ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ

15.ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics หรือ Geomatics)  เป็นเทคโนโลยีที่ได้นำมาใช้ในหน่วยงาน

ใดต่อไปนี้

ก.  การบริหารจัดการ  และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ข.  งานด้านสังคม  และติดตามสิ่งแวดล้อม

ค.  การบริหารจัดการ  และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ง.  งานด้านสังคม  และติดตามสิ่งแวดล้อม

ตอบ       ค.  การบริหารจัดการ  และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics  หรือ  Geomatics)  เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น  สำหรับหน่วยงาน  หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ  และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม  เช่น  ทรัพยากรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น

16.Wisconsin State Cartographer’ Office  ได้ให้ความหมายของคำว่า “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” ว่า

อย่างไร

ก.   GIS เป็นระบบของคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บการจัดการ  การจัดทำ  การวิเคราะห์  การทำแบบจำลอง

ข.   ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล  หน่วยงานหรือองค์กร  และผู้เชี่ยวชาญ  ทำงานร่วมกันในการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์

ค.   เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่  ในการรวบรวมข้อมูล  กรรมวิธีข้อมูล  การวิเคราะห์  การแปล  ตีความหมาย  เพื่อให้เราสามารถสร้างภาพและเข้าใจข้อมูลเชิงพื้นที่ของโลก

ง.   ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  หมายถึง  กระบวนการใช้คอมพิวเตอร์  ซอฟต์แวร์  ซอฟต์แวร์  ข้อมูลทางภูมิศาสตร์  ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดเก็บข้อมูล

ตอบ       ข.  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ข้อมูล  หน่วยงานหรือองค์กรและผู้เชี่ยวชาญ  ทำงานร่วมกันในการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์

ความหมายของระบบภูมิสารสนเทศ

Federal Interagency Coordinating Committee (1990)  กล่าวว่า GIS เป็นระบบของคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บการจัดการ  การจัดทำ  การวิเคราะห์  การทำแบบจำลอง  และการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ปัญหาการวางแผนที่ซับซ้อน  และปัญหาในการจัดการ

Wisconsin State Cartographer’ Office (2002)  กล่าวว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ข้อมูล  หน่วยงานหรือองค์กร  และผู้เชี่ยวชาญทำงานร่วมกันในการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์

สุรชัย (2546)  กล่าวว่า เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่  ในการรวบรวมข้อมูล  กรรมวิธีข้อมูล  การวิเคราะห์  การแปล  ตีความหมาย  การประมวลผล  การเผยแพร่  และการใช้ข่าวสารภูมิศาสตร์เพื่อให้เราสามารถสร้างภาพ  และเข้าใจข้อมูลเชิงพื้นที่ของโลก (Geospatial Data) ที่เราอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดีทำให้ได้ข่าวสารที่ถูกต้องและทันสมัย  สามารถใช้ประกอบและสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ  การบริหารด้านสาธารณะ  และด้านการบริหารเชิงธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปคือ  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หมายถึง กระบวนการใช้คอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software)  ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Geographic Data)  และการออกแบบ (Personal Design) ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดเก็บข้อมูล  การปรับปรุงข้อมูล  การคำนวณ  และการวิเคราะห์ข้อมูลให้แสดงผลในรูปของข้อมูลที่สามารถอ้างอิงในทางภูมิศาสตร์  หรือหมายถึง  การใช้สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บ  และการใช้ข้อมูลเพื่ออธิบายสภาพต่างๆ บนพื้นผิวโลก  โดยอาศัยลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ

17.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในประเทศไทย  มีการพัฒนาโดยการศึกษาในรูปแบบของงานวิจัยในข้อ

ใดต่อไปนี้

ก.  ความลาดชัน (Slope)                                                  ข.  ความสูง (Elevation)

ค.  ทิศด้านลาด (Aspect)                                                   ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในประเทศไทย  มีการพัฒนาโดยการศึกษาในรูปของงานวิจัย  เช่น  การศึกษาการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ดิน (Land-Use)  ลักษณะพืชพรรณ (Vegetation Type)  ความสูง (Elevation)  ความลาดชัน (Slope)  ทิศด้านลาด (Aspect)  ธรณีวิทยา (Geology)  และดิน (Soil) ของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ศึกษา

18.การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing)  ปัจจุบันได้นำมาใช้ติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใน

การทำงานด้านใด

ก.  การเกิดอุทุกภัย                                                              ข.  การทรุดตัวของแผ่นดิน

ค.  การเกิดซึนามิ                                                                                ง.  การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

ตอบ       ก.  การเกิดอุทุกภัย

การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing)  ปัจจุบันได้นำมาใช้ติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหรือเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ  เช่น  อุทุกภัย  วาตภัย  ไฟป่า  และภัยพิบัติที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น  เช่น  วินาศกรรม  ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้แล้ว  เทคนิค Remote Sensing จะสามารถติดตามผลได้อย่างดี

19.คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีกี่ลักษณะ

ก.  1  ลักษณะ                                                                      ข.  2  ลักษณะ

ค.  3  ลักษณะ                                                                      ง.  4  ลักษณะ

ตอบ       ค.  3  ลักษณะ

การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing – RS)  ความหมายและคำนิยามของคำว่า  การรับรู้จากระยะไกล (สุรชัย,  2546) กล่าวว่า เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ  พื้นที่หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล  โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมายโดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อการได้มาของข้อมูล 3 ลักษณะ คือ  ช่วงคลื่น (Spectral)  รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นผิวโลก (Spatial)  และการเปลี่ยนแปลงตามช่วยเวลา (Temporal)

20.ดาวเทียม NAVSTAR  มีจำนวนทั้งหมดกี่ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก

ก.  22  ดวง                                                                           ข.  24  ดวง

ค.  26  ดวง                                                                           ง.  28  ดวง

ตอบ       ข.  24  ดวง

ดาวเทียม NAVSTAR (NAVigation Satellite and Ranging)  มีจำนวนทั้งหมด 24 ดวง  ที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก

21.ข้อใดคือส่วนประกอบของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)

ก.  Space segment                                                              ข.  Control segment

ค.  User segment                                                                ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

ตอบ       ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนอวกาศ (Space segment)  ส่วนสถานีควบคุม (Control segment)  และส่วนผู้ใช้ (User segment)  ออกแบบและจัดสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการนำทาง

22.หน่วยงานใดเป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)

ก.  กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา                              ข.  กระทรวงกลาโหมราชอาณาจักร

ค.  กองทัพสหรัฐอเมริกา                                                  ง.  กองทัพราชอาณาจักร

ตอบ       ค.  กองทัพสหรัฐอเมริกา

ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

23.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลประเภทใดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างแผนที่  รายงาน

จัดเก็บบันทึก  และอธิบายข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งเพื่อใช้ในการสางแผนอย่างมีระบบ

ก.  ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลชนิดอื่นๆ

ข.  ข้อมูลเชิงคุณลักษณะและข้อมูลภูมิประเทศ

ค.  ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ

ง.  ข้อมูลภูมิประเทศและข้อมูลชนิดอื่นๆ

ตอบ       ก.  ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลชนิดอื่นๆ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเชิงคุณลักษณะและสัมพันธ์กันกับข้อมูลเชิงพื้นที่  ดังนั้น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลชนิดอื่นๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างแผนที่  รายงาน  จัดเก็บบันทึก  และอธิบายข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งเพื่อใช้ในการสางแผนอย่างมีระบบ

24.ข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลมักจะถูกนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองเพื่อการ

วิเคราะห์งานในด้านใด

ก.  ด้านภูมิประเทศ                                                            ข.  ด้านสิ่งแวดล้อม

ค.  ด้านทรัพยากร                                                               ง.  ด้านสถิติ

ตอบ       ข.  ด้านสิ่งแวดล้อม

การนำระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย  ปัจจุบันพบว่า มีอยู่ในสาขาต่างๆ เช่น  ด้านป่าไม้  การเกษตร  อุทกภัยวิทยาและแหล่งน้ำ  การใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน  ธรณีวิทยา  และธรณีสัณฐาน  ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง  ด้านการทำแผนที่  ภัยธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม  ข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลมักถูกนำไปผสมผสานกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น

25.งานด้านใดที่ได้นำระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลมาประยุกต์ใช้

ก.  ด้านป่าไม้                                                                       ข. ด้านการคมนาคม

ค.  ด้านเศรษฐกิจ                                                                ง.  ด้านการสื่อสาร

ตอบ       ก.  ด้านป่าไม้

ดูคำอธิบายข้อข้างต้น

26.ประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) คือข้อใด

ก.  การนำทางจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆ ได้ตามต้องการ

ข.  การติดตามการเคลื่อนที่ของคน และสิ่งของต่างๆ

ค.  การวัดเวลาที่เวลาที่เที่ยงตรงที่สุด

ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ       ง.  ถูกทุกข้อ

ประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) คือ

  • หาตำแหน่งใดๆ บนพื้นโลกได้ 24 ชั่วโมง
  • การนำทางจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆ ได้ตามต้องการ
  • การติดตามการเคลื่อนที่ของคน และสิ่งของต่างๆ
  • การทำแผนที่ต่างๆ
  • การวัดเวลาที่เวลาที่เที่ยงตรงที่สุด
  1. ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่ใช้ในติดตามทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากร

ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น  ปัจจุบันมีการพัฒนารายละเอียดของภาพที่แสดงผลมากขึ้นและข้อมูลที่มี

รายละเอียดสูงได้มาจากดาวเทียมดวงใด

ก.  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ LANDSAT-7

ข.  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ETM+

ค.  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ IKONOS

ง.  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ SPOT-5

ตอบ       ค.  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ IKONOS

แผนที่เฉพาะเรื่องได้เกี่ยวข้องทรัพยากรที่ปกคลุมโลกเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักธรณีวิทยา  นักปฐพีวิทยา  นักสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน  ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่ใช้ในการติดตามทรัพยากรธรรมชาติ  และทรัพยากรที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น  ปัจจุบันมีการพัฒนารายละเอียดของภาพที่แสดงผลมากขึ้น  จนปัจจุบันมีข้อมูลที่มีรายละเอียดปานกลาง  เช่น  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ LANDSAT-7  ETM+  หรือ  SPOT-5  และข้อมูลที่มีรายละเอียดสูง  เช่น  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ IKONOS,  QUICKBIRD  รายละเอียดของข้อมูลแผนที่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลกมีปริมาณมากขึ้น  ซึ่งในยุคดังกล่าวมนุษย์ได้พบกับอุปสรรคของปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้น  และขณะเดียวกันข้อมูลเชิงปริมาณที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ขนาดของพื้นที่ก็ยังขาดเทคนิคในการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์  และการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมด้วย

28.ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก  อาศัยสิ่งใดในการหาตำแหน่งบนพื้นโลก

ก.  คลื่นไฟฟ้า  และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR

ข.  คลื่นวิทยุ  และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR

ค.  คลื่นแม่เหล็ก  และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVISTAR

ง.  คลื่นสนามแม่เหล็ก  และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVISTAR

ตอบ       ข.  คลื่นวิทยุ  และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System – GPS)  เป็นระบบนำร่องโดยอาศัยคลื่นวิทยุ  และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR (NAVigation Satellite Timing and Ranging) จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก  สามารใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ทุกๆ จุดบนผิวโลก  ในทศวรรษที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม GPS มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว  หลังจากเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ในปี พ.ศ. 2536 และมีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง

29.องค์ประกอบหลักของระบบภูมิสารสนเทศคือข้อใด

ก.  การรับรู้จากระยะไกล                                                  ข.  ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

ค.  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์                                       ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

ตอบ       ง.  ถูกทั้ง ข้อ ก. ข. และ ค.

องค์ประกอบหลักของระบบภูมิสารสนเทศ

ระบบภูมิสารสนเทศได้นำมาใช้ในการบริหารและจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือท้องถิ่น  เป็นการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาผสมผสานร่วมกันเพื่อเสริมประสิทธิภาพของการนำเข้าข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ในเชิงซับซ้อนมากขึ้น  เพื่อจำลองปัจจัย  หรือเหตุการณ์ให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงบนพื้นผิวโลก  เหนือพื้นโลก  และใต้พื้นโลก  โดยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในระบบภูมิสารสนเทศนั้นล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ตำแหน่งอ้างอิงบนพื้นผิวโลกแทบทั้งสิ้น

การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ  หรือสิ่งปกคลุมพื้นผิวโลกได้อย่างทันสมัย  และทันเหตุการณ์

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS – Global Positioning System) ในพื้นที่ห่างไกลต่อการเข้าถึงของยานพาหนะที่มนุษย์ต้องการเข้าไปสำรวจ  ติดตามทรัพยากรบนโลกที่เกิดขึ้นใหม่  หรือต้องการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกโดยใช้ดาวเทียม  จีพีเอส  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ทราบถึงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์  ตำแหน่งวัตถุ  และทรัพยากรอยู่ในตำแหน่งใดที่สามารถจัดให้อยู่ในระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์เดียวกัน

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS – Geographic Information Systems) คือระบบที่มนุษย์นำมาใช้ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)  โดยนำเข้าข้อมูลมาวิเคราะห์ในรูปแบบเชิงพื้นที่ซึ่งแต่ละพื้นที่จะประกอบไปด้วยฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์  ตัดสินใจในการแก้ไข  วางแผนการบริหารจัดการ  ตามเงื่อนไขที่มนุษย์จะเป็นผู้ดำเนินการ  และสามารถแสดงผลการวิเคราะห์ตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ในรูปแบบสองมิติ  และสามมิติ  เพื่อจำลองสภาพภูมิประเทศให้ใกล้เคียงกับพื้นที่จริง  ระบบภูมิสารสนเทศจึงได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นทั้งในประเทศ  และต่างประเทศ

30.ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS อย่างรวดเร็ว คือ เครื่องมีขนาดเล็กลง ราคา

ถูก  และมีขีดความสามารถสูงขึ้น  และในปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องรับสัญญาณติดตั้งร่วมอุปกรณ์

อื่นๆ ในข้อใดต่อไปนี้

ก.  โทรทัศน์                                                                         ข.  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

ค.  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล                                               ง.  โทรศัพท์มือถือ

ตอบ       ง.  โทรศัพท์มือถือ

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS อย่างรวดเร็ว คือ เครื่องมีขนาดเล็กลง  ราคาถูก  และมีขีดความสามารถสูงขึ้น  และในปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องรับสัญญาณติดตั้งร่วมอุปกรณ์อื่นๆ  เช่น  นาฬิกาข้อมูล  โทรศัพท์มือถือ  และการติดตั้งเพื่อการนำร่องในรถยนต์  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานในอาคารหรือในบริเวณที่มีการปิดกั้นสัญญาดาวเทียม (Indoor GPS)

-----------------------------------------------------

ศูนย์หนังสือสอบ

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆของประเทศ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 
>> สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<


** Update เจาะลึกทุกประเด็น ครอบคุมเนื้อหาที่ออกสอบ รวมทั้งแนวข้อสอบ พร้อมเฉลย คำอธิบาย
** ออกบ่อย รวมแนวข้อสอบที่ออกจริงออกบ่อยทุกปี เน้นๆเนื้อๆ คุณภาพ 
** ติวเข้ม สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ตีโจทย์ยากๆให้เข้าใจง่าย พร้อมเฉลย
** ครอบคุม ครอบคุมเนื้อหาที่ประกาศสอบ รวบรวมไว้ทั้งความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะตำแหน่ง ไว้ในเล่มเดียว
------------------------------------------------------------------------------------

** สนใจแนวข้อสอบ หนังสือเตรียมสอบ สั่งซื้อและสอบถามได้ที่

Line ID : @082qbedd
คลิกๆๆ ได้เลยคะ : https://lin.ee/M9XRwqI

โทร : 091-0644897

ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ

ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ

ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ

ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ

 
ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ

 

ข้อใดคือความหมายของภูมิสารสนเทศ