ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

Home » ภาวะทุพโภชนาการ คืออะไร มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดยครอบคลุมทั้งภาวะโภชนาการต่ำหรือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำหนักตัวน้อยหรือรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา โดนเฉพาะผู้สูงอายุที่ควรดูแลเรื่องอาหารผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะอ้วน ทั้งนี้ ภาวะทุพโภชนาการอาจส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลควรใส่ใจสังเกตอาการผิดปกติและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม

อาการของภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

ภาวะทุพโภชนาการทำให้เกิดอาการในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามประเภท ดังนี้

ภาวะโภชนาการต่ำ

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีความอยากอาหารลดลง
  • ผมร่วง ซีด
  • ใจสั่น
  • เวียนศีรษะ อ่อนแรง รู้สึกเพลียตลอดเวลา และอาจเป็นลมหมดสติ
  • เจ็บป่วยง่าย ป่วยแล้วหายช้ากว่าปกติ
  • แผลสมานช้า
  • มีปัญหาในการย่อยอาหารและการหายใจ
  • รู้สึกเสียว เจ็บคล้ายเข็มทิ่ม หรือชาที่ข้อต่อ
  • ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย
  • มีอาการซึมเศร้าหรือรู้สึกหดหู่ใจ
  • รู้สึกหนาวตลอดเวลา
  • ผู้ป่วยเด็กอาจเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
  • มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ ช้า หงุดหงิด หรือวิตกกังวลผิดปกติ เป็นต้น

ภาวะโภชนาการเกิน

  • มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์
  • มีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมาก
  • หายใจติดขัด หายใจไม่คล่อง
  • นอนกรนจากปัญหาเรื่องการหายใจ
  • เหนื่อยง่าย
  • ร้อนง่าย เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกมาก
  • อึดอัด เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก
  • ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ยากลำบาก

ทั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยบางรายอาจเคยชินกับอาการของโรคจนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ทำให้ไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น หากมีอาการดังข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้

สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

ภาวะทุพโภชนาการอาจเกิดจากปัจจัยทางด้านสุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ดังนี้

ปัจจัยทางสุขภาพ

  • โรคเกี่ยวกับความผิดปกติด้านการกินอย่างโรคอะนอเร็กเซียหรือโรคคลั่งผอม
  • โรคหรือภาวะที่ส่งผลต่อการดูดซึมและการย่อยอาหารของร่างกาย เช่น โรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดมีแผล เป็นต้น
  • อาการป่วยเรื้อรังอย่างโรคมะเร็ง โรคตับ และโรคเกี่ยวกับปอด ซึ่งอาจทำให้ความอยากอาหารลดลง รู้สึกไม่สบายตัว และทำให้มีอาการอาเจียนหรือท้องร่วง
  • ปัญหาทางจิตใจอย่างภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท ซึ่งอาจส่งผลต่ออารมณ์และทำให้ความอยากอาหารลดลง
  • ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยลืมรับประทานอาหารหรือไม่ดูแลสุขภาพของตนเอง
  • ปัญหาทางทันตกรรม ซึ่งผู้ป่วยอาจพบปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืนอาหาร ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเต็มที่
  • ภาวะที่ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เช่น ผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดหรือเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ที่มีแผลบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกไฟไหม้ หรือผู้ที่มีอาการสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
  • ข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร เนื่องจากผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณการรับสารอาหารบางอย่าง เช่น เกลือ ไขมัน โปรตีน หรือน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • การใช้ยาบางชนิดที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อการรับประทานอาหาร เช่น รู้สึกเบื่ออาหาร ท้องร่วง หรือคลื่นไส้ เป็นต้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและการดูดซึมสารอาหารในร่างกาย

ปัจจัยอื่น ๆ

  • มีฐานะยากจน หรืออยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้
  • อาศัยอยู่เพียงลำพัง หรือปลีกตัวออกจากสังคม
  • มีความรู้ในเรื่องการทำอาหารหรือโภชนาการค่อนข้างจำกัด

admin

Leave a Reply

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

เครื่องช่วยฟัง กับวิธีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ทำให้สามารถได้ยินเสียงที่ดังและชัดเจนขึ้น ผู้ใช้งานจึงสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หูคอจมูกหรือนักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อเลือกใช้เครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงอะไร

อาหารอ่อน เป็นอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง ?

อาหารอ่อนจำเป็นสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ทั้งผู้ที่อาจไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้ตามปกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารอ่อนจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และช่วยให้ระบบย่อยอาหารได้พักจากการทำงานหนักชั่วคราว

ภาวะโภชนาการแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายที่บริโภคอาหารและได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมทั้งปริมาณและความครบถ้วนของอาหาร ซึ่งอาจจะได้รับน้อยหรือมากกว่าความต้องการ จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติขึ้น แบ่งออกเป็นภาวะโภชนาการต่ำ (Undernutrition) และภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) โดยโภชนาการต่ำ หมายถึงสภาวะร่างกาย ...

ภาวะทุพโภชนาการเป็นสิ่งที่ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร

ทุพโภชนาการ ในรูปของการขาดไอโอดีน เป็น "สาเหตุที่ป้องกันได้ที่พบมากที่สุดของภาวะความบกพร่องด้านจิตใจทั่วโลก" แม้การขาดไอโอดีนปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีมีครรภ์และทารก อาจทำให้ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ลดลงได้ถึง 10 ถึง 15 จุด ซึ่งลิดศักยภาพการพัฒนาประเทศอย่างไม่อาจคำนวณได้ ผลกระทบที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุดและรุนแรง ...

โรคใดที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ คือการที่ร่างกายมีภาวะโภชนาการไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดหนึ่งชนิดใด หรือหลายชนิด หรือสารอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอ หรือมากเกินความต้องการของร่างกาย แล้วแสดงอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดโรคควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) ในเด็ก และหากขาด ...