ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมีลักษณะและเส้นอุปสงค์ตามข้อใด


บทที่ 6
ตลาด และการกำหนดราคา

แบบทดสอบตนเองหลังเรียนวัตถุประสงค์         เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง
                               "ตลาด และการกำหนดราคา "
คำแนะนำ             ให้นักศึกษาอ่านคำถามต่อไปนี้ทีละข้อแล้วคลิกช่องว่างที่นักศึกษาคิดว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
                              นักศึกษามีเวลาททำบททดสอบนี้  15 นาที

1.. ตลาดสินค้าใดที่มีสภาพใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด

ตลาดที่ดิน
ตลาดรถยนต์
ตลาดสินค้าเกษตร
ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม


2.ข้อใด มิใช่ ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์

มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก
สินค้ามีลักษณะคล้ายกัน
ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้สภาพของตลาดเป็นอย่างดี
การเข้าหรือออกจากตลาดเป็นไปโดยเสรี

3. ข้อใด มิใช่ สาเหตุของการผูกขาด

การกักตุนสินค้า
การผลิตที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก
การให้สัมปทานของรัฐบาล
การได้รับสิทธิบัตร

4. ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก
สินค้ามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
การเข้าออกจากการทำการผลิตทำได้โดยง่าย

ถูกทั้งข้อ 1,2 และ 3

5.ตลาดที่สินค้ามีลักษณะเหมือนกันและใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ คือ

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดผูกขาด
ตลาดผู้ขายน้อยราย
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

6. การส่งเสริมการขายโดยวิธีโฆษณามักถูกพบในตลาดประเภทใด

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดผูกขาด
ตลาดผู้ขายน้อยราย
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

7.ตลาดน้ำอัดลมในประเทศไทย จัดอยู่ในตลาด

ตลาดผูกขาด
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ตลาดผู้ขายน้อยราย

8. โรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง จัดอยู่ในตลาด

ตลาดผูกขาด
ตลาดผู้ขายน้อยราย
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

9. ข้อใดแสดงถึงพฤติกรรมของผู้ผลิตในตลาดผูกขาด

สินค้าของผู้ผลิตใช้ปัจจัยน้อยกว่าการผลิตในตลาดแข่งขัน
ผู้ผูกขาดมุ่งเอากำไรอย่างเดียว
ถูกทั้งข้อ (1) และ (2)
ผิดทุกข้อ

10.ราคาในตลาดผูกขาดถูกกำหนดขึ้นจาก สิ่งใด

ผู้ซื้อกำหนดตามเส้นอุปสงค์
กลไกราคา
ผู้ผลิตกำหนดเองโดยพิจารณาจากเส้นอุปสงค์
ไม่มีข้อใดถูก


ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมีลักษณะและเส้นอุปสงค์ตามข้อใด

ตลาดแข่งขันไม่สมบรูณ์
         ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์เป็นลักษณะของตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ประกอบด้วยตลาด 3 ลักษณะ คือ ตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด และตลาดผู้ขายน้อยราย เส้นอุปสงค์หรือเส้นราคาและเส้นรายรับส่วนเพิ่มในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์  ซึ่งประกอบด้วยตลาดทั้งสามลักษณะนั้นมีลักษณะเหมือนกัน  การอธิบายดุลยภาพในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์จะใช้เส้นอุปสงค์และเส้นรายรับเพิ่มในลักษณะเดียวกัน ซึ่งในบทนี้จะศึกษาลักษณะของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ การกำหนดราคาในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์และศึกษาตลาดผูกขาดก่อน
ลักษณะของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
         1. ผู้ขายมีจำนวนไม่มาก ในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ลักษณะของตลาดจะตรงกันข้ามกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ขายมีจำนวนไม่มาก อาจเนื่องจากเป็นกิจการที่ผูกขาดโดยรัฐ หรือการให้สัมปทานแก่เอกชนโดยรัฐ จำนวนผู้ผลิตไม่มากอาจด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ซับซ้อน การลงทุนที่สูงเกินไป เป็นต้น
         2. ลักษณะสินค้าไม่เหมือนกันทุกประการ สินค้ามีลักษณะคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันอาจจะแตกต่างกันที่คุณภาพ การบริการ การโฆษณา บรรจุ หีบห่อ หรือต่างกันที่ รุ่น
         3. การเข้าหรือออกจากการผลิตทำได้ยาก การเข้าไปผลิตแข่งขัน หรือออกจากการผลิตทำได้ยากเนื่องจาก ต้องมีลิขสิทธิ์ มีเทคโนโลยี และมีการลงทุนที่สูงในการผลิต ดังนั้นการเข้าไปผลิตแข่งขันทำได้ยากและการจะออกจากการแข่งขัน หรือเลิกกิจการก็ทำได้ยาก เช่นกันเนื่องจากการลงทุนที่สูง และสัญญาการลงทุนบางประการ
         4. ความรู้ในเรื่องการตลาดไม่สมบูรณ์ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีความรู้เรื่องการตลาดหรือข้อมูลการตลาดอย่างสมบูรณ์ทำให้ราคาแตกต่างกัน
         การกำหนดราคาในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ เนื่องจากในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ราคามีหลายระดับราคา การกำหนดราคาในตลาดแบบต่าง ๆ ก็จะกำหนดราคาแตกต่างกัน

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมีลักษณะและเส้นอุปสงค์ตามข้อใด

          https://www.l3nr.org/posts/261204

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมีลักษณะและเส้นอุปสงค์ตามข้อใด