ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

Save

การตั้งค่าผู้ใช้งานคุกกี้

เว็บไซต์ที่ท่านเข้าชมอาจมีการจัดเก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้หรือเทคโนโลยีที่คล้ายกัน เพื่อช่วยจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์และการตั้งค่าของท่านอีกทั้งยังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้ สนพ. สามารถส่งมอบบริการและการประชาสัมพันธ์ได้ตรงตามสิ่งที่ท่านสนใจ แต่ละเว็บไซต์อาจมีการใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน โดยท่านสามารถดูได้จากรายละเอียดของคุกกี้ที่มีการใช้งานและสามารถที่จะปฏิเสธการใช้งานได้ อย่างไรก็ตามคุณควรทราบว่าการปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการ

อนุญาตทั้งหมด

ปฏิเสธทั้งหมด

คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สนพ. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สนพ. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

อนุญาต

ปฏิเสธ

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สนพ. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

อนุญาต

ปฏิเสธ

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สนพ. เห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สนพ. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สนพ. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สนพ. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

อนุญาต

ปฏิเสธ

คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งาน (Strictly Necessary Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สนพ. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สนพ. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

อนุญาต

ปฏิเสธ

สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม

ลักษณะของโรงงาน/อาคารที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน/อาคารควบคุม

โรงงาน/อาคารควบคุมจะต้องมีลักษณะการใช้พลังงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม…คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (ต.ค.2554)

การขึ้นทะเบียนเป็นโรงงาน/อาคารควบคุม

อาคารที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นอาคารควบคุมโดยกรอก แบบกรอกข้อมูลของอาคารเพื่อการวินิจฉัยการเป็นโรงงานควบคุม / แบบกรอกข้อมูลของอาคารเพื่อการวินิจฉัยการเป็นอาคารควบคุม ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9 ต่อ 1407

หน้าที่ของโรงงาน/อาคารควบคุม

1) จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานโดยมีจำนวนและคุณสมบัติตามที่กำหนด
2) จัดให้มีการจัดพลังงาน
3) ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดี กรณีที่สั่งให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้พลังงานเพื่อตรวจสอบให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

การจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ
อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) จบการศึกษาระดับ ปวช. สาขาช่างไฟฟ้า เครื่องกล ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโลหะ
ช่างกลอาคาร ประสบการณ์ 3 ปี
2) จบการศึกษาระดับ ปวท. สาขาช่างไฟฟ้า เครื่องกล ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโลหะ
ช่างกลอาคาร ประสบการณ์ 3 ปี
3) จบการศึกษาระดับ ปวส. สาขาช่างไฟฟ้า เครื่องกล ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างกลโลหะ
ช่างกลอาคาร ประสบการณ์ 1 ปี
4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาไฟฟ้า อุตสาหกรรม เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์
หรือพลังงาน

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโส ภาคทฤษฎี
อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญประจำอาคารควบคุม และจบการศึกษาระดับ ปวส. ขึ้นไป
2) เป็นผู้ปฏิบัติงานในอาคารควบคุมและจบการศึกษาระดับปริญญา ด้านวิศวกรรม (สาขาไฟฟ้า,
อุตสาหกรรม, เครื่องกล)

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโส ภาคปฏิบัติ
อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (ภาคทฤษฎี)
2) สอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดการจัดสอบผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน หลักสูตรผู้รับผิดชอบด้าน
พลังงาน (ภาคทฤษฎี)

คุณสมบัติผู้สอบบุคคลทั่วไป
1) ต้องเป็นบุคคลากรจากอาคารควบคุม
2) ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม.. คู่มือการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (ต.ค.2554)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน โทรศัพท์: 0-2577-7035-41

จำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

การแจ้งแต่งตั้งของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

อาคารควบคุมจะต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เป็นอาคารควบคุม โดยกรอก
แบบแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและแบบรับรองผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน (บพช.๑ (pdf) (word), บพช.๒ (pdf) (word) และ บพช.๓ (pdf) (word) )

ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9 ต่อ 1407

การแจ้งพ้นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

อาคารควบคุมจะต้องแจ้งการพ้นหน้าที่และแต่งตั้งใหม่ภายใน 90 วัน ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9 ต่อ 1407

การจัดการพลังงาน

โครงสร้างการจัดการพลังงาน

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..คู่มือการพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน
รูปแบบรายงานการจัดการพลังงานสำหรับอาคารควบคุม

รูปแบบรายงานการจัดการพลังงานสำหรับโรงงานควบคุม

บริการอบรมหลักสูตร..

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.
 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์: 082-654-1599

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..
คู่มือการฝึกอบรม ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการ
คู่มือการฝึกอบรม ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ระดับผู้ชำนาญการ

การส่งรายงานการจัดการพลังงาน

ส่งรายงานการจัดการพลังงาน
ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

โดยส่งเป็นเอกสารต้นฉบับ พร้อมแผ่น CD ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1) นำส่งด้วยตนเองที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
อาคาร 8 ชั้น 2 กลุ่มวิชาการและส่งเสริมประสิทธิภาพ (วช.)
2) จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้ถือวันที่ลงทะเบียนเป็นวันส่งรายงาน
รายละเอียดในการส่งรายงาน

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

กรณีไม่ดำเนินการตามกฎหมาย

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.

บทกำหนดโทษ

ผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.
รายละเอียดเพิ่มเติม…คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)

การขอผ่อนผันการปฏิบัติตามกฎหมาย

กรณีอาคารโรงงาน/อาคารควบคุมใช้พลังงานต่ำกว่าขนาดหรือปริมาณที่กำหนด และจะใช้พลังงานในระดับดังกล่าวต่อไปเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน เจ้าของโรงงาน/อาคารควบคุมสามารถแจ้งรายละเอียดพร้อมด้วยเหตุผล  และมีคำขอตาม แบบคำขอผ่อนผันการปฏิบัติตามกฎหมาย (บพผ.๑) ส่งไปที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทางโทรศัพท์ 0-2223-0021-9 ต่อ 1407

พพ. จะมีหนังสือแจ้งผลพิจารณาให้โรงงาน/อาคารควบคุมรับทราบ เมื่อโรงงาน/อาคารควบคุมได้รับการผ่อนผันแล้วจะต้องส่ง  แบบฟอร์มหนังสือแจ้งข้อมูลการใช้พลังงานในรอบ 6 เดือน / แบบแจ้งข้อมูลการใช้พลังงานในรอบ ๖ เดือน ของอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมที่ขอผ่อนผัน / แบบฟอร์มหนังสือนำส่งกรมฯ เพื่อยื่นผ่อนผันตลอดช่วงระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน การขอผ่อนผันแต่ละครั้งมีระยะเวลา 1 ปี หากโรงงาน/อาคารควบคุมต้องการผ่อนผันต่อต้องส่งแบบคำขอใหม่ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผัน
หากเจ้าของโรงงาน/อาคารควบคุมแจ้งรายละเอียดหรือเหตุผลในการผ่อนผันอันเป็นเท็จ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 150,000 บาท

กรณีสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.
หากมีระยะเวลามากกว่า 180 วัน
จะต้องส่งรายงานการจัดการพลังงานในรอบปีนั้น

รายละเอียดเพิ่มเติม…คู่มือคำอธิบายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)