งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

งบประมาณ : ปัจจัยสำคัญในการบริหาร

เผยแพร่: 28 ต.ค. 2562 15:44   โดย: สามารถ มังสัง


งบประมาณหรือประมาณการรายรับและรายจ่ายในการบริหารองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่อันได้แก่ประเทศ ทั้งนี้อนุมานได้จากเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้

1. งบประมาณในส่วนของรายรับแสดงถึงศักยภาพในการประกอบการเพื่อหารายได้ ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็หมายถึงศักยภาพในการผลิต และการขาย อันเป็นที่มาของรายได้ แต่ถ้าเป็นองค์กรภาครัฐหมายถึงการจัดเก็บรายได้จากภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ จากผู้ประกอบการเอกชน

2. ในส่วนของรายจ่ายแสดงถึงศักยภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดโดยประมาณการจากผลงานที่ได้รับ และจำนวนเงินที่จ่ายไป โดยยึดหลักง่ายๆ คืองานที่ได้เท่ากับเงินที่จ่ายไป ด้วยอาศัยหลักการของบัญชีต้นทุน และหลักของเศรษฐศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุน

3. ในส่วนของการหารายได้แสดงถึงวิสัยทัศน์ในการบริหารการผลิต และการบริหารการขายของฝ่ายบริหาร และในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่ายแสดงถึงความโปร่งใส และใส่ใจในรายละเอียดของรายจ่ายในทุกขั้นตอน เพื่อป้องกันการรั่วไหล และให้เงินที่จ่ายไปคุ้มค่า

งบประมาณที่จัดทำขึ้นจะมี 3 ประเภทคือ

1. งบประมาณเกินดุล ได้แก่ งบประมาณที่ประมาณการรายรับมากกว่ารายจ่าย

2. งบประมาณสมดุล ได้แก่ งบประมาณที่ประมาณการรายรับเท่ากับรายจ่าย

3. งบประมาณขาดดุล ได้แก่ งบประมาณที่ประมาณการรายรับน้อยกว่ารายจ่าย และส่วนเกินของรายจ่าย องค์กรจะต้องกู้ยืมมาเพื่อให้ชดเชยรายรับที่ขาดไป

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 โดยมีวงเงินที่ประมาณการไว้ 3.2 แสนล้านล้านบาท และเป็นงบประมาณขาดดุล 4 แสน 6 หมื่นกว่าล้านบาท นั่นหมายถึงว่า รัฐบาลจะต้องกู้มาชดเชยงบที่ขาดดุลดังกล่าว จึงเท่ากับว่าคนไทยทุกคนจะต้องแบกรับหนี้เพิ่มขึ้นจากที่แบกรับมาแล้วเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน และยังไม่มีท่าทีใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยจะสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้เมื่อใด และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าวนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ในวาระ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม

ในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของกรรมาธิการงบประมาณเพื่อปรับลดหรือเพิ่ม แล้วจะนำกลับเข้ามาพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

ส่วนจะปรับลดในส่วนใด และปรับเพิ่มในส่วนใดนั้นขึ้นอยู่กับกรรมาธิการงบประมาณ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่ประชาชนเลือกเข้ามาทุกคน จะต้องคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้รอบคอบ และครอบคลุม ภารกิจหลักของประเทศโดยผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยการพิจารณาจากปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศชาติ และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเผชิญอยู่ดังต่อไปนี้

1. ปัญหาความยากจน ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยนานัปการ เริ่มตั้งแต่ปัญหาว่างงานในหมู่ผู้ที่จบ
การศึกษาแล้วหางานทำไม่ได้ ปัญหาราคาพืชผลทางด้านการเกษตรราคาตกต่ำ ไม่คุ้มทุน และสุดท้ายปัญหาราคาสินค้าซึ่งจำเป็นต่อการครองชีพราคาแพง เมื่อเทียบรายได้ของประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย มีกำลังซื้อไม่เพียงพอ ทำให้ความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น

2. ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเห็นได้จากการก่ออาชญากรรมมีตั้งแต่ลักเล็กขโมยน้อยไปจนถึงการจี้ปล้นที่เกิดขึ้นทุกวัน และวันละหลายรอบด้วย

3. ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในวงราชการซึ่งเกิดขึ้นมายาวนานจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในประเทศไทย และยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง ตรงกันข้าม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย

ดังนั้น ถ้าจะให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และประชาชนโดยรวมแล้ว จะต้องใช้ไปเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวข้างต้นให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

แต่ถ้าปีงบประมาณ 2563 ผ่านไปแล้ว ปัญหาดังกล่าวไม่ลดลง ก็เท่ากับส่วนราชการที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาใช้งบประมาณไม่เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนคุ้มค่ากับเงินภาษีที่เสียไป เมื่อเป็นเช่นนี้ทั้งข้าราชการประจำ และนักการเมืองในส่วนนี้จะต้องรับผิดชอบในทางสังคม

    1. ประเภทของนโยบายการคลัง  จำแนกตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจ
  1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) คือ นโยบายการคลังโดยเพิ่มงบประมาณรายจ่ายและลดภาษี หรือการตั้งนโยบายขาดดุล การดำเนินนโยบายการคลังดังกล่าว ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว การจ้างงานและรายได้ประชาชาติจะเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจะใช้นโยบายดังกล่าวในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายจ่ายมวลรวมของระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เกิดภาวการณ์จ้างงานเต็มที่ได้
  2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy) คือ นโยบายการคลังที่ลดงบประมาณรายจ่ายและเพิ่มภาษี หรือการตั้งงบประมาณเกินดุล เพื่อให้ความต้องการใช้จ่ายมวลรวมลดลง อันจะนำไปสู่การลดปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
    1. การใช้นโยบายการคลังในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัดช่วงห่างเงินเฟ้อ

งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด
งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

นโยบายการคลังที่ใช้ในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น คือ การลดการใช้จ่ายของรัฐบาล / การเพิ่มอัตราภาษี  ซึ่งมาตรการทั้งสองประการที่นำมาใช้ จะส่งกระทบต่อความต้องการใช้จ่ายมวลรวม  (DAE) แตกต่างกัน พิจารณาได้ ดังนี้

งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด


งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด


งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

ภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

รัฐใช้งบประมาณแบบหดตัว (เพิ่มภาษี ลดรายจ่าย) เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ลดอำนาจซื้อ ผู้ผลิตจึงต้องลดผลผลิต ลดการลงทุน และการจ้างงานมีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติลดลง เรียกว่าเศรษฐกิจหดตัว ดังนั้น รัฐบาลต้องใช้นโยบายการคลังแบบหดตัวเพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

ประเทศไทยใช้นโยบายงบประมาณแบบใด

แผนงาน เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ การบริหารจัดการ งบประมาณสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และเกิดประโยชน์

นโยบายการคลังแบบหดตัวใช้งบประมาณแบบใด

การดําเนินนโยบายการคลังแบบหดตัว การดําเนินนโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary fiscal policy) คือ การที่ รัฐบาลใชจายนอยกวารายไดภาษีที่จัดเก็บได หรือที่เรียกวา งบประมาณเกินดุล ซึ่งอาจจะเลือกใชใน ยามที่เกิดปญหาเงินเฟอในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อรัฐบาลใชจายนอยลง แตเก็บภาษีมากขึ้น ก็เปน Page 3 ๔๘

นโยบายงบประมาณแบบเกินดุลจะถูกใช้ในภาวะเศรษฐกิจแบบใด

คือ นโยบายการคลังที่ 1. ลดรายจ่ายของภาครัฐบาล 2. เพิ่มอัตราภาษี 3. ใช้งบประมาณแบบเกินดุล ใช้เมื่อ ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวมากเกินไป เกิดภาวะเงินเฟ้อ