรับทุกคนและทุกยุคโดยแท้จริง

หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด
หนังสือที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจพระพุทธศาสนาในยุคต้น ๆ คือหนังสือเล่มใด