กฎหมายด้านอุตสาหกรรมฉบับแรกในประเทศไทยที่คุ้มครองความปลอดภัยของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม คือกฎหมายใด

การที่บุคคลจะเกิดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้องได้นั้น  บุคคลดังกล่าวควรต้องมีความรู้  ความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยและ

มีทัศนคติที่ดี   หรือมีความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ  ซึ่งชุมชนสามารถสร้างความตระหนักในการระมัดระวังภัยอันตรายและการป้องกันความไม่ปลอดภัย

ให้เกิดขึ้นกับคนของชุมชน  ดังวิธีการต่อไปนี้   

1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ  โดยการเผยแพร่ความรู้ผ่านกลุ่มคนในชุมชน  เช่น  ฝึกอบรมการป้องกัน

ภัยจากโจรผู้ร้าย  การฝึกซ้อมหนีไฟ  ฝึกปฐมพยาบาล  และวิธีการแจ้งเตือนถึงอันตรายของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ  ชีวิต  แบะทรัพย์สิน  จนก่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของคนในชุมชนไปโดย  อัตโนมัติ

2. การปลูกฝังทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย  ทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัย  คือ  การตระหนักว่าความปลอดภัยมีความสำคัญต่อการ

ดำรงชีวิต  ทำให้บุคคล  ครอบครัว  และชุมชนมีสุขภาพที่ดี  และการไม่ระมัดระวัง  ฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยต่าง ๆ  ถือว่าเป็นเรื่องถูกต้อง                        วิธีการปลูกฝังทัศนคติด้านความปลอดภัย  เช่น  ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนให้มากที่สุด  เพราะจะทำให้เกิดการชักจูงโดยกลุ่มของชุมชนให้บุคคลเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย  มีความตระหนักว่าความปลอดภัยของชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ  และเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่ต้องมีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง

3. การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย  ชุมชนต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์  ระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย  เพื่อให้คนของชุมชนได้ปฏิบัติ

และมีการสืบทอดพฤติกรรมด้านความปลอดภัยต่าง ๆ  จากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกหลานสืบต่อไป  จนเกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยต่าง ๆ 

ขึ้นในชุมชน  เช่น  การขับขี่ตามกฎจราจร  การหลีกเลี่ยงสารเสพติด  หรือการให้ความร่วมมือในการป้องกันภัยอันตรายของชุมชน

2.4   กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัย

กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัย  เป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  มีความปลอดภัย  เพราะกฎหมายดังกล่าวช่วยควบคุมบังคับ   ให้ประชาชน  นายจ้าง  นิติบุคคล  หรือองค์กรต่าง ๆ  ได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย  ส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัยใน

สังคมโดยส่วนรวม

    กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ  ซึ่งในบทเรียนนี้จะขอกล่าวเฉพาะกฎหมายที่สำคัญ ๆ  ดังนี้                                                                                                                   

    1.  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2551

            พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541  เป็นกฎหมายที่บัญญัติสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ  ในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน  เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัย  มีสุขภาพอนามัยที่ดี  ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร  โดยในพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกจ้าง  โดยดังนี้

1) การใช้แรงงานทั่วไป  กฎหมายแรงงานฉบับนี้กำหนดให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างดันี้                                                                                                                  

    -    การทำงานปกติ  นายจ้างต้องประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบโดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน

แต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกิน  8  ชั่วโมง

    -    การทำงานล่วงเวลา  นายจ้างที่ต้องการให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน  ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวไป                                                    

    -    การลา  มี  6  ประเภท  คือ

        (1)  ลาป่วย  ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  การลาป่วยตั้งแต่  3  วันทำงานขึ้นไป  นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรอง

ของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ  หากไม่มีใบรับรองของแพทย์  ลูกจ้างต้องชี้แจงให้เจ้านายทราบ

        (2) ลาคลอด  ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งได้ไม่เกิน  90  วัน  โดยนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย

        (3) ลาเพื่อทำหมัน  ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดและออกใบรับรอง

        (4) ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

        (5) ลาเพื่อรับราชการทหาร  ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ  เพื่อฝึกวิชาทหาร  หรือเพื่อทดลอง

ความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

        (6) ลาเพื่อการฝึกอบรม  ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน

กฎกระทรวง                                         

    -    การกำหนดวันหยุด  มี  3  ประเภท  คือ

        (1) วันหยุดประจำสัปดาห์  สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า  1  วัน  โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน  6  วัน  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

        (2) วันหยุดตามประเพณี  นายจ้างต้องประกาศให้ลูกจ้างทราบวันหยุดตามประเพณีเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า  13  วัน                   โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย

        (3) วันหยุดพักผ่อน  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ  1  ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า  6  วันทำงาน  โดยให้

นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

    2)  การใช้แรงงานหญิง  กฎหมายกำหนดให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน  เว้นแต่ลักษณะหรือ

สภาพของงานไม่อาจปฏิบัติได้  อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดข้อห้ามในการใช้แรงงานหญิงไว้  ดังนี้

        -  ห้ามทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย  เช่น  งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน  ใต้น้ำ  ในถ้ำ  ในอุโมงค์  หรือปล่องในภูเขา  เว้นแต่สภาพของการทำงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง  หรืองานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดิน ตั้งแต่  10  เมตรขึ้นไป  หรืองานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ  เว้นแต่สภาพของการทำงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง

        -   ห้ามหญิงมีครรภ์ทำงาน  เกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือนหรืองานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ              หรืองานยก  แบก  หาม  หาบ  ทูน  ลาก  หรือเข็นของหนักเกิน  15  กิโลกรัม  หรืองานที่ทำในเรือ  นอกจากนี้  ยังห้ามทำงานในระหว่าง               เวลา  22.00  น. ถึง  06.00  น.  หรือทำงานล่วงเวลา  หรือทำงานในวันหยุดด้วย  ส่วนผู้ที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารงานวิชาการ  งานธุรกิจ                  การเงินหรือบัญชี  นายจ้างอาจให้ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้เท่าที่ไม่กระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างและได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง                 ก่อน  และห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

     3)  การใช้แรงงานเด็ก  ในการทำงานโดยทั่วไปนายจ้างสามารถจ้างลูกจ้างที่มีอายุ  18  ปีขึ้นไปได้โดยไม่มีเงื่อนไข  ในกรณีทีมีการจ้าง              เด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  เป็นลูกจ้าง  นายจ้างต้องปฏิบัติ  ดังนี้ 

    (1)  แจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่เข้าทำงาน

    (2)  จัดทำบันทึกสภาพการจ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้    สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้    

    (3)  แจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน  7  วัน  นับแต่วันที่ออกจากงาน

        นอกจากนี้  กฎหมายกำหนดข้อห้ามมิให้นายจ้างปฏิบัติดังนี้

    (1)  ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า  15  ปี

    (2)  ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  ทำงานในระหว่างเวลา  22.00  น.ถึง06.00  น.  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือ                      ผู้ที่อธิบดีมอบหมาย   อย่างไรก็ดี  นายจ้างอาจให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  ที่เป็นผู้แสดงภาพยนตร์  ละคร  หรือการแสดงอื่นที่คล้ายคลึงกันทำงานในระหว่างเวลาดังกล่าวได้  แต่นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้พักผ่อนตามสมควร

    (3)  ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด

    (4)  ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  ทำงานหลอม  เป่า  หล่อ  หรือรีดโลหะ  งานปั๊มโลหะ  งานเกี่ยวกับความร้อน  ความเย็น  ความสั่นสะเทือน  เสียง  และแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติที่เป็นอันตราย  งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย  งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษที่อาจเป็นเชื้อไวรัส  แบคทีเรีย  รา  และเชื้ออื่น  งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ  วัตถุระเบิด  หรือวัตถุไวไฟ  เว้นแต่งานในสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง  งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่น  งานใช้เลื่อยพลังงานไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์  งานที่ต้องทำใต้ดิน  ใต้น้ำ  ในถ้ำ  อุโมงค์  หรือปล่องในภูเขา  งาน                 เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี  งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์   ขณะที่กำลังทำงาน  งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 

10  เมตรไป

    (5)  ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  ทำงานในโรงฆ่าสัตว์  สถานที่เล่นการพนัน  สถานบริการ

    (6)  ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้างที่เป็นเด็ก

    (7)  ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นเด็กให้แก่บุคคลอื่น  หากนายจ้างจ่ายเงินหรือประโยชน์ตอบแทนใด ๆ  ให้แก่ลูกจ้าง             ที่เป็นเด็ก  บิดามารดา  ผู้ปกครอง  หรือบุคคลอื่นล่วงหน้าก่อนมีการจ้าง  ขณะแรกจ้าง  หรือก่อนถึงงวดการจ่ายค่าจ้างในแต่ละคราว                      มิให้ถือว่าเป็นการจ่ายหรือรับค่าจ้างสำหรับลูกจ้างที่เป็นเด็กนั้นและห้ามมิให้นำเงินหรือประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างซึ่ง            ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เป็นเด็กตามกำหนดเวลานอกจากนี้  กฎหมายยังกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กมีเวลาพักวันหนึ่ง              ไม่น้อยกว่า  1   ชั่วโมงติดต่อกัน   หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน   4   ชั่วโมง   อย่างไรก็ตาม  กฎหมายได้โอกาสเพื่อประโยชน์ใน                การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของเด็กให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า  18  ปี  มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม  สัมมนารับการ  อบรม  รับการฝึก  หรือลาเพื่อการอื่น  ซึ่งจัดโดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานรัฐหรือเอกชนได้แต่ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าพร้อม

หลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี  โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา  แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน                            30  วัน  

    2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  ( ฉบับที่  2 )  พ.ศ.  2541

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  ( ฉบับที่  2 )  พ.ศ.  2541  เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในการบริโภค  การซื้อและการใช้

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ   และสินค้าต่าง ๆ  รวมถึงสิทธิของผู้บริโภคในการร้องเรียนและเรียกร้องความเป็นธรรมที่เกิดจากการซื้อ และใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยและไม่เป็นธรรม

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภคที่น่าสนใจมีดังนี้

            -  การกำหนดแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับอันตรายจากการใช้สินค้า  หรือได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ  รวมทั้งทำหน้าที่ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้บริโภคที่เห็น ว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม    

            -  การกำหนดการควบคุมฉลากของสินค้าในมาตรา  30  และ  มาตรา  31  โดยกำหนดให้สินค้ามีการแสดงฉลาก  เพื่อประโยชน์ของ               ผู้บริโภคในการได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้า  รวมถึงลักษณะของรายละเอียดของตัวฉลากที่สินค้าแต่ละประเภทพึงมี  เพื่อความ    ปลอดภัยของผู้บริโภค

    3.  พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย  พ.ศ.  2542

พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย  พ.ศ.  2542  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย  กำหนดให้ประชาชนและ                 หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ได้อย่างปลอดภัยและเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย  มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้มาตรา  14  ในกรณีฉุกเฉินเมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ให้

เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการหรือสั่งให้พนักงานดับเพลิงหรืออาสาดับเพลิงดำเนินการดังต่อไปนี้

    1. กำหนดบริเวณหรือสถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้

    2. จัดระเบียบการจราจรชั่วคราวในบริเวณที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย

    3. ปิดกั้นไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณหรือสถานที่ที่กำหนด

    4. เคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้มาตรา  23  ผู้ใดพบเพลิงเริ่มไหม้ให้แจ้งต่อเจ้าของ  ผู้ครอบครองหรือบุคคลซึ่ง

ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาอาคารหรือสถานที่ที่เป็นต้นเพลิงเพื่อทำการดับเพลิง  ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าวและเพลิงนั้นอยู่ในสภาพที่ ตนสามารถดับได้  ก็ให้ทำการดับเพลิงนั้นทันที  ถ้าเพลิงนั้นอยู่ในสภาพที่ตนไม่สามารถดับได้  ให้รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ   โดยด่วน                       มาตรา  35  ผู้ใดแจ้งเหตุหรือให้อาณัติสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อันเป็นเท็จ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  6  เดือน  หรือปรับไม่เกิน  10,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  มาตรา  36  ผู้ใดไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย  ทำลาย  เคลื่อนย้าย  กีดขวาง  หรือทำให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้อาณัติสัญญาณ  แจ้งเหตุเพลิงไหม้  เครื่องดับเพลิง  หรือท่อส่งน้ำดับเพลิง  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  2   ปี  หรือปรับไม่เกิน  40,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา  1   น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น  ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  5  ปี  หรือปรับไม่เกิน  100,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ