ตัวอย่างที่มาและความสําคัญ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือภูมิหลัง หรือหลักการและเหตุผล เพื่อเล่าให้ผู้อ่านทราบถึง ความเป็นมาของการวิจัย โดยเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผลที่ต้องทำการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มักอ้างอิงหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่สำคัญ ๆ มาประกอบการบรรยาย ทำให้ผู้อ่านมองเห็นความจำเป็นและสภาพปัญหาของการวิจัย มักจะเขียนเป็นย่อหน้า ๆ ไม่ยืดยาวเกินไป พยายามให้เนื้อความต่อเนื่องกัน มักจะเริ่มจากแนวนโยบาย หลักการ แนวคิด สภาพปัญหา และการแก้ปัญหา
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัย โดยเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นมีส่วนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยโดยตรง สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนมี ดังนี้
1. เขียนให้ตรงประเด็น เหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย
2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำการวิจัย
3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ เป็นลำดับต่อเนื่อง
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาอาจมีแนวทางในการเขียนเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นปัญหา กล่าวถึงสภาพปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน หรือสภาพการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์

  1. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ระบุถึงสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์ปัญหานั้นๆ อย่างรอบคอบ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการวิจัย หากมีตัวเลขประกอบให้นำมาระบุด้วย
    3. ขั้นสรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ระบุวิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

ตัวอย่าง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการสื่อสารทางภาษา ……………..การอ่านเป็นการสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์ การอ่านภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน จะทำให้การสื่อสาร………………..ประกอบกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 ได้กำหนดความจำเป็นของการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร…………..กระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายในการ………………….กรมวิชาการจึงได้กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับโดย………..ดังคำกล่าวของ…..กล่าวว่า……………………………….ทำให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและการสื่อสารให้ถูกต้องจึงเป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยอีกทางหนึ่งด้วย
จากการศึกษาและสำรวจสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน…………โดยวิธีการ…………พบว่า…………………………เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้จัดทำ…………………………ขึ้น

ตัวอย่างที่มาและความสําคัญ

บทที่ 1
บทนำ

1.1. ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา

เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นสมควรต้องมีการศึกษาปัญหาพิเศษเรื่องนี้ โดยพยายามกำหนดปัญหาให้ชัดเจนทั้งในด้านการเกิดความรุนแรง การกระจายตัวของปัญหา หรือด้านอื่น ๆ ให้เข้าถึงข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสถิติ สอบถามความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแสวงหาเหตุผลที่น่าเป็นไปได้ จากทฤษฎีและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดย

  • ย่อหน้าแรก จะต้องอภิปรายถึงความเป็นมา ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย หรือข้อโต้แย้งของการทดลองที่ได้ทำการก่อนหน้า
  • ย่อหน้าที่สอง จะต้องอภิปรายถึงความสำคัญ ข้อดีของปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เราสนใจจะดำเนินการทำ ควรมีเอกสารหรือที่มาของปัญหาที่ที่อ้างอิงเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งสิ่งที่เราจะทำการทดลองนั้น
  • ย่อหน้าสุดท้าย ต้องอภิปรายสรุปเป้าหมายของการทดลองที่เราจะทำการทดลองโดยใช้ข้อมูลข้างต้นเพื่อแก้ปัญหาที่งานทดลองที่เราจะทำ และต้องทิ้งท้ายด้วยรูปแบบดังนี้ คือ
  • ดังนั้นปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขา…………....................…ฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษา.............................
    ………………………….............................……….…เพื่อมุ่งตอบคำถามสำคัญ……..ประการ คือ

    1.1.1. ..........................................................................................................

    1.1.2. ..........................................................................................................

    1.1.3. ..........................................................................................................

หมายเหตุ :

- แต่ละย่อหน้าจะเริ่มพิมพ์ที่ 0.5 นิ้ว

- จะต้องพิมพ์ให้แต่ละย่อหน้าห่างกันด้วยการใช้ "Ctrl + จ"


หลักในการเขียน
ในการเขียนที่มาและความสำคัญของหัวข้อการศึกษาค้นคว้า ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

– แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา

– แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล

– ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป

การเขียนที่มาและความสำคัญของประเด็นศึกษา คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

ส่วนที่ 1 คำนำ :

เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :

อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำประเด็นศึกษานี้

ส่วนที่ 3 สรุป :

สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1

ตัวอย่างที่มาและความสำคัญ

การทำบัญชีครัวเรือน

ด้วยกระแสพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการทำนาปี และประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมใกล้บ้าน ฐานะส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ยากจน ดังนั้น ผู้จัดทำจึงหาแนวทางจัดทำโครงงาน”การทำบัญชีครัวเรือน” เพื่อปลูกฝังประชาชนในเรื่องการประหยัดอดออมอย่างยั่งยืน

เครื่องพ่นน้ำเอนกประสงค์

ปัจจุบันเครื่องพ่นน้ำที่ใช้กันอยู่ สำหรับใช้พ่นยาหรือพ่นน้ำรดต้นไม้ มักจะมี 2 แบบ คือแบบชนิดใช้เครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักมากทำให้ลำบากต่อการใช้ อีกชนิดหนึ่งใช้วิธีสะพายไว้ด้านหลังต้องใช้มือขยับคันโยกที่ถังตลอดเวลาทำให้เกิดแรงดันน้ำพ่นออกมา การใช้เครื่องยนต์ก่อให้เกิดการเผ่าไหม้ของเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ชนิดที่ต้องใช้แรงงานโดยใช้มือโยกอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดอาการเมื่อยล้ากับผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ทำให้งานทำได้น้อย

ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องพ่นน้ำ โดยไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ ไม่เกิดมลพิษทางอากาศ และเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์ โดยใช้แบตเตอรี่ มาเป็นตัวช่วยให้ทำงานตามต้องการ

“เครื่องพ่นน้ำเอนกประสงค์” สามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศ ช่วยให้การใช้แรงงานมนุษย์ลดดง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

http://teema10.blogspot.com/2009_11_01_archive.html

อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม

น้ำมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านอุปโภคและบริโภคแต่ในปัจจุบันมนุษย์ใช้น้ำอย่างไม่คำนึงถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเห็นแก่ตัว มักง่าย เช่น ใช้ในการชำระล้างร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้แล้วก็ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยไม่มีการกรองหรือการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ  ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ  จากข้อความข้างตนเป็นการยกตัวอย่างบางส่วนของการกระทำของมนุษย์ในปัจจุบันเท่านั้น  จะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยตรงเป็นส่วนใหญ่ซึ่งถ้าไม่มีการกรองน้ำเสียหรือการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ทั้งที่อยู่ในน้ำและบนบก ทำให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นลดลง สัตว์น้ำขาดออกซิเจนตายแล้วทำให้น้ำเน่าเสีย มนุษย์ก็ต้องรับประทานสัตว์น้ำที่มีสารเคมีเจือปนอยู่ในตัวสัตว์น้ำ เป็นต้น เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ โดยการบำบัดน้ำให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์จึงได้คิดประดิษฐ์อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ในสังคมยุคปัจจุบัน และยังรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงไว้

http://www.thaigoodview.com/node/32240

ไข่หวาน

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ไข่เป็นอาหารหลักของคนเรามานาน  ไข่มีมากมายตามท้องตลาดและสามารถทำอาหารได้ง่าย  จึงมีการคิดค้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่ธรรมดาเปลี่ยนมาเป็นไข่เค็ม  ไข่เยี่ยวม้า  เป็นที่มากมาย แต่ยังไม่มีใครคิดริเริ่มทำไข่หวาน  คณะผู้จัดทำ จึงริเริ่มคิดการทำไข่หวานโดยต่อยอดจากไข่เค็มที่ทำมาจากการดองไข่ให้เค็ม มาเป็นใช้น้ำตาลในการแช่อิ่มแทนและเราคิดว่าถ้าเราได้ใส่น้ำใบเตยเข้าไปก็จะทำให้ไข่ มีรสหวานหอมน่ารับประทานและมีประโยชน์ยิ่งขึ้น เพราะใบเตยหรือน้ำใบเตยมีประโยชน์ในการช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและยังช่วยบำรุงหัวใจ และคณะผู้จัดทำ ยังได้ออกแบบโลโก้บรรจุภัณฑ์เพื่อผลิตภัณฑ์ของคณะผู้จัดทำ และให้ชื่อว่า “ ไข่หวานเมืองสองแคว เพื่อเป็นที่รู้จักและเป็นของฝากของจังหวัดพิษณุโลกต่อไป

http://www.yangtalad.ac.th/worknid/worknid52/worknid50752/wessaphu/index3.htm