ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

หลังเลิกงาน ภายหลังการเชื่อมเสร็จแล้ว จะต้องเคาะเอาสะแลค (ภาษาช่างจะเรียกว่าขี้เชื่อม) ออก หรือการเจียร เพื่อตกแต่งรอยเชื่อม กิจกรรมเหล่านิ้อาจทำให้เศษโลหะกระเด็นเข้าตาได้หากไม่ใส่แว่นนิรภัยป้องกันดวงตา รวมไปถึงสุขอนามัยส่วนบุคคล

ซึ่งแนะนำว่าให้ชำระล้างทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังเสร็จงาน และเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน และงดนำอาหาร หรือเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามารับประทาน หรือดื่มในบริเวณที่มีการทำงานเชื่อม

• ก่อนการตัด หรือเชื่อมโดยเฉพาะบริเวณที่อันตราย (Hazardous Zone) เช่น ใกล้กับบริเวณที่มีไอน้ำมัน หรือสารเคมีไวไฟ จะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Permit) มีการกั้นพื้นที่ทำงานชั่วคราว และปฏิบัตตามขั้นตอนและข้อกำหนเดที่ระบุในคู่มือการทำงาน หรือ จากการเรียนรู้ การอบรม

* แต่สำหรับในงานที่ผมรับผิดชอบอยู่ เนื่องจากเป็นงานก่อสร้าง และปรับปรุงในพื้นที่ที่บางครั้งมีไอน้ำมันอยู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เอกสาร และมาตรการต่างๆ มากมายมาใช้บังคับผู้รับเหมาและคนงานให้ปฏิบัตตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้าผลาดขึ้นมา นั่นหมายถึงอันตรายต่อชีวิต และความสูญเสียอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล

ทั้งนี้ในงานที่มีความเสี่ยงสูง แบบนี้ก่อนทำงานจะมีระบบเอกสารในการทำการประเมินความเสี่ยงตามแต่ละขั้นตอนการทำงาน ที่เราเรียกกันว่า JHA (Job Hazard Analysis) และมีการขอใบอนุญาตทำงาน และต้องมีการตรวจสอบหน้างาน เพื่อพิจารณาความปลอดภัยที่หน้างานเท่านั้นก่อนผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาความปลอดภัย จะเซ็นอนุญาตให้เริ่มการทำงานในแต่ละครั้ง

• เมื่อทำการเชื่อมหรือตัดบนที่สูง จะต้องระวังและป้องกันลูกไฟ หรือสะเก็ดไฟหล่นใส่ผู้ที่อยู่ด้านล่าง หรืออุปกรณ์ที่ไวไฟอยู่ด้านล่างหรือใกล้เคียงสำหรับงานที่ต้องตัด เชื่อม เจียร์บนที่สูงในบริเวณที่ห้ามเกิดประกายไฟ (hot work) จะต้องจัดให้มีผู้เฝ้าระวังประกายไฟด้านล่างอย่างน้อยหนึ่งคน หรือให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเดินตรวจตราด้านล่างบริเวณรอบๆที่กำลังทำการเชื่อม ตัด หรือเจียร์อยู่

• ให้ใช้ถาดชนิดที่เป็นโลหะไม่ติดไฟ หรือที่ไม่มีปฏิกริยากับความร้อน รองไว้ใกล้กับบริเวณที่เชื่อมหรือตัดเพื่อป้องกันสะเก็ดไฟ

• ให้ใช้วัสดุที่ไม่ติดไฟ คลุมอุปกรณ์ทางด้านล่างและพรมด้วยน้ำ และก่อนเริ่มจะต้องมีเครื่องดับเพลิงเตรียมไว้พร้อม ต้องมีฉากที่ทำจากวัสดุไม่ติดไฟ สำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

• ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน และมีคุณสมบัติสำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

• ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ที่สามารถป้องกันสะเก็ดลูกไฟ และไม่ลุกติดไฟง่ายต้องสวมถุงมือหนังชนิดที่ไม่เปิดปลายนิ้ว และ ต้องสวมรองเท้านิรภัยชนิดหุ้มข้อ

• เมื่อต้องทำงานเชื่อมหรืองานตัดบนที่สูงต้องดำเนินการภายใต้สภาพที่ปลอดภัย และใช้เข็มขัดนิรภัยแบบรัดลำตัวตลอดเวลา

• เครื่องเชื่อมโลหะแต่ละเครื่องต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน หรือสวิตซ์ตัดตอนไฟฟ้า เพื่อป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด และห้ามใช้ลวดทองแดงมาใช้แทนฟิวส์ตะกั่วเด็ดขาด

• พื้นที่ทำงานเชื่อมต้องเป็นวัสดุทนไฟ พื้นผิวไม่ขรุขระ หรือมีน้ำขัง และต้องจัดให้มีแสงสว่าง และ การระบายอากาศที่ดีในบริเวณที่เชื่อมอย่างเพียงพอ และเหมาะสม

• ห้ามนำถังแก๊สเข้าไปวางใช้งานในสถานที่อับอากาศ หรือวางบนนั่งร้านเด็ดขาด

• เมื่อทำงานเชื่อม หรืองานตัดในบริเวณที่มีอากาศไม่เพียงพอในเวลานานๆ ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ในระหว่างการทำงาน ปริมาณออกซิเจนในอากาศต้องไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยการทำงาน

ที่ผมเขียนขึ้นมาข้างบนนี้เป็นตัวอย่างที่ผมปฏิบัตจริงที่หน้าไซต์งานของผม และใช้ในการจัดฝึกอบรมให้ผู้รับเหมาและคนงานเข้าใจและปฏิบัติตาม ซึ่งผมจะมีการสุ่มไปตรวจ Audit ที่ไซต์งานโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้รับเหมา หรือ ผู้ปฏิบัตงานทราบล่วงหน้า

และถ้าหากผมพบว่ามีการฝ่าฝืนกฏ ก็จะมีการสอบสวน หากพบว่าและผู้ปฏิบัติเจตนาฝ่าฝืน (ผ่านการอบรม และทราบในกฏระเบียบ และขั้นตอนในการทำงาน) ก็จะมีการลงโทษสถานหนัก แต่หากผู้ปฏิบัตไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่าฝืน แต่เป็นเพราะนายจ้างไม่เคยจัดการอบรม ไม่เคยจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม และปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัตงาน ในกรณีนี้ ผมสั่งลงโทษที่บริษัทผู้รับเหมา และโฟน์แมน หรือผู้ควบคุมงานนะครับ ที่ปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลความปลอดภัยให้กับลูกน้อง หรือคนงานในทีมของท่าน

ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

  1. อันตรายจากไฟอาร์ก
    นอกจากแสงสว่างจ้าจากไฟอาร์กที่เรามองเห็นแล้ว ยังมีสิ่งที่มาด้วยแต่เรามองไม่เห็น คือ แสงอุลตร้าไวโอเล็ตและแสงอินฟาเรด ซึ่งทำลายดวงตา และทำให้ผิวหนังไหม้ได้ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมไฟฟ้า จึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่ได้มาตรฐาน กระจกดำธรรมดา หรือแม้แต่แว่นสำหรับเชื่อมแก๊ส ไม่อาจใช้ป้องกันรังสีจากไฟอาร์กได้ รังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่มากับแสงอาร์กของไฟเชื่อม จะก่อให้เกิดการระคายเคืองในดวงตา ช่างเชื่อมในช่วงฝึกหัด จะยังไม่คล่องกับจังหวะการปิด-เปิดหน้ากากเชื่อมอาจทำให้พลาดมองเข้าไปในไฟอาร์กบ่อยครั้ง จนต้องไปนอนปวดแสบปวดร้อนดวงตาเหมือนทรายอยู่ในตา ต้องรักษาอยู่หลายวัน ประมาทมากอาจทำให้เสียสายตาถึงตาบอดได้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่สถานศึกษาต้องมีห้องเชื่อมและสถานประกอบการควรมีฉากบังแสง ไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น และเด็กๆ ที่สอดรู้สอดเห็นมองเข้าไปยังไฟอาร์ก
  1. อันตรายจากไอก๊าซและควันจากการเชื่อม
    แม้จะดูเหมือนว่าไฟอาร์กไม่ใช่การเผาไหม้โดยตรง แต่ขณะเชื่อมไฟฟ้าจะเกิดการสูญเสียออกซิเจนในอากาศจำนวนมาก นอกจากนั้น การหลอมละลายของลวดเชื่อมกับการเผาไหม้ของฟลักซ์หุ้มลวดเชื่อมก่อให้เกิดควันและอากาศเสียที่ต้องการระบายอากาศที่ดี หรือมีระบบดูดควันพิษจากบริเวณรอบๆ จุดอาร์กออกไป
  1. อันตรายจากความร้อน
    การเชื่อม เป็นการหลอมโลหะเข้าด้วยกัน ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงความร้อนที่เกิดขึ้น น้ำโลหะและสแลคอาจจะกระเด็นใส่ผู้เชื่อมหรือสิ่งของอื่นในบริเวณนั้นจนเกิดลุกไหม้ขึ้นได้ บาดแผลจากไฟไหม้จะรักษาให้หายได้ยากกว่าบาดแผลจากอุบัติเหตุอื่น ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยในเรื่องของความปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันตัว โลหะอาจร้อนจัด แม้ไม่เปล่งแสงให้เห็นการจะหยิบจับต้องแน่ใจ ใช้คีมคีบจะดีที่สุด ในรัศมีประมาณ 10 เมตร จากจุดเชื่อมจะต้องไม่ให้มีเชื้อเพลิงอยู่ในบริเวณนั้น ทรายแห้งอาจเป็นวัสดุดับไฟที่ดีในยามฉุกเฉินที่ควรเตรียมเอาไว
  1. อุบัติภัยถึงชีวิต
    ไฟฟ้ามีหรือไม่ เรามองไม่เห็น ช่างเชื่อมไม่ควรประมาท ที่เยอรมันจะเตือนกันอยู่เสมอว่าไม่ให้เชื่อมด้วยมือเปล่า เราจำเป็นต้องใส่ถุงมือป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้

RELATED POSTS

ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ก.ย. 2

ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

มิ.ย. 26

ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

มิ.ย. 26

ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ส.ค. 3

ข้อควรระวังในการเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ก.ย. 2