ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักในการวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว (Family Planning) คือ การตัดสินใจของคู่รักหรือบุคคลที่จะมีบุตรตามจำนวนที่ต้องการ ในช่วงเวลาและระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อให้มีการตั้งครรภ์ขณะที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคม หรือจำกัดการมีบุตรโดยใช้วิธีคุมกำเนิดทางธรรมชาติหรือมีการใช้ยาหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้การวางแผนนั้นมีประสิทธิภาพขึ้น

การคุมกำเนิด (contraceptive) มี 2 วิธีการ คือ แบบสมัยใหม่และแบบดั้งเดิม

Modern Family Planning Methods หรือ ‘วิธีการวางแผนครอบครัวสมัยใหม่’ หรือ วิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่ ได้แก่ การทำหมันหญิง/ชาย ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) ยาฝัง/ยาฉีด/ยาเม็ด/แผ่นแปะคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน การคุมกำเนิดหลังคลอดด้วยการให้นมบุตร (LAM) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนวิธีการแบบดั้งเดิม (traditional) ได้แก่ การนับระยะปลอดภัย การควบคุมการหลั่ง หรือวิธีการพื้นบ้าน (folk method) เช่น การนวดช่องท้องด้านล่างของผู้หญิง หรือการใช้สมุนไพรบางชนิด เป็นต้น

สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ออกรายงานข้อมูลแสดงการประมาณความชุกของวิธีการคุมกำเนิดโลกปี 2019 หรือ World Contraceptive Use 2019 (อ้างอิงจากข้อมูลจากการสำรวจ 1,247 ครั้งใน 195 ประเทศทั่วโลก) โดยมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ ดังนี้

  • มีหญิงวัยเจริญพันธุ์ 922 ล้านคน (หรือคู่นอน) ใช้การคุมกำเนิด ในบรรดาสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1.9 พันล้านคน (15-49 ปี) ทั่วโลกในปี 2019 ผู้หญิง 1.1 พันล้านคนมีความจำเป็นในการวางแผนครอบครัว 842 ล้านคนใช้วิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่ สัดส่วนของผู้หญิงที่มีความจำเป็นในการวางแผนครอบครัวที่พึงพอใจด้วยวิธีการสมัยใหม่ (ตัวชี้วัด SDG 3.7.1) คิดเป็น 76% ในปี 2019
  • การทำหมันหญิงและถุงยางอนามัยชายเป็นสองวิธีคุมกำเนิดที่ใช้มากที่สุดทั่วโลก
  • วิธีคุมกำเนิดที่ใช้กันมากที่สุดแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ การใช้ห่วงอนามัยสำหรับผู้หญิงเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้บ่อยที่สุด (ร้อยละ 18.6) รองลงมาคือถุงยางอนามัยชาย (ร้อยละ 17.0)
  • จำนวนผู้ใช้การคุมกำเนิดทุกวิธีเพิ่มขึ้น ยกเว้นจากการทำหมันชาย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดและถุงยางอนามัยชายเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้แพร่หลายในหลายประเทศ

การแผนครอบครัวโดยการคุมกำเนิดมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิง รวมทั้งผลของการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง เพราะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งท้องหรือการทำแท้งตามมา และทำให้ผู้หญิงมีความสามารถในการวางแผนชีวิตตนเองได้มากขึ้น

สำหรับข้อมูลสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของไทย ในปี 2562 สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 169 คน โดยมีวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 6 คน มีจำนวนหญิงคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอยู่ 63,831 ราย โดยแยกหญิงคลอดอายุระหว่าง 15-19 ปี มีจำนวน 61,651 ราย หญิงคลอดอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 2,180 ราย และยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ซ้ำและคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีถึง 5,222 ราย

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าลดจำนวนแม่วัยรุ่นจาก 31.4 ต่อ 1,000 คนเหลือ 25 คนภายในปี 2569

หนึ่งในการดำเนินงานส่งเสริมชีวิตที่มีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิงที่สำคัญคือ กรมอนามัยได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้บริการยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ในภาวะหลังคลอดหรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิด ในทุกสิทธิสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาแม่วัยรุ่นและป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ และลดการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

คำว่า ‘วิธีการวางแผนครอบครัวสมัยใหม่’ อยู่ใน ‘#SDG3 เป้าประสงค์ที่ 3.7  สร้างหลักประกันถ้วนหน้าในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว ข้อมูลข่าวสารและความรู้ และการบูรณาการอนามัยการเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573 ในตัวชี้วัด 3.7.1 สัดส่วนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15 – 49 ปี) ที่พึงพอใจกับการวางแผนครอบครัวด้วยวิธีสมัยใหม่

Target 3.8 : by 2030 ensure universal access to sexual and reproductive health care services, including for family planning, information and education, and the integration of reproductive health into national strategies and programs

Indicator 3.7.1 : Proportion of women of reproductive age (aged 15-49 years) who have their need for family planning satisfied with modern methods

การวางแผนครอบครัวมีความสำคัญต่อครอบครัวและสังคม องค์ประกอบของการวางแผนครอบครัว รวมถึง การวางแผนการมีบุตร การวางแผนชีวิต การวางแผนการมีครอบครัวก่อนแต่งงาน

เรื่องเกี่ยวกกับการวางแผนครอบครัว ซึ่งเรื่องของการวางแผนครอบครัว จะมีความสำคัญต่อครอบครัวและสังคม การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด มีความสําคัญอย่างไร องค์ประกอบของการวางแผนครอบครัว ประกอบด้วยอะไรบ้าง รวมถึง การวางแผนการมีบุตร การวางแผนชีวิตและการวางแผนการมีครอบครัวก่อนแต่งงาน

ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักในการวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว ภาษาอังกฤษ เรียก Family planning การวางแผนครอบครัว คือ การวางแผนสำหรับคู่ชิวิต เพื่อการมีครอบครัวที่สมบูรณ์ ภายใต้ความพร้อมด้านสังคม เศรษฐกิจ ของคนภายในครอบครว ซึ่งรายละเอียดของการวางแผนครอบครัวนั้น จะกล่าวถึงว่า การวางแผนการเงินของครอบครัว การวางแผนการมีบุตร ซึ่งทั้งหมดต้องมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของคู่ชีวิตนั้นๆ

ความหมายของการวางแผนครอบครัว คือ การที่คู่สมรสวางแผนการมีลูก ให้สอดคล้องกับสถาพเศรษฐกิจของคู่สมรสนั้นๆ ว่า จะมีบุตรกี่คน มีบุตรเมื่อไร การเลี้ยงลูกให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี

ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว

เนื่องจากประชากรของมนุษย์บนโลกมีการเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2554 ประชากรบนโลกมีประมาณ 7 พันล้านคนแล้ว ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติเริ่มมีจำนวนลดลง เพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรบนโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดี การวางแผนครอบครัวเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนของมนุษย์ ในขณะเดียวกันเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ จึงมีความสำคัญ ซึ่งในทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนครอบครัว ต่างมีการรณรงค์การวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัวที่เหมาะสมนั้น อยู่ที่ปัจจัยการมีครอบครัวหลักๆ คือ เรื่องสภาพเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงความพร้อมในการดูแลประชากรใหม่ของครอบครัว การที่จะมีสมาชิกใหม่เกิดขึ้นในครอบครัวต้องมีความพร้อมที่จะเลี้ยงดูบุตรให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ

ปัจจัยที่ต้องคำนึงสำหรับการวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัวนั้น ในความเข้าใจของคนทั่วไป คือ การคุมกำเนิด เพื่อการมีบุตรเมื่อพร้อมเท่านั้น แต่การวางแผนครอบครัวมีหลายปัจจัย โดยเพื่อวัตถุประสงค์ ของการมีคุณภาพชีวิตทั้งหมดของคนภายในครอบครัวให้มีคุณภาพชีวติที่ดี ดังนั้น เรามาดูปัจจัยของการวางแผนครอบครัวว่า มีอะไรบ้าง รายละเอียด ดังนี้

  1. การแต่งงาน หรือ การตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การเริ่มต้นชีวิตคู่เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า ครอบครัว โดยการมีครอบครัวนั้น เป็นเรื่องของคนสองคน ที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การวางแผนการมีครอบครัวต้องเริ่มจากการวางแผนการแต่งงาน โดยการที่ชีวิตคู่ของคนสองคนจะตัดสินใจครองคู่กัน ภายใต้วัฒนธรรมของชาวเอเชีย โดยเฉพาะคนไทย เรื่องของครอบครัวสองครอบครัว จะมีความสำคัญต่อชีวิตคู่มาก จะเห็นจากปัญหาการหย่าร้างของชีวิตคู่ ปัญหาเรื่องการเข้ากับคนในครอบครัวไม่ได้ก็มีผลต่อ การดำรงอยู่ของครอบครัวได้เช่นกัน
  2. การปรับตัวระหว่างคนสองคน การใช้ช่วิตคู่นั้น เกิดจากคนสองคน ที่มีสภาพการเลี้ยงดู สภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน การวางแผนเกี่ยวกับหน้าที่และการปรับตัวของคนสองคน และสองครอบครัว มีความสำคัญ จำเป็นต้องมีการวาแผนการปรับตัว ทั้งคู่จะต้องใช้ปรับตัวเข้าหากันและตกลงบทบาทหน้าที่กันภายในครอบครัวให้ชัดเจน และสามารถสลับบทบาทได้ยามจำเป็น
  3. การตัดสินใจมีลูก ในการมีลูกหนึ่งคนที่จะเกิดขึ้นในครอบครัวใหม่นั้น มีหลายสิ่งที่จะตามมามากมาย คู่ชีวิต จำเป็นต้องตกลงเรื่องการมีลูกให้ดี ว่าจะมีลูกหรือไม่ และมีลูกกี่คน การมีลูกในขณะที่คู่สมรสยังไม่สามารถปรับตัวเข้าหากัน อาจทำให้ลูกที่เกิดมามีปัญหาด้านสุขภาพจิตใจ
  4. ความพร้อมทางด้านร่างกาย คู่ชิวิตจะวางแผนการมีครอบครัวต้องสอดคล้องกับสภาพความพร้อมทางด้านร่างกาย การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานหรือก่อนตั้งครรภ์ มีความสำคัญ หากร่างกายไม่พร้อมมีบุตร คู่ชีวิตจำเป็นต้องมีการวางแผนให้ดี
  5. ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ การสร้างชีวิตคู่ของคนสองคน หากมีความพร้อมด้านการเงิน จะทำให้สามารถบริหารจักการเรื่องต่างๆได้ ดังนั้น หากคู่ชีวิตที่ยังไม่มีความพร้อมด้านการเงิน จำเป็นต้องวางแผนให้ดีก่อนที่จะเกิดปัญหาของครอบครัวตามมา
  6. การวางแผนการมีบุตร เรื่องการวางแผนว่าจะมีบุตรกี่คน และหากมีบุตรมากกว่าหนึ่งคน จะเว้นระยะของบุตรแต่ละคนเป็นเวลาเท่าใด จำเป็นต้องมีการวางแผนให้ดี ให้สอดคล้องกับสถานะด้านการเงิน และเวลาในการดูแลบุตรที่จะเกิดขึ้นมา
  7. การเตรียมตัวที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดี ความสุขของลูก และคนในครอบครัว ต้องเกิดจากคนสองคนที่จะใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกัน การเตรียมตัวเพื่อเป็นพ่อแม่ที่ดี จะช่วยกล่อมเกลาให้บุตรที่จะเกิดขึ้นมาเป็นคนที่มีคุณภาพภายใต้สังคม
  8. การคุมกำเนิด การคุมกำเนิด เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนครอบครัว ในกรณีที่ครอบครัวยังไม่มีความพร้อมในการมีบุตรนั้น การคุมกำเนิกช่วยไม่ให้เกิดการมีบุตรในขณะที่ยังไม่พร้อมในด้านต่างๆได้ การคุมกำเนดมีหลายวิธีและมีความแตกต่างกันออกไป การเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ดี จะทำให้ลดการเกิดภาวะร่างกายผิดปรกติ ของคู่สมรสได้

บทบาทของการวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัวนั้นมีความสำคัญและมีบทบาทที่ช่วยขับเคลื่อนให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีความเจริญก้าวหน้า หากบอกถึงบทบาทของการวางแผนครอบครัว ต่อครอบครัว ต่อชุมชนท้องถิ่นภายใน ต่อชุมชนท้องถิ่นภายนอก และต่อประเทศชาติ มีรายละเอียด ดังนี้