เงินสงเคราะห์บุตรจะได้ย้อนหลังไหม

รู้หรือไม่ว่า เงินประกันสังคมที่หลายๆ คนจ่ายไว้ นอกจากจะยังคุ้มครองคนจ่ายแล้ว ยังให้สิทธิถึงลูกๆ ของพวกเขาด้วย ผ่านสิทธิที่ชื่อว่า “สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร”หรือที่คุ้นหูกันว่า “เงินสงเคราะห์บุตร” หากผู้ประกันตนคนไหนมีลูก ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งในการขอรับเงินก้อนนี้ แล้วเงินที่ว่า คืออะไร มีเงื่อนไขและขั้นตอนในการขอรับอย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้

สารบัญ

  • เงินสงเคราะห์บุตรคืออะไร ต่างจากเงินอุดหนุนบุตรอย่างไร
  • คุณสมบัติของคนที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร
  • ยื่นของ่าย เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม
  • มีลูกช่วงไหน ก็ยื่นได้ตลอด
  • ยื่นของ่าย ได้เงินแน่
  • จะส่งทางไหนก็ได้รับสิทธิ
  • เช็กสิทธิได้ง่าย ผ่านออนไลน์

เงินสงเคราะห์บุตรจะได้ย้อนหลังไหม

เช็กสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

เงินสงเคราะห์บุตรคืออะไร ต่างจากเงินอุดหนุนบุตรอย่างไร

เงินสงเคราะห์บุตร คือสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างประจำ) มาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ที่จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยจะได้รับเป็นเงินช่วยเหลือเด็กเดือนละ 800 บาท จากประกันสังคม และสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 3 คน

เงินสงเคราะห์บุตรเป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ที่ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม ส่วนเงินอุดหนุนบุตร เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือจำนวน 600 บาท/เดือน ที่ให้กับประชาชนทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข

ผู้ประกันตนที่รับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรแล้ว สามารถลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตร (600 บาท) เช็คสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร และตรวจสอบเงินอุดหนุนบุตรเพิ่มเติมได้ หากครอบครัวมีฐานะยากจนและมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์

เงินสงเคราะห์บุตรเงินอุดหนุนบุตรผู้ที่ได้สิทธิผู้ประกัน ม.33, ม.39, ม.40 (ทางเลือกที่ 3)ประชาชนทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อคน
ไม่เกิน 100,000 บาท/ปีหน่วยงานที่รับผิดชอบสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)จำนวนเงิน800 บาท (200 บาทสำหรับผู้ประกันตน ม.40 /
ทางเลือกที่ 3)600 บาท

*ผู้ประกันตน สามารถขอรับเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนบุตร ได้จากทั้งสองหน่วยงาน หากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด

เดิมเมื่อปี 2561 ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรที่เดือนละ 600 บาท แต่ในช่วงการระบาดโควิด 19 จึงได้ปรับมาเป็นเดือน ละ 800 บาท ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา และจะมีการจ่ายย้อนหลังให้กับผู้ที่เคยได้รับในปี 2561 เพิ่มเดือนละ 200 บาท

คุณสมบัติของคนที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร

ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3)
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
  • มีบุตรตามกฏหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • มีบุตรแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน
  • หากพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร ได้เพียง 1 สิทธิ

*กรณีขอเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง จะขอได้เพียง 1 ปีย้อนหลังเท่านั้น และต้องส่งเงินสมทบมา 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนคลอดถึงจะมีสิทธิได้รับเงิน

ยื่นของ่าย เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม

การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร ใช้เตรียมเอกสาร ดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้แบบฟอร์มคำขอกรณียังไม่เคยยื่นใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01) คลิกที่นี่
กรณี เคยยื่นใช้สิทธิแล้ว และต้องการใช้สิทธิ์สำหรับลูกคนเดิม (เนื่องจากผู้ปกครองเปลี่ยนมาตรา เปลี่ยนงาน ตกงานแล้วได้งานใหม่ ให้ยื่นคำขอใหม่)
  • หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม กรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ คลิกที่นี่
กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
  • สำเนาทะเบียนสมรส /สำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน/สำเนาทะเบียนรับรองบุตร/สำเนาคำพิพากษา/คำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 1 ชุด
  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย 1 ชุด)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล
  • สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย 1 ชุด
กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทน
  • สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ 1ชุด
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร(หน้าแรก) ประเภทออมทรัพย์ จำนวน 1 ฉบับ
*ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมสนับสนุนให้ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรผ่านพร้อมเพย์ (เลขบัตรประชาชน) โดยแจ้งข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

เมื่อเอกสารพร้อมแล้ว อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับและพกเอกสารต้นฉบับไปด้วยเผื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ หากเอกสารหลักฐานเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

มีลูกช่วงไหน ก็ยื่นได้ตลอด

การยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นสามารถทำได้ตลอด เพราะเป็นสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอได้

เมื่อยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินเข้าบัญชีหลังได้รับสิทธิผ่านไปแล้ว 3 เดือน เช่น หากยื่นขอรับสิทธิสงเคราะห์บุตรในเดือนมกราคม 2565 เงินจะเข้าบัญชีปลายเดือนเมษายน 2565 โดยปกติเงินจะเข้าทุกสิ้นเดือน หากวันสิ้นเดือนตรงกับเสาร์-อาทิตย์ก็จะเลื่อนมาจ่ายในวันศุกร์ก่อนวันสิ้นเดือนแทน

เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมย้อนหลังได้ไหม

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจำนวน 800 บาทต่อบุตร 1 คนต่อเดือน เบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนมีอายุถึง 6 ปีบริบูรณ์ โดยผู้ประกันตนที่เป็นพ่อหรือแม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้เพียง 1 คนเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถยื่นเบิกเงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลังได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่บุตรเกิด หลังการยื่น ...

ทำไมไม่ได้เงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง

ส่วนที่ผู้ประกันตนบางคนยังไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนมกราคมนั้น น.ส.อำพันธ์ ให้คำตอบว่า การจ่ายเงินเป็นรายเดือน รวมเดือนมกราคมไปด้วยก็จะเป็น 13 เดือน แต่เงินสงเคราะห์บุตรเดือนมกราคม ยังไม่เข้าบัญชี เนื่องจากต้องตรวจสอบสิทธิผู้ประกันตนก่อน 2 เดือน

ลูก5ขวบยื่นสงเคราะห์บุตรได้ไหม

ประกันสังคมมอบสิทธิให้กับผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกในมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีบุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ ยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้

เบิกค่าคลอดบุตรย้อนหลังได้ไหม

Q : ค่าคลอดบุตรสามารถเบิกย้อนหลังได้ไหม? A : สำหรับผู้ประกันตนที่คลอดบุตร ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่คลอดบุตร ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)