อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย

1) พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของคนไทย เพราะคนไทยนำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และลักษณะนิสัยของคนไทยมีจิตใจที่ดีงามในทุก ๆ ด้าน มีความเป็นมิตรกับทุกคน เป็นต้น

2) พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครองประเทศ กษัตริย์ทุกพระองค์ของไทยได้นำเอาหลักธรรมพระพุทธศาสนาไปใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ทศพิธราชธรรม ตลอดมา หรือใช้หลัก “ธรรมาธิปไตย” และหลักอปาริหานิยธรรม เป็นหลักในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น

3) พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ เนื่องจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนามุ่งเน้นให้เกิดความรักความสามัคคีกัน มีความเมตตากรุณาต่อกัน เป็นต้น จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนชาวไทยให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

4) พระพุทธศาสนาเป็นที่มาของวัฒนธรรมไทย ด้วยวิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนา จึงเป็นกรอบในการปฏิบัติตนตามหลักพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญเนื่องในพิ

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
พระ พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สังคมไทยส่วนใหญ่นับถือ และสืบทอดกันมาเป็นช้านาน ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญของวิถีชีวิตของคนไทย พระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้คือ

1. ด้านการศึกษา ในอดีตที่ผ่านมา วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในด้านการศึกษา พระสงฆ์เป็นผู้อบรมสั่งสอนจัดการศึกษาเล่าเรียน ถึงแม้ในปัจจุบันบทบาทเหล่านี้จะลดน้อยลงไป เนื่องมาจากสาเหตุใดก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ พระพุทธศาสนามีความสำคัญทางการศึกษา โดยมีบทบาทที่สำคัญอยู่ 2 ประการ ที่เป็นพื้นฐานของสภาพปัจจุบันในทางการศึกษาของพระพุทธศาสนาคือ

1.1 ประเพณีที่วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาเล่าเรียนของชุมชน และพระสงฆ์เป็นครูผู้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน
1.2 ประเพณีบวชเรียน นั่นคือการบวชเพื่อที่จะเรียนหนังสือ ซึ่งอาจจะเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม

นอกจากนี้วัดยังเป็นแหล่งศิลปวิทยาการ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าต่าง ๆ เช่น มีคัมภีร์โบราณ มีศิลาจารึก มีจารึกถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์แผนโบราณ ด้านยาสมุนไพร ด้านภาษา ด้านวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ด้านศิลปะ เป็นต้น

2. ด้านสังคม พระพุทธศาสนามุ่งเน้นความสำคัญในเรื่องการสร้างสันติสุขภายในของแต่ละคน และเมื่อแต่ละคนมีความสุขแล้วก็จะส่งผลต่อสังคมที่มีสันติสุขไปด้วย จะเห็นได้จากหลักพุทธธรรมเพื่อความดีงามแห่งสังคม เช่น ทาน ธรรมที่คุ้มครองโลก สังคหวัตถุ เป็นต้น นอกจากหลักพุทธธรรมแล้ว วัดยังเป็นศูนย์กลางในด้านพิธีกรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เป็นแหล่งสังคมสงเคราะห์ เช่น เป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพของชุมชน ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็ก ศูนย์สงเคราะห์ผู้ป่วยโรคร้ายแรง ต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนพระก็จะทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตใจและผู้นำทางสังคม เช่น ผู้นำในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้นำในการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้นำทางการอบรมจิตใจของคนในสังคมให้ดีงาม เป็นต้น

3. ด้านศิลปกรรม พุทธ สถานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีการก่อสร้างขึ้นมาด้วยจิตศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน จึงก่อให้เกิดความปราณีต งดงาม แสดงถึงความเป็นศิลปะอย่างสูงส่ง และแสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในแต่ละยุคสมัย การก่อสร้างพุทธสถานเหล่านี้นอกจากจะทุ่มเทด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์แล้ว ยังทุ่มเทจิตใจที่ดีงาม เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วย เป็นการทำบุญกุศล และเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ และพุทธศาสนิกชน เป็นสถานที่สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรและเพื่อเชิดชูความรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนา ดังนั้นวัดจึงเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งในการวิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม เป็นต้น

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย

พระ พุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุก ๆ ด้าน จึงมีลักษณะที่เป็นสภาพที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย ซึ่งพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ไว้อย่างครอบคลุมประเด็น พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้เพราะ การที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ในทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา

ในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาตลอดเวลายาวนาน จนทำให้เกิดการปรับตัวเข้าหากัน และสนองความต้องการของกันและกัน ตลอดจนผสม
คลุกเคล้ากับความเชื่อถือและข้อปฏิบัติสายอื่น ๆ ที่มีมาในหมู่ชนชาวไทย ถึงขึ้นที่ทำให้เกิดมีระบบความเชื่อและความประพฤติปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นแบบของคนไทยโดยเฉพาะ อันมีรูปลักษณะและเนื้อหาของตนเอง ที่เน้นเด่นบางแง่บางด้านเป็นพิเศษ แยกออกได้จากพระพุทธศาสนาอย่างทั่ว ๆ ไป เรียกว่า พระพุทธศาสนาแบบไทยหรือพระพุทธศาสนาของชาวไทย

วัฒนธรรมไทยทุกด้านมีรากฐานสำคัญอยู่ในพระพุทธศาสนา คำมากมายในภาษาไทยมีต้นกำเนิดมาจากภาษาบาลี และมีความหมายสืบเนื่อง ปรับเปลี่ยนมาจากคติในพระพุทธศาสนา แบบแผนและครรลองตามหลักการของพระพุทธศาสนา ได้รับการยึดถือเป็นแนวทาง และเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติ การบำเพ็ญกิจหน้าที่ และการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยทุกระดับ ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไป


คนไทยตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินลงมา จึงถึงชาวบ้านสามัญทั่วไป ได้บวชเรียนรับการศึกษาจากสถาบันพระพุทธศาสนา ดังมีประเพณีบวชเรียนเป็นหลักฐานสืบมา วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทย เป็นแหล่งคำสั่งสอน การฝึกอบรม และอำนวยความรู้ทั้งทางตรงแก่ผู้บวชเรียนและโดยอ้อมแก่ทุกคนในชุมชนและในสังคม วัดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน

กิจกรรมส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญของรัฐก็ดี ของชุมชนก็ดี จะมีส่วนประกอบของพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเน้นย้ำความสำคัญและเสริมคุณค่าทางจิตใจ รวมทั้งกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ตื่นนอน ล้างหน้า ออกเดินทาง ก็นำหลักธรรมทางศาสนาเข้าแทรกเป็นส่วนนำสำหรับเตือนสติ หรือเพื่อความเป็นสิริมงคล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวัย เช่น การเกิด การแต่งงาน และการตาย ก็ทำให้มีความสำคัญและดีงามด้วยกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา กล่าวได้ว่าชีวิตของคนไทยผูกพัน อิงอาศัยกันกับพระพุทธศาสนาตลอดเวลา
สภาพที่กล่าวมานี้ ได้เป็นมาช้านาน จนฝังลึกในจิตใจและวิถีชีวิตของชาวไทย กลายเป็นเครื่องหล่อหลอม กลั่นกรองนิสัยใจคอ

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
พื้นจิตใจของคนไทยให้มีลักษณะเฉพาะตน

นอกจากนั้นพระพุทธศาสนาจึงอยู่ในฐานะที่เป็นสภาพแวดล้อมที่กว้างขวาง และครอบคลุมสังคมไทย ในประเด็นต่อไปนี้คือ

พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างไร

พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ ผลงานทางวัฒนธรรม โบราณสถาน วัด เจดีย์จิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ วรรณคดี สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เสริมสร้างศิลปวัฒนธรรมไทย ให้เป็นมรดกอันล้าค่าของชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย

พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยในด้านใด

4) พระพุทธศาสนาเป็นที่มาของวัฒนธรรมไทย ด้วยวิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนา จึงเป็นกรอบในการปฏิบัติตนตามหลักพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น การบวช การแต่งงาน การท าบุญ เนื่องในพิธีการต่างๆ การปฏิบัติตนตามประเพณีในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ก่อให้เกิด วัฒนธรรมไทยจนถึงปัจจุบัน

อะไรที่แสดงถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อภาษาไทย

ดังกล่าวข้างต้นว่า ภาษาบาลี – สันสกฤต เป็นภาษาที่บันทึกจารึกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จึงทำให้มีอิทธิพลต่อภาษาไทยอย่างมากมาย จะเห็นได้ในหลาย ๆ แห่งที่ภาษาบาลี– สันสกฤต ปะปนอยู่ในภาษาไทยทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด ซึ่งจะแทรกอยู่ในทั่ว ๆ ไป เช่น คำศัพท์ที่ออกเสียงง่าย ๆ สะดวก ๆ เช่น ขันติ ชิวหา ศิลป เกษียณ แพทย์ สิงขร มารดา ...

เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าพระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทย

1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ 2. พระพุทธศาสนาเป็นแกนนำและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย 3. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนชาวไทย 4. พระพุทธศาสนาเป็นหลักการที่ช่วยดำรงรักษาเสรีภาพในการนับถือศาสนา