ขั้นตอนการสร้างความสัมพันธ์มีอะไรบ้าง

ลองจินตนาการว่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนในทีมคือสะพานเชือกที่มีปลายข้างหนึ่งอยู่ที่คุณและปลายอีกข้างผูกยึดกับอีกคน

จินตนาการต่อไปว่าคุณมี ‘เรื่องหนักอึ้ง(คำวิพากษ์ วิจารณ์ คำตำหนิ เรื่องลบ ๆ ทั้งหลาย)’ ที่ต้องการสื่อสารกับคนนั้น ถ้าสะพานเชือกระหว่างคุณกับเขาแข็งแรงมันจะลำเลียงสารหนักอึ้งไปถึงอีกฝ่ายได้ดีกว่าสะพานที่อ่อนแอและขาดง่ายอย่างแน่นอน

หลักการสะพานความสัมพันธ์คือเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมเราจึงสื่อสารเรื่องเปราะบางกับบางคนได้ดีกว่าอีกคน
====

ถ้าอยากให้การสื่อสารภายในทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมขอเสนอให้คุณพัฒนาสะพานความสัมพันธ์ให้แข็งแรงเอาไว้ด้วยวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ได้ไม่ยาก 6 วิธี ดังนี้ 

1. เข้าใจผู้อื่นก่อนเสมอ

มนุษย์ทุกคนปรารถนาความเข้าใจไม่ต่างจากอ็อกซิเจนสำหรับหายใจ แต่การเรียกร้องให้อีกฝ่ายมาทำความเข้าใจเราก่อนเป็นแนวทางที่ไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ ก่อนจะสื่อสารกับใครครั้งต่อไปลองถามตัวเองว่าคุณตั้งใจรับฟังเขาดีพอหรือยัง และรู้หรือไม่ว่าลึก ๆ แล้วเขาต้องการอะไรกันแน่
====

2. ใส่ใจเรื่องเล็กน้อย

ลองจดจำเรื่องเล็ก ๆ เกี่ยวกับเขาด้วยการแอบจดใส่สมุดบันทึก โดยเฉพาะวันสำคัญของเขา สิ่งที่เขาให้คุณค่าเป็นพิเศษ สิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบ แล้วแสดงมันออกมาด้วยการให้ของขวัญ ทำสิ่งพิเศษแก่เขา ตลอดจนถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของเขาด้วยความจริงใจ
====

3. รักษาสัญญา

ไม่มีอะไรจะทำลายสะพานความสัมพันธ์ได้มากเท่ากับการผิดสัญญาที่คุณให้ไว้กับอีกฝ่าย จดจำสัญญาเหล่านั้นให้ขึ้นใจแล้วรักษามันยิ่งชีวิตของคุณเอง จำไว้ว่าอย่าให้สัญญาในสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้โดยเด็ดขาด
====

4. ระบุความคาดหวังของคุณให้ชัดเจนที่สุด

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำลายความสัมพันธ์คือการที่คุณมีความคาดหวังบางอย่างต่ออีกฝ่ายแล้วไม่ได้สื่อสารมันออกมา เมื่อความคาดหวังเหล่านั้นถูกเก็บสะสมเอาไว้ มันจะระเบิดออกมาจนกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงในอนาคตได้ หนทางที่ดีคือการสื่อสารความคาดหวังนั้นออกมาให้เขาได้รับรู้อย่างตรงไปตรงมา
====

5. มีความซื่อสัตย์ จริงใจ เป็นคนที่ไว้วางใจได้

มีความสัมพันธ์กับทุกคนในทีมด้วยหลักการซื่อสัตย์ จริงใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดถึงคนอื่นด้วยหลักการที่ระลึกไว้เสมอว่าเขาสามารถมานั่งฟังเรื่องนี้ได้เสมอแม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ตรงนั้นก็ตาม
====

6. กล่าวขอโทษอย่างจริงใจเมื่อทำผิดพลาด

เพราะเราคือมนุษย์ธรรมดาที่อาจทำบางเรื่องผิดพลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นละเลยการทำความเข้าใจ หลงลืมเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของอีกฝ่าย หรือมีเหตุให้ต้องผิดสัญญา เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดพลาดให้รีบกล่าวขอโทษให้เร็วที่สุดภายใต้พื้นฐานความจริงใจในการที่จะแก้ไขความผิดพลาดนั้นจริง ๆ

สัมพันธภาพที่ดีสร้างได้อย่างไร

 

คุณรู้หรือไม่ว่าการมีสัมพันธภาพที่ดีนั้นต้องทำอย่างไรบ้างที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณนั้นมั่นคงถาวร และยั่งยืนเหมือนต้นไม้ใหญ่อายุหลายร้อยปีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดมาจนสิ้นชีวิต คนทุกคนต่างก็มีความต้องการที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือต้องการที่ให้มีคนเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ ต้องการความรักจากคนรอบข้างหรือคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และบุคคลเหล่านี้มักจะเป็นครูที่ดีสำหรับคุณเสมอ
การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
การที่คุณมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้คุณได้สนใจในสิ่งใหม่ๆ ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่อยู่ตั้งแต่ระยะใกล้ตัวจนถึงไกลตัว หากคุณได้รับมิตรภาพตอบแทนก็จะทำให้คุณนั้นเกิดความมั่นใจในการสานมิตรภาพต่อไป แต่ถ้าคุณได้รับการเพิกเฉย สิ่งที่คุณควรคิดเป็นอันดับแรกก็คือ คุณทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ขั้นต่อมาคือ ปรับปรุงพฤติกรรมและวิธีการสร้างสัมพันธภาพ โดยการเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น แต่การที่คุณมีแนวคิดและทัศนคติที่แตกต่างจากผู้อื่นอาจทำให้คุณรู้สึกไม่ดี รู้สึกว่านี่มันไม่ใช่ตัวคุณเลย แต่ความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทดสอบความสามารถของคุณในการพัฒนาขอบเขตสัมพันธภาพได้อย่างเต็มรูปแบบ

องค์ประกอบที่ดีในการสร้างสัมพันธภาพมีดังนี้
1. การติดต่อพูดคุย
ในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นนั้นขั้นแรกคุณต้องรู้จักเข้าไปทักทายและพูดคุยกับคนที่เราต้องการจะสร้างสัมพันธภาพ อาจมีคนบางคนที่คุณรู้สึกถูกชะตากับเขา คุณชอบเขามากและคุณพบเห็นเขาอยู่บ่อยๆ และคุณก็อยากรู้จักเขา แต่ถ้าคุณไม่เคยที่จะเข้าไปพูดคุยหรือทักทายเขา เชื่อได้เลยว่า สัมพันธภาพระหว่างคุณกับเขา จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เพื่อนที่ถูกใจของคนส่วนใหญ่มักจะมาจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนที่มีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อนที่เล่นกีฬาร่วมกัน แล้ววันหนึ่งคุณจะพบว่า หนึ่งคนในนั้นที่คุณมีโอกาสสร้างมิตรภาพที่ดีแก่เขา
2. มีประสบการณ์ร่วมกัน
คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มักจะมีเรื่องที่จะคุยกันได้ง่ายดาย มีความสุขในขณะที่พูดถึงสิ่งที่ตนชอบ หรือมีประสบการณ์ เช่นพูดคุยการแต่งนิยาย พูดคุยถึงเรื่องการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การเล่นฟุตบอล ฯลฯ จะทำให้ทราบถึงความสนใจในเรื่องต่างๆ ของแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี และง่ายที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะทั้งสองฝ่ายมีบทสนทนาที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้คนทั้งคู่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น
ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเหมือนดั่งสะพานที่ทำให้คนสองคนเดินทางข้ามมาเพื่อร่วมมือกัน การได้ช่วยเหลือกันระหว่างเรียน ได้ทำงานเคียงข้างกัน ได้ทำโครงการร่วมกัน การเป็นกำลังใจให้กันและกันมักเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างเพื่อน การพูดถึงเรื่องเก่าๆ จะทำให้มิตรภาพแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น การร่วมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันก็ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติในการใช้ชีวิตซึ่งกันและกัน
3. ความเชื่อที่คล้ายกัน
กับคนที่คุณชอบและคุณก็สามารถอยู่กับเขาหรื่อสนทนากับเขาอย่างมีความสุข คุณต้องการแบ่งปันทัศนคติและความเชื่อของคุณให้เขารับรู้ แม้ว่าการพูดคุยนั้นจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันบ้างก็ตาม แต่ความใกล้ชิดระหว่างมิตรภาพจะทำให้คุณกับเขาได้แลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดที่นำมากล่าวอ้าง ซึ่งจะทำให้ความคิดเห็นต่างๆ ของคุณทั้งสองคล้ายกันและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีความเชื่อว่าคนที่มีแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกันมักจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันแต่คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกสบายอกสบายใจ ที่ได้อยู่ร่วมกับคนที่ให้การสนับสนุนแนวคิดของตนเอง
พัฒนาสัมพันธภาพ
1. ใส่ใจและเอาใจใส่
การใส่ใจในคนอื่นคือ มีความต้องการที่จะรู้ว่าตอนนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับเขาบ้าง สนใจในความคิดและความรู้สึกอื่นๆ ของเขา รับรู้ความล้มเหลวและความสำเร็จในชีวิตเขา แน่นอนคนทุกคนย่อมชอบคนที่ให้ความสนใจในเรื่องราวของเขาอย่างจริงใจแต่ในทางตรงกันข้ามทุกคนจะไม่อยากคบกับคนที่สนใจแต่เรื่องของตัวเอง เช่นเขาจะพูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง พูดถึงกิจกรรมใน แต่ละวันของเขา ประสบการณ์ของเขา การพูดคุยแบบนี้ที่ทุกคนอยากจะหลีกเลี่ยงถอยหนี ความใส่ใจมีความหมายเดียวกับ " เมื่อใดที่คุณรู้สึกเหงา ผมจะคอยเป็นเงาที่อยู่เคียงข้างคุณ " คนส่วนใหญ่มักจะลังเลที่จะต้องไปรับรู้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น เพราะพวกเขาเหล่านั้นกลัวว่าจะต้องไปมีส่วนร่วมในการรับภาระอันหนักหน่วง แต่ถ้าเพื่อนสนิทของคุณมักเอาแต่ใจและมีปัญหากับเพื่อนคนอื่น คุณก็หวังลึกๆ ว่าเพื่อนของคุณจะปรึกษาคุณแม้ว่าปัญหานี้จะไม่สามารถแก้ไขได้ก็ตาม แต่นั่นก็เป็นการช่วยให้กำลังใจ แต่บางครั้งความเป็นเพื่อนก็ต้องรู้จักที่จะกล้าปฏิเสธ เมื่อมีคนที่ปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม คุณควรจะบอกให้เขารู้ไปเลยว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับเหตุการที่เกิดขึ้น อย่างน้อยการเผชิญหน้ากับปัญหาย่อมดีกว่าการหลีกเลี่ยงโดยปล่อยให้เพื่อนของคุณทำความผิดแล้วผ่านเลย
2. นับถือตนเอง นับถือผู้อื่น
มนุษย์ต้องรู้จักนับถือตนเอง แต่ก่อนที่คุณจะรู้จักและนับถือตนเอง คุณก็ต้องรู้จักและนับถือผู้อื่นก่อน คุณนั้นจะเรียนรู้การนับถือตัวเองได้จากการที่มีใครวักคนบอกคุณว่า " ผมแอบมองและชื่นชมความสามารถของคุณอยู่ และขอให้คุณเป็นอย่างนี้ตลอดไป " เพียงคำพูดประโยคเดียวก็อาจทำให้คุณมองเห็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในตัวคุณ และคุณจะรู้ได้อีกว่าพวกเขาต้องการอะไรจากคุณและเพื่อนก็เป็นตัวกระตุ้นให้คุณได้พัฒนาความสามารถของคุณเพื่อให้เพื่อนๆและคนรอบข้างยอมรับในตัวคุณ
3. ต้องไว้ใจกัน
การที่จะอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขนั้น คุณจำเป็นต้องให้เขาไว้วางใจในตัวคุณด้วย เช่นเรื่องการรักษาสัญญา การตรงต่อเวลา การรักษาคำพูด เช่นเดียวกับที่ใครสักคนสัญญาอะไรกับคุณไว้แต่เขากลับไม่ทำตามที่สัญญา คุณจะคิดกับเขาอย่างไรซึ่งแน่นอนคุณจะต้องเกิดความลังเลในตัวเขา และไม่แน่ใจว่าหากเขาสัญญาอะไรกับคุณอีกคุณจะเชื่อเขาได้หรือเปล่า ความไว้วางใจในหลายๆ เรื่อง เช่น คุณหวังว่าเพื่อนของคุณจะคืนเงินที่ยืมคุณไป เพื่อนจะมาตามเวลาที่คุณนัดไว้ เพื่อนจะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับคุณ เพื่อนต้องคอยเป็นกำลังใจให้คุณในยามที่คุณทุกข์ท้อใจ แต่ใครก็ตามที่ไม่ได้รับความไว้วางใจก็ยากนักที่ใครต่อใครจะคบหาเป็นเพื่อนสนิทหรือเพื่อนที่รู้ใจ
4. มีความยืดหยุ่น
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนสองคนนั้นควรมีช่องว่าสำหรับความบกพร่อง ความผิดพลาด และความแตกต่างไว้ด้วย ความยืดหยุ่นเป็นการยอมรับและการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น คนที่มีความยืดหยุ่นก้จะเป็นคนที่มีความสุขแม้จะอยู่กับคนที่มีความคิดเห็นต่างกันหรือมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน โดยไม่มีความกดดันหรือต้องทำตัวเลียนแบบเพื่อนเพื่อที่จะให้เข้ากันได้
คนที่ไม่มีความมั่นคงในตัวเอง เขาไม่สามารถยอมรับเพื่อนหรือคนอื่นที่แตกต่างจากเขาได้ การพัฒนาความสามารถในการยอมรับและปรับตัวเข้ากับเพื่อนที่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต่างจากคุณด้วยความเหมาะสม นั่นเป็นความท้าทายสำหรับคุณที่จะ เพิ่มเติมความเชื่อมั่นในเอกลักษณ์ และความเป็นตัวคุณเองมากขึ้น

   

5. รู้จักร่วมรู้จักแบ่ง
สัมพันธภาพที่ดีที่สุดคือการได้มีส่วนร่วมและแบ่งปันในเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ ความคิดความรู้สึก คุณต้องรู้จักที่จะรับฟังเพื่อนของคุณเล่าถึงสิ่งที่เขาหวังและสิ่งที่ไม่สมหวังความทุกข์ใจของเขา คนส่วนใหญ่มักจะลังเลที่จะมีส่วนแบ่งปัน เพราะกลัวว่าจะถูกปฏิเสธกลับมา แตทว่าความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างเพื่อนจากทั้งสองฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของกันและกัน เป็นเรื่องยากนักที่จะเกิดการแบ่งปันทางด้านความคิด หรือความรู้สึกดีๆ ระหว่างเพื่อน เช่นความรักความชอบอาจไม่แสดงออกมาตรงๆ แต่จะเป็นการแสดงออกมาโดยทางอ้อม อย่างเช่น การพูดจาหยอกล้อ การล้อเลียน การแสดงความเป็นห่วงเป็นใยมากเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดทั้งปวงจะเป็นสื่อกลางของคำๆ นึง นั่นก็คือคำว่า " เราชอบเธอนะ "
6. เห็นอกเห็นใจ
ความเห็นอกเห็นใจ คือความสามารถที่คุณใส่ความรู้สึกของตัวคุณลงไปในความรู้สึกของบุคคลอื่น การจะเข้าใจความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของผู้อื่นได้นั้นต้องมาจากความใกล้ชิด คุณสามารถที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจกับทุกคนได้ แม้ว่าการแสดงความเห็นใจกับคนที่คุณชอบจะเป็นการง่ายกว่า แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่คุณจะแสดงความเห็นใจกับคนที่แตกต่างจากคุณด้วย อย่างเช่นคุณเป็นคนที่กระฉับกระเฉง ว่องไว มั่นใจในตัวเอง คุณคงจะลำบากใจไม่ใช่น้อยที่จะต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจกับคนที่ เชื่องช้า เขินอาย และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
คนส่วนมากมักชอบคนที่มีอะไรคล้ายๆ กัน แต่คนเราก็ต้องมีแนวคิด พฤติกรรม และอารมณ์ที่แตกต่างกัน และคุณก็ควรที่จะต้องรู้ด้วยว่าคุณควรจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเพื่อนหรือคนอื่นอย่างไร
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

 

เหมรัตน์

 

http://iam.hunsa.com/jingreeddum/article/1826