แคว้น ต่างๆ ในชมพูทวีปสมัยก่อน พระพุทธเจ้า มีการปกครองแบบใด

ในสมัยพุทธกาล อินเดียหรือชมพูทวีป แบ่งอาณาเขตเป็น 2 เขตคือ

เขตภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่อยู่ของชนชาติอริยกะ หรืออารยัน แปลว่า ผู้เจริญเป็นดินแดนของชนผิวขาว

เขตรอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง

ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล

ลักษณะทางด้านการปกครอง แบ่งได้ 2 ระบบ

1. การปกครองแบบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์หรือผู้ครองแคว้นมีอำนาจสิทธิขาดผู้เดียว มีรัชทายาทสืบสันตติวงศ์แคว้นใหญ่ๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบบนี้ เช่น

* แคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารปกครอง
* แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง
* แคว้นอวันตี มีพระเจ้าจันปัชโชตปกครอง
* แคว้นวังสะ มีพระเจ้าอุเทนปกครอง

การปกครองของกษัตริย์ แม้จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่ก็มีธรรมเป็นหลักในการปกครอง

หลักธรรมสำคัญของกษัตริย์ ได้แก่

* ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
* สังคหวัตถุ 4 ประการ

ทศพิธราชธรรม มีธรรมประกอบด้วย

ทาน              การให้
ศีล                การรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ
บริจาคะ                   การแบ่งปัน การบริจาคแก่ผู้ยาก
อาชวะ            ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
มัททวะ           ความอ่อนโยน ไม่กระด้าง
ตบะ              ความเพียรพยายาม
อักโกธะ          ความไม่โกรธ
อวิหิงสา          ความไม่เบียดเบียน
ขันติ              ความอดทน อดกลั้น
อวิโรธนะ         ความไม่ทำให้ผิด (ความไม่คลาด)

สังคหวัตถุ ประกอบด้วย

ทาน              การให้ คือการให้สิ่งของให้คุณธรรม ให้อภัย
ปิยะวาจา        คำปราศรัยอันอ่อนโยน
อัตถจริยา        การทำตนให้เกิดประโยชน์
สมานัตตา        การวางตนเสมอตน เสมอปลาย

2. การปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีการสืบสันตติวงศ์ การปกครองระบบนี้การบริหารประเทศขึ้นอยู่กับสถาบันสำคัญ คือ รัฐสภา ซึ่งสมัยเรียกว่า สัณฐาคาร มีประมุขรัฐสภาและมีคณะกรรมการรัฐสภาเป็นคณะกรรมการบริหารในสมัยพุทธกาล มีลักษณะดังนี้

ประมุขรัฐสภา  ผู้เคยดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์
คณะกรรมการ
ฝ่ายบริหารบ้านเมือง  ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ กษัตริย์ลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
กรรมการรัฐสภา  มาจากหัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ ระดับเมือง (ชนบท) ระดับอำเภอ

สมาชิกรัฐสภาจะต้องให้คำปฏิญญาต่อสัณฐาคาร หรือรัฐสภา เช่น จะรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวม จะไม่ขาดประชุม จะแสดงความคิดโดยเปิดเผย จะต้องปราศจากความโกรธแคว้นเมื่อถูกกล่าวหา และจะยอมรับสารภาพถ้ากระทำผิด

หลักธรรมที่การปกครองยึดถือปฏิบัติคือ อปริหานิยธรรม มีสาระสำคัญ คือ

* หมั่นประชุมกันอย่างเนืองนิตย์
* พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม
* ไม่บัญญัติสิ่งใหม่อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างบัญญัติเก่าที่ยังใช้ได้อยู่
* เคารพนับถือและเชื่อฟังผู้ใหญ่
* ปกครองสตรี มิให้ถูกข่มเหงรังแก
* เคารพในปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ
* คุ้มครองป้องกันภัยแก่ สมณ ชี พราหมณ์ ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน

ลักษณะสังคมของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล

สังคม หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน เป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ โดยมีระบบแห่งความสัมพันธ์ที่มีหลักการ ได้แก่ การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยา และการนันทนาการ

ลักษณะทางสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ได้มีการแบ่งวรรณะอยู่แล้วเป็น 4 วรรณะคือ

* วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ พวกเจ้า กษัตริย์ นักรบ นักปกครอง สีประจำวรรณะ คือสีแดง
* วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ติดต่อกับเทวะหรือเทพเจ้า ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สีประจำวรรณะ คือสีขาว
* วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า คหบดี หรือบุคคลที่ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม พวกนี้เป็นชนชั้นกลางในสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเหลือง
* วรรณะศูทร ได้แก่ กรรมกร ลูกจ้าง เป็นพวกชนชั้นต่ำ ผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นล่างของสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเขียว หรือสีดำ

นอกจากนี้ ยังมีพวกนอกวรรณะ ที่เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนชั้นต่ำสุด เพราะถือกำเนิดจากมารดาที่มีวรรณะสูงกว่าบิดา เช่น มารดาเป็นแพศย์ บิดาเป็นศูทร บุตรจะเกิดมาเป็นจัณฑาล ถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นๆ ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ทางสังคม

มูลเหตุที่ทำให้เกิดวรรณะ

* ทฤษฏีเกี่ยวกับองคายพของพระผู้สร้าง กล่าวว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์จากอวัยวะส่วนต่างๆของพระองค์ สร้างวรรณะพราหมณ์จากพระโอษฐ์ สร้างวรรณะกษัตริย์จากพระพาหา สร้างวรรณะแพศย์จากพระอูรุ (โคนขาหรือตะโพก) สร้างวรรณะศูทรจากพระบาท

* สันนิษฐานตามหลักวิชา คำว่า วรรณะ แปลว่า สีผิว นักวิชาการสันนิษฐานว่า การแบ่งชนชั้น จะมีที่มาจากการถือเผ่าพันธ์และสีผิว พวกวรรณะสูง ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ และพวกพ่อค้า คือเผ่าอารยัน ส่วนพวกศูทรเป็นพวกเผ่ามิลักขะ หรือพวกดราวิเดียน ชนชาติอารยัน หรือพวกอริยกะ อพยพมาจากทางเหนือของภูมิภาคของชมพูทวีป และได้ขับไล่พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนลงไปอยู่ทางใต้

ลักษณะเศรษฐกิจในชมพูทวีป

เศรษฐกิจในครั้งพุทธกาล ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รองลงมา คือการค้าขาย และหัตถกรรมภายในครัวเรือน เช่น ช่างปั้นภาชนะดิน ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างทอผ้า ช่างฝึกม้าฝึกช้าง เป็นต้น เศรษฐกิจในชมพูทวีปโดยเฉพาะในแว่นแคว้นทางตอนเหนือและตอนกลาง ที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีเศรษฐกิจที่ดี ความเป็นอยู่เรื่องการอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับดี มีกินมีใช้ เพราะสภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์

ลักษณะความเชื่อทางศาสนา

ความเชื่อทางศาสนา แบ่งได้ 3 กลุ่ม

ความเชื่อในวิญญาณและเทพเจ้า เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองเดิม คือพวกมิลักขะเดิม พวกนี้จะเชื่อในสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ ภูเขา ต้นไม้ เมื่อสภาพธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุใหญ่ ชนพื้นเมืองจะเข้าใจว่าเป็นการกระทำของวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพวกมิลักขะได้ยกให้เป็นเทพเจ้า ซึ่งพวกอารยันที่มาภายหลังก็ยอมรับนับถือตามไปด้วย และได้ตั้งหลักการเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ

* สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ เช่น พวกมหากษัตริย์ พระราชเทวี พระราชโอรส
* อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด เช่น เทวดาในสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความสุข ถ้าใครรักษาความดี ก็จะเกิดเป็นเทวดา เพราะเทวดาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
* วิสุทธิเทพ เทวดาโดยบริสุทธิ์ หมายถึง การเป็นเทวดาด้วยความเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมองจากความชั่ว วิสุทธิเทพนี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์

ความเชื่อของพวกพราหมณ์ ได้แก่ ความเชื่อในคัมภีร์ไตรเพท มีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวง ความเชื่อของพราหมณ์อีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ คือ ความเชื่อในเรื่องการล้างบาป มีความเชื่อว่า บาปของมนุษย์นั้นชำระล้างได้ด้วยแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ แม่น้ำคงคา ถ้าใครได้อาบ หรือได้กินน้ำในแม่น้ำคงคา ถือว่าได้บุญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองพาราณาสี ซึ่งเป็นเมืองของพระศิวะ และที่เมืองคยา ถือว่าเป็นเมืองของพระวิษณุ ผู้ที่ได้อาบ หรือดื่มกินน้ำในแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะเมืองดังกล่าวถือว่าได้บุญมาก ความชั่วทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ำกลายป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งทางกายและทางใจ

ลัทธิอิสระ คือ กลุ่มที่มีความเชื่ออิสระเป็นพวกนักบวชที่มีความมุ่งหมายที่จะค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ มีหลักฐานกล่าวไว้ว่า มีถึง 336 ลัทธิ แต่หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่ามี 62 ลัทธิ แต่ที่ตั้งสำนักสั่งสอนในกรุงราชคฤห์แคว้นมคธนั้น มีลัทธิอิสระ 6 ลัทธิ สรุปได้ดังนี้

* ปูรณกัสสป มีความเห็นว่า บุญบาปไม่จริง การกระทำใดๆ ไม่ว่าดี เลว จะไม่มีผลอะไรตอบสนอง ลัทธินี้เรียกว่า อกิริยทิฐิ ซึ่งมีความเห็นว่าทำก็เท่ากับไม่ทำ
* มักขลิโคสาล มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์และความมัวหมอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ และเศร้าหมองเองตามธรรมชาติ ลัทธินี้เรียกว่า อเหตุกทิฐิ เห็นว่าไม่มีเหตุ ไม่มีผล
* อชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี มีแต่การประชุมแห่งธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
* ปกุธกัจจายนะ มีความเห็นว่า สิ่งที่เที่ยงแท้มีอยู่ 7 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น มีอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เรียกว่า สัสตทิฐิ (เห็นว่านิรันดร) ในด้านจริยธรรม ถือว่าไม่มีการฆ่า ไม่มีคนถูกฆ่า เป็นเพียงแต่อาวุธชำแหละผ่านอวัยวะที่ไม่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ชีวะที่เที่ยงแท้ไม่มีใครฆ่าได้
* นิครนถ์นาฏบุตร มีความเห็นว่า การทรมานกายให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ เป็นทางหลุดพ้น คือการไม่เบียดเบียน ไม่มีสมบัติที่จะครอบครอง ประพฤติตนสันโดษ เชื่อว่าการทรมานกายจะทำให้หลุดพ้นทุกข์ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
* สัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นลัทธิที่ไม่ติดกับทรรศะใดๆ เป็นลัทธิลื่นไหลไม่ตายตัวแน่นอน เรียกว่า อมราวิกเขปิกาทิฐิ

คำถามท้ายบท

แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปสมัยก่อนพระพุทธเจ้ามีการปกครองแบบใด

สมัยพุทธกาลรัฐหรือแคว้นที่ปกครองด้วยรูปแบบสามัคคีธรรม ส่วนใหญ่เป็นรัฐหรือ แคว้นเล็ก ๆ แคว้นใหญ่มีเพียงแคว้นมัลละและแคว้นวัชชีเพราะทั้งสองแคว้นมีชื่อเสียงทางด้าน ความสามัคคี มีความเข้มแข็ง มีความสำคัญในทางการเมืองมากที่สุด สามารถต้านทานรัฐ ราชาธิปไตย ที่มารุกรานได้ยาวนานที่สุด แต่ก็กำลังสูญสิ้นอำนาจไปเนื่องจากแคว้นใหญ่ ...

ชมพูทวีปมีการปกครองแบบใด

ในสมัยพุทธกาลมีระบอบการปกครองอยู่ 2 ระบอบ คือ ระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่กษัตริย์มีอำนาจสิทธิขาดแต่ผู้เดียว กับระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งมีพลเมืองชั้นสูงที่มีอำนาจ ตำแหน่งและเงินเลือกตั้งบุคคลในชนชั้นสูงด้วยกันให้เป็นประธานที่ประชุมหรือเป็นพระราชาที่มีอำนาจจำกัด ต้องขึ้นอยู่กับสภาชนชั้นสูง ...

แคว้นต่างๆในสังคมชมพูทวีปมีลักษณะการปกครองในรูปแบบใดเป็นส่วนใหญ่

ในด้านการเมืองการปกครอง บางแคว้นปกครองในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บางแคว้นเป็นแบบคณาธิปไตย หรือการปกครองที่ถือคณะเป็นใหญ่ บางแคว้นเป็นแบบสามัคคีธรรม หรือที่ตรงกับระบอบสาธารณรัฐในปัจจุบัน มีการแบ่งกลุ่มของประชาชนโดยถือเอาอาชีพและหน้าที่การงานเป็นหลัก ได้แก่ วรรณะกษัตริย์, พราหมณ์, แพศย์ และศูทร ลักษณะของประชากร แบ่งเป็น ...

ข้อใดเป็นรูปแบบการปกครองของสังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล

สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีปมักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม คือ พระราชวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และประชาชนมีสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญ ให้สละราชสมบัติได้ กษัตริย์ในสมัยนั้นจึงยังไม่มีอำนาจมาก ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครองนั้นเรียกกันว่ามหาราช

แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปสมัยก่อนพระพุทธเจ้ามีการปกครองแบบใด ชมพูทวีปมีการปกครองแบบใด แคว้นต่างๆในสังคมชมพูทวีปมีลักษณะการปกครองในรูปแบบใดเป็นส่วนใหญ่ ข้อใดเป็นรูปแบบการปกครองของสังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล ระบบวรรณะใดที่เป็นพวกนักรบ นักปกครอง การปกครองแบบสามัคคีธรรมในการบริหารประเทศจะประสบความสําเร็จ ต้องใช้หลักธรรมใด การแบ่งชนชั้นทางสังคมโดยใช้ระบบวรรณะในสมัยก่อนพุทธกาล ก่อให้เกิดผลตามข้อใด ชมพูทวีปสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงเตือนพวกพราหมณ์อย่างไร ในเรื่องวรรณะ แคว้นต่างๆที่ประกอบมัชฌิมชนบทมีกี่แคว้น อะไรบ้าง