รูปแบบของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนมีอะไรบ้าง

มัลติมีเดียกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                                                             นางสาวธิดารัตน์  สุโขยะชัย

54072874 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

 บทนำ

          เทคโนโลยีปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมากมายทั้งด้านฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาให้มีความสามารถให้มีความเร็วในการประมวลผลมากขึ้นทำให้สามารถพัฒนาซอฟแวร์ได้มากขึ้น รวมทั้งหน่วยความจำที่มีความจุเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ต่อพวง เช่น เครื่องกราดภาพ (Scanner) เครื่องบันทึกภาพและเสียงระบบดิจิทัล เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) และอื่นๆ  การพัฒนาคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุ อย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีขีดความสามารถประมวลผลรูปภาพได้ดี และมีการใช้งานกับอุปกรณ์สื่อประสมที่ต้องการทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์มากขึ้น เอื้อให้กับนักออกแบบสื่อมัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อต่างๆ เหล่านี้ให้มาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เรารวมเรียกสื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) การพัฒนาระบบมัลติมีเดียมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ จนถึงขั้นที่ผู้ใช้โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น การใช้คีย์บอร์ด การใช้เม้าส์ การสัมผัสจอภาพ และการใช้เสียง  ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ของคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น การเรียนรู้มีจำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนอีกแล้ว แต่การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ด้วยตัวของตนเอง  ตามความสนใจของตนเอง

มัลติมีเดีย

สำหรับคำว่า “มัลติ” (Multi) หมายถึง หลายๆ อย่างผสมรวมกัน (ซึ่งมีศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น Many,Much และ Multiple) ส่วนคำว่า “มีเดีย” (Media) หมายถึง สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เมื่อนำมารวมกันเป็นคำว่า “มัลติมีเดีย” จึงหมายถึง “การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งานวิไล องค์ธนะสุข (2543 : 21) ได้ให้ความหมายของมัลติมีเดีย หมายถึง การรวบรวมของสื่อต่าง ๆ ได้แก่ ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวีดิโอโดยสื่อเหล่านี้จะทำงานประสมประสานกันเพื่อให้สื่อที่ออกมานั้นเป็นสื่อที่มีการเรียนรู้ได้หลากหลายสามารถสื่อความคิดไปสู่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถมีการปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกันได้เป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน ซึ่งส่วนมากสื่อในรูปแบบนี้จะอยู่ในลักษณะของสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROMs) โดยจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงาน (กิติมา เพชรทรัพย์ อ้างในhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/21/standard/developer.html สืบค้น เมื่อ 3 พฤษภาคม 2555)

ศิริอร มโนมัธยา (2546 : 17) ได้ให้ความหมายของมัลติมีเดีย หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมสื่อหลายชนิดโดยสื่อหลายชนิดนี้จะทำงานผสมผสานกัน เพื่อให้สื่อออกมานั้นเป็นสื่อที่มีการเรียนรู้ได้หลากหลายสามารถสื่อความคิดไปสู่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งมีการปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกันได้เป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน โดยจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

นันทวรรณ วิบูลย์ศักดิ์ชัย (2548 : 4) ได้สรุปความหมายมัลติมีเดีย หมายถึง การรวบรวมและผสมผสานสื่อหลายประเภท เช่น ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายทำให้เนื้อหามีความน่าสนใจ

จุฬารัตน์ มีสูงเนิน (2548 : 13) กล่าวว่ามัลติมีเดีย หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ อย่างมาผสมผสานกันเพื่อนำเสนอในรูปแบบของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจและบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนมากยิ่งขึ้น

เทียมจันทร์ เรืองเกษม (2553:36-37)กล่าวว่า เป็นการนำสื่อหลาย ๆ สื่อมาผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อนำเสนองานที่เป็นข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียงและสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้เรียนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานและทำให้เนื้อหาในบทเรียนมีความน่าสนใจ

วรพจน์ ใหม่คามิ  (2553:8 ) กล่าวว่า  มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่าง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เข้าด้วยกัน ตลอดจนมีการนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานด้วย

ธีรนัยท์  เขียวแก่ (2554:24)  กล่าวว่า สื่อมัลติมีเดียคือการนำข้อมูลต่างๆ มานำเสนออย่างเป็นระบบด้วยรูปแบบต่างๆ ที่หลาหลาย  โดยส่วนใหญ่แล้วสื่อมัลติมีเดียมักถูกนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนโดยมีการพัฒนารูปแบบเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 

จากความหมายข้างต้น  อาจสรุปได้ว่า การนำสื่อหลายๆ แบบมาใช้ร่วมกัน และใช้สื่อมากว่าหนึ่งอย่างมาในการนำเสนอ เช่น  กราฟิก ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยมีการตอบโต้ระหว่างผู้ใช้กับสื่อ

ประเภทของมัลติมีเดีย

มัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทในหลายด้าน เช่น ด้านธุรกิจ การศึกษา บันเทิง การเมืองโทรคมนาคมผลจากการนำมัลติมีเดียไปใช้ในงานต่าง ๆ ทำให้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมัลติมีเดียจึงสามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งนักการศึกษาได้กล่าวไว้ ดังนี้

พอลลีสเซน และเฟรทเตอร์ (นพพร มานะ. 2542 : 12 - 14 ; อ้างอิงจาก Paulissen &Frater. 1994. Multimedia.) ได้ศึกษาเกี่ยวกับมัลติมีเดียประเภทต่าง ๆ และแบ่งประเภทของมัลติมีเดีย โดยอาศัยคุณลักษณะสำคัญของมัลติมีเดียที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้โต้ตอบกับสื่อหรือข่าวสารที่รับรู้ ตามลักษณะการนำไปใช้งาน ดังนี้

1. มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา (Education multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเริ่มได้รับความนิยมและนำมาใช้ในการฝึกอบรมเฉพาะงานก่อนที่จะนำมาใช้ในระบบชั้นเรียนอย่างจริงจัง เช่น โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโปรแกรมพัฒนาภาษา โปรแกรมทบทวนสำหรับเด็ก มี 3 รูปแบบแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

1.1 ฝึกอบรมตนเอง (Self training) เป็นโปรแกรมการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในด้านทักษะต่าง ๆ มีการนำเสนอหลายรูปแบบ เช่น การฝึกหัดแบบสถานการณ์จำลองเน้นการเรียนการสอนรายบุคคลเป็นสื่อที่มีทั้งการสอนความรู้ การฝึกปฏิบัติและการประเมินผลภายในโปรแกรมเดียวผู้ใช้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีครูผู้สอน

1.2 ช่วยสอน (Assisted instruction) เป็นโปรแกรมการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ข้อมูลหรือประกอบเนื้อหาต่าง ๆ หรือใช้เป็นสื่อในการศึกษาเพิ่มเติมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในโปรแกรมอาจจะสร้างเป็นรูปแบบไฮเปอร์เท็กซ์ให้สามารถโยงเข้าสู่รายละเอียดที่นำเสนอไว้ช่วยให้การค้นคว้าง่ายขึ้น

1.3 บันเทิงศึกษา (Edutaiment) โปรแกรมการศึกษาที่ประยุกต์ความบันเทิงเข้ากับความรู้มีรูปแบบในการนำเสนอแบบเกมหรือการเสนอความรู้ในลักษณะเกมสถานการณ์จำลองหรือการนำเสนอเป็นเรื่องสั้น

2. มัลติมีเดียเพื่อการฝึกอบรม (Training multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อการฝึกอบรมช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของบุคคลด้านทักษะการทำงาน เจตคติต่อการทำงานในหน่วยงาน

3. มัลติมีเดียเพื่อความบันเทิง (Entertainment multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน เพลง

4. มัลติมีเดียเพื่องานด้านข่าวสาร (Information access multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่รวบรวมข้อมูลใช้เฉพาะงานจะเก็บไว้ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) หรือมัลติมีเดียเพื่อช่วยในการรับส่งข่าวสารใช้เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข่าวสารการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

5. มัลติมีเดียเพื่องานขายและการตลาด (Sales and marketing multimedia) เป็นมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอและส่งข่าวสารเป็นการนำเสนอและส่งข่าวสารในรูปแบบวิธีการที่น่าสนใจจะประกอบด้วยสื่อหลายอย่างประกอบการนำเสนอ เช่น ด้านการตลาด รวบรวมข้อมูลการซื้อขายแหล่งซื้อขายสินค้าต่าง ๆ นำเสนอข่าวสารด้านการซื้อขายทุกด้าน ผู้ที่สนใจยังสามารถสั่งซื้อสินค้าหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนั้น ๆ ได้ทันที

6. มัลติมีเดียเพื่อการค้นคว้า (Book adaptation multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่รวบรวมความรู้ต่าง ๆ เช่น แผนที่ แผนผัง ภูมิประเทศของประเทศต่าง ๆ ทำให้การค้นคว้าเป็นไปอย่างสนุกสนานมีรูปแบบเป็นฐานข้อมูลมัลติมีเดีย โดยผ่านโครงสร้างไฮเปอร์เท็กซ์ เช่น สารานุกรมต่าง ๆ

7. มัลติมีเดียเพื่อช่วยงานวางแผน (Multimedia as a planning aid) เป็นกระบวนการสร้างและการนำเสนองานแต่ละชนิดให้มีความเหมือนจริงมี 3 มิติ เช่น การออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมและภูมิศาสตร์หรือนำไปใช้ในด้านการแพทย์การทหารการเดินทาง โดยสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้ใช้ได้สัมผัสเหมือนอยู่ในสถานการณ์จริง ซึ่งบางครั้งไม่สามารถจะไปอยู่ในสถานการณ์จริงได้

8. มัลติมีเดียเพื่อเป็นสถานีข่าวสาร (Information terminals) จะพบเห็นในงานบริการข้อมูลข่าวสารในงานธุรกิจจะติดตั้งอยู่ส่วนหน้าของหน่วยงาน เพื่อบริหารลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเข้าสู่ระบบบริหารของหน่วยงานนั้นด้วยตนเองสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่นำเสนอไว้โดยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์สะดวกทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการมีลักษณะเป็นป้ายหรือจออิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ติดตามกำแพงเสนอภาพ เสียง ข้อความต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

9. ระบบเครือข่ายมัลติมีเดีย (Networking with multimedia)คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภทคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท (Dutton. 2002 : 9 - 10) ได้แก่

1. ประเภทการสอนเสริมทางการศึกษา (Tutorials education) รูปแบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อการสอนเสริมทางการศึกษาในการสอนโดยวิธีนี้คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่คล้ายผู้สอนโปรแกรมที่ถูกออกแบบนั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตอบโต้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงผู้เรียนสามารถเดาคำตอบหรือทดลองตอบกับเครื่องตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้รูปแบบของโปรแกรมจะเป็นแบบสาขาซึ่งคุณภาพของโปรแกรมที่ใช้หลักการนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรมเมอร์ที่สร้างออกมาให้มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและปรับใช้ได้เหมาะกับความแตกต่างของผู้เรียนทั้งยังเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา

2. ประเภทการฝึกและปฏิบัติ (Drill and practice) รูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบการฝึกและปฏิบัติเป็นวิธีการสอน โดยสร้างโปรแกรมเน้นการฝึกทักษะ และการปฏิบัติให้ผู้เรียนได้ฝึกเป็นขั้นตอนและจะไม่ให้ข้ามขั้นตอนจนกว่าจะฝึกปฏิบัติหรือฝึกในขั้นต้นเสียก่อนจึงจะให้ฝึกทักษะขั้นสูงต่อไปโปรแกรมประเภทนี้พบได้บ่อยในการสอนวิชา คณิตศาสตร์เพื่อฝึกทักษะการคำนวณและการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกความสามารถในการใช้ภาษาทั้ง พูด อ่าน ฟังและเขียนโปรแกรมสำหรับการฝึกทักษะและการปฏิบัติลักษณะนี้จะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบหลาย ๆรูปแบบและคอมพิวเตอร์จะเฉลยคำตอบที่ถูก เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในแต่ละเรื่องและระดับความยากง่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้มีรูปแบบการย้อนกลับแบบทางบวกและทางลบก็ได้รวมทั้งสามารถให้การเสริมแรงในรูปของรางวัลและการลงโทษต่าง ๆ ได้ด้วย

3. ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulations) รูปแบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองเป็นการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ปรากฏเป็นรูปร่างหรือสิ่งของไม่ซับซ้อนและยากต่อการเข้าใจ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลองที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมากรูปแบบของโปรแกรมบทเรียนจำลองอาจจะประกอบด้วยการเสนอความรู้ข้อมูลการแนะนำผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะการฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนความชำนาญและความคล่องแคล่วในการเข้าถึงการเรียนรู้ต่าง ๆ มักเป็นโปรแกรมสาธิตเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ทักษะที่จำเป็น ตลอดจนแสดงให้ผู้เรียนได้ชมภาพและยังเป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำได้อย่างถูกต้องและแม่นยำเมื่อพบกับสถานการณ์จริง

4. ประเภทเกมการศึกษา (Educational games) รูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบเกมมีการออกแบบโดยการใช้วิธีการของเกม ซึ่งมีความเฉพาะของลักษณะวิธีการออกแบบมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีการแข่งขันโปรแกรมลักษณะนี้อาจจะไม่มีการสอนโดยตรงแต่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยเป็นการฝึกที่ส่งเสริมทักษะและความรู้ทั้งทางตรง และทางอ้อมก็ได้ การใช้เกมในการสอน นอกจากจะใช้สอนโดยตรงอาจออกแบบให้ใช้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของการสอน เช่น ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสรุปหรือใช้เป็นการให้รางวัลหรือประกอบการทำรายงานบางอย่างอีกทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย

5. ประเภทการค้นพบ (Discovery) รูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบการค้นพบจะมีการออกแบบโปรแกรมการสอนด้วยวิธีให้ค้นหาคำตอบเอง โดยจะมีลักษณะที่ให้ผู้เรียนเรียนจากส่วนย่อยและรายละเอียดต่าง ๆ แล้วผู้เรียนสรุปเป็นกฎเกณฑ์ซึ่งถือเป็นการค้นพบการศึกษาวิธีนี้เป็นการใช้การเรียนรู้แบบอุปนัยผู้เรียนอาจจะเรียนรู้ โดยการค้นคว้าจากฐานข้อมูลแล้วลองแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เพื่อค้นพบสูตรหรือหลักการได้ด้วยตนเอง

คุณค่าของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

                การใช้มัลติมีเดียทางการเรียนการสอน  ก็เพื่อทางเลือกในการเรียน  และตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน  การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง  โดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  นักเรียนอาจจะเรียนออกเสียงและฝึกพูด  เป็นต้น

                  การใช้มัลติมีเดียเพื่อเป็นวัสดุทางการสอน  ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วัสดุการสอน  ธรรมดา  และสามารถเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ่งกว่าการสอนที่สอนตามปกติอาทิ  การเตรียมนำเสนอไว้อย่างเป็นขั้นตอน  และใช้สื่อประเภทภาพประกอบการบรรยายและใช้ข้อความนำเสนอในส่วนรายละเอียดพร้อมภาพเคลื่อนไหว  หรือใช้วีดีทัศน์  เช่นนี้  แล้วก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ส่วนรายละเอียดพร้อมภาพเคลื่อนไหวหรือใช้วีดีทัศน์เช่นนี้  แล้วก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

                 คุณค่าของมัลติมีเดียที่ใช้ในการเรียนการสอน

                1.  ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก  กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ

                2.  สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอหรือตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก  และการสอนที่ไม่มีแบบฝึก

                3.  มีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขั้น

                4.  เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                5.  จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อย

การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรูปแบบวิธีการเรียนและการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนได้ตามความต้องการความสนใจความสามารถโดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลในการรับความรู้ของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากันการเรียนลักษณะนี้ทำให้ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายมีการวางแผนในการเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนและรู้วิธีการเรียนที่เข้าใจได้ง่ายรู้จักจัดสรรเวลาในการเรียนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนรู้จักประเมินผลการเรียนได้ด้วยตนเอง

ความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

โนลส์ (Knowles. 1975 : 15-17) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้

1. คนที่เรียนรู้ด้วยการริเริ่มของตนเองจะเรียนได้มากกว่า ดีกว่าคนที่เป็นเพียงผู้รับหรือ

รอให้ครูถ่ายทอดวิชาความรู้ให้เท่านั้นคนที่เรียนรู้ด้วยตนเองจะเรียนอย่างตั้งใจ มีจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้ดีกว่าและยาวนานกว่าบุคคลที่รอรับคำสอนแต่เพียงอย่างเดียว

2. การเรียนด้วยตนเองสอดคล้องกับพัฒนาการทางจิตวิทยาและกระบวนการทางธรรมชาติมากกว่า คือ เมื่อตอนเป็นเด็กธรรมชาติที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นต้องการผู้ปกครองปกป้องเลี้ยงดูและตัดสินใจแทนได้เมื่อเติบโตขึ้นก็ค่อย ๆ พัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพิงครูผู้ปกครองและผู้อื่น การพัฒนานำไปสู่ความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

3. พัฒนาการใหม่ ๆ ทางการศึกษามีหลักสูตรใหม่เป็นห้องเรียนแบบเปิดเป็นศูนย์บริการ

ทางวิชาการการศึกษาอย่างอิสระโปรแกรมการเรียนจัดให้แก่บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย รูปแบบ

การศึกษาเหล่านี้ล้วนผลักภาระรับผิดชอบไปที่ผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง

4. การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นความอยู่รอดของชีวิตในฐานะที่เป็นบุคคลและเผ่าพันธุ์มนุษย์เนื่องจากโลกปัจจุบันเป็นโลกใหม่ที่แปลกไปกว่าเดิมซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆเกิดขึ้นเสมอและข้อเท็จจริงนี้เป็นเหตุผลไปสู่ความจำเป็นทางการศึกษาและการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต

ความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นลักษณะการเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีความพร้อมในการเรียนรู้และสามารถพึ่งพาตนเองมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์ทุกคนต้องเรียนรู้ให้ทันกับเหตุการณ์ของโลกปัจจุบันและในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และจำเป็นต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ลักษณะและประเภทของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

กาเย่และบริกส์ (Gagne & Briggs. 1984 : 187) ได้แบ่งประเภทของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ออกเป็น 5 ประการ ดังนี้

1. แผนการเรียนอิสระ เป็นการเรียนรู้ที่ครูกับผู้เรียนตกลงกันในเรื่องของจุดมุ่งหมายของการเรียนแล้วให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าให้บรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะกำหนดเอาไว้แต่วิธีการศึกษานั้นเป็นเรื่องของนักเรียนครูอาจแนะนำการอ่านและจัดเตรียมวัสดุไว้ให้

2. ศึกษาด้วยการควบคุมตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าจากสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองผู้สอนช่วยแนะนำและจัดหาเอกสาร วัสดุ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้

3. โปรแกรมการเรียน ซึ่งผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นกว้าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนโดยมีวิชาหลัก วิชาเสริม และวิชาเลือก

4. การเรียนตามความเร็วของตนเอง เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนตามอัตราความเร็วหรือความสามารถของตนเองมีการกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ ตลอดจนเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้เหมือนกันจะต่างกันที่เวลาที่ใช้ในการเรียน

5. การเรียนที่ผู้เรียนกำหนดเอง เป็นการเรียนการสอนที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการเลือกจุดมุ่งหมายของการเรียนด้วยตนเอง ทดสอบเอง มีอิสระในการเลือกจุดมุ่งหมายใดก็ได้

ลักษณะและประเภทของการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นวิธีการเรียนที่ผู้เรียนต้องการที่จะเรียนรู้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการเรียน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีเรียนรู้ได้ง่ายโดยได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการเรียน ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยชี้แนะและจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ไว้ให้ และเรียนรู้ตามความสามารถโดยใช้เวลาในการเรียนที่แตกต่างกัน

ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

วีระ ไทยพานิช (2529 : 12) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองไว้ ดังนี้

1. นักเรียนสามารถเรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง

2. เป็นการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

3. นักเรียนมีอิสระมากกว่าการสอนแบบปกติ

4. เป็นการจูงใจนักเรียนและนักเรียนจะชอบบรรยากาศในโรงเรียนมากขึ้น

5. ครูมีเวลาที่จะทำงานกับนักเรียนเป็นรายบุคคลเมื่อนักเรียนต้องการ

ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจความสามารถ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีอิสระในการตัดสินใจเลือกเรียนและสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้ ตลอดจนสามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนของผู้เรียนได้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้

                สรุปแล้ว มัลติมีเดียสามารถที่จะนำมาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน  และตอบสนองรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียน  และด้วยการออกแบบโปรแกรมปฏิสัมพันธ์  เพื่อให้สามารถนำเสนอสื่อได้หลายชนิดตามความต้องการของผู้เรียน  จึงตอบสนองการเรียนด้วยตนเอง  ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง  และสามารถที่จะทบทวนความรู้ต่าง ๆ หรือฝึกเรียนซ้ำได้  ส่วนการใช้มัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนจะเป็นการส่งเสริมการสอนที่มีลักษณะการสอนโดยใช้สื่อประสม  ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ่งกว่าการบรรยายปกติ  จึงอาจกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียจะกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในอนาคต

อ้างอิง

กิติมา เพชรทรัพย์ อ้างในhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/21/

standard/developer.html สืบค้น เมื่อ 3 พฤษภาคม 2555

นพพร มานะ. (2542). การใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการอบรม เรื่อง การแก้ปัญหา

ระบบปฏิบัติการเครื่องคอมพิวเตอร์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา).

กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ :

อักษรเจริญทัศน์,2546.

ศิริอร มโนมัธยา. (2546). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้ปีเปตต์.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยี). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

จุฬารัตน์ มีสูงเนิน. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง คำราชาศัพท์สาระ

การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนช่วงชั้น 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.

(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทวรรณ วิบูลย์ศักดิ์ชัย. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง อุปกรณ์

คอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนช่วงชั้น

ที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เทียมจันทร์ เรืองเกษม (2553).การเปรียบเทียบความรู้และทักษะปฏิบัติวิชางานประดิษฐ์ที่เป็น

เอกลักษณ์ไทย เรื่อง การประดิษฐ์ดอกไม้สด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนปัทมาลัย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกับที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มจากชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ธีรนัยท์  เขียวแก่.(2554).  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่อง  อุทยานแห่งชาติแม่เงา

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6.  ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร 

วีระ ไทยพานิช. (2529). “บทบาทและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน,” ใน รวมบทความ

เทคโนโลยีทางการศึกษา. หน้า 7-17. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา.วรพจน์ ใหม่คามิ(2553) .สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ปราสาทหินพิมาย. ปริญญาวิทยาศาสตร

รูปแบบของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีกี่ประเภท

การนำสื่อมัลติมีเดียไปใช้ในการสอน.
1. คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนำเสนอบทเรียน (Computer Multimedia Presentation).
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer Assisted Instruction).
3. หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Textbook).
4. หนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Reference).

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา คืออะไร

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบ ...

รูปแบบของสื่อ มีอะไรบ้าง

ประเภทของสื่อเพื่อการศึกษา(การเรียนรู้).
สื่อโสตทัศน์ ได้แก่ สื่อกราฟฟิก วัสดุลายเส้น และ แผ่นป้ายต่างๆ สื่อสามมิติประเภทหุ่นจำลอง และสื่อเสียง เช่น เทปเสียง เป็นต้น.
สื่อมวลชน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม.

การนำเสนอสื่อมัลติมีเดียมีกี่รูปแบบ

โรเซนเบอร์ก และคณะได้นำเสนอรูปแบบการนำเสนอมัลติมีเดียสำหรับการใช้งานทั่วไปจำนวน 5 รูปแบบดังนี้ 1. แบบเชิงเส้น (Linear Progression) 2. แบบอิสระ (Perfrom Hyper-Jumping) 3. แบบวงกลม (Circular Paths)