บริษัทจํากัด (Company Limited) หมายถึงอะไร สามารถแบ่งออกได้กี่ประเภท

บริษัทจำกัด (Company Limited) หมายถึง องค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนการค้ากับกรมพัฒนาธุรกิจ โดยมีรูปแบบการจัดตั้งด้วยระดมทุนในรูปหุ้นส่วนและผู้ถือหุ้นทุกคนมีความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการแบบจำกัดโดยไม่เกินจำนวนเงินลงทุนหรือมูลค่าหุ้นที่ตนถือครองอยู่

บริษัทจํากัด (Company Limited) หมายถึงอะไร สามารถแบ่งออกได้กี่ประเภท
บริษัทจำกัด คือ ( Company Limited )

(Visited 571 times, 1 visits today)

หามาให้อ่านเพิ่ม :

  • บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company)
  • โครงสร้าง เบื้องต้น การจัดตั้ง กฎหมาย บริษัทจำกัด
  • ต้องการปิด บริษัทจำกัด แต่ตามผู้ถือหุ้นอีก 1 คนไม่เจอครับ
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ( Limited Partnership )

1. การใช้อักษรต่างประเทศ ที่มีความหมายว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด *ต้องปฏิบัติตามที่ **ประกาศกระทรวงเศรษฐการ ที่อาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ2499 ประกาศไว้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2500 (หาดูรายละเอียดได้ในเวปนี้ กฎหมายในความผิดชอบของกรม ) 2. เฉพาะภาษาอังกฤษ * ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล Registered Ordinary Partnership *ห้างหุ้นส่วนจำกัด Limited Partnership **บริษัทจำกัด Company Limited หรือย่อว่า Co.,Ltd. หรือ Corporation Limited หรือย่อว่า Corp., Ltd. หรือ กรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือ Corporation ให้ใช้คำว่า Limited หรือย่อว่า Ltd.

ส.อนัตตา 30 มิถุนายน 2552 09:56:52 IP: 10.6.12.74

บริษัทจำกัด ความหมายและรายละเอียดที่ครบจบในบทความนี้

บริษัทจํากัด (Company Limited) หมายถึงอะไร สามารถแบ่งออกได้กี่ประเภท

ในการติดต่อธุรกิจหรือดำเนินการบางอย่างระหว่างองค์กรหลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า “บริษัทจำกัด” มาบ้าง ซึ่งผู้ที่ต้องการดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยมีอิสระในการเลือกดำเนินงานได้หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือจะกระทำในนามของบุคคลธรรมดาก็ได้ ซึ่งเงื่อนไขของการจดทะเบียนบริษัท แต่ละประเภทก็มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ที่สนใจจะประกอบธุรกิจควรศึกษาข้อดีข้อเสียรวมถึงองค์ประกอบของการจัดตั้งบริษัทในแต่ละประเภทให้ชัดเจนก่อนดำเนินการ เพื่อให้การตัดสินใจครั้งสุดท้ายมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และไม่เกิดความเสียหายใด ๆ หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งบริษัทตามมาในภายหลัง 

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ความหมายอย่างง่ายของคำว่า บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด เกิดจากการที่บุคคลธรรมดารวมตัวกันเป็นจำนวนมากกว่า 3 คนขึ้นไป เพื่อทำการค้าหรือดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยได้มีการจดแจ้งอย่างเป็นทางการหรือจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานพาณิชย์ตามพื้นที่ที่องค์กรนั้น ๆ กำลังจะจัดตั้งขึ้น โดยหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนการเป็นบริษัทให้ถูกต้องและสมบูรณ์ โดยจะมีการเก็บรายละเอียดและข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญให้ครบถ้วนก่อนการอนุมัติเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนอย่างเต็มรูปแบบ โดยหลังจากการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการแล้ว รูปแบบของการรวมบุคคลธรรมจะกลายเป็นนิติบุคคลทันทีซึ่งหมายถึงว่าบริษัทนั้น ๆ จะมีอำนาจในการทำธุรกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ ทางการค้าได้เสมือนกับบุคคลบุคคลหนึ่ง โดยหน่วยงานที่อนุมัติจะมีการออกหมายเลข13 หลัก หรือที่เรียกในชื่อเต็มว่าหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากร ซึ่งมีความสำคัญเทียบเท่ากับหมายเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลธรรมดา โดยมีความสำคัญในการระบุถึงองค์กรและเป็นตัวแทนของหน่วยงานได้ โดยมักจะมีการนำหมายเลข 13 หลักนี้ไปปรากฏในหนังสือสำคัญหลายรายการ เช่นใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

รายละเอียดการจัดตั้งบริษัทจำกัด

  • รายละเอียดของการจัดตั้งเป็น บริษัทจำกัด นั้น จะประกอบไปด้วยจำนวนบุคคลที่ร่วมกันเข้ามาจัดตั้งบริษัทขึ้น โดยจะมีการกำหนดสถานที่ที่เป็นสำนักงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการกำหนดมูลค่าทุนการลงทุนที่เรียกว่าหุ้นซึ่งมีจำนวนเงินในแต่ละหุ้นจำนวนเท่า ๆ กันโดยผู้ลงทุนจะทำการซื้อหุ้นหรือครอบครองหุ้นในปริมาณที่แตกต่างกัน มักพบว่าส่วนมากผู้ที่ครอบครองจำนวนหุ้นมากที่สุดในบริษัทจะกลายเป็นประธานบริษัทซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานของบริษัทนั้น ๆ ได้อย่างเด็ดขาดมากที่สุด นอกจากนี้ผู้ลงทุนท่านอื่น ๆ ที่มีจำนวนการครอบครองหุ้นลดหลั่นการลงไปอาจจะอยู่ในหน้าที่ของการเป็นกรรมการบริษัท หรือมีหน้าที่ตามที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งในการดำเนินการสำคัญเกี่ยวกับบริษัทแต่ละครั้งจะต้องมีการประชุมเพื่อรับทราบความเห็นชอบของประธานและกรรมการแต่ละท่านจึงจะเกิดผลสรุปของบริษัทที่มีแนวทางการบริหารและจัดการไปในทิศทางเดียวกันจึงจะทำให้การค้าและการทำกิจการใด ๆ สำเร็จได้อย่างสมบูรณ์

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลือกจดทะเบียนเป็น บริษัทจำกัด

  • ชื่อของบริษัทหรือสัญลักษณ์อันหมายถึงองค์กรนั้น ๆ จะมีผลในทางบัญชีและกฎหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัทแบบเต็ม ตราประทับหรือหมายเลขผู้เสียภาษี 13 หลัก อันเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของบริษัทนั้น ๆ ได้เหมือนกัน ดังนั้นเอกสารทุกอย่างที่มีตราประทับหรือเลขที่ผู้เสียภาษีของบริษัทจะต้องออกอย่างระมัดระวังและมีที่มาที่ไปเสมอเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาในภายหลังได้ 
  • ชื่อขององค์กรที่ทำการจดทะเบียนจะต้องประกอบไปด้วยคำว่าบริษัทและจะต้องลงท้ายด้วยคำว่าจำกัดอยู่เสมอ สำหรับภาษาต่างประเทศก็จะต้องใช้คำว่า Company limited หรือเรียกในชื่อย่ออื่น ๆ อันหมายถึงการเป็นบริษัทในลักษณะนี้ได้ด้วยตัวย่อ Co.,Ltd.  
  • แม้ว่าจะมีบุคคลมากกว่า 3 คนขึ้นไปเข้าร่วมจัดตั้งให้เกิดเป็น บริษัทจำกัด แต่เขาเหล่านั้นจะอยู่ในสถานะของผู้ถือหุ้น โดยอาจจะอยู่ในตำแหน่งของประธานบริษัทหรือกรรมการบริษัทก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพิจารณารายรับรายจ่ายตลอดจนวิธีการทำบัญชีต่าง ๆ จะไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาท่านนั้น ๆ อย่างสิ้นเชิง โดยจะต้องพิจารณาในรูปแบบของบริษัทนี้เท่านั้น จึงจะเป็นการเข้าใจที่ถูกต้องในการพิจารณาโครงสร้างทางการเงิน หรืออำนาจการกู้ยืมต่าง ๆ ด้วย 
  • นอกจากนี้ในส่วนของการสรุปบัญชีทุก ๆ สิ้นปีของ บริษัทจำกัด จะต้องมีผู้ตรวจการบัญชีเข้ามาตรวจสอบข้อมูลรายรับรายจ่าย ตลอดจนรายการที่เกี่ยวกับบัญชีทั้งหมดให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งเป็นการตรวจทานข้อมูลทางบัญชีที่เป็นมาตรฐานและวิธีการนี้ถือเป็นข้อระบุที่กำหนดไว้ในการจัดตั้ง บริษัทจำกัด ไว้ว่าต้องดำเนินการในส่วนนี้ให้ถูกต้องทั้งข้อมูลและรายละเอียดปลีกย่อยเป็นอย่างดีโดยผู้เชียวชาญที่ผ่านการสอบและประเมินงานทางบัญชีอย่างมีมาตรฐาน
  • ในส่วนของการเสียภาษีอากรที่ทุก ๆ บริษัทได้ทำการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจหรือสำนักงานพาณิชย์อย่างถูกต้องไปแล้ว จะต้องยื่นแบบการเสียภาษีให้ถูกต้องตามเวลาที่กำหนดโดยวิธีการเสียภาษีของ บริษัทจำกัด นั้นแตกต่างจากการจดทะเบียนแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบุคคลธรรมดา โดยอาจจะมีส่วนของการลดภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะทำให้บริษัทนั้น ๆ มีข้อได้เปรียบและได้รับประโยชน์จากการลดจำนวนภาษีที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการหัก ณ ที่จ่ายหรือเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในทางบัญชี ก็จะสามารถนำมาเป็นส่วนลดในการชำระค่าภาษีในแต่ละปีได้ ซึ่งส่วนนี้ผู้ประกอบการ บริษัทจำกัด จะต้องปรึกษาและทำความเข้าใจกับผู้ทำบัญชีในบริษัทให้เข้าใจตรงกัน เพราะเมื่อถึงกำหนดการยื่นเอกสารการเสียภาษีประจำปีจะได้มีข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างครบถ้วน อีกทั้งระหว่างที่มีการตรวจสอบภาษีจากนักสอบบัญชีทุกอย่างก็จะผ่านไปได้อย่างไม่น่าเป็นกังวลด้วย
  • จริงอยู่ที่ว่าบุคคลธรรมดาได้มีการร่วมกันก่อตั้งขึ้นเป็น บริษัทจำกัด ด้วยกัน แต่เมื่อเกิดกรณีพิพาทหรือมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น คดีความหรือปัญหานั้น ๆ จะไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาที่ร่วมกันก่อตั้งบริษัทเลย แต่ข้อพิพาทหรือคดีความที่เกิดขึ้นจะดำเนินการต่อบริษัทนั้น ๆ โดยตรงเท่านั้น
  • ในกรณีที่ บริษัทจำกัด ได้มีการจดทะเบียนบริษัทในจำนวนวงเงิน 1 ล้านบาท แต่หลังจากที่ได้มีการทำการค้าหรือประกอบธุรกิจเกิดภาวะขาดทุนหรือถูกดำเนินคดีดำเนินการฟ้องร้องจากคู่กรณีให้ชดใช้ค่าเสียหายเกิดขึ้น นั่นเท่ากับว่าบริษัทนี้จะสามารถชดใช้ค่าเสียหายได้ตามจำนวนวงเงินการจดทะเบียนหรือแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการให้ทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องทำการชดใช้ว่าอยู่ในวงเงินเท่าไหร่ โดยจะช่วยลดภาวะความตกใจและความตื่นตระหนกสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่บริษัทนั้น ๆ ถูกฟ้องร้องเป็นจำนวนเงินมากถึง 10 ล้าน แต่มีทุนจดทะเบียนบริษัทไว้แค่ 1 ล้านบาท ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแค่ 1ล้านบาทเลยเสียทีเดียว หากบริษัทจำกัด มีสินทรัพย์อยู่ในการครอบครองที่มีมูลค่าสูงเช่น ที่ดิน อาคารและยานพาหนะต่าง ๆ ศาลอาจจะมีคำสั่งให้นำสินทรัพย์เหล่านั้นขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้นั้น ๆ  แทน ดังนั้นแม้ว่าจะจดทะเบียนในมูลค่าที่น้อยแต่ก็ต้องพึงระวังในกรณีที่มีหนี้สูงกว่าทุนการจดทะเบียนด้วย

บทสรุป

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลดี ๆ ที่มีความเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทให้เป็น บริษัทจำกัด ซึ่งแน่นอนว่าถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการค้าและแสวงหากำไรโดยมีผู้ร่วมทุนมากกว่า 3 คนขึ้นไปและทำการจดทะเบียนอย่างถูกต้องผ่านสำนักพาณิชย์หรือกรมพัฒนาธุรกิจจึงจะมีอำนาจหน้าที่อย่างถูกต้องในการดำเนินการธุรกิจผ่านการเป็น บริษัทจำกัด ได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการผ่านบริษัทรูปแบบนี้ โดยมีรายละเอียดในเรื่องของรายรับ รายจ่าย การทำบัญชี ตลอดจนการเสียภาษีต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการตรวจสอบก่อนยื่นเรื่องแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป