พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

  • ถูกใจ

  • ขำกลิ้ง

  • ฟิน

  • ว้าว

  • ซึ้ง

  • สยอง

     

กฎหมาย จริยธรรม เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

     ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง

     ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
     ระบบสารสนเทศที่มีการจัดการกับสารสนเทศและสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้เกิดประสิทธิผล เรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการ บริหาร โดยเน้นเรื่องการสนับสนุนการตัดสินใจในระดับการจัดการระดับต่างๆ ไม่เน้นที่การประมวลข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการทางธุรกิจและเน้นที่โครงร่างของระบบควรจะถูกใช้ในการ จัดการการใช้งานระบบสารสนเทศ
พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

ที่มา : https://sites.google.com/site/khxmphiwtexrlaeasarsnthes2000/hnwy-thi-13-kdhmay-laea-criythrrm-ni-kar-chi-rabb-sarsnthes




ความหมายของกฎหมาย

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ทรงอธิบายว่ากฎหมายคือคำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งมวลเมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องได้รับโทษ (พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ 2502 : 4)

     กฎหมาย คือ คําสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่มีขึ้นมาเพื่อกําหนดความประพฤติของคนในสังคม ทุกคน ต้อปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษโดยกฎหมายนั้นๆ

ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม หมายถึง หลักหรือข้อควรประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องดีงามตามหลักคุณธรรม ตลอดจนการ มีปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผลว่า อะไรดีควรประพฤติ อะไรไม่ดี ไม่ควรประพฤติ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีความหมายกว้างขวางมาก เราจะพบได้กับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้

สารสนเทศ ดังนี้

1.การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น พนักงานการไฟฟ้าบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวม ข้อมูลได้ ห้างสรรพสินค้าใช้รหัสแท่ง (bar code) ตรวจสินค้าเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัส แท่ง

2.การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนํามาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลําดับข้อมูล คํานวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น

3.การแสดงผลลัพธ์ คือ การนําผลจากการประมวลผลที่ได้มาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจน พิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดีทัศน์

4.การทำสำเนา เป็นการทําสําเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่างๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา และการนําไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทําสําเนา เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสก์ หรือ CD-ROM

5.การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่ส่งข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ปัจจุบันมี อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใน รูปแบบของสื่อ เช่น เส้นใยนําแสง เคเบิลใต้น้ำคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม

ที่มา : https://jajakanok.wordpress.com/2018/12/11/13-%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2/




กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

     กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) หรือมักเรียกกันว่า กฎหมายไอที (IT Law) เสนอโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC) ท าหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ด าเนินการจัดท ากฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติหรือ กทสช. (NITC) ได้ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือที่ มักเรียกโดยย่อว่า "เนคเทค" (NECTEC) ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า "สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในฐานะส านักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ท าหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่าง กฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น เพื่อปฏิบัติตาม นโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้ แล้วเสร็จ คือ

     1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอข้อมูลที่ทำในกระดาษ อันเป็นการรองรับ นิติสัมพันธ์ต่าง  ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้น ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟัง พยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

      2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือ ชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแล การให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

     3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่าย โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศส าคัญอื่น ๆ อัน เป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการ หนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78 (3) ใน การกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคม อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และ นำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้ 

     4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือ เผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำ ข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้น พื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

     5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญา ในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบ ข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม 

     6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอน เงินระหว่างสถาบันการเงิน และ ระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น ต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.informatics.buu.ac.th/88510159/chapters/chapter_11.pdf




วิธีการหลีกเลี่ยงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น 

1. สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล “สิทธิบัตร” และ “เครื่องหมาย การค้า” ที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว เพื่อดูว่ามีใครจะจดทะเบียนคุ้มครองแนวคิด หรือชื่อที่เหมือนหรือคล้ายกันไว้แล้ว เช่น ชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์ 2. ไม่ใช้ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่นจนกว่าจะได้รับอนุญาตและต้องเก็บรักษาเอกสารการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาให้ดี

3. ตรวจสอบฐานข้อมูลทะเบียนโดเมนเนม ทะเบียนชื่อบริษัทและ ห้างหุ้นส่วนจำกัดให้ดี เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นหรือไม่เป็นสาธารณสมบัติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการซ้ำซ้อนได้ทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dpd.go.th)

ที่มา : http://www.l.su.ac.th/wp-content/uploads/2021/03/Code_of_Ethics_for_Computer_Technical-IT_Officers.pdf




พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 

หมวดที่ 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตราที่ 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตราที่ 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้โดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา : http://pws.npru.ac.th/signal/data/files/Chapter3_Law.pdf




พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติ แห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้ เตือนความจํากันสักหน่อย เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สําหรับสาระสําคัญที่หลายคนควรพึง ระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2 มี สาระสําคัญจําง่ายๆ ดังนี้ 

     1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 

     2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นส แปม ปรับ 200,000 บาท 

     3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 

     4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่าย ความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม 

     5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3 

     6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทําเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิด กฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด 

     7.สําหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออก จากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด 

     8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทําให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ 

     9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ           10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทําให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟูองร้องได้ตามกฎหมาย 

     11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้ โพสต์ได้ และมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท 

     12. ไม่ทําการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ 

     13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้ (pigabyte 2560. ออนไลน์ )

     เนื้อหาสําคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ที่นําเสนอมีดังนี้ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการ กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุง เนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วย การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกัน และปราบปรามการ

กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีรูปแบบการกระทําความผิดที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” สําหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมี

สาระสําคัญดังนี้ 

มาตรา 4 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับ ได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท” 

มาตรา 5 กําหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทําผิดใน 5 ประการ ได้แก่ 

     1. การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน

     2. นํามาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิ ชอบ 

     3. ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการ นั้นมิได้มีไว้สําหรับตน 

     4. ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ 

     5. ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลง แหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สําคัญ ถ้าการกระทําความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1- 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท

     ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคลร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทําความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วยโดยบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท” 

     มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทําผิดต้องรับทั้งโทษจําคุก และโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 

กําหนดการ กระทําความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ 

ที่มา: https://ksiritham.files.wordpress.com/2017/10/e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e0b881e0b8a5e0b8b8e0b988e0b8a1-13.pdf

พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่ประเภท

ดังนั้นกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศของไทยในปัจจุบันจึงมีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ .ศ. 2544. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เพราะเหตุใดจึงมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

สังคม สารสนเทศเป็นสังคมใหม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมสารสนเทศ จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทุกวันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวัน มีการใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้น จึง ...

พระราชบัญญัติใด นับเป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรก

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 นับเป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรกที่ใช้บังคับกับการท าธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น การทาสัญญา กฎหมายกาหนดว่าต้อง มีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะมี ...

มีกฎหมาย หรือประกาศจากภาครัฐใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการใช้และเผยแพร่สารสนเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2553. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...