ประเภทของตลาด แบ่ง ตาม ลักษณะ ตลาดมี อะไร บ้าง และ ตลาด แต่ละ ลักษณะ ประกอบด้วย กี่ ประเภท อะไร บ้าง

ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

Show

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน

หน้าที่ของการตลาด
การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้
•  แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์
•  เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์
•  สนองความต้องการอุปสงค์

ลักษณะตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าแบ่งตลาดในทางเศรษฐกิจออกตามลักษณะของการแข่งขันอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดที่มีการเข่งขันไม่สมบูรณ์
•  ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะเด่นของตลาดแบบนี้ คือ

  1. ผู้ชื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก
  2. สินค้าที่ซื้อขายมีลักษณะคุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกันมาก
  3. การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก
  4. หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าได้โดยง่าย
  5. การเคลื่อนย้ายสินค้าและปัจจัยการผลิต จะต้องกระทำได้อย่างสมบูรณ์

•  ตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ การพิจารณาลักษณะตลาดแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์เราอาจแยกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ด้านผู้ขายและด้านผู้ซื้อ ดังต่อไปนี้  

ทางด้านผู้ขาย

  1. ตลาดกึงแข่งขันกึงผูกขาด มีผู้ขายและสินค้าจำนวนมาก สินค้าที่ขายมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ไม่สามารถทำให้แตกต่างกันได้

  2. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย โดยทั่วไปจะมีผู้ขายเพียง 3-5 รายในตลาดเท่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นพวกอุตสาหกรรมหนัก

  3. ตลาดที่มีการผูกขาดด้านการขายที่แท้จริง คือตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว ผู้ขายจะมีอิทธิพลเหนือราคา

ทางด้านผู้ซื้อ

  1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดประเภทนี้มีผู้ซื้อจำนวนมากแต่ผู้ขายพอใจขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น จึงมีทางควบคุมราคาได้บ้าง
  2. ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยราคา คือ ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยมาก ถ้าผู้ซื้อคนใดเปลี่ยนแปลงปริมาณซ้อจะมีผลกระทบกระเทือนราคาตลาดและผู้ซื้อคนอื่น ๆ ด้วย

ตลาดผูกขาดที่แท้จริงทางด้านผู้ซื้อ เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงคนเดียวผู้ซื้อจึงอยู่ในฐานะเกี่ยงราคาได้ และในที่สุดก็สามารถที่จะกำหนดราคาสินค้าเองได้

ที่มา  http://reg.ksu.ac.th/teacher/sakkasam/lession5.html

โครงสร้างตลาดที่หลากหลาย เป็นลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มันเป็นตัวบ่งถึงระดับของการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ลักษณะของสินค้าและผลิตภัณฑ์ จำนวนผู้ขาย จำนวนผู้บริโภค ฯลฯ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตลาดสี่ประเภทพื้นฐาน สิ่งหนึ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ โครงสร้างตลาดเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริง มันเป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎี แต่มันช่วยให้เราเข้าใจหลักการที่อยู่เบื้องหลังการจำแนกโครงสร้างของตลาดได้

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition)

ในโครงสร้างตลาดการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ผู้ขายทั้งหมดของตลาดมักจะเป็นผู้ขายรายเล็ก ซึ่งจะมีการแข่งขันระหว่างกัน โดยที่จะไม่มีผู้ขายรายใหญ่รายใดที่มีอิทธิพลสำคัญต่อตลาดนี้ ดังนั้นบริษัททั้งหมดในตลาดจึงเป็นผู้กำหนดราคา โครงสร้างแบบนี้เป็นตลาดในอุดมคติ จะมีบริษัทใหม่เข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา เมื่อพวกเขาไม่อาจทำผลกำไรได้ก็ออกได้โดยไม่เจ็บตัว

ด้วยคู่แข่งจำนวนมากอิทธิพลของ บริษัทหรือผู้ซื้อเพียงหนึ่งรายนั้นค่อนไม่มีผลกระทบต่อตลาดโดยรวม แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ แต่ในความเป็นจริงนั้นค่อนข้างจะเกิดขึ้นได้ยาก มีเพียงไม่กี่ตลาดที่อาจเหมาะสมกับทฤษฎีแบบนี้ เช่น เกษตรกรรม และหัตถกรรม นอกจากนี้ก็ยังมีข้อเสียอีกหลายอย่าง อันดับแรกคือผู้บริโภคต้องทนทุกข์ทรมานเนื่องจากไม่มีทางเลือกสำหรับสินค้าอื่นที่คล้ายกัน

ตลาดการแข่งขันแบบผูกขาด (Monopolistic Competition)

นี่เป็นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงในตลาดโลกปัจจุบัน ในการแข่งขันแบบผูกขาดนั้น ยังมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากเหมือนกัน แต่พวกเขาทั้งหมดไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นชนิดเดียวกัน ผลิตภัณฑ์มีความคล้ายคลึงกันมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะพึงพอใจที่มีตัวเลือกมากกว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งผู้ขายอาจตั้งราคาที่สูงขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นผู้ขายจึงกลายเป็นผู้กำหนดราคาในระดับหนึ่ง

ตัวอย่างเช่นตลาดสำหรับธัญพืชคือการ “แข่งขันที่ผูกขาด” ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดคล้ายกัน แตกต่างกันแค่เล็กน้อยในแง่ของรสชาติ อีกตัวอย่างหนึ่งเช่นยาสีฟัน ตลาดแบบนี้มักจะขาดแรงจูงใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ แถมยังไม่ค่อยเกิดการแข่งขันมากนัก นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำให้เกิดภาวะเงินเฝ้อได้อีกด้วย

ตลาดผูกขาด (Monopoly)

ในโครงสร้างตลาดแบบผูกขาดนั้น จะมีผู้ขายเพียงรายเดียวดังนั้น คือบริษัทเดียวจะควบคุมตลาดสินค้ากลุ่มเดียวกันทั้งหมด พวกเขาสามารถกำหนดราคาเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากมีอำนาจเหนือตลาด ผู้บริโภคจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องเลือกซื้อของตามราคาที่กำหนดไว้ อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องคุณภาพของสินค้า  ด้วยเหตุผลเดียวกัน เมื่อไร้การแข่งขันก็ไม่จำเป็นจะต้องห่วงว่าเรื่องคุณภาพมากนัก

ลองคิดดูว่าถ้าหากเป็นมีร้านขายของชำแห่งเดียวในรัศมี 70 ไมล์ผู้ คนจะถูกบังคับให้ซื้อสินค้าที่นั่น เจ้าของร้านค้าตระหนักถึงสิ่งนี้ และไม่ต้องใช้เงินในการบำรุงรักษาหรือการควบคุมคุณภาพมากนัก เพราะพวกเขารู้ว่าลูกค้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากซื้อกับร้านของพวกเขา แม้ว่าการผูกขาดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง มันทำให้ตลาดไม่เกิดการแข่งขัน ไม่มีการพัฒนา ไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตามการผูกขาดแบบนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากมากในความเป็นจริง

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

ในตลาดผู้ขายน้อยรายจะมีเพียงไม่กี่บริษัทในตลาด ในขณะที่ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนของบริษัท แต่ส่วนใหญ่จะมีไม่ต่ำกว่า 3 – 5 แห่ง ดังนั้นในกรณีนี้อำนาจของผู้ขายจะมีมากกว่าผู้ซื้อ เพราะผู้บริโภคมีตัวเลือกไม่มากนัก บางครั้งอาจมีการร่วมมือกันระหว่างบริษัท เพื่อกำหนดราคาและเพิ่มผลกำไรให้สูงสุดให้แก่ตนเอง ในตลาดผู้ขายน้อยรายมีอุปสรรคมากมาย ทำให้บริษัทใหม่ๆ ไม่ค่อยเติบโตได้ในตลาดประเภทนี้

ตลาดแบ่งออกเป็นกี่ประเภทตามลักษณะโครงสร้าง อะไรบ้าง

โครงสร้างของตลาดมีกี่ประเภท และแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง.
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) ... .
ตลาดการแข่งขันแบบผูกขาด (Monopolistic Competition) ... .
ตลาดผูกขาด (Monopoly) ... .
ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly).

ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ มี 2 ประเภทคือ 1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competitive market) มีผู้ขายจำนวนมากและขายสินค้าเหมือนกัน 2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfect competitive market)

ความสําคัญของตลาดในระบบเศรษฐกิจมีกี่ข้อ อะไรบ้าง

2.1 การตลาดช่วยให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้น 2.2 การตลาดทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต 2.3 การตลาดช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ 2.4 การตลาดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ

ตลาดในข้อใดที่มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก และสินค้ามีลักษณะแตกต่างกันแต่สามารถทดแทนกันได้

ตลาดกึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด คือ ตลาดที่มีผู้ขายเป็นจ านวนมาก จึงท าให้ผู้ขายแต่ละรายมีอิทธิพลต่อ ราคาสินค้าในตลาดน้อยมาก และท าให้ การด าเนินนโยบายของผู้ขายรายหนึ่ง ๆ ไม่กระทบต่อผู้ขายรายอื่น ๆ ในตลาด สินค้าในตลาดนี้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้