ระบบสุขภาพชุมชน มีอะไรบ้าง

ในอดีตที่ผ่านมา หลายท้องถิ่นเกิดปัญหารอบด้าน แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นปัญหาสุขภาพ ที่หลายพื้นที่ ประชากรต้องพบกับความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย ด้วยสาเหตุหลายหลายปัจจัย ทั้งขยะล้นเมือง อาหารไม่ปลอดภัย ผู้สูงอายุและคนพิการขาดคนดูแล เยาวชนมีปัญหา ไม่มีหลักประกันในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน จึงทำให้หน่วยงานรัฐด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหา โดยกำหนดแผนงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนขึ้นมาเพื่อสร้างเครือข่ายและเป้าหมายในการทำงานของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และช่วยเหลือตัวเองในประเด็นปัญหาสุขภาพ

"ระบบสุขภาพชุมชน" หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันและทำให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในชุมชน โดยความร่วมมือกันของสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยตรงโดยพยายามจัดวางเครื่องมือซึ่งมีโครงสร้างหลักเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ระบบการจัดการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ระบบการดูแลตนเองและช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้เกิดการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของชุมชน โดยกลุ่มคนต่างๆ ในชุมชนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องเช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เด็กและสตรี ที่จะต้องมีระบบการดูแลฉุกเฉิน ระบบสวัสดิการ เพื่อการดูแลในด้านต่างๆ มีกลุ่มอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้

ทั้งนี้ 4 ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของแผนงานประกอบด้วย 1.การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โดยมีเป้าหมายในการสร้างตำบลต้นแบบ และตำบลเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง สามารถตอบสนองต่อปัญหาของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับพื้นที่อื่นๆรวมถึงวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และชุดประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในแต่ละพื้นที่ 3.การสังเคราะห์ทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้ในระดับต่างๆ และขยายผลในระดับนโยบาย พัฒนานโยบายเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ขับเคลื่อนสังคมและ 4.ขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดการรวมตัวของพื้นที่ตำบลต้นแบบในลักษณะเครือข่ายการเรียนรู้ และสร้างกระบวนการในการเกิดการขยายเครือข่าย เพื่อให้เกิดค่านิยมสุขภาวะชุมชนคือเป้าหมายและคุณค่าของการพัฒนา

สำหรับวิธีปฏิบัติงาน ด้วยความคิดพื้นฐานที่ว่าทุกที่มีต้นทุนอยู่แล้ว การทำงานจึงเน้นสร้างและเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยจะทำงานจากชุดข้อมูลสุขภาพของชุมชน จากพื้นที่จริง โดยใช้คนทำงานจริงเป็นคนต้นแบบ อาทิ ผู้นำองค์กร กลุ่มแกนนำ กลุ่มชมรมต่างๆ กลุ่มอาสาสมัคร โดยใช้การพูดคุย เวทีประชาคมหมู่บ้าน หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน ซึ่งผลลัพท์ที่เราต้องการในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คือชุมชนจะต้องเข้มแข็ง เกิดระบบในการดูแลผู้สูงอายุ ระบบในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ระบบของการดูแลฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ พร้อมทั้งเกิดระบบเฝ้าระวังโรคและภาวะทางสังคม รวมถึงการสร้างระบบในการดูแลผู้ด้อยโอกาส ระบบสวัสดิการชุมชน การจัดการทรัพยากรชุมชนและสถาบันการเงินชุมชน

โดยพื้นที่ต้นแบบที่ สพช. และภาคีเครือข่ายได้เข้าไปร่วมสร้างกระบวนการในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งนั้นกระจายไปทุกภูมิภาค อาทิ ภาคเหนือที่ ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออก ที่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ภาคใต้ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือพื้นที่ ต.โคกสี จ.กาฬสินธุ์ และ ต.เมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยพื้นที่เหล่านี้คือพื้นที่ตำบลพี่เลี้ยง ซึ่งหวังว่าต้นทุนของแต่ละพื้นที่จะกลายเป็นฐานความรู้ และกระจายการพัฒนาระบบสุขภาพสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป โดยเบื้องต้นได้ตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปี จะมี 600 ตำบล ที่ประชาชนอยู่ดีมีสุข พึ่งตนเองได้ ไม่มีหนี้นอกระบบ ชุมชนจัดการสุขภาพตนเองได้ ดูแลกันเองได้ มีศักดิ์ศรี มีข้อตกลงร่วมกัน มีภาพอนาคตร่วมกัน และมีข้อมูลที่รู้เท่าทัน พร้อมทั้งเกิดการจัดการทรัพยากรภายในและเกิดการจัดการความรู้ ต่อรอง กับกลไกภายนอก รวมถึงเกิดการรวมตัว รวมกลุ่ม ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆพร้อมกันนี้ประชาชนจะต้องมีความรู้ ความสามารถดูแลตนเองได้ เลือกใช้บริการที่เหมาะสม บริหารการกินเพียงพอ คิดเป็นทำเป็น มีส่วนร่วม และมีบทบาทในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

                                                ระบบสุขภาพชุมชน
                                            นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)
ระบบสุขภาพชุมชน เป็นฐานพระเจดีย์ของระบบสุขภาพทั้งหมด ระบบบริการสุขภาพที่ขาดความเข้มแข็งของระบบสุขภาพชุมชนตั้งอยู่ได้ลำบากมาก ดังที่เห็นคนไข้ท่วมท้นโรงพยาบาล ตรวจรักษาไม่หวาดไม่ไหวลำบากทั้งคนไข้และแพทย์พยาบาล ค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพก็มากขึ้นเรื่อยๆ แต่การบริการไม่ทั่วถึงและคุณภาพไม่ดี จึงควรที่ทุกฝ่ายจะสนใจเรื่องระบบสุขภาพชุมชนกันอย่างจริงจัง ระบบสุขภาพชุมชนมีองค์ประกอบสองอย่างร่วมกันคือชุมชนเข้มแข็ง กับระบบสุขภาพที่เป็นทางการประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัย) ซึ่งมีทุกตำบล บางตำบลมีสองแห่ง โรงพยาบาลชุมชนอำเภอละหนึ่งแห่ง เทศบาล/อบต. และสภาผู้นำชุมชนระดับตำบลควรทำงานร่วมกัน โดยมีเป้าหมายของระบบสุขภาพชุมชนอย่างน้อย 7 ประการดังต่อไปนี้
1. แต่ละตำบลเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน และมีหัวใจของความเป็นมนุษย์ดังกล่าวในข้อ 5 ข้างต้น
2. แต่ละตำบลมีเศรษฐกิจพอเพียง หรือสัมมาอาชีพเต็มพื้นที่ ดังกล่าวในข้อ 6 ข้างต้น
3. รักษาโรคที่พบบ่อย เช่น เป็นหวัดเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นกลาก เกลื้อน และอื่นๆ ได้โดยการดูแลรักษาตัวเอง ดูแลรักษาในครอบครัว และดูแลรักษาในชุมชน โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ซึ่งจำทำได้ด้วยคุณภาพดีกว่าและเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่า
4. รักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตได้ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตพบมาก ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ส่วนน้อยที่ได้รับการวินิจฉัยก็ได้รับการรักษาไม่ดี โรงพยาบาลใหญ่ไม่มีทางรักษาคนไข้โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ดีเพราะคนไข้แน่นเกิน คนที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ดีจะมีโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคไต โรคทางสมอง ตาเป็นต้อ และโรคติดเชื้อ ทำให้เพิ่มภาระทางด้านสุขภาพอีกเหลือคณานับ ฉะนั้นในแต่ละตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล (สถานีอนามัย)โดยการสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชนต้องสามารถวินิจฉัยคนเป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงให้ได้หมดทุกคนทั้งตำบลและให้การรักษาอย่างดีที่สุด ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพดีและลดภาวะโรคแทรกซ้อนลงไปได้
5. บริการผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุไม่เหมาะสมกับการไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเพราะไม่สะดวก เนื่องจากผู้สูงอายุมักเป็นโรคเรื้อรังต้องการบริบาลถึงที่ ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรังควรจะอยู่ที่บ้านของตัวเอง แล้วมีพยาบาลเยี่ยมบ้านไปดูแลให้ถึงที่บ้าน ถ้าผู้ป่วยสูงอายุมีพยาบาลไปบริการถึงบ้านด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์จะเปลี่ยนสภาพนรกในโรงพยาบาลมาเป็นสวรรค์ในบ้านทีเดียว
6. การควบคุมโรค โรคระบาด เช่น โรคไข้เลือดออก หรือไข้หวัดนก โรงพยาบาลไม่สามารถควบคุมได้ แต่ชุมชนเข้มแข็งสามารถควบคุมได้ดังที่มีบางชุมชนที่เข้มแข็งสามารถควบคุมลูกน้ำยุง ทำให้โรคไข้เลือดออกไม่ระบาด ในอนาคตจะมีโรคระบาดใหม่ๆ เช่น โรคซ่าร์ส โรคไข้หวัดนก โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งถ้าควบคุมไม่ได้จะเสียหายใหญ่โตทั้งการสูญเสียชีวิตและสูญเสียเศรษฐกิจ ชุมชนเข้มแข็งจะมีบทบาทอย่างมากในเรื่องควบคุมโรค
7. การสร้างเสริมสุขภาพ ชุมชนเข้มแข็งจะมีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพได้มาก เช่น การออกกำลังกาย การไม่ใช้สารเสพติด มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาจิตใจ เป็นต้น ถ้าชุมชนเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพกันอย่างเต็มที่ จะทำให้ผู้คนมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วนล้มตายโดยไม่จำเป็น ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจลงได้อย่างมหาศาล
เหล่านี้คือเป้าหมาย 7 ประการ ของระบบสุขภาพชุมชน ซึ่งอาจเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็ได้ แต่เพียงเท่านี้ก็เห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างสุขภาวะอย่างทั่วถึง ประดุจสร้างสวรรค์บนดิน ระบบสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งจะทำให้โรงพยาบาลใหญ่ไม่มีคนไข้แน่นเหมือนเดิม เปิดโอกาสให้โรงพยาบาลให้บริการด้วยความประณีตและคุณภาพสูงขึ้น
อีกประการหนึ่ง ขณะนี้กำลังมีการขยายการผลิตพยาบาลของชุมชน ด้วยความร่วมมือระหว่าง เทศบาล/อบต. โรงพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์หรือวิทยาลัยพยาบาล ด้วยความสนับสนุนของสภาพยาบาล โดย เทศบาล/อบต. เลือกคนที่เหมาะสมจากชุมชนของตนส่งไปเรียนพยาบาล โดยเทศบาล/อบต. ออกค่าเล่าเรียน เมื่อจบมาแล้ว เทศบาล/อบต. รับไปทำงานในชุมชน โดยไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของกระทรวงสาธารณสุข แต่เป็นพยาบาลชุมชน ถ้ามีพยาบาลของชุมชนหมู่บ้านละคนหรือหนึ่งคนต่อสองหมู่บ้าน การบริการสุขภาพจะไปถึงทุกบ้านได้อย่างทั่วถึง

ระบบสุขภาพชุมชน มีกี่ประเภท

1. ระบบที่เกิดขึ้นในชุมชนมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน ได้แก่ระบบการจัดการ โรคเรื้อรัง ระบบการดูแลผู้สูงอายุระบบบริการสุขภาพ ขั้นพื้นฐาน ระบบการพัฒนาเยาวชน ระบบระบบการ ดูแลผู้พิการ /จิตเวช ระบบการดูแลตามวิถีหมอเมือง และ2) ระบบสนับสนุน ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจชุมชนและ ครัวเรือน ระบบจิตอาสา ระบบการสื่อสาร ระบบ ...

ระบบสุขภาพชุมชน หมายถึงอะไร

"ระบบสุขภาพชุมชน" หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันและทำให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในชุมชน โดยความร่วมมือกันของสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในชุมชน สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยตรงโดยพยายามจัดวางเครื่องมือซึ่งมีโครงสร้างหลักเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกใน ...

องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพมีองค์ประกอบ 10 ประการ ได้แก่ 1. ศักดิ์ศรีและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ 2. สัมมาชีพเต็มพื้นที่ 3. วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ระบบสุขภาพชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน 3 Page 16 7. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 8. การสื่อสาร 9. การสาธารณสุข 10. นโยบายสาธารณะ ทิศทางการพัฒนา ดังรูปที่ 1 ระบบสุขภาพ

ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย อะไร บ้าง

6 เสาหลักของระบบสุขภาพ.
ระบบสุขภาพ.
บริการสุขภาพ.
กำลังคนด้านสุขภาพ.
ระบบสารสนเทศ.
การเข้าถึงยา.
การคลังด้านสุขภาพ.
ธรรมาภิบาล.