เพราะ เหตุ ใด สมัยธนบุรี จึงมีความ เข้มงวด ในการควบคุมกำลังคน

หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต้องทรงจัดการดูแลปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่ยังมีผู้คนอาศัยอยู่ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมกำลังคนไว้ในการผลิตและทำการสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงทรงแต่งตั้งข้าราชการออกไปรักษาตามหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ กรุงเก่า ลพบุรี อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี สมุทรสงคราม เพชรบูรณ์ เมื่อพ้นจากศึกพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน จำเป็นต้องปราบปรามกลุ่มการเมืองอื่นๆ ให้ราบคาบ เพื่อความเป็นเอกภาพทางการเมืองภายใน มิฉะนั้นจะไม่สามารถผนึกกำลังในการต่อสู้กับพม่าซึ่งเป็นข้าศึกได้

ปี พ.ศ.2311 จึงเริ่มมีแผนปราบปรามกลุ่มการเมืองต่างๆ ด้วยการยกกองทัพเรือจากธนบุรี เพื่อปราบปรามพิษณุโลกแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ได้รับการต่อต้าน ต่อมาพระยาพิษณุโลกถึงแก่พิราลัยและเมืองพิษณุโลกอ่อนแอจากการปกครองของ พระอินทร์ยากรน้องชายของพระยาพิษณุโลก ด้วยเหตุนี้พระเจ้าฝางเห็นเป็นโอกาสก็ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกเอาไว้ได้ในที่สุด ต่อมากกองทัพธนบุรีตีเมืองนครราชสีมาได้ ทำให้อาณาเขตด้านตะวันออกขยายออกไปเท่ากับสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ.2312 พระองค์โปรดยกทัพลงไปตีเมืองนครศรีธรรมราช สามารถตีชนะได้ มีผลทำให้อำนาจของกรุงธนบุรีขยายไปถึงสงขลา พัทลุง และเทพาด้วย ใน พ.ศ.2313 พระองค์ก็สามารถปราบปรามเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยึดเมืองพิษณุโลกได้ด้วย ทำให้อาณาเขตของกรุงธนบุรีขยายกว้างขึ้น (เหมือนยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี)

ภายหลังการปราบปรามกลุ่มการเมือง 4 กลุ่ม ราบคาบแล้วก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ว่าอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เริ่มมีความมั่นคงและเข้มแข็งมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพทางการเมืองภายใน ในยุคที่มีกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ในระยะเริ่มแรกได้ดีพอสมควร

ปัญหาและสภาวะเศรษฐกิจกับการแก้ไข : ตลอดระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ.2310-2325) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ลุล่วงไปด้วยยุทธวิธีต่างๆ ที่ทรงเลือกอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

1.สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ : มี 4 ประการ คือ

1.1) ผลของการที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ทางด้านเหนือและด้านใต้ และตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานก่อนจะตีกรุงศรีอยุธยา และทำให้เสบียงอาหารและผู้คนถูกพม่ากวาดต้อนผู้คนไปหมด แรงงานที่จะใช้ในการผลิตก็ลดน้อยลง เพราะมีเหลือจากพม่ากวาดต้อนไป จะอพยพเข้ามาเตรียมการต่อสู้ป้องกันพระนครภายในกำแพงเมือง แรงงานที่จะผลิตข้าวก็จะมีไม่มากเท่าที่ควร เสบียงอาหารที่มีอยู่ก็ร่อยหรอลงไปในที่สุด สภาพความอดอยากและหิวโหยก็ยังเกิดขึ้น

1.2) การทำสงครามปราบชุมนุมต่างๆ ทางฝ่ายเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และฝ่ายใต้ ย่อมต้องอาศัยแรงงานไปในการตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับการสู้รบ เช่น การต่อเรือรบ การระดมพลฝึกปรือการรบ เป็นต้น มีผลกระทบต่อแรงงานใช้ในการผลิตอยู่บ้าง เพราะทำให้ผลิตได้น้อยลง นอกจากการปราบปรามชุมนุมต่างๆ แล้ว ยังต้องทำสงครามกับพม่า เขมร เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และเชียงใหม่ สงครามเหล่านี้เกิดขึ้นทุกปีตลอด 15 ปี จึงส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยในขณะนั้นเป็นอย่างยิ่ง

1.3) ในระยะแรกของการสร้างเมืองหลวงใหม่ การก่อสร้างพระราชวังก็ดี การสถาปนาเจ้านายก็ดี การปูนบำเหน็จให้กับแม่ทัพนายกอง ขุนนางใหญ่น้อยต่างๆ ก็ดี เป็นการเพิ่มพูนรายจ่ายให้สูงขึ้นทั้งสิ้น

1.4) ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงเริ่มฟื้นฟูทำบุบำรุงพระศาสนา ตลอดจนได้ชำระสมณสงฆ์ให้ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย ทั้งนี้เนื่องจากได้ทรุดโทรมลงมากในยุคบ้านเมืองเกิดจลาจล จึงจำเป็นต้องใช้พระราชทรัพย์เป็นอันมาก

ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้คลี่คลายลงได้

2.นโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจัยที่เสริมให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ : มี 9 ประการ คือ

2.1) ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการอดอยาก และขาดแคลนด้วยการพระราชทานข้าวสารให้แก่บรรดาข้าราชการ ทหาร พลเรือนทั้งไทยและจีน คนละ 1 ถัง ต่อ 20 วัน นอกจากนี้ ก็ทรงแจกจ่ายอาหารเลี้ยงดูแก่พลเรือนที่อดโซด้วย

2.2) ในระยะแรกที่ขึ้นครองราชย์เป็นภาวะที่เพิ่งพ้นการอลเวงวุ่นวายจากศึกสงครามจึงยังไม่มีผู้คนจะทำไร่นา เพื่อเพิ่มผลผลิตให้พอเลี้ยงดูผู้คน พระองค์ทรงแก้ปัญหาขาดแคลนเฉพาะหน้าด้วย…การซื้อข้าวสารจากพ่อค้าสำเภาจีนในราคาที่แพง คือ ถังละ 2-4-5 บาท เพื่อแจกจ่ายคนไทยทั้งปวง เมื่อข่าวขายข้าวสารได้ราคาแพงในกรุงธนบุรีแพร่ออกไป บรรดาพ่อค้าจีนบรรทุกข้าวจากที่อื่นมาขายมากขึ้น ทำให้ราคาข้าวสารถูกลงเป็นประโยชน์ต่อราษฎรไทย

2.3) โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่และผู้น้อยทำนาปีละ 2 ครั้ง ใน พ.ศ.2311 เป็นการแก้ปัญหาความขาดแคลน เพราะข้าวสารราคาสูงถึงเกวียนละ 2 ชั่ง ราษฎรจึงได้รับความเดือดร้อนกันมาก

2.4) ใน พ.ศ.2311 นั่นเอง ปรากฏว่าข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินต่างๆ เสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะมีกองทัพหนูพากัดกินเป็นจำนวนมาก พระองค์รับสั่งให้ข้าราชการและพลเรือนทั้งหลายจับหนูส่งกรมพระนครบาลทุกวัน ปัญหาหนูจึงสงบหายไป

2.5) ทรงใช้การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้กับท้องพระคลัง และพ่อค้าที่มีบทบาทสำคัญในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าจีน

2.6) พฤติกรรมชั่วร้ายของคนจีนในอาณาจักรบางครั้งก็เกิดผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ได้อย่างไม่ตั้งใจ เหตุที่คนไทยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก การก่อสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปก็มักบรรจุแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อบ้านเมืองเกิดจลาจลวุ่นวาย พวกคนจีนที่รู้ช่องทางก็พากันทำลายพระพุทธรูป ทำลายเจดีย์ ขนเงินทองบรรจุเรือสำเภากลับไปเมืองจีนก็มาก ที่เอามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในท้องตลาดก็มาก ทำให้เงินทองเกิดในท้องตลาด

2.7) การหารายได้จากภาษี อากร ส่วย และเครื่องบรรณาการต่างๆ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสามารถปราบปรามหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองฝ่ายตะวันออกได้ทั้งหมด ทำให้ฐานอำนาจทางการเมืองมั่นคง ด้วยเหตุนี้การเกิดภาษีอากร ส่วยและเครื่องบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ที่ยอมอ่อนน้อมก็สามารถกระทำได้พอสมควร ถึงแม้ว่าจะเป็นระยะเวลาของการทำสงครามสู้รบกันอยู่ แต่เมื่อดินแดนมิได้ถูกยึดครองโดยข้าศึกศัตรูแล้ว บรรดาราษฎรก็พอมีเวลาเพาะปลูกพืชพันธุ์ไร่นา และมีเวลาประกอบอาชีพต่างๆ ส่วนตัวได้บ้าง และก็คงสามารถจ่ายผลิตผลส่วนเกินเป็นภาษีหรือส่วยให้กับท้องพระคลังได้

2.8) เพิ่มพูนรายได้แผ่นดินด้วยการเปิดโอกาสให้มีการประมูลผูกขาดเก็บค่าภาคกลางขุดทรัพย์ที่มีคนมาฝังใช้ในกรุงศรีอยุธยาทั้งนี้เพราะในยามบ้านเมืองจลาจล ผู้คนจะต้องเอาทรัพย์สินฝังดินไว้ไม่ใช่น้อย ที่ยังไม่ตายหรือจำได้ก็มาขุดเอาไป ถ้าตายไปแล้วหรือจำไม่ได้ ทรัพย์สินเหล่านั้นก็ไม่ได้สูญหายไปไหน 2.9) ทรงเอาผิดและลงโทษผู้ที่ปล่อยทำลายเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและเฉียบขาดอย่างเช่นกรณี ขุนอินทรไกรลาศ และนายน้อยชินะได้คบคิดรักลอบนำเงินตราพดด้วง จึงให้ประหารชีวิตทันที

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมดังกล่าวก็มิได้หมายความว่า เศรษฐกิจในยุคนี้มีความเจริญเติบโตอย่างแท้จริง เนื่องด้วยมีสงครามไม่หยุดเลย และในเวลานี้ก็ยังหาสงบไม่ ปัญหาเรื่องความอดอยากนี้นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

3.การสร้างเสถียรภาพทางสังคม : เป็นที่ประจักษ์กันดีว่า ความเสื่อมโทรมของกรุงศรีอยุธยานั้นมีทั้งทางด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ภายหลังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนาอำนาจทางการเมืองของไทยขึ้นใหม่ที่ธนบุรีแล้ว โดยทรงดำเนินนโยบายฟื้นฟูสังคมขึ้นมาใหม่ ดังนี้

3.1) การฟื้นฟูพระศาสนา : การจรรโลงพระพุทธศาสนาจึงเป็นนโยบายอย่างหนึ่งในการปฏิรูปสังคมของพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง “สมเด็จพระสังฆราช” ให้เป็นประธานดูแลคณะสงฆ์และปกครองให้พระสงฆ์อยู่ในวินัยพุทธบัญญัติ ภายหลังได้ชำระสะสางคณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้ว กรณีพระสงฆ์ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ (ชุมชนเจ้าพระฝาง) ชอบถือปืน ฆ่าคน ปล้นทรัพย์ กินสุรา) ทรงผนวกมาให้เย็บวีจรให้ได้ 1,000 ไตร บวชพระสงฆ์ฝ่ายเหนือ แล้วอาราธนาพระสงฆ์พระราชาคณะและพระอันดับ 50 รูป ณ กรุงธนบุรี ไปบวชพระสงฆ์ไว้ทุกหัวเมือง และที่สำคัญโปรดให้มีการคัดลอกพระไตรปิฎก ซึ่งทรงนำมาจากวัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และจัดทำเป็นฉบับหลวงเก็บไว้ที่กรุงธนบุรี และทำพิธีอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดอรุณราชวราราม

3.2) กฎหมายและการศาล : เนื่องจากสมัยกรุงธนบุรีมีศึกสงครามอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นที่เข้าใจว่าการใช้กฎหมายและตุลาการคงจะอนุโลมตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา

3.3) สภาพความเป็นอยู่ของไพร่ : สังคมไทยในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมควรที่กล่าวถึงสภาวะความเป็นอยู่ของไพร่ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมนอกเหนือไปจากเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการ ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองและเป็นส่วนน้อย “บ่าวไพร่” ซึ่งเป็นชนชั้นที่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำสงครามในสมัยกรุงธนบุรีจึงมีการควบคุมอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันการหลบหนี ผู้ใดเกียจคร้านไม่ยอมไปเป็นทหารก็มีโทษถึงประหารชีวิตเช่นเดียวกัน หรือแม้ผู้ที่ทำเหล็กปลอมขึ้นมาสักเลขเพื่อผลประโยชน์ของตนเองว่ามีโทษถึงประหารชีวิต

4.การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม : การสร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา เท่ากับเป็นการสร้างชุมชนใหม่ของไทย การสูญเสียอิสรภาพของไทยให้กองทัพพม่าที่เข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาแตกยับเยิน พ.ศ.2310 นั้น ก็หมายถึงการสูญสลายของศิลปวัฒนธรรมไทยในบางส่วน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงจำเป็นต้องฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยที่เสื่อมโทรมลงไปขึ้นมาใหม่ แต่ก็คงจะทำนุบำรุงได้ไม่เต็มที่ เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะสงครามดังได้กล่าวไว้ข้างต้น

5.ด้านสถาปัตยกรรม : การก่อสร้างได้ยึดเอาแบบกรุงศรีอยุธยาเป็นหลักที่สำคัญ ได้แก่ การก่อสร้างพระราชวังกรุงธนบุรี วังเจ้านาย ตลอดจนการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เช่น วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร) วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทารามวรวิหาร) ด้านประติมากรรม ด้านดุริยางค์และนาฏศิลป์ ศิลปกรรมอื่นๆ : ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้จากสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การปั้นพระพุทธรูป การเล่นทบดอกสร้อยสักวาและการเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นละคร โขน ตลอดจนการงานช่างต่างๆ การสืบทอดงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากสมัยอยุธยา ทำให้อาณาจักรไทยสมัยกรุงธนบุรีเกิดการพัฒนาเกิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย

6.การจัดการปกครองอาณาจักร : ในสมัยธนบุรียังคงยึดแบบอย่างการปกครองของสมัยอยุธยาเป็นหลัก

7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ : กับเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน พม่า อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง มลายู กับประเทศตะวันตก มีชาวอังกฤษที่ปีนัง ชื่อร้อยเอกพรานซิสไลท์ หรือไทยเรียกว่า “กัปตันเหล็ก” ค้าขายเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธใช้ต่อสู้กับพม่า

การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช ได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้พระยาสวรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสวรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏและคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี จับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคุมขังเอาไว้

การจลาจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต้องรีบยกทัพกลับจากเขมรเพื่อเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรีและจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความดีที่ผู้ฟ้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากในกรุงธนบุรี และมีความเห็นให้สำเร็จโทษเพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ.2325 พระชนมายุได้ 48 ปี เมื่อปราบยุคเข็ญแล้วข้าราชการทั้งปวงก็อัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นปกครองประเทศ จึงทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นต้นมา

บทสรุป : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ.2310-2325) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองและพสกนิกรชาวไทยเป็นอันมาก

พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษทรงกอบกู้เอกราชและอธิปไตยของชนชาติไทยให้พ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระองค์ทรงมีพระวิจารณญาณที่ชาญฉลาดในการย้ายเมืองราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่ธนบุรีซึ่งเหมาะสมกับสภาพการณ์อย่างยิ่ง

ตลอดพระชนม์ชีพได้ทรงสร้างราชอาณาจักรไทยให้เจริญก้าวหน้า ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การทหาร จนสังคมไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลังจากที่ทรุดโทรมมาจากการสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2310

ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่ประชาชนชาวไทยได้พร้อมใจกันถวายพระนามพระองค์ว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” โดยมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์เป็นเครื่องน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ไพศาลของพระองค์ที่บริเวณวงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ไงเล่าครับ

ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยธนบุรีคือข้อใด

การกวาดต้อนผู้คนกลับไปยังพม่าหลังสงครามในปี พ.ศ.2310 เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้กรุงธนบุรีขาดแคลนแรงงานผลิตจำนวนมาก ภาวะสงครามทำให้ไพร่หยุดการทำไร่ไถนาเป็นเวลาหลายปี จึงก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารตามมา การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนเข้าสวามิภักดิ์ ทำให้ราษฎรเข้ามาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จึงเกิดปัญหา ...

การเมืองการปกครองในสมัยธนบุรีมีลักษณะอย่างไร

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับ สมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรีดาเนินตามแบบแผน สมัยอยุธยา คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอาญาสิทธิ์ เด็ดขาดในการรักษาบ้านเมือง การปกครองของกรุงธนบุรี

สภาพสังคมในสมัยธนบุรีตอนต้นมีลักษณะอย่างไร

1. พระมหากษัตริย์ มีศักดินา 100000 ไร่ 2. พระบรมวงศานุวงศ์มีศักดินา 10000 ไร่ 3. ขุนนาง มีศักดินา 1000 ไร่ 4. ไพร่เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม มีศักดินา 25ไร่ 5. ทาส มีศักดินา 5 ไร่ สภาพสังคมสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือ มีการแบ่งชนชั้นศักดินาออกเป็น - ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก

เพราะเหตุใดจึงมีการต่อเรือจํานวนมากในสมัยธนบุรี

13.2.1 เรือ สมัยกรุงธนบุรีนับว่าการต่อเรือเจริญมาก เพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ปรากฎชื่อ เรือพระที่นั่ง คือ เรือพระที่นั่งบรรลังก์แก้วจักรพรรดิ์ เรือพระที่นั่งศรีสวัสดิ์ชิงชัย

ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยธนบุรีคือข้อใด การเมืองการปกครองในสมัยธนบุรีมีลักษณะอย่างไร สภาพสังคมในสมัยธนบุรีตอนต้นมีลักษณะอย่างไร เพราะเหตุใดจึงมีการต่อเรือจํานวนมากในสมัยธนบุรี อาณาจักรธนบุรี สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยธนบุรี มีลักษณะอย่างไร เพราะเหตุใด ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจำนวนน้อย ข้อใดอธิบายการจัดการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนต่างชาติ กลุ่มใดต่อไปนี้มีบทบาทต่อสังคมไทยในสมัยธนบุรีมากที่สุด วัฒนธรรมสมัยธนบุรี การปกครองสมัยธนบุรี สังคมสมัยธนบุรี