สาเหตุใดที่ทำให้เกิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

"���ɰ�Ԩ����§" �繻�Ѫ�Ҫ��֧�ǡ�ô�ç������л�ԺѵԵ��ͧ��ЪҪ�㹷ء�дѺ����� �дѺ��ͺ���� �дѺ��������֧�дѺ�Ѱ ���㹡�þѲ����к����û���������Թ�� �ҧ��¡�ҧ ��੾�С�þѲ�����ɰ�Ԩ���������Ƿѹ����š�ؤ�š����ѵ��

��������§ ���¶֧ �����ͻ���ҳ �������˵ؼ�����֧�������繷��е�ͧ���к����Ԥ����ѹ㹵�Ƿ��վ������ ��͡���ռš�з�� � �ѹ�Դ�ҡ�������¹�ŧ�����¹͡������� ��駹��е�ͧ����¤����ͺ��� �����ͺ�ͺ ��Ф������Ѵ���ѧ���ҧ��� 㹡�ù��Ԫҡ�õ�ҧ � ����㹡���ҧἹ��С�ô��Թ��÷ء��鹵͹ ��Т�����ǡѹ�е�ͧ��������ҧ��鹰ҹ�Ե㨢ͧ��㹪ҵ���੾�����˹�ҷ�� �ͧ�Ѱ�ѡ��ɮ���йѡ��áԨ㹷ء�дѺ������ӹ֡㹤س���� ���������ѵ���ب�Ե�������դ����ͺ������������ ���Թ���Ե���¤���ʹ�� �������� ��ʵ� �ѭ�� ��Ф����ͺ�ͺ ��������������о������͡���ͧ�Ѻ�������¹�ŧ���ҧ�Ǵ������С��ҧ��ҧ ��駴�ҹ�ѵ�� �ѧ�� ����Ǵ���� ����Ѳ������ҡ�š��¹͡�������ҧ��

(��������С��蹡�ͧ�ҡ����Ҫ����ʢͧ��� �ҷ���稾������������ ����ͧ���ɰ�Ԩ����§ ��觾���Ҫ�ҹ���á�ʵ�ҧ � �����駾���Ҫ�������� � �������Ǣ�ͧ �����Ѻ����Ҫ�ҹ��к���Ҫҹحҵ���������� ������ѹ��� �� ��Ȩԡ�¹ ���� �������Ƿҧ��ԺѵԢͧ�ء������л�ЪҪ��·����)

         เมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2547 ที่ผมเริ่มต้นศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในภาคธุรกิจ ให้กับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการชักชวนของ ดร.วิรไท สันติประภพ นั้น ผมคงต้องบอกตามความจริงว่า สงสัยมากเหลือเกินว่าทำไม เศรษฐกิจต้อง “พอเพียง” ด้วยในฐานะที่ต้องทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่นักธุรกิจ มักจะได้รับคำถามอยู่บ่อยๆ ว่าทำไมต้อง “พอเพียง” เพราะนักธุรกิจทุกคนก็ต้องแสวงหากำไรมากๆ กันทั้งนั้น แต่พอศึกษาไปเรื่อยๆ ก็ได้รับรู้ถึงพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ถ้าหากเรา “พอ” แล้ว เราจะมีความสุขและอยาก จะ “ให้” แก่คนอื่นมากขึ้น


          คนอื่นๆ ที่พูดถึงนี้คือใคร ถ้าเป็นนักธุรกิจคนอื่นๆ เหล่านี้ก็คือ พนักงาน ลูกค้า ชุมชนที่อยู่ข้างเคียงสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงประชากรในอนาคต ถ้าเราพอเพียง ลูกค้าก็จะได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงสุด เพราะเรายอมลงทุน ถ้าเราพอเพียง พนักงานของเราก็ได้รับเงินตอบแทนที่เหมาะสม เพราะจะไม่กดค่าแรงงาน หรือเงินตอบแทนอื่นๆ ที่เค้าควรจะได้ ถ้าเราพอเพียง ชุมชน สังคมที่อยู่ข้างเคียงโรงงานจะอยู่กับธุรกิจอย่างสงบสุข ไม่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งอันเนื่องจากมลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง เสียงที่ดังเกินควรกลิ่นเหม็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากนักธุรกิจไม่ยอมลงทุนในการ กำจัด หรือป้องกันมลพิษต่างๆ นี่คือคำตอบว่า ทำไมต้อง “พอเพียง” แท้ที่จริงแล้วการที่เราพอเพียงนั้น เป็นการเอาสังคมเป็นตัวตั้งนั่นเอง


          นอกเหนือจากเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว ยังมีเหตุผลที่สำคัญมากๆ สำหรับมนุษยชาติ อีกประการหนึ่งคือ มนุษย์เรามักจะลืมไปว่า ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกใบนี้มีจำกัด เช่น น้ำมัน และถ่านหิน อีกไม่นานก็คงต้องหมดไป ป่าไม้ ถึงแม้ว่าสามารถปลูกทดแทนได้ แต่ก็ต้องใช้เวลานานมาก หากนักธุรกิจยังคงสร้างกระแสบริโภคนิยมกันอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์บนโลกใบนี้ ต่อไปคงต้องมีการทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อความอยู่รอดเป็นแน่ แม้แต่ในปัจจุบันนี้ เราคงมองเห็นกันแล้วว่า ประชากรหลายๆ ส่วนของโลกเริ่มไม่มีอะไรจะรับประทานกันแล้ว

         ปัญหาที่สืบเนื่องมาจาก “ความไม่พอ” ของมนุษย์อีกประการคือ การที่ธรรมชาติถูกรังแกและในที่สุดก็ต้องขอคืนบ้าง ดังจะเห็นอยู่ทั่วไปในหลายส่วนของโลกนี้รวมถึงประเทศไทย เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม อากาศแห้งแล้ง จนมีไฟป่า พายุถล่ม สึนามิ แผ่นดินไหว เป็นต้น ผมเข้าใจว่าหากมนุษย์ยังไม่หยุดกระแสบริโภคนิยม ภัยธรรมชาติเหล่านี้ จะต้องมีถี่ขึ้นและ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน


          เมื่อเราทราบเหตุผลเช่นนี้แล้ว ทำไมเราจึงไม่ส่งเสริมให้คนผลิตและสินค้าที่คงทนถาวร แทนที่จะทำมาแบบพอใช้ แล้วเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำไมนักธุรกิจไม่ส่งเสริมให้ลูกค้าของตนใช้สินค้าไปก่อน จนกว่าจะซ่อมแซมแล้วไม่ได้จริงๆ จึงค่อยซื้อใหม่ แทนที่จะสร้างกระแสสำหรับสินค้าใหม่ๆ ออกมากทุกปี เพื่อทำให้สินค้ารุ่นก่อนๆ ดูล้าสมัยไปอย่างตั้งใจ


          ดังนั้นการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนให้พสกนิกรของพระองค์มีความพอเพียง มีกิเลสน้อย จึงเป็นการสมควรที่สุดแล้ว เพราะเป็นหนทางแห่งความสุขอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง มนุษย์ เราหากมีกิเลสมากๆ ก็ยิ่งอยากได้มาก และยิ่งทรมานในจิตใจมากด้วย เพราะมีเท่าไรก็ไม่พอ ผมจึงอยากจะอัญเชิญพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเตือนสติพวกเราดังนี้ 

“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย

เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย  ถ้าทุกประเทศมีความคิด

อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง

ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”


"ความไม่พอ” คือการที่ธรรมชาติถูกรังแก และในที่สุดก็ต้องขอคืนบ้าง ดังจะเห็นอยู่ทั่วไปใน หลายส่วนของโลกนี้รวมถึงประเทศไทย"  

"...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่ พอมี พอกิน และขอให้ทุกคน มีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่ พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่ จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศ อื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้..." พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2517

"...ฉะนั้น ถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษา ส่วนรวมให้อยู่ดีกินดี พอสมควร ขอย้ำ พอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่ง คุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล..." พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2517

"... ถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันคิดช่วยกันทำ แม้จะมีการเถียงกันบ้าง แต่เถียงด้วยรากฐานของเหตุผล และเมตตาซึ่งกันและกัน และสิ่งที่สูงสุด ที่สุดก็คือประโยชน์ร่วมกัน คือ ความพอมีพอกิน พออยู่ ปลอดภัยของประเทศชาติ..." พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2517

"...ในการพูดจา ในการกระทำ ในการคิด เราทำในสิ่งที่เรียกว่า สุจริต หมายความว่า ทำในสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ตรงข้าม บรรเทาความเดือนร้อนต่อผู้อื่น อันนี้ก็เป็นการทำบุญอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งสูงยิ่งขึ้นไปอีก..." พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะชาวห้วยขวาง พญาไท เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล วันที่ 5 ธันวาคม 2521

"...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด เนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆของโลก ยากยิ่งที่เราหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับ ประคองตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอด และก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี...." พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 30 ธันวาคม 2521

"...เศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง ทำเป็น Self Sufficiency..." พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2544

"...เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียวคือ ไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ เศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำโดยวิธีปฏิบัติ เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องทำทั้งหมด และถ้าทำทั้งหมดก็ทำไม่ได้..." พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541

“เศรษฐกิจพอเพียง สำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน ถ้านึกจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ถ้าไม่เร็วช้าไป ก็ไม่พอเพียง ต้องให้ รู้จัก ก้าวหน้าโดยไม่ทำให้คนเดือดร้อน..." พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546