โครงงาน สํา ร้ ว จ. ผล ไม่

โครงงาน

วิชา คอมพิวเตอร์

เรื่อง   การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น

เสนอ

คุณครู  จิราพร           ชูรัตน์

                                        จัดทำโดย

เด็กหญิงโสภิดา   สมบูรณ์                                  เลขที่  26

เด็กหญิงพรกมล   บุญศรี                                  เลขที่  21

เด็กหญิงภาวณี     กองทอง                               เลขที่  23

เด็กหญิงสิรินภา    บุญศรี                                เลขที่  25

เด็กหญิงจุฑานาถ   บุญแต่ง                              เลขที่  16

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

โรงเรียนโพนงามพิทยาคาร

                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28

   บทคัดย่อ

ในปัจจุบันคนไทยเริ่มหันมาดูแลสุขภาพกันมาขึ้น ซึ้งการดูแลสุขภาพนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้สมุนไพรหรือผักผลไม้หรือดอกไม้ที่หาได้ไม่ยากในวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ นำมาปรุงแต่งให้เป็นเครื่องดื่ม โดยยังคงคุณค่าตัวยาในการส่งเสริมสุขภาพหรือรักษาโรคไว้เช่นเดิม น้ำดื่ม สมุนไพร คือส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อให้ยั่งยืนคู่สังคมไทย และสภาพแวดล้อมไทยต่อไป

              น้ำเพื่อสุขภาพ ในปัจจุบัน การบริโภค น้ำเพื่อสุขภาพมียอดเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพราะ ทุกคนตระหนักแล้วว่าเครื่องดื่ม ประเภทนี้ ไม่เพียงช่วยดับกระหายเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารมากมายด้วย ในประเทศไทยจำนวนคนที่ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพเป็นประจำมีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีฐานะดี น้ำเพื่อสุขภาพอุดมไปด้วย วิตามิน ซีและเอ ซึ่งมีประโยชน์ แก่ร่ายกายในการป้องกันโรค บางประเทศนั้นให้ความสำคัญของการ กินผักผลไม้ มากในทวีปเอเชีย เช่น ฮ่องกง รัฐบาล มีการรณรงค์ ให้ประชาชนรับประทานผลไม้สามส่วนและผักอีกสองส่วนเป็นประจำทุกวัน สิ่งที่เห็นได้ว่า ประชาชนให้ความสำคัญต่อการดื่มน้ำผักผลไม้มากขึ้น เช่น บาร์ หลายแห่งหันมาจำหน่ายน้ำผลไม้ด้วย แสดงว่าคนหนุ่มสาวกำลังนิยมและดื่มน้ำเพื่อสุขภาพมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาน้ำเพื่อสุขภาพไม่เติมน้ำตาลมากขึ้น คนทั่วไปชอบน้ำเพื่อบรรจุกระป๋อง เพราะความสะดวกเก็บไว้ได้นานราคาย่อมเยาและรสชาติอร่อยคนทั่วไปเริ่มซื้อน้ำผลไม้มารับประทานที่บ้าน หลายคนตระหนักว่าน้ำเพื่อสุขภาพสำคัญต่อภาวะโภชนาการดังนั้นในแต่ละวัน ผู้คนจึงดื่มน้ำผลไม้มากพอสมควร

กิตติกรรมประกาศ

รายงานฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต้องขอขอบพระคุณ คุณครูจิราพร ชูรัตน์ ครูผู้สอนที่ให้ความรู้และคำแนะนำ ตรวจทานและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน    เพื่อให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด แลเพื่อนๆทุกคนที่ช่วยกันค้นคว้าหาข้อมูลในการทำรายงานครั้งนี้

ขอขอบคุณพระคุณครอบครัวคณะผู้จัดทำ ที่อยู่เบื้องหลังในความสำเร็จ ได้ให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจตลอดมา

สารบัญ

                                                                                                                                         หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                ก

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                 ข

บทที่ 1   บทนำ                                                                                            1-2

-      ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

-      วัตถุประสงค์ของโครงงาน

-       สมมติฐานของโครงงาน

-       ขอบเขตของโครงงาน

-      ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-        นิยามศัพท์

บทที่ 2      เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง                                                              3-7

-     ความหมายของสมุนไพร

-     ลักษณะของสมุนไพร

-     ประเภทยาสมุนไพร

-     การใช้สมุนไพร

-    วิธีปรุงยาสมุนไพร

บทที่ 3   ขึ้นตอนการดำเนินการ                                                                      8

วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้

-   ขั้นตอนการดำเนินงาน                            

บทที่ 4   ผลการดำเนินงาน                                                                                9            

-    การจำแนกกลุ่มยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ

-      กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

-     กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

-      กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง

บทที่ 5         สรุป อภิปรายผลและข้อเสนะแนะ

-       วัตถุประสงค์ของโครงงาน

-       ขอบเขตของโครงงาน

-        วิธีการดำเนินโครงงาน

-        สรุปผลการศึกษา

-         ข้อเสนอแนะ

                                                            บทที่ 1

       บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

              กินอยู่อย่างไทย ตามแบบภูมิปัญญาไทยเพื่อบำรุงสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรหรือผักผลไม้หรือดอกไม้ที่หาได้ไม่ยากในวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ นำมาปรุงแต่งให้เป็นเครื่องดื่ม โดยยังคงคุณค่าตัวยาในการส่งเสริมสุขภาพหรือรักษาโรคไว้เช่นเดิม น้ำดื่ม สมุนไพร คือส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อให้ยั่งยืนคู่สังคมไทย และสภาพแวดล้อมไทยต่อไป

              น้ำเพื่อสุขภาพ ในปัจจุบัน การบริโภค น้ำเพื่อสุขภาพมียอดเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพราะ ทุกคนตระหนักแล้วว่าเครื่องดื่ม ประเภทนี้ ไม่เพียงช่วยดับกระหายเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารมากมายด้วย ในประเทศไทยจำนวนคนที่ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพเป็นประจำมีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีฐานะดี น้ำเพื่อสุขภาพอุดมไปด้วย วิตามิน ซีและเอ ซึ่งมีประโยชน์ แก่ร่ายกายในการป้องกันโรค บางประเทศนั้นให้ความสำคัญของการ กินผักผลไม้ มากในทวีปเอเชีย เช่น ฮ่องกง รัฐบาล มีการรณรงค์ ให้ประชาชนรับประทานผลไม้สามส่วนและผักอีกสองส่วนเป็นประจำทุกวัน สิ่งที่เห็นได้ว่า ประชาชนให้ความสำคัญต่อการดื่มน้ำผักผลไม้มากขึ้น เช่น บาร์ หลายแห่งหันมาจำหน่ายน้ำผลไม้ด้วย แสดงว่าคนหนุ่มสาวกำลังนิยมและดื่มน้ำเพื่อสุขภาพมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาน้ำเพื่อสุขภาพไม่เติมน้ำตาลมากขึ้น คนทั่วไปชอบน้ำเพื่อบรรจุกระป๋อง เพราะความสะดวกเก็บไว้ได้นานราคาย่อมเยาและรสชาติอร่อยคนทั่วไปเริ่มซื้อน้ำผลไม้มารับประทานที่บ้าน หลายคนตระหนักว่าน้ำเพื่อสุขภาพสำคัญต่อภาวะโภชนาการดังนั้นในแต่ละวัน ผู้คนจึงดื่มน้ำผลไม้มากพอสมควร

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

2. เพื่อส่งเสริมให้คนหันมารักสุขภาพ

3. เพื่อต้องการศึกษาความเป็นมาของสมุนไพรไทย

4. เพื่อศึกษาประโยชน์ของผัก ผลไม้ และดอกไม้ชนิดต่างๆของไทย

1.3 สมมติฐานของโครงงาน

              สามารถเรียนรู้ถึงประโยชน์ และโทษของผัก ผลไม้ไทย และเพื่อที่จะสร้างผลงานออกมาให้เป็นข้อคิดที่ดีและเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยได้

1.4 ขอบเขตของโครงงาน

1. ศึกษาค้นคว้าสมุนไพรไทย

2. ศึกษาค้นคว้าการทำสมุนไพรไทย

3. ศึกษาความเป็นมาของสมุนไพร

4.ศึกษาตามโครงงานสมุนไพร

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้คนที่หันกลับมาดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น

2.น้ำผักและผลไม้ช่วยให้สุขภาพดี

3. ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของสมุนไพรชนิดนั้นๆ

1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ

สมุนไพร หมายถึง ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ

ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย

ผลไม้ หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น  กล้วย  มะม่วง รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้

                ดอกไม้ หมายถึง ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์ เรียกเต็มว่าดอกไม้ ลวดลายที่เป็นดอกเป็นดวงตามผืนผ้าเป็นต้น (ปาก) ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือชําระหนี้ไม่ถูกต้อง เรียกเต็มว่า ดอกเบี้ย ลักษณนามของสิ่งของบางอย่าง เช่น ข้าวโพดดอกหนึ่ง สว่านหนึ่งดอก.(โบ) ก. ทํา เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนําพารู้. (ลอ).ว. คําประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทําไม่ได้ดอก (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้วโลมคืน. (ม. คําหลวง ชูชก).

บทที่ 2

                                                 เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวานกานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ

ความหมาย

คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

ลักษณะ

พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้

รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด

สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ

กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร

รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น

ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

ประเภทของยาเภสัชวัตถุ

ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น

บทบาททางเศรษฐกิจ

สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก

การศึกษาเพิ่มเติม ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

การเก็บรักษาสมุนไพร

1.ควรเก็บยาสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น สถานที่เก็บสมุนไพรนั้นต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อขับไล่ความอับชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในสมุนไพรได้

2.สมุนไพรที่จะเก็บรักษานั้นต้องแห้งไม่เปียกชื้น หากเสี่ยงต่อการขึ้นราได้ ควรนำสมุนไพรนั้นออกมาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ

3.ในการเก็บสมุนไพรนั้นควรแยกประเภทของสมุนไพรในการรักษาโรค เพื่อป้องกันการหยิบยาผิดซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้

4.ควรตรวจดูความเรียบร้อยในการเก็บสมุนไพรบ่อย ๆ ว่ามีสัตว์หรือแมลงต่างๆ เข้าไปทำลายหรือก่อความเสียหายกับสมุนไพรที่เก็บรักษาหรือไม่ ถ้ามีควรหาทางป้องกันเพื่อรักษาคุณภาพของสมุนไพร

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้

1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น

2.ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้

3.ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้

4.ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง

5.ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น

วิธีการปรุงยาสมุนไพร โดย แพทย์หญิงนันทพร นิลวิเศษ และคนอื่นๆ

          ตำรายาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิธีปรุงยาไว้ 24 วิธี แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ 25 คือ วิธีกวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วย

          ในจำนวนวิธีปรุงยาเหล่านี้มีผู้อธิบายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช้บ่อยๆ  ไว้ดังนี้คือ

ยาต้ม

          การเตรียม ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ 1 กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลมยาวขนาด 1 ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง นำมาขดมัดไม่ได้ให้หั่นเป็นท่อนยาว 5-6 นิ้วฟุต กว้าง ๑/๒นิ้วฟุต แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด 1 กำมือ

          การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย(ประมาณ 3-4 แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง 1 หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป 1 แก้ว (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน 10-30 นาที แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้นหรือเจือจาง ยาต้มนี้ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ

ยาชง

          การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง  ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม

          การชง ใช้สมุนไพร 1 ส่วน เติมน้ำเดือดลงไป 10 ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้  15-20 นาที

ยาดอง

          การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แหลกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวมๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ

          การดอง เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา  ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน

ยาปั้นลูกกลอน

          การเตรียม หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย

          การปั้นยา ใช้ผงยาสมุนไพร 2 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน  ตั้งทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง  เพื่อให้ยาปั้นได้ง่ายไม่ติดมือ  ปั้นยาเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้ง จากนั้นอีก 2 สัปดาห์   ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกทีเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้นยา

ยาตำคั้นเอาน้ำกิน

          การเตรียม นำสมุนไพรสดๆ มาตำให้ละเอียดหรือจนกระทั่งเหลว   ถ้าตัวยาแห้งไปให้เติมน้ำลงไปจนเหลว

          การคั้น คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำไว้นั้นมารับประทาน  สมุนไพรบางอย่าง เช่น กระทือกระชายให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อนจึงค่อยตำ

ยาพอก

          การเตรียม ใช้สมุนไพรสดตำให้แหลกที่สุดให้พอเปียกแต่ไม่ถึงกับเหลว ถ้ายาแห้งให้เติมน้ำหรือเหล้าโรงลงไป

          การพอก เมื่อพอกยาแล้วต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ   เปลี่ยนยาวันละ 3 ครั้ง

ศัพท์ที่ใช้ในการปรุงยา

          ในการปรุงยาผู้ปรุงยังจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับคำบางคำ ได้แก่

          ทั้งห้า หมายถึง ต้น ราก ใบ ดอก และผล

          ส่วน หมายถึง ส่วนในการตวง (ปริมาตร)ไม่ใช่การชั่งน้ำหนัก

          กระสายยา หมายถึง ตัวละลายยา เช่น น้ำ และน้ำปูนใส เป็นต้น

          การสะตุ หมายถึงการแปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่น เกลือ สารส้ม หรือเครื่องยาให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทำให้สลายตัวด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งเป็นมลทินระเหยหมดไปหรือเพื่อให้เครื่องยามีฤทธิ์อ่อนลงโดยอาจเติมสารบางอย่าง เช่น น้ำมะนาว น้ำมะลิ เป็นต้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องยาหรือสมุนไพรนั้นๆ

          ประสะ มีความหมาย 3 ประการคือ

          1. การทำความสะอาดตัวยา หรือการล้างยา เช่น การทำความสะอาดเหง้าขิง เหง้าข่า

          2. การใช้ปริมาณยาหลักเท่ากับยาทั้งหลายเช่น ยาประสะกะเพรา มีกะเพราเป็นหลัก  และตัวยาอื่นๆ อีก ๖ ชนิด การปรุงจะใช้กะเพรา 6 ส่วน ตัวยาอื่นๆ อย่างละ 1 ส่วน รวม 6 ส่วนเท่ากะเพรา

          3. การทำให้พิษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการของตัวยาอ่อนลง โดยที่ตัวยาที่ต้องการคงสภาพเดิม เช่น ประสะมหาหิงคุ์ หมายถึงการทำให้กลิ่นเหม็นของมหาหิงคุ์ลดลง โดยใช้น้ำใบกะเพราต้มเดือดมาละลายมหาหิงคุ์

          ใบเพสลาด หมายถึง ใบไม้ที่จวนแ

กำหนดอายุของยา

          จะเห็นว่าการปรุงยาไทย มักใช้สมุนไพรหลายชนิด และใช้วิธีการต่างๆ  ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลในการรักษา และคำนึงถึงความปลอดภัยไปพร้อมกัน จึงกำหนดอายุของยาไว้ด้วยดังนี้

          1. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุได้ประมาณ 3-6 เดือน

          2. ยาผงที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุได้ระหว่าง 6-8 เดือน

          3. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้อย่างละเท่ากัน มีอายุได้ประมาณ 5-6 เดือน

          อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่ง หรือลูกกลอนมีกำหนดอายุไว้ดังนี้

          1. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ  มีอายุประมาณ 6-8 เดือน

          2. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ  มีอายุประมาณ 1 ปี

          3. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของพืช  รวมกับแก่นไม้ มีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง

          ทั้งยาเม็ดและยาผง ถ้าเก็บรักษาไว้ดีจะมีอายุยืนยาวกว่าที่กำหนดไว้ และถ้าเก็บรักษาไม่ดีก็อาจเสื่อมเร็วกว่ากำหนดได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยา

          1. ถ้าไม่ได้บอกไว้ว่าให้ใช้สมุนไพรสดหรือแห้ง ให้ถือว่าใช้สมุนไพรสด

          2. ยาที่ใช้กินถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีต้ม

          3. ยาที่ใช้ภายนอกร่างกายถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีตำพอก

          4. ยากิน ให้กินวันละ

             3 ครั้งก่อนอาหาร

          5. ยาต้ม ให้กินครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว ยาดองเหล้า และยาตำคั้นเอาน้ำกินครั้งละ  1/2 - 1ช้อนโต๊ะ  ยาผง  กินครั้งละ  1-2  ช้อนชา ยาปั้นลูกกลอนกินครั้งละ 1-2 เม็ด (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร) และยาชง ให้กินครั้งละ 1 แก้ว

บทที่ 3

ขั้นตอนการดำเนินการ

วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

1. กล้องดิจิตอล

2. เอกสารเกี่ยวกับสมุนไพรต่างๆ

3. เอกสารการทำสมุนไพร

4. ดินสอ ปากกา กระดาษ

5. คอมพิวเตอร์  เครื่องปริ้น

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

3. ศึกษาการพัฒนาขอสมุนไพรไทยในอดีตและปัจจุบัน

4. จัดทำข้อเสนอโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา

5. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาทราบซึ่งครูที่

ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น

6. จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอเป็นรูปเล่ม

                                                         บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

ในการจัดทำโครงงานสมุนไพรไทยจากผัก ผลไม้  ผู้จัดทำโครงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรไทย อีกทั้งยังสอดแทรกสาระความรู้ในเรื่องต่าง ๆเกี่ยวกับสุขภาพ รวมทั้งเพื่อปลูกฝังการรักษาสุขภาพ นำเสนอผลงานออกมาเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการรักษาสุขภาพ และโรคภัยไข้เจ็บได้ จากการดำเนินการดังกล่าว มีผลการดำเนินงานดังนี้

                                          กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

     เสาวรส

โครงงาน สํา ร้ ว จ. ผล ไม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Passiflora laurifolia  L.

ชื่อสามัญ :  Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla

วงศ์ :  Passifloraceae

ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง

สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด

กระเจี๊ยบ

โครงงาน สํา ร้ ว จ. ผล ไม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ :  Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว

 ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน

          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป

                กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

    กุ่มบก

โครงงาน สํา ร้ ว จ. ผล ไม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

วงศ์ :  Capparaceae

ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ

สรรพคุณ :

ใบ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก

เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ

กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา

แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง

ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม

 ขมิ้น

โครงงาน สํา ร้ ว จ. ผล ไม่

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Curcuma longa  L.

ชื่อสามัญ :   Turmaric

ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)

วงศ์ :   Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง

สรรพคุณ :

1.   เป็นยาภายใน

- แก้ท้องอืด

- แก้ท้องร่วง

- แก้โรคกระเพาะ

2.   เป็นยาภายนอก

- ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง

- ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

1.             เป็นยาภายใน

เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

2.             เป็นยาภายนอก

เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก

                                    กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง

             ทองพันชั่ง

โครงงาน สํา ร้ ว จ. ผล ไม่

ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)

วงศ์ :   ACANTHACEAE

ชื่อสามัญ :    White crane flower

ชื่อพ้อง : R. communis  Nees

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้ ส่วนที่ใช้ : ราก  ทั้งต้น   ต้น  ใบ

สรรพคุณ :

ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง

ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ

ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง

ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง

นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ

ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค

ทั้งต้น  - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน

ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนังใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ

นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ

- รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว

- แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก

1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ

2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก

ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ

1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก

ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย

2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น

  นมอิน

 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Catharanthus roseus  (L.) G.Don

ชื่อสามัญ :  Cape Periwinkle, Bringht Eye, Indian Periwinkle, Madagascar Periwinkle, Pinkle-pinkle

วงศ์ :   Apocynaceae

ชื่ออื่น :  นมอิน (สุราษฎร์ธานี); ผักปอดบก (ภาคเหนือ); แพงพวยบก, แพงพวยฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-0.9 เมตร โคนต้นค่อนข้างแข็ง ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 5-7 เซ็นติเมตร ปลายมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนมนสีเขียวเข้มเป็นมันก้านและเส้นกลางใบมีสีขาว ดอก มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ชมพู ฯลฯ ออกตามซอกใบ 1-3 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดยาว 2.5-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล เป็นฝักยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้

ส่วนที่ใช้ :  ใบ ราก ทั้งต้นสดหรือแห้ง

สรรพคุณ :ใบ

- บำรุงหัวใจ ช่วยย่อยราก

- แก้บิด ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือด

- รักษามะเร็งในเม็ดเลือดทั้งต้น

- แก้เบาหวาน ลดความดัน

- รสจืด เย็นจัด ใช้แก้ร้อน

- ขับปัสสาวะ แก้บวม ถอนพิษสำแดง ถอนพิษต่างๆ แก้ไอแห้งๆ เกิดจากร้อน

- แก้อาการตัวเหลืองอันเกิดจากพิษสุรา

- แก้โรคหนองใน หัด ผื่นคันและแผลอักเสบอื่นๆ

บทที่ 5

                                        สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

5.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

             1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

             2. เพื่อส่งเสริมให้คนหันมารักสุขภาพ

             3. เพื่อต้องการศึกษาความเป็นมาของสมุนไพรไทย

              4. เพื่อศึกษาประโยชน์ของผัก ผลไม้ และดอกไม้ชนิดต่างๆของไทย

5.2 ขอบเขตของโครงงาน

             1. ศึกษาค้นคว้าสมุนไพรไทย

             2. ศึกษาค้นคว้าการทำสมุนไพรไทย

             3. ศึกษาความเป็นมาของสมุนไพร

              4.ศึกษาตามโครงงานสมุนไพร

5.3วิธีการดำเนิน

1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

3. ศึกษาการพัฒนาขอสมุนไพรไทยในอดีตและปัจจุบัน

4. จัดทำข้อเสนอโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา

5. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาทราบซึ่งครูที่

ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น

6. จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอเป็นรูปเล่ม

5.1 สรุปผลการศึกษา

                จากการศึกษาทดลองโครงงานเรื่อง สมุนไพรไทยในปัจจุบัน โดยแยกการศึกษาดังนี้

1.  สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากไม่รักษาสุขภาพ ไม่ออกกำลังกาย และที่สำคัญกินอาหารที่มีไขมันมากจนเกินไป จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยก็มีสมุนไพรไทยที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดนั้นก็คือ เสาวรส ซึ่งเสาวรสเป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ผลเป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลางอีกทั้งยังมี กระเจี๊ยบ ซึ่งกระเจี๊ยบมีลักษณะไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบกระเจี๊ยบได้รับความนิยมมากในเรื่องของน้ำกระเจี๊ยบ ซึ่งคนไทยจะนำมาต้มแล้วนำไปดื่ม และใบยังสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะอีกด้วย

2.   สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ผลการศึกษาพบว่า คนไทยมักจะมีปัญหากับผิวหนังเป็นจำนวนมาก ซึ่งผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และถูกเสียดสี อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่แผลพุพอง (impetiongo) เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง    ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา ซึ่งประเทศไทยก็มีสมุนไพรไทยที่ช่วยรักษานั้นก็คือ กุ่มบก ซึ่งกุ่มบกเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ซึ่งใบจะช่วยในการขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก และแก่นยังช่วยแก้ริดสีดวง ผอม เหลือง และยังมีขมิ้น ซึ่งขมิ้นสามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป ขมิ้นยังสามารถเป็นยาภายในแก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง และแก้โรคกระเพาะอีกด้วย

3. สมุนไพรแก้มะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกว่า 100,000 รายในจำนวนนั้นกว่า 60,000 รายที่เสียชีวิตถือเป็นโรคร้ายแรงที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที โรคมะเร็ง คือ การกลายพันธุ์ในยีนส์ซึ่งปกติในร่างกายเรามีเซลล์อยู่หลายชนิด  แต่ละชนิดเมื่อเราอายุมากขึ้นจะมีเซลล์บางส่วนตายไปจึงเกิดการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องอาศัยแม่แบบจากเซลล์เดิมเป็นต้นแบบ เช่น ตับแท้จริงแล้วตับมีอายุไม่ถึง 4 เดือน ผิวหนังมีอายุแค่ 21 วันก็ตาย เลือดก็มีอายุประมาณ 90 วัน ในระหว่างที่ใช้แม่แบบเดิมนานเข้าก็เกิดการผิดพลาดเนื่องจากตัวแม่แบบโดนโจมตี  ซึ่งอาจถูกโจมตีโดยไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รังสี อย่างเช่นคนที่ขึ้นเครื่องบินบ่อยๆ ก็มีรังสีคอสมิก และสมุนไพรไทยที่ช่วยแก้โรคมะเร็งก็คือ ทองคันชั่ง มีลักษณะเป็นดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามซอก ซึ่งใบรากช่วยแก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง และยังมีนมอิน นมอินเป็นไม้ล้มลุก ดอกจะมีหลายสีเช่นสีขาว สีชมพู  ซึ่งใบช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยย่อย และรากช่วยแก้บิด ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือดรักษามะเร็งในเม็ดเลือด

5.4  ข้อเสนอแนะ

   1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผัก ผลไม้ และดอกไม้มากกว่านี้

   2. ควรมีศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและรอบคอบ

   3. ควรมีการจำแนะสมุนไพรรักษาโรคมากกว่านี้