ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร
   
   ความเป็นมา   แข่งเรือเป็นกีฬาพื้นบ้านเก่าแก่ชนิดหนึ่งของชาวกรุงเก่าที่มีการเล่นสืบทอดกันต่อกันมาแต่สมัยโบราณ จากหลักฐานพบว่ามีการแข่งเรือกันมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏในกฎมนเทียรบาลเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงพระราชพิธีประจำเดือน 11 ซึ่งเป็นการอาษยุชพิธีนั้น จะมีพิธีแข่งเรือด้วย นอกจากนี้ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ยังได้กล่าวถึงการเล่นแข่งเรือของชาวบ้านในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมักมีการพนันปะปนอยู่ด้วยและมีการละเล่นที่นิยม กันมากในสมัยนั้นทีเดียว การเล่นแข่งเรือนับเป็นกีฬาพื้นบ้านที่นิยมเล่นสืบทอดต่อเนื่องกันมาโดยตลอด แม้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏหลักฐานว่ามีการเล่น แข่งเรือกันเป็นประจำเสมอมา เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งทรงโปรดให้ปรับปรุง ราชวัง มีการขุดสระภายในพระราชวัง ใน พ.ศ. 2361 ก็ทรงโปรดให้มีการแข่งเรือใน ครั้งนั้นด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 การแข่งเรือเป็นกีฬาที่เล่นกันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีชาวต่างชาติชมด้วย ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งความว่า

เย็นวันนี้มีการแข่งนาวา
ที่กรงน่าตำหนักแพแม่น้ำใหญ่
เรือที่นั่งกราบสี่เอกไชย
มาพายให้เจ้าฝรั่งเขานั่งดู

การเล่นแข่งเรือของชาวบ้านในสมัยก่อนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นการทำบุญ ทำกุศล คือ ชาวบ้านจะเล่นกันในเทศกาลทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ซึ่งจะอยู่ในเดือน 10-12 ซึ่งระยะนี้จะเป็นช่วงฤดูน้ำมาก ชาวบ้านที่อยู่ตามที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำจะใช้เรือเป็นพาหนะ เมื่อมีงานพิธีทำบุญจะมีการแห่แหนกันทางน้ำ เพื่อนำองค์กฐิน องค์ผ้าป่าไปยังวัดเมื่อเสร็จพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็จะมีการเล่นแข่งเรือกัน ซึ่งถือกันว่าผู้ที่ร่วมแข่งขันจะได้บุญทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้การเล่นแข่งเรือยังเป็นการเล่นเพื่อจุดมุ่งหมายอีกประการ เช่น บางท้องถิ่นจะจัดให้มีการแข่งเรือในงานทำบุญไหว้พระประจำปีของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจะมีการแข่งเรือเพื่อเป็นการบรวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ บางแห่งจัดให้มีการเล่นแข่งเรือเทศกาลสนุกสนานรื่นเริงต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแข่งเรือมักจัดการเล่นกันเฉพาะในฤดูน้ำมากเท่ากัน การเล่นแข่งเรือของชาวบ้านสมัยก่อนในภาคกลาง มักจัดเป็นประเพณีประจำปี และมีการเล่นเป็นที่แพร่หลายแทบทุกจังหวัด เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี กรุงเทพฯ จันทบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และนครสวรรค์ เป็นต้น ในปัจจุบันการแข่งเรือยังมีการเล่นกันอยู่โดยทั่วไป

        

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

              การแข่งเรือยาวถือเป็นการละเล่นพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้ำมาก โดยผู้คนในชุมชนจะช่วยกันจัดงานขึ้น มีการคัดเลือกฝีพายที่เป็นชายฉกรรจ์มาลงแข่งขัน และทุกหมู่บ้านจะต้องมีเรือเข้าแข่งขันร่วมกันด้วย

          จังหวัดชัยนาท ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีการแข่งขันเรือยาว ที่สืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและได้เลิกราไประยะหนึ่ง ปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมนับเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ในโอกาสนี้จังหวัดชัยนาทจึงได้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงานแข่งขันเรือยาวขึ้นมาอีกครั้ง

           กำหนดการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดชัยนาท จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชา เป็นรอบคัดเลือก จัดหน้าวัดพระยาตาก ตำบลบ้าน อำเภอเมืองชัยนาท รอบชิงชนะเลิศจัดวันที่ ๑๖ กรกฎาคม เป็นวันเข้าพรรษา จัดบริเวณหน้าเขื่อนเรียงหิน ศาลากลางจังหวัดชัยนาท

          การแข่งขันเรือยาวมี ๔ ประเภท ได้แก่ ๑. ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มี ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภท ๕๕ ฝีพายและ ๔๐ ฝีพาย ๒. ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มี ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภท ๓๐ ฝีพาย และ ๑๒ ฝีพาย

           นอกจากนี้สามารถชมขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระราชทาน ขบวนแห่เทียนพรรษา ขบวนกลองยาว การจำหน่ายสินค้าเกษตร สินค้า OTOP การประกวด “หนุ่มลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา” การแสดงดนตรีและศิลปินจากอาร์สยาม อาทิ เวสป้า กระแต เอกซ์ ใบเตย หญิง ธิติกานต์ ศิลปินคณะตลกดักแด้ เชิญยิ้ม ศิลปินตลกหน้าม่านโย่ง เชิญยิ้ม และการประกวดกลองยาว

          การจัดประเพณีแข่งขันเรือยาวนั้นจุดประสงค์หลัก เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีการแข่งเรือยาวของจังหวัดชัยนาท และเพื่อเป็นการส่งเสริมและสืบทอดประเพณีแก่เด็กและเยาวชนรุ่นหลัง ประชาชนได้เกิดความซาบซึ้งและตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทยไว้ให้อยู่คู่บ้านเมือง และยังเป็นการปลูกฝังให้รู้รักถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งเป็นประเพณีที่ควรทำสืบต่อไป จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจเข้าชมการแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดชัยนาท ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๘ – ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กำหนดแข่งเรือยาว รอบคัดเลือกในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ณ แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดพระยาตาก และรอบชิงชนะเลิศ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ณ แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าเขื่อนเรียงหิน ศาลากลางจังหวัดชัยนาท

ชื่อ การแข่งเรือ
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด กาฬสินธุ์

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

อุปกรณ์ และวิธีเล่น
อุปกรณ์
๑. เรือยาวขุดด้วยไม้
๒. ฝีพาย ๔๐ คน
๓. กลอง-พังฮาด-ฉาบ-กิ่ง หรือ เครื่องดนตรีอื่น สำหรับบรรเลงอยู่ในเรือ

วิธีเล่น / กติกาการจัดการแข่งขัน


รอบแรก กรรมการรับสมัครเรือจำนวน ๑๖ ลำ จับสลากแบ่งสายออกเป็น ๔ สาย แข่งขันแบบพบกันหมดในสาย เปลี่ยนลู่น้ำ นำเรือที่ได้คะแนนที่ ๑-๒ ของแต่ละสายไปจับสลากแบ่งออกเป็น ๒ สาย (สาย ก – ข) เพื่อแข่งขันในรอบที่ ๒
รอบที่สอง ดำเนินการแข่งขันเหมือนรอบแรก เรือที่มีคะแนนที่ ๑ – ๒ มีสิทธิ์เข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ
รอบรองชนะเลิศ จัดแข่งขันดังนี้
คู่ที่ ๑ เรือชนะที่ ๑ สาย ก. พบกับเรือที่ ๒ สาย ข.
คู่ที่ ๒ เรือชนะที่ ๑ สาย ข. พบกับเรือที่ ๒ สาย ก.
การแข่งขันในแต่ละคู่เปลี่ยนทางน้ำมีผลแพ้ – ชนะ ๒ ใน ๓ เที่ยว เพื่อหาเรือไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศ จัดแข่งขันดังนี้
– นำเรือที่ชนะของแต่ละคู่ของรอบรองชนะเลิศมาแข่งขันชิงที่ ๑ และ ๒
– นำเรือที่แพ้ของแต่ละคู่ของรอบรองชนะเลิศมาแข่งขันชิงที่ ๓ และ ๔
– แพ้-ชนะ ๒ ใน ๓ เที่ยว
๑. เรือทุกลำที่เข้าทำการแข่งขันต้องมาให้ถึงสนามแข่งขันก่อนเวลา ๐๘.๐๐ น. ของวันที่ทำการแข่งขัน พร้อมให้ตัวแทน หรือหัวหน้าเรือ ไปรายงานตัวต่อคณะกรรมการที่กองอำนวยการ ถ้าเรือใดมาช้ากว่ากำหนด กรรมการจะพิจารณาเป็นรายๆไป และเรือลำใดที่ไม่ลงเทียบท่าในเวลา ๐๙.๐๐ น. ซึ่งเป็นพิธีเปิดคณะกรรมการจะพิจารณาตัดเงินค่าเทียบท่าลำละ ๓๐๐ บาท
๒. เรือทุกลำที่ทำการแข่งขันต้องวิ่งในลู่ที่กำหนด ถ้ามีการตัดลู่น้ำจะโดยเจตนา หรือไม่ก็ตาม คณะกรรมการจะปรับแพ้ในเที่ยวนั้น
๓. เรือทุกลำต้องพร้อมที่จะเข้าทำการแข่งขันได้ทันทีเมื่อถึงเวลากำหนดในสูจิบัตร และเมื่อกรรมการจุดปล่อยเรือเรียกเข้าประจำที่ ถ้าเข้าประจำที่ช้าเกินกว่า ๕ นาที หลังจากคณะกรรมการเรียกแล้วจะถูกปรับแพ้ในเที่ยวนั้น และให้คณะกรรมการปล่อยเรือคู่แข่งพายตามลู่น้ำของตนลงมาถึงเส้นชัยจึงจะถือว่าเป็นฝ่ายชนะ หากเรือลำใดไม้คาดแตกหรือหัก กรรมการจะอนุญาตให้เปลี่ยนไม้คาดใหม่ ภายในเวลาไม่เกิน ๒๐ นาที ถ้าเกินจะปรับเป็นแพ้ โดยให้ไปรายงานกับกรรมการจุดปล่อยเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และจับเวลา
๔. เรือทุกลำห้ามถอดหัวเรือในขณะทำการแข่งขัน
๕. เมื่อเรือแต่ละลำทำการแข่งขันของแต่ละเที่ยวผ่านไปแล้ว ให้รีบกลับไปลอยลำ รอการแข่งขันในเที่ยวต่อไป ณ จุดปล่อยเรือ โดยล่องเรือเลียบฝั่งทิศเหนือ
๖. ในขณะทำการแข่งขันหากฝีพายของเรือลำใดตกลงจากเรือจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม คณะกรรมการจะปรับให้แพ้ในเที่ยวนั้น แต่ถ้าฝีพายตกด้วยกันทั้งสองลำ กรรมการจะตัดสินให้เรือที่ถึงเส้นชัยก่อนเป็นลำชนะ
๗. ห้ามเรือทุกลำทำการฝึกซ้อมในสนามแข่งขันหลังจากพิธีเปิดทำการแข่งขันของแต่ละวัน
๘. คะแนนในการแข่งขันรอบที่ ๑ และรอบที่ ๒ เรือชนะได้ ๓ คะแนน เรือเสมอกันให้ลำละ ๑ คะแนน และเรือแพ้ได้ ๐ คะแนน
๙. หากเรือลำใดมีคะแนนเท่ากันในรอบคัดเลือก (รอบที่ ๑ หรือรอบที่ ๒) ให้จับสลากลู่น้ำแข่งขันกันใหม่ เพื่อหาลำชนะเข้ารอบต่อไป โดยแข่งเที่ยวเดียว
๑๐. การปล่อยเรือในส่วนถาวรของเรือเสมอกัน และการตัดสิน แพ้- ชนะ ของคณะกรรมการจะตัดสินส่วนถาวรของเรือถึงเส้นชัยเป็นเกณฑ์
๑๑. ให้เรือทุกลำที่ทำการแข่งขันของแต่ละวัน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการไว้ลำละ ๑ คน เพื่อติดต่อประสานงานตลอดจนร่วมแก้ปัญหาอันอาจมีขึ้นกับฝ่ายจัดการแข่งขัน
๑๒. ถ้าฝีพายหรือตัวแทนเรือลำใดมีกริยา วาจาไม่สุภาพเรียบร้อยต่อคณะกรรมการดำเนินการทำให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง คณะกรรมการอาจพิจารณาปรับให้เรือลำนั้นแพ้ฟาล์ว และปรับไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันในสนามนี้อีก เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๑๓. การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเด็ดขาด หากเรือลำใดจะประท้วงให้ยื่นคำร้องขอประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อคณะกรรมการรับการประท้วง พร้อมทั้งหลักฐาน และเงินค่าประกันครั้งละ ๑๐๐ บาท และจะคืนเงินค่าประกัน ถ้าการประท้วงเป็นผล และให้ยื่นประท้วงภายในเวลา ๒๐ นาที หลังจากการแข่งขันเรือในเที่ยวนั้นๆ
โอกาส หรือเวลาที่เล่น
การแข่งเรือจะแข่งในเทศกาลน้ำหลาก คือในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ของทุกปี

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

ชื่อ การแข่งเรือ
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด ฉะเชิงเทรา

ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญ
การแข่งเรือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความผูกพันกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่โบราณกาล

พิธีกรรม
การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์ ฯลฯ
การแข่งเรือยาวฝีพายแต่ละลำมีจำนวนประมาณ ๕๐ คนมีหัวหน้าควบคุมเรือ ๑ คน จังหวะการพายจะพาย ๒ ต่อ ๑ คือ ฝีพาย ๒ ครั้ง ผู้คัดท้ายจะพาย ๑ ครั้ง กติกาการแข่งขันผู้ชนะจะต้องชนะ ๒ ใน ๓ คือ เมื่อแข่งเที่ยวแรกไปแล้ว จะเปลี่ยนสายน้ำสวนกัน ถ้าชนะ ๒ ครั้งติดต่อกันถือว่าชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะจะมีการแข่งขันเที่ยวที่ ๓

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

สาระ
นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผูกพันกับผืนน้ำของผู้คนแล้วยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสมานสามัคคีของบุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่าอยู่ในเรือลำเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝน การทุ่มเทแรงกายแรงใจ ความพร้อมเพรียงจังหวะและการประสานสัมพันธ์ ที่ทำให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้โดยมิใช่อาศัยความสามารถของคนใดคนหนึ่ง

                                                          เพลงบุญแข่งเรือ
                                                              วงกระท้อน

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

โฮ.โฮ่.โฮ้.โฮ.โฮ้…
จากต้นไม้ลำใหญ่ลำงาม
ล่องลอยน้ำเป็นลำนาวา
พร้อมใจกันปิดบ้านร้านรวง
ร่วมบวงสรวงนาคีนาคา
เดือนสิบสองน้ำนองเต็มฝั่ง
สอบความหวังกำลังวังชา
เรือเด็ดจากลุ่มเจ้าพระยา
เจ้านาคาอยุธยากรุงเก่า

โฮ.โฮ่.โฮ้.โฮ.โฮ้…
แม่มูลชีเรือดีอิสาน
ปิงกล้าหาญวังยมหลั่งไหล
น่านบ้านสูงเชื่อมเหนือบ้านไทย
ไกลแสนไกล น้ำโขงโยงมา
แม่ตาปีเรือดีเรือชัย
จากเมืองใต้เมืองเหนือนานา
ประเพณีโบราณนานมา
รวมนาวาทุกแคว้นแดนไทย
เสียงกลองขยับฉิ่งฉับ ทึ่งโม่ง
พายเรือขยับฉับฉับทึ่งโม่ง
เสียงพิณโตดโต่งจากภาคอิสาน
จับแคนมาเป่าเจ้าลอยมันมัน
สีซอประสาน งานบุญบ้านไทย

บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด
บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด
บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด
บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด

โฮ.โฮ่ .โฮ้.โฮ.โฮ้..
ออกพรรษานาวางามเด่น
คืนเดือนเพ็ญเย็นล้อลมหนาว
เทศกาลวันแข่งเรือยาว
มาหนุ่มสาวช่วยเป็นแรงใจ
ไหมเหนื่อยไหม จ้ำพายเหนื่อยไหม
พ่อยอดชายคนเก่งของฉัน
บึดจ้ำบึดเอ้าบึดพร้อมกัน
ถ้วยรางวัลนั้นคงไม่ไกล

โฮ.โฮ่.โฮ้.โฮ .โฮ้..
เป็นเรือโหล่ คนโห่คนฮา
จมน้ำท่าพลาดชิงรอบสอง
แพ้ไม่ถอย ไม่ถือคนมอง
พายเป็นรอง แต่ใจยังมัน
แม้พลาดหวังถ้วยเงินรางวัล
เงินพนันที่สอดให้ใส่ซอง
ขอนิดหน่อยน้ำในโหลยาดอง
จับมือนวลน้องแล้วย่องย้ายร่ายรำ

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด
บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด
บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด
บึดจ้ำบึดจ้ำบึดจ้ำบึด

         กฎเกณฑ์ กติกา การแข่งเรือเบื้องต้น เริ่มต้นจากประเภทการแข่งขันเรือยาว โดยปกตินั้นแบ่งเป็น 3 ประเภท นั่นคือ เรือยาวใหญ่ ฝีพายตั้งแต่ 41 คนแต่ไม่เกิน 55 คน, เรือยาวกลาง ฝีพายตั้งแต่ 31 คนแต่ไม่เกิน 40 คน และเรือยาวเล็ก ฝีพายไม่เกิน 30 คน

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

        สำหรับระยะทางที่แข่งเรือแข่งพายกันนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นระยะทางประมาณ 600 ถึง 650 เมตร โดยมีทุ่นบอกระยะทุก 100 เมตร
        
ความสวยงามของการพายเรืออยู่ที่จังหวะการพายเรือของฝีพายแต่ละทีม จังหวะการพายอาจจะเป็นสิ่งชี้วัดได้ว่าเรือลำนั้นจะแพ้หรือชนะ ปกติในช่วง 100 เมตรแรกของการพายนั้น ฝีพายจะจ้วงฝีพายลงในน้ำลึกๆ เพื่อให้เรือวิ่ง พอใกล้ถึงเส้นชัย จังหวะการพายอาจจะกระชั้นขึ้น เสียงเชียร์เริ่มรัวดัง พลอยให้คนที่นั่งดูต้องช่วยกันตะโกนเชียร์…นี่แหละคือเสน่ห์ของความสนุกในการดูเรือแข่ง

 

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

        ปกติการจับคู่แข่งขันจะเป็นระบบแพ้คัดออก เรือยาวที่แข่งขันจะพายไปตามสายน้ำ แล้วแข่งขันกันเป็นเที่ยว เมื่อแข่งเที่ยวแรกเสร็จแล้ว จะเปลี่ยนสายน้ำ (เหมือนกับสลับลู่วิ่งในกีฬาวิ่งแข่ง) ฝ่ายที่จะชนะต้องถึงเส้นชัยก่อน 2 ใน 3 เที่ยว นั่นหมายถึงถ้าชนะติดต่อกัน 2 ครั้ง ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ จะมีการแข่งในเที่ยวที่สาม โดยการเสี่ยงทายจับฉลากสายน้ำว่าจะอยู่ในฝั่งไหน และการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นการตัดสินเด็ดขาดไปเลยว่าใครแพ้ชนะ บางทีการแข่งขันของทั้งสองทีมอาจจะมีฎีกาสูงสุดด้วยการใช้ ภาพถ่ายตัดสินเลยก็ได้

            

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

             การแข่งเรือยาวของวัดท่าหลวง  เริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณ พระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่อ ประมาณ พ.ศ.  2450 ได้กำหนดงานจัดงานแข่งขันเรือตามกำหนดวัน คือ วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่าน ลดลงเร็วเกินไป ไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และทางวัดแข่งขันเพียงวันเดียว การแข่งขันเรือยาว ได้จัดนำผ้าห่มหลวงพ่อเพชร มอบให้เป็รางวัล สำหรับเรือยาวที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัลเป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร1. ขนาดเล็ก ฝีพายไม่เกิน 28 คน2. ขนาดกลาง ฝีพายไม่เกิน 40 คน3.  ขนาดใหญ่ ฝีพายไม่เกิน 55 คน   การแข่งขันเรือยาวทั้ง 3 ขนาดได้เป็น 2 ประเภท คือประเภท ก เรือยาวที่ทำการแข็งขัยแล้ววิ่งจัดประเภท ข เรือยาวที่ทำการแข็งขันแล้ววิ่งปานกลางในปี 2532 ได้ปรับปรุงและเพิ่มประเภทการแข่งขัน ดังนี้ 1. เรือที่แข่งขันในวันแรก และชนะจัดอยู่ในประเภท ก 1, ข 1.2.  เรือที่แข่งขันในวันแรกและแพ้ จัดอยู่ในประเภท ก 2, ข 2.   กำหนดการแข่งขันเรือยาวประเพณีกำหนดการแข่งขันเรือยาวประเพณี วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของต้นเดือนกันยายนของทุกปี ณ บริเวณวัดท่าหลวง


                      ประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่านหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่มีเรือเข้าแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานฯมากที่สุด ชมลักษณะเรือที่เข้าแข่งขัน ไม่เหมือนแห่งใดในประเทศไทย การแข่งเรือเป็นมรดกตกทอดของคนน่าน ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของตนต้นน้ำน่านเทศกาลแข่งเรือจังหวัดน่าน  ในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นการแข่งเรือ  เพื่อชิงถ้วยพระราชทานฯ ชมขบวนเรือแข่ง เรือสวยงาม การตีฆ้องล่องน่าน-ตีปานแข่งเรือ พร้อมกองเชียร์ นับเป็นประเพณีที่น่าสนใจและน่าชมอย่างยิ่ง

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

                Racing boat is the heritage is descended of Nan person is the intellect and the way of life.  Nan’most famous tradition boat racing.Now hare in thailand is a larger boat race than in Nan. Boat racing is part of the Nan heritage passed down from generation to  generation.The Craftsmanship, skills and teamwork are all divident as grandfather,son,grendson and fridnes all work together to build, transport and race these beautiful work of art that are a cherished part  of life in Nan.Betweeen October and November the Nan river come to life with activity as young and old participate in the decoration of the boat,the local musie and parades.All are well come to go to cheer and be part of this extraordinary event.

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร
ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

       

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

 เรือยาว มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เป็นกีฬาชาวบ้านอันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตอันดีงามความผูกพัน ระหว่างสายน้ำ กับชีวิต เรือกับวิถีชีวิต บนพื้นฐานของ ความศรัทธา เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธศาสนา อันนำมาซึ่งความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวของบวร ซึ่งแปลว่า ประเสริฐ อันได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งเป็น องค์กร พื้นฐานของชุมชน ชนบทไทย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของชาติ
        เรือยาวประเพณีไทยได้มีวิวัฒนาการจากวิถีชีวิตมาสู่ประเพณีและวิวัฒนาการไปสู่ระบบการแข่งขั นานาชาติ ในปี พ.ศ.2531 อันเป็นทรัพยากรด้านการ ส่งเสริม การท่องเที่ยว ที่สำคัญจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ไปทั่ว กระทั่งพัฒนาไปสู่้การ กีฬาในการ แข่งขัน กีฬาแห่งชาติและระดับประเทศ สามารถจำแนก วิวัฒนาการได้เป็น
1. ยุคอดีต
แต่ละคุ้มบ้าน คุ้มวัด ในทุกลุ่มน้ำสยามประเทศนิยมหาไม้ตะเคียนนำมาขุดเป็นเรือยาวร่วมการแข่งขันอั แสดงออก ถึงความ พร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะ เพื่อสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่คุ้มบ้าน คุ้มวัดของตนเอง ช่างขุดเรือ ที่มีชื่อเสียง ของประเทศไทย ที่ควรจารึกไว้ในความทรงจำตลอดไปว่าเป็นบรมคร
แห่งภูมิปัญญาไทย ในการขุดเรือยาว อาทิ
1.) ช่างเสริม เชตวัน บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์
2.) ช่างมา นคร บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์
3.) ช่างเลิศ โพธิ์นามาศ บ้านหัวดง จังหวัดพิจิตร
4.) ช่างวัน มีทิม บ้านแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดพิจิตร
2. ยุคเรือลาว
        นำมาทำสาวไทย ภายหลังการแข่งขันเรือยาวเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลแห่งโลกยุคโลกภิวัฒน์ ได้รับ ความสนใจ จากสื่อมวลชน เห็นความ สำคัญของกีฬาชาวบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สยามประเทศ ก่อให้เกิดการ ถ่ายทอดสดในสนามต่าง ๆ จึงมีภาคเอกชนและหน่วยงาน ของรัฐ ตระหนัก ถึงความสำคัญส่งทีมเรือ เข้า ร่วมการชิงชัย และธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม โบราณจาก ประเทศ เพื่อนบ้าน (ลาว) เข้ามาทำการตกแต่งแก้ไข ทำสาวใหม่ ด้วย ฝีมือของชาวไทยเพราะราคา ถูกกว่า เรือไทย เป็นยิ่งนัก
3.ก้าวสู่นานาชาติและกีฬาแห่งชาติ
ปัจจุบันเรือยาวประเพณีเป็นกีฬาทางน้ำบนพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายจนก้าวสู่ การแข่งขัน เรือนานาชาติเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวและฝีพายแห่งสยามประเทศก็ประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียง ให้แก่ ประเทศไทย ในการแข่งขันในน่านน้ำสากลทั่วโลก ประการสำคัญ วงการ เรือยาวประเพณีได้รับการ ยอมรับจากวงการกีฬาระดับชาตื ิบรรจุเข้าชิงชัยเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ โดยการพัฒนารูปแบบ ให้เหมาะสมกับ ยุคสมัยที่ เปลี่ยนไปให้ได้ มาตรฐานกีฬาสากลทั่วไป
4. ยุคฝีพายมืออาชีพ พาณิชย์ แทรกแซง
สังคมไทยยุคปัจจุบัน เงิน หรือ วัตถุดิบ เจริญรุดหน้ากว่าจิตใจ ตลอดจนภาระกิจในการยังชีพในเศรษฐกิจยุค ปัจจุบันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความ สับสนต่อ วิถีชีวิต อันดีงามเป็นยิ่งนัก แต่เดิมการแข่งขันเรือยาวประเพณีจาก วิถีชีวิตอันดีงาม เพื่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกันตลอดจน เพื่อนำมาซึ่ง ชื่อเสียง เกียรติยศแห่งคุ้มบ้านคุ้มวัด ก่อให้เกิดฝีพาย มืออาชีพ รับจ้างพายเรือ ด้วยค่าตัวที่สูงส่งและด้วยอำนาจของเงินตราบางครั้งทำให้หลงลืมคำ่ว่า ประเพณี และ วิถีชีวิต อันดีงามของ บรรพชนไปอย่างน่าเสียดายหรือเกิดการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิดจากการจัดการแข่งขัน เป็นสิ่งที่ถึงสังวรระวัง เป็นยิ่งนักหรือ เกิดการเบี่ยงเบนจากคุณงามความดีอันเป็นภูมิรู้ภูมิธรรม ของบรรพชนอย่างแท้จริง

    ในการแข่งขันเรือประจำปีของวัดต่าง ๆ นั้นนับว่าเป็นปกติวิสัย แต่วัดใดที่จัดให้มีการแข่งเรือและมีคู่เรือชิง เดิมพันแล้ว จะทำให้งานแข่งเรือของวัด นั้น ๆ มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีเพราะ จะเป็นการดึงดูดผู้ชมเข้าไป ชมการแข่งขันกันมาก ฉะนั้น การแข่งขันเรือที่มีการเดิมพันจึงจัดได้ว่าเป็นการแข่งเรือครั้งสำคัญ ที่จะนำมา เล่าสู่กันฟังพอสังเขป
         การแข่งขันเรือชิงเดิมพันในสมัยก่อนมีน้อยมากและเดิมพันก็มีน้อย เช่น เรือไกรทอง ของวัดหัวดง อำเภอเมือง จังหวัด พิจิตร เคยพาย เดิมพันกับ เรือเพชรน้ำค้าง จังหวัด สิงห์บุรี เรือธนูทอง พายเดิมพันกับเรือศรีธารา เรือแม่ขวัญ มงคลทอง พายเดิมพัน กับเรือประกายเพชร เรือประกายเพชร พายเดิมพันกับเรือผ่องนภา เรือแม่ขวัญมงคล ทองพายเดิมพัน กับเรือ เทวีนันทวัน เพชรน้อยและช้างแก้ว แต่การพายในครั้งนั้น ๆ ไม่ค่อยเป็นข่าว โด่งดังอะไรมากนัก เพราะยังขาดการ ประชาสัมพันธ์งาน

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

             การแข่งขันเรือเดิมพันที่แพร่หลายในปัจจุบันเกิดจากทางวัดราชช้างขวัญซึ่งเป็นวัดหนึ่งในจังหวัดพิจิตรที่กล้าจัดเป็น ครั้ง สำคัญที่รวบรวม ไว้ใน ประวัติการแข่งเรือและเป็นวัดแรกที่กล้า ลงทุน ชิญเรือต่างจังหวัด  มาพายเดิมพัน  กับเรือดัง  ของจังหวัดพิจิตร  นั่นก็คือในปี
พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่สมพงษ์ ทิมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปากทาง ซึ่งเป็นประธาน จัดงาน แข่งเรือประเพณีของวัดราชช้างขวัญได้เชิญเรือศรีสุริโยทัยจากวัดจุฬามณี อำเภอบางบาล จังหวัด พระนคร ศรีอยุธยา ซึ่งมีผู้ใหญ่ถวิล แสงจักร เป็นผู้จัดการ โดยคิดค่าลากจูงเป็นเงินสด 20,000.- บาท มาพายเดิมพัน กับเรือ แม่พิกุลทอง จากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณเผอิญ จิตรากร เป็นผู้จัดการเรือ โดยคิดค่าลากจูง 5,000.- บาท พายชิงรางวัลเงินสด 200,000.- บาท (พายเดิมพันข้างละ 100,000.- บาท) และได้เชิญคุณไพฑูรย์ แก้วทอง ในสมัยนั้น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิจิตร มาเป็นประธานตัดสินเรือครั้งนี้ ผลปรากฏ ว่าในเที่ยว แรกเรือแม่พิกุลทอง จากจังหวัดพิจิตรเป็นฝ่ายชนะ ในเที่ยวที่ 2 เรือศรีสุริโยทัยเป็นฝ่ายชนะ จึงยกเลิกเดิมพันกันไป หลังจากปี 2522 เป็นต้นมา การพายเรือเดิมพันจึงได้ระบาดแพร่หลายจากวงเงินหมื่นเป็นแสน เป็นล้านและเป็นสิบล้าน ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟัง
                ในปี พ.ศ.2523 เป็นปีที่มีการแข่งเรือครั้งสำคัญที่สุด จะนับว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร ์
ที่ขณะนี้ยังหาเรือคู่ใดลบสถิต ิเงินเดิมพันไม่ได้ นั่นคือ ทางวัดท่าหลวงได้จัดงานแข่งเรือประจำปีและจัดให้มีเรือคู่พิเศษพายชิงรางวัลเงินสด 3 ล้านบาท ระหว่างเรือศรทอง จากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีคุณประทีป ชัยสุวิรัตน์ เป็นผู้จัดการเรือ พายกับ เทวีนันทวัน ซึ่งมีคุณสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ หรือรู้จักกันดีในนามของเสี่ยแหย เป็นผู้จัดการ ผลการแข่งขัน ปรากฏว่า เรือเทวีนันทวนันชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับเงินรางวัลไป ในเวลา 2 เดือนต่อมาเรือคู่นี้ได้พบกัน อีกครั้งหนึ่ง ที่สนามวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการพบกันครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติการณ์ที่มีการเล่นเดิมพันกันสุงสุด ทางคณะกรรมการ ได้จัดโต๊ะมุมน้ำเงินรับเก็บเดิมพันทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายใดเงินเดิมพันเข้ามาก็จะ ประกาศให้ฝ่ายตรงข้าม นำเงินเข้าไปประกบ สรุปรวม เรือคู่นี้ พายกันครั้งนั้นประมาณ 10 ล้านบาท ผลก็ปรากฏว่า เรือศรทอง จากวัดวังกลม อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ล้างแค้นได้สำเร็จเอาชนะเรือเทวีนันทวัน ทั้งสองเที่ยว ซึ่งเป็นปมปริศนาของคนวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มาจนทุกวันนี้
          ในปี พ.ศ.2524 ทางวัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้จัดงานแข่งเรือประเพณีขึ้นโดยมีคู่เรือคู่พิเศษชิงรางวัล เงินสด 100,000.- บาท ระหว่างเรือแม่ขวัญมงคลทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กับเรือกิจสังคม จากวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลปรากฏว่าเรือ แม่ขวัญมงคลทองชนะทั้ง 2 เที่ยว ได้รับรางวัลเงินสด 100,000.- บาท ไป และในปีนี้เรือทั้งคู่ได้ไปพายแก้มือกันที่วัดตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชิงรางวัลเงินสดเท่าเดิม ผลปรากฏว่าในเที่ยวแรกเรือกิจสังคมเป็นฝ่ายชนะ แต่ในเที่ยวที่สองเรือแม่ขวัญมงคลทองเป็นฝ่ายชนะ จึงได ้ยกเลิก เดิมพันกันไป

ประเพณีแข่งเรือยาวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

เมนูนำทาง เรื่อง

Older posts