หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีอะไรบ้าง

ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ไม่ได้แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆทั่วโลกเพราะต้องเผชิญกับปัญหาสังคมและปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 และโควิดกลายพันธุ์ที่มีการลุกลามขยายตัวอย่างรวดเร็วชนิดก้าวกระโดด แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. 64 เป็นต้นมา โควิดกลายพันธุ์ไวรัสสายพันธุ์อังกฤษมีการแพร่ระบาดจากกัมพูชาเข้าสู่ไทยซึ่งมีสถานบันเทิงย่านทองหล่อเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อนใหญ่ที่กระจายเชื้อไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีอะไรบ้าง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และโควิดกลายพันธุ์ในประเทศไทยครั้งนี้มีความรุนแรงและหนักหน่วงเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อรายวันเกินกว่า 1,000 รายต่อเนื่องมาเป็นเวลา 7 วัน และมียอดผู้ติดเชื้อรายวันเกินกว่า 2,000 รายต่อเนื่องมาเป็นเวลา 6 วัน ปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 60,000 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 170 ราย และมียอดผู้อยู่ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 30,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนักกว่า 600 ราย ในขณะที่ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสมราว 150 ล้านราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 3.1 ล้านราย มีผู้ติดเชื้อรายวันกว่า 8 แสนราย

               ในยามนี้ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องตระหนักถึงสภาพปัญหาอันใหญ่หลวงที่มีอยู่ การรู้รักสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดและการร่วมแรงร่วมใจจะเป็นเหตุนำพาชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้  โดยภาครัฐจะต้องบริหารจัดการและแก้ปัญหาอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องทุ่มเทสรรพกำลังและงบประมาณอย่างเต็มที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้ทุเลาเบาบางลง ภาคเอกชนและภาคประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆ ของรัฐอย่างเคร่งครัด ประการสำคัญนักการเมืองจะต้องหยุดเล่นเกมการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐ การลดความขัดแย้งและลดความสับสนแก่สาธารณชนจะช่วยให้ทุกสิ่งดีขึ้น มีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ก็ขอให้เสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์ และให้ความร่วมมือกับการทำงานของภาครัฐ หากกระทำไม่ได้ก็ขอให้อยู่เฉยๆ เสียดีกว่า ไม่พายเรือก็อย่าเอาเท้าราน้ำ ซึ่งจะสร้างความสับสนอลหม่านให้บ้านเมืองยิ่งขึ้น ไม่เป็นผลดีอันใดเลย

               เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ซึ่งมีการสนทนาธรรมที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการเมื่อ 28 ปีที่แล้วในปี พ.ศ.2536 มีผู้ร่วมสนทนาธรรมตั้งคำถามว่า “นอกจากวัตถุทานในสังคหธรรม 4 แล้ว ยังจะมีอะไรอีก ขอให้ช่วยขยายความเพิ่มเติมด้วย” อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวว่า

หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีอะไรบ้าง

“…ต้องแปลคำนี้แล้วก็อธิบายว่าคืออะไร ไม่อย่างนั้นก็คงจะไม่มีใครเข้าใจ “สังคห” ก็คงจะเหมือนกับคำว่า สงเคราะห์ ที่เราใช้ในภาษาไทย “วัตถุ” ในภาษาบาลีใช้คำนี้บ่อยๆ เป็นเรื่องหรือเป็นสิ่ง หรือเป็นหัวข้อและธรรมะใดๆก็ตามจะใช้คำว่าวัตถุ เพราะฉะนั้นสังคหวัตถุเป็นธรรมะที่สงเคราะห์ หรือช่วยในการที่จะให้ทุกคนมีความสุขในชีวิตประจำวันซึ่ง มี 4 อย่างได้แก่ ทาน คือ การให้ 1 ปิยวาจา คือ คำพูดที่น่าฟัง 1​ อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ 1 สมานัตตา คือ การมีตนเสมอ 1 4 อย่างนี้ก็คงจะทำให้เรามีความสุขได้จริงๆ ถ้าเราเป็นผู้ที่มีสังคหวัตถุ แล้วคนอื่นได้รับสังคหวัตถุของเรา

              

หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีอะไรบ้าง

สังคหวัตถุที่ 1 ทาน คือ การให้ เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น ให้ได้ทั้งหมดเลยเป็นสิ่งของเล็กๆน้อยๆ ก็ได้ เป็นวิชาความรู้​ก็ได้ เป็นคำแนะนำก็ได้ ขณะใดที่มีจิตใจเป็นกุศลแล้วก็ให้สิ่งซึ่งตนสามารถจะให้กับคนอื่นได้ ถ้าเป็นคนที่มีความสามารถก็สามารถที่จะสอนหรือถ่ายเทความรู้นั้นให้คนอื่น ขณะนั้นก็เท่ากับให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เหมือนกัน แม้จะไม่ใช่วัตถุทานแต่การให้ความรู้​ความ​สามารถกับคนอื่นก็เท่ากับว่าเราสละสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้คนอื่นแล้ว คนที่ได้รับจะต้องมีความดีใจมาก เพราะฉะนั้นไม่ใช่การหวงแหนความรู้​อย่างในสมัยก่อน พอใครทำอะไรเก่งก็ไม่ยอมบอกใครเลย เพราะคิดว่าคนอื่นจะทำและอาจจะเอาไปเป็นอาชีพหรืออะไรก็ได้ แต่จริงๆ แล้วให้ไปเถอะเพราะเหตุว่าใครจะได้รับอะไรในชีวิตก็ขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่ได้ทำแล้วทั้งนั้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับว่าเราไปบันดาลให้ แต่ต้องอาศัยกรรมของเขาที่ได้ทำนั่นเอง

              

หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีอะไรบ้าง

สังคหวัตถุที่ 2 ปิยวาจา คือ คำพูดที่น่าฟัง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่างที่โบราณว่าปากเป็นเอกเลขยังรอง คือเป็นโท แสดงให้เห็นว่าความสุขของเราในวันหนึ่งจะขึ้นอยู่กับคำที่เราได้ยินได้ฟังมาก ถ้าเราได้ยินคำที่น่าฟังทำให้เรามีกำลังใจ รู้สึกสบายและอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไปก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะบางคนอาจมีความท้อแท้ด้วยโรคภัย ปัญหาชีวิต ความน่าเบื่อหน่าย เศรษฐกิจต่างๆ ก็เป็นความท้อแท้ได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราสามารถมีปิยวาจา คือคำที่ทำให้คนอื่นมีกำลังใจ สบายใจขึ้น ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นถ้าเราเคยเป็นคนพูดไม่น่าฟัง และบางคนก็อาจจะรู้สึกตัวแต่รู้สึกช้าไปแล้ว และติดนิสัยเคยใช้คำพูดนั้นบ่อยๆ แต่ถ้าเราได้ฟังประโยชน์ของปิยวาจา เราก็จะเห็นจริงว่า แทนที่เราจะพูดอย่างนั้นเราพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้แล้วประโยชน์ก็มีมากกว่าด้วย ในขณะนั้นจิตใจของเราก็เป็นกุศลและคนฟังก็สบาย มีคำพูดที่ฟังกันสบายกันทั้งวันก็คงจะดีกว่าการได้ยินคำที่ฟังแล้วไม่สบายใจ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นสิ่งที่สงเคราะห์ให้เราอยู่ด้วยความสุขในวันหนึ่งๆ

หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มีอะไรบ้าง

สังคหวัตถุที่ 3 อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือคนอื่นนั่นเอง เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ก็มีน้ำใจ ที่โต๊ะอาหาร ยื่นอาหารให้ รินน้ำให้ เห็นใครทำอะไรตกเก็บให้เลย นั่นก็คือการกระทำสิ่งที่มีประโยชน์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราประพฤติในชีวิตประจำวันที่เป็นประโยชน์นั้นมี ถ้าเรารู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิต แล้วก็ถ้าใครประพฤติอย่างนั้นกับเรา เราก็ชอบ และในขณะเดียวกันถ้าเราสามารถจะประพฤติตนเป็นประโยชน์ เพราะว่าชีวิตวันหนึ่งๆ ก็ล่วงไปทีละขณะ เรียกกลับคืนมาไม่ได้เลย แต่เราได้รับประโยชน์อะไรจากชีวิตขณะหนึ่งที่ล่วงไปแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าเราเสียเวลากับชีวิตที่เป็นอยู่โดยไม่ได้อะไรเลยมาก ขณะหนึ่งก็ผ่านไป ขณะหนึ่งก็ผ่านไป ได้อะไรจากแต่ละขณะที่ผ่านไป ถ้าเป็นสิ่งที่ดีเป็นกุศล เป็นประโยชน์เพราะเป็นเหตุว่าขัดเกลาจิตใจของเราให้เบาบางจากการเป็นคนเห็นแก่ตัว เป็นคนโลภมาก เป็นคนโกรธมาก มาเป็นผู้ที่สามารถจะเสียสละประโยชน์ของเราเองด้วยการช่วยเหลือคนอื่น

สังคหวัตถุที่ 4 สมานัตตา คือ การมีตนเสมอ การมีตนเสมอนี่มักจะมีปัญหาเสมอว่าจะเสมอกันได้อย่างไร มีนาย มีลูกจ้างกับนายจ้าง มีพี่กับน้องบ้าง มีพ่อกับแม่บ้าง มีฐานะตำแหน่งในราชการต่างๆ กันบ้าง หรือคนในบ้านของเราเองก็มีผู้รับใช้ช่วยเหลือบ้าง แล้วจะเสมอกันได้อย่างไร แต่ตามความจริงการเสมอที่นี้ควรเป็นการเสมอในคุณธรรมไม่ใช่ในสิ่งที่เรามองจากวัตถุภายนอก แต่ว่าจริงๆ แล้วถ้าเราเป็นผู้ที่เข้าใจทุกคนเหมือนกับที่เราเข้าใจเราเองว่า เราต้องการมีความสุข และไม่ได้ชอบมีความทุกข์ เพราะฉะนั้นเราเกิดมาอาจจะต่างกันในชาตินี้โดยสภาพ ฐานะ ความเป็นอยู่ ความรู้ ศักดิ์ตระกูล แต่จริงๆ ทุกคนมีใจที่เหมือนกันคือ มีโลภะก็โลภะชนิดเดียวกัน ชอบในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส มีโทสะ มีความขุ่นใจก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะว่าไปแล้วไม่ต่างกัน นอกจากความคิดของเราซึ่งถือว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง…แต่ตามความจริงถ้าทุกคนเข้าใจเรามีใจเสมอ ไม่มีการยกตนหรือว่าข่มคนอื่น หรือว่าดูหมิ่นดูถูกใครเลย และถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจใครได้ด้วยความจริงใจ มีความเป็นมิตร มีความเป็นคนเสมอจริงๆ ไม่มีการสูงต่ำในใจ สิ่งนั้นก็จะทำให้คนที่อยู่ใกล้เรามีความสุข แน่นอนที่สุด คือ เขาทำงานให้เราด้วยความรักเรา และเราก็ไม่ใช่ว่าถือว่าเขาทำงานให้เราโดยการที่ได้เงินจากเรา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเพื่อนมนุษย์ เป็นคนที่เกิดมาร่วมกัน แล้วก็มีสุขทุกข์ร่วมกัน อันนี้ก็คือ สังคหวัตถุ”

ตราบใดที่คนไทยยังเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาเพียงในนามเพราะไม่เคยศึกษาพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยการฟังธรรมตามกาล ก็ย่อมเป็นผู้ที่มีแต่ความเห็นแก่ตัว ไม่เคยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งมีแต่การประพฤติปฏิบัติทุจริตทั้งทางกายและวาจาเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการโดยไม่ละอายชั่วกลัวบาป ก็นับเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญที่คนในชาติจะร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างแท้จริง ในช่วงที่ประเทศชาติและประชาชนต้องเผชิญกับความยากลำบากในขณะนี้น้ำใจของประชาชนตัวเล็กๆ ได้ปรากฏให้เห็นจากการออกมาช่วยเหลือสังคมคนละไม้คนละมือเท่าที่จะกระทำกันได้ ภาคเอกชนซึ่งประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยต่างได้เสนอตัวร่วมทำงานกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพื่อฝ่าฟันวิกฤติของประเทศชาติในครั้งนี้ นับเป็นความหวังที่จะได้เห็นประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นจากพลังความดีของทุกภาคส่วนในสังคม

.......................................

คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ

โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”

หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 คืออะไร

หลักสังคหวัตถุ 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นหลักธรรมที่เป็น เครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน ได้แก่ 1) ทาน คือ การให้ การเสียสละ และการแบ่งปัน 2) ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน 3) อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์เพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น 4) สมานัตตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ

อัตถจริยา คือหลักธรรมข้อใด

อัตถจริยา คือประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น ด้วยการปฏิบัติตาม แนวทางดังต่อไปนี้มีความประพฤติชอบทางกาย เรียกว่า "กายสุจริต" สมานัตตา คือการเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอ ปลาย คุณธรรมขอนี้จะช่วยให้เราเป็นคนที่จิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้าง ความนิยมและไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

อัตถจริยามีอะไรบ้าง

4.3 อัตถจริยา (บำเพ็ญประโยชน์ คือ ช่วยเหลือรับใช้ ทำงานสร้างสรรค์ ประพฤติการที่เป็นประโยชน์ อย่างเลิศหมายถึง ช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง (สัทธาสัมปทา) ให้ประพฤติดีงาม (สีลสัมปทา) ให้มีความเสียสละ (จาคสัมปทา) และให้มีปัญญา (ปัญญาสัมปทา) — friendly aid; doing good; life of service)

มีหลักธรรมอะไรบ้าง

หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธมีหลักธรรมคำสอนที่พุทธศาสนิกชนยึดถือ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หลาย ประการ ได้แก่ อริยสัจ 4 ทิศ 6 ธรรมคุณ 6 สัปปุริสธรรม 7 อิทธิบาท 4 อบายมุข 6 เป็นต้น อริยสัจ 4.