วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระบรมสาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๓ ในราชวงศ์จักรี พระองค์มีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่าหม่อมเจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะนั้น พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร ) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย ) ทรงเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำ ๑๐.๓๐ น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังกรุงธนบุรี (บ้างก็เรียกว่าพระราชวังเดิม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระองค์ทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ และทรงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย (พระนามเต็มของพระองค์ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แล้ว) ของพระองค์ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (บรรดาศักดิ์เดิมของพระองค์ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในแผ่นดินสมเด็จพระชนกนาถพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒)

เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงกำกับราชการกรมท่า (ในรัชกาลที่ ๒) ขณะนั้น พระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง เหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการค้าไทย พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย และพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ปางห้ามญาติ ในรัชกาลที่ ๓ สร้างโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาไลย (พระนามเดิมเจ้าจอมมารดาเรียม ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม (บ้างก็เรียกพระราชวังกรุงธนบุรี ) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่าหม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ

ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบผนวชตามพระราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) สมเด็จพระอัยยิกาธิราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ จัดพิธีผนวชให้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จออกในพิธีผนวชครั้งนี้ด้วย ถึงแม้ว่า พระองค์จะมีพระชนมายุถึง ๗๒ พรรษาแล้วก็ตาม เมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ขณะพระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสถาปนาขึ้นดำรงพระยศเจ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่าพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เนื่องด้วยพระองค์มีพระปรีชาสามารถในหลายแขนงวิชา ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา อักษรศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ทำให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้กำกับราชการโดยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกรมต่าง ๆ เช่น กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และยังทรงทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีความแทนพระองค์อยู่เสมอ จึงทำให้ทรงรอบรู้งานราชการต่าง ๆ ของแผ่นดินเป็นอย่างดี

ครองราชสมบัติ

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระบรมรูปในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (Nangklao) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๓ (Rama III) แห่งราชวงศ์จักรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย (อังกฤษ: Thai wax museum) จังหวัดนครปฐม

เมื่อถึงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคตโดยมิได้ทรงมอบพระราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสพระองค์ใด เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมหารือแล้วลงมติกันว่า ควรถวายพระราชสมบัติให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สืบราชสมบัติแทนเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงมีความรู้ความชำนาญทางด้านการปกครองเป็นอย่างดี เนื่องด้วยสนองพระเดชพระคุณในรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาเป็นเวลานาน

พระปรมาภิไธย

เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏ ว่าพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็นพระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกพระนามโดยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) มีประกาศให้เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) ได้ถวายพระราชสมัญญาว่าพระมหาเจษฎาราชเจ้า (หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ) และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนถึงปัจจุบัน

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระราชลัญจกร ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นรูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิมทับ ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี

ลำดับพระบรมนามาภิไธย และพระปรมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ - พ.ศ. ๒๓๔๙: หม่อมเจ้าชายทับ
  • พ.ศ. ๒๓๔๙ - ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒: พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
  • ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ - พ.ศ. ๒๓๕๖: พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
  • พ.ศ. ๒๓๕๖ - ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗: พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  • ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ - ปัจจุบัน: พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปรมาภิไธย หรือ พระนามเต็ม เมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษก)
  • พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่)
  • พ.ศ. ๒๔๕๙: พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามใหม่)
  • พ.ศ. ๒๕๔๑: พระมหาเจษฎาราชเจ้า (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงถวายพระราชสมัญญา)
  • พ.ศ. ๒๕๕๘: พระบิดาแห่งการค้าไทย พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย และพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย (ตามมติคณะรัฐมนตรี ถวายพระราชสมัญญา)

สวรรคต

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระบรมราชานุสาวรีย์ในรัชกาลที่ ๓ ที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน องค์ข้างตะวันตกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษา ๒ วัน รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ๒๖ ปี ๘ เดือน ๑๒ วัน

พระปรีชาสามารถ

พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่าง ๆ หลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน พาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ฉลาดหลักแหลม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการต่างพระเนตรพระกรรณมาตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ก็ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นำความมั่นคงก้าวหน้ามาสู่บ้านเมืองนานัปการ และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปวงชนชาวไทยจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในบริเวณลานเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำเนิน

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง เหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการค้าไทย พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย และพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย

พระราชกรณียกิจ

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

วินิจฉัยเภรี กลองใบใหญ่สำหรับให้ประชาชนที่ต้องการร้องทุกข์ถวายฎีกามาตี

ด้านการปกครอง

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏีกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น

ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองใบใหญ่ที่เจ้าพระยาพระคลัง นำมาถวายไปตั้งไว้ที่ทิมดาบ กรมวังลั่นกุญแจ พระราชทานนามว่าวินิจฉัยเภรี สำหรับให้ประชาชนที่ต้องการร้องทุกข์ถวายฎีกามาตี แล้วกรมวังก็จะไขกุญแจให้ เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็จะรับตัวมาสอบถามเรื่องราวแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล จากนั้นจึงมอบหมายให้ขุนนางคอยดูแลชำระความ และคอยสอบถามอยู่เสมอมิให้ขาด ทำให้ขุนนางไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อหน้าที่ได้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ดังกล่าว ประชาชนจึงได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมาก

ด้านเศรษฐกิจ

ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นเวลาที่บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะยากจนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ประกอบกับการที่กรุงศรีอยุธยาสูญเสียทรัพย์สินจากการพ่ายแพ้สงคราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นหลายอย่างเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง เช่น จังกอบ อากร ฤชา ส่วย ภาษีเงินค่าราชการจากไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นต้น

การเก็บภาษีอากรนี้ทรงตั้งระบบการเก็บภาษีโดยให้เอกชนประมูลรับเหมาผูกขาดไปเรียกเก็บภาษีจากราษฎรเอง เรียกว่าเจ้าภาษี หรือนายอากร ซึ่งส่วนใหญ่ชาวจีนจะเป็นผู้ประมูลได้ การเก็บภาษีด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดผลดีหลายประการ กล่าวคือ นอกจากจะสามารถเก็บเงินเข้าพระคลังได้สูงแล้ว ยังส่งผลดีด้านการเมือง คือ ทำให้ชาวจีนที่เป็นเจ้าภาษีนายอากรนั้น มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และมีความผูกพันกับแผ่นดินไทยมากขึ้น

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

ภาพวาด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระองค์ทรงกำกับกรมท่าและทำการค้าด้วยเรือสำเภาหลวง

นอกจากนี้รายได้ของรัฐอีกส่วนหนึ่งยังได้มาจากการค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยไทยได้ส่งเรือสินค้าเข้าไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญการส่งเรือสินค้าออกไปค้าขายมาตั้งแต่ครั้งดำรงยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ จนสมเด็จพระบรมชนกนาถตรัสเรียกพระองค์ว่าเจ้าสัว และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติก็ได้ทรงสนับสนุนการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่น เพื่อใช้ในการค้าจำนวนมาก รายได้จากการค้าสำเภานี้นับเป็นรายได้สำคัญของประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์นี ที่ไทยอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายภายในประเทศอย่างเสรี ยกเว้นสินค้าประเภทข้าว อาวุธปืน และฝิ่น

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

เงินถุงแดง (อังกฤษ: Red Purse Money) บ้างก็เรียกว่าเงินไถ่บ้านไถ่เมือง จัดแสดงที่อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงและรัฐมีรายได้มากขึ้น รายได้ของแผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์จึงสูงขึ้นมาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เงินในท้องพระคลังหลวงซึ่งรวมถึงเงินค่าสำเภาที่เหลือจากการจับจ่ายของแผ่นดินมี ๔๐,๐๐๐ ชั่ง และด้วยความที่พระองค์มีพระราชหฤทัยห่วงใยในด้านการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต จึงทรงมีพระราชปรารภให้แบ่งเงินส่วนนี้ไปทำนุบำรุงรักษาวัดที่ชำรุดเสียหาย และวัดที่สร้างค้างอยู่ ๑๐,๐๐๐ ชั่ง ส่วนที่เหลืออีก ๓๐,๐๐๐ ชั่ง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแผ่นดินต่อไป

เงินจำนวนนี้ กล่าวกันว่าพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใส่ถุงแดงเอาไว้ ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ (วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หรือในต่างประเทศเรียกว่าสงครามฝรั่งเศส - สยาม เป็นความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ ๓ และราชอาณาจักรสยาม เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการที่ราชอาณาจักรสยาม ลงนามในหนังสือสัญญาวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยชำระค่าเสียหายและยอมสละกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง) จะเห็นได้ว่า แม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ก็ยังทรงมีส่วนช่วยเหลือประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ด้วยเงินถุงแดงที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้

ด้านการศึกษา

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น ดังนั้น วัดจึงมีบทบาทเป็นสถาบันทางการศึกษาที่สำคัญมาก เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีพระสงฆ์เป็นครูสอนหนังสือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสนับสนุนการศึกษา โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้มีความรู้นำตำราต่าง ๆ จารึกลงบนศิลาประดับไว้ตามฝาผนังอาคารต่าง ๆ ของวัดราชโอรสาราม วัดสุทัศนเทพวราราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ความรู้ต่าง ๆ ที่โปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้มีทั้งวิชาอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์และโบราณคดี ตำราโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ตำรายา ตำราโหรศาสตร์ พร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปฤาษีดัดตน แสดงท่าบำบัดโรคลม กับคำโคลงบอกชนิดของลม ตั้งไว้ในศาลารอบเขตพุทธาวาส เพื่อให้ประชาชนศึกษาความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างแพร่หลาย จนอาจเรียกได้ว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

ด้านศิลปกรรมและการทำนุบำรุงพุทธศาสนา

สถาปัตยกรรม

การสถาปัตยกรรมของไทยในรัชกาลที่ ๓ นี้ ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมต่างประเทศเป็นส่วนมาก สาเหตุมาจากการมีสัมพันธไมตรีทางการทูตกับชาติต่าง ๆ นั่นเอง เกื้อกูลให้ต้องยอมรับศิลปะของต่างชาติเข้ามาใช้ อันได้แก่ ศิลปะการช่างแบบจีน ที่ปรากฏตามหลังคาโบสถ์ วิหาร และเก๋งจีน ตัวอย่างเกี่ยวกับศิลปกรรมที่ว่านี้ ส่วนมากจะพบในวัดพระเชตุพน ส่วนการทำประตูลายรดน้ำในรัชสมัยนี้อาจกล่าวได้ว่า รุ่งเรืองไม่แพ้สมัยก่อน ๆ เลย สถาปัตยกรรมประเภทพระสถูป ก็ได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสมัยนี้ด้วย

การสร้างและปฏิสังขรณ์วัด

แต่ก่อนนั้นคำว่าพระอารามหลวง หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์โปรดปรานให้สร้างโดยทรัพย์ส่วนพระองค์ ดังนั้น วัดที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ จึงมีน้อย ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ นี้ พระองค์โปรดให้เจ้านายในราชวงศ์และบุคคลทั่ว ๆ ไป มีโอกาสได้สร้างด้วย ถ้าทรงเห็นว่า วัดไหนดีหรืองามพร้อมก็ทรงรับเข้าไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันขันแข่งกันในที จึงมีคำกล่าวกันว่า"ใครสร้างวัดก็โปรด"  เมื่อทุก ๆ คนอยากเป็นคนโปรด ก็ขวนขวายกันสร้าง และเหตุดังกล่าวนี้ ศาสนาพุทธจึงได้เจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยของพระองค์ท่านอย่างยิ่ง สำหรับวัดที่ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ก็มีดังนี้

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (เดิมชื่อวัดจอมทอง ) วัดประจำรัชกาลที่ ๓ พระองค์ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อคราวที่พระองค์ยังดำรงพระยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

๑. วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี ทรงสร้างอุทิศถวายสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๒. วัดราชนัดดา ทรงสร้างพระราชทานเป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี

๓. วัดเทพธิดาราม ทรงสร้างพระราชทานเป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

๔. วัดราชโอรส วัดนี้ รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างเมื่อครั้งยังดำรงพระยศพระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่าวัดราชโอรส

๕. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ทรงปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๗๔ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ สิ่งที่พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์ คือ พระอุโบสถ เปลี่ยนไม้และกระเบื้องเครื่องบนทั้งหมด ภาพตามฝาผนังเปลี่ยนเขียนใหม่หมด พระระเบียงก็เปลี่ยนเครื่องบนใหม่ ภาพรามเกียรติ์ก็ลบเขียนใหม่หมด ก่อภูเขา ทำแท่นที่นั่ง ตั้งตุ๊กตาหิน ติดตั้งเครื่องประดับรอบ ๆ ลานบริเวณ ทำให้โครงงานที่วางไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระอัยกา เพียบพร้อมสมบูรณ์

๖. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่า ที่โปรดให้รื้อลงโบสถ์ที่สร้างขึ้นใหม่นี้มีขนาดกว้างและสูงใหญ่กว่าหลังเดิม ขยายเขตพระอารามออกไป สร้างกุฏิสงฆ์เป็นตึกขึ้นแทนกุฏิไม้ของเก่า สร้างพระวิหารพระนอนพร้อมด้วยพระพุทธไสยาสน์ สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นอีกสององค์ องค์หนึ่งอยู่ทางด้านขวา พระเจดีย์ศรีสรรเพชร (ของเดิม) สร้างถวายพระชนก อีกองค์หนึ่งอยู่ด้านซ้าย พระเจดีย์ศรีสรรเพชร สร้างเป็นของพระองค์เอง นอกจากนี้ก็ทรงบูรณะเครื่องประดับพระอาราม บานมุกพระอุโบสถ เครื่องเขียน ฯลฯ แต่ในสิ่งที่พระองค์สร้างและปฏิสังขรณ์ไว้นั้น ก็อาจจะกล่าวได้ว่า พระราชมรดกอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าควรคำนึงถึงพระกรุณาธิคุณท่านอย่างหาที่สุดมิได้ สิ่งนั้นคือ การปฏิรูปวัดพระเชตุพนฯ ให้กลับกลายมาเป็นสถานศึกษาที่เพียบพร้อมด้วยตำราอันหาค่ามาเปรียบมิได้นั่นเอง ได้โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตยในสาจาวิทยาการต่าง ๆ ครั้งนั้นมาประชุมกัน แล้วให้ช่วยกันสอบสวนตำราต่าง ๆ เช่น วิชากวีนิพนธ์ วิชาแพทย์ เลือกสรรเอาแต่ฉบับที่ดี ลงความเห็นว่าถูกต้องแน่นอนแล้ว มาจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในวัด เพื่อสะดวกแก่ประชาชนผู้ใฝ่ใจในตำราเรียนเหล่านี้ เมื่อประชาชนหลั่งไหลเข้ามาศึกษาการความรู้ ณ ที่นี้ ก็เป็นประการหนึ่งว่า พวกเขาได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยนั่นเอง จึงมีคำกล่าวกันว่า มหาวิทยาลักแห่งแรกของไทย คือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

๗. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงสร้างพระปรางองค์ใหญ่สูงเด่นเป็นสง่า เรียกกันว่าพระปรางค์วัดอรุณฯ อันที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยจนตราบเท่าทุกวันนี้

๘. วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปใหญ่

๙. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ทรงสถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม

๑๐. วัดยานนาวา เดิมคือวัดคอกกระบือ หรือวัดคอกควาย ก็เรียก โปรดให้ปฏิสังขรณ์ทั่งพระอาราม และในครั้งนั้นทรงพระราชดำริจะให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นใหม่ จึงโปรดให้สร้างฐานพระเจดีย์เป็นรูปเรือสำเภา ให้มีขนาดเท่าของจริง เพื่อเป็นอนุสรณ์ของเรือสำเภาที่นับวันจะสูญไป อีกประการหนึ่งทรงตระหนักว่าพระเวสสันดรโพธิสัตว์ อุปมาบารมีธรรมทั้งหลายประดุจด้วยสำเภายานนาวา พระองค์จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่าวัดยานนาวา

๑๑. วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร (รัชกาลที่ ๓ ทรงผนวช ณ วัดนี้)

๑๒. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ทรงสร้างพระวิหารประดิษฐานพระอัฏฐารส อัญเชิญมาแต่วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก ทรงสร้างเจดีย์ใหม่อย่างเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยาแต่สร้างได้เพียงฐานเดียว

๑๓. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงสร้างได้สำเร็จบริบูรณ์ แล้วทรงพระราชทานนามว่าวัดสุทัศน์เทพวราราม

๑๔. วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี ทรงสร้างกุฏิอุทิศถวายรัชกาลที่ ๒ และสร้างศาลาการเปรียญสำหรับพระองค์

นอกจากนี้มีวัดอื่น ๆ อีก ๓๙ วัด เป็นที่ผู้อื่นสร้างและพระองค์ท่านทรงอุปการะปฏิสังขรณ์

ประติมากรรม

ในรัชกาลที่ ๓ นี้ ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เพราะพระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ให้เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงหล่อพระพุทธไสยาสน์ไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น และสิ่งที่จะเว้นไม่กล่าวถึงเสียไม่ได้ คือ การสร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ แล้วขนานนามพระพุทธรูปที่สร้าง และโปรดให้ประชาชนเรียกนามอดีตรัชกาลตามชื่อของพระพุทธรูปที่สร้างแทนการเรียกว่าแผ่นดินต้น และแผ่นดินกลาง ส่วนพระพุทธรูปฉลองพระองค์นั้น ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเป็นจำนวนหลายพระองค์ ทั้งยังได้สร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถึง ๔๐ ปาง

๑. พระพุทธรูป เนื่องด้วยพระราชประวัติ ทรงสร้างไว้เป็นทรงฉลองพระองค์ หล่อหุ้มทองคำ เป็นพระทรงเครื่องต้นปางห้ามสมุทร นอกจากนี้ก็มีหล่อด้วยองค์หนักองค์ละ ๑๐ ตำลึง มีจำนวน ๖๔ องค์ องค์สำคัญ คือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างในปี พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๘๖ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืน หุ้มทองคำองค์ละ ๖๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ทรงพระราชอุทิศถวายแด่สมเด็จพระอัยกาธิราชองค์หนึ่ง และสมเด็จพระบรมราชชนกนาถอีกองค์หนึ่ง แล้วโปรดให้เรียกนามอดีตรัชกาลนั้นตามพระนามของพระปฏิมาทั้งสององค์นี้ด้วย อันนี้เองจึงเป็นพระนามของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ที่เราเรียนกัน เราคงทราบมาแต่รัชกาลก่อนแล้วว่า การจารึกพระสุพรรณบัฏพระนามรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ เหมือนกัน ดังนั้น เมื่อเรียกถึงพระองค์ท่าน องค์ที่ ๑ จึงเรียกแผ่นดินต้น พอพระองค์ที่ ๒ ก็เรียกว่า แผ่นดินกลาง ครั้รถึงรัชกาลที่ ๓ จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นสององค์ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อเรียกอดีตกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั่นเอง

๒. พระประธาน โปรดให้หล่อพระประธานแล้วพระราชทานอัญเชิญไปยังพระอุโบสถวัดต่าง ๆ

  • ๒.๑) พระพุทธอนันตคุณ หล่อไว้ตั้งแต่ยังไม่ครองราชย์อยู่ในพระอุโบสถวัดราชโอรส
  • ๒.๒) พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ หน้าตักกว้าง ๑๐ ศอกใหญ่กว่าพระพุทธรูปที่หล่อในสมัยนั้น ประดิษฐาน ณ วัดสุทัศน์ฯ
  • ๒.๓) พระเสรฐฏมุนี ประดิษฐาน ณ วัดราชนัดดา
  • ๒.๔) พระพุทธมหาโลกกภินันท์ ประดิษฐาน ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี

๓. ปางพระพุทธรูป โปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเลือกค้นในคัมภีร์ มีเรื่องพระพุทธประวัติ คัดเลือกพระอิริยาบถปางต่าง ๆ รวมกับปางต่าง ๆ ของเก่า ๔๐ ปาง สร้างพระพุทธรูปปางประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๔. พระพุทธรูปใหญ่ ทรงสร้างไว้ ๓ องค์ คือ พระพุทธไตรรัตนายก หรือพระโต ประดิษฐาน ณ วัดกัลญาณมิตรและพระพุทธไสยาสน์ วัดราชโอรส

๕. ทรงสร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกต สำหรับฤดูหนาวขึ้น ๑ ชุด

๖. พระสถูป ที่ทรงสร้างในรัชกาลนี้มี พระสมุทรเจดีย์ พระบรมบรรพต สำเภายานนาวาพระปรางค์วัดอรุณฯ โลหประธาน (ทรงคิดแบบแปลก สร้างขึ้นแทนเจดีย์ที่มีผู้สร้างกันดื่นแล้ว) พระมหาเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ อีกประการหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้นิยมการแกะสลักด้วยหินเป็นรูปต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานของช่างชาวจีนทั้งนั้น ซึ่งมีตุ๊กตาหินแกะสลักเป็นรูปงิ้ว สิงโต และยักษ์ใหญ่ยืนถือกระบอง ซึ่งตุ๊กตาหินเหล่านี้มีอยู่ตามวัดพระเชตุพนฯ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดอรุณราชวราราม

วรรณกรรม

ในรัชกาลที่ ๓ นี้ วรรณคดีมีไม่มากนัก ซึ่งพอจะยกมากล่าวพอสังเขป ดังนี้

๑. เสภาขุนช้างขุนแผน ทรงพระราชนิพนธ์ตอนขุนช้างขอนางพิมพ์ และขุนช้างจามนางวันทอง

๒. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อครั้งยังพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชกาลที่ ๒ ทำนองแต่งเป็นกลอนบทละครเพื่อใชเป็นบทละครนอก มีความไพเราะ ใช้สำนวนเจรจาน่าฟัง เรื่องนี้เป็นพระราชนิพนธ์ที่ยาวที่สุด

๓. เพลงยาวรัชกาลที่ ๓ มีกลบทถอยหลังเข้าคลอง กลบทบานบัวคลี่ เพลงยาวกลอนสุภาพ เรื่อพระราชปรารภการจารึกความรู้บนแผ่นศิลา ณ วัดพระเชตุพนฯ และเพลงยาวกลอนสุภาพเรื่อง ปลงสังขาร เมื่อครั้งทรงพระชวรปลายรัชกาล โคลงปราบดาภิเษก ใช้ร่ายสุภาพและโคลงสี่สุภาพทรงพระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เพื่อยอพระเกียรติรัชกาลที่ ๒ และบรรยายพระราชพิธีปราบดาภิเษก

ด้านสังคมสงเคราะห์

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

The Bangkok Recorder (ไทย: หนังสือจดหมายเหตุ ) หนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทยฉบับแรก

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามหมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. ๒๓๗๙) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๙ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๘๕ หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ ๓ หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๗

หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือนิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา ๔๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๔ และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔

ด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สงครามระหว่างไทยกับพม่าได้เบาบางและสิ้นสุดลง เพราะพม่าติดพันการทำสงครามอยู่กับอังกฤษ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีสงครามเกิดขึ้นหลายครั้งในรัชกาลนี้ โดยสงครามที่สำคัญ ได้แก่

  • พ.ศ. ๒๓๑๖ สงครามกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเมืองเวียงจันทน์ เดิมทีเมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี แต่ในขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์เริ่มมีอำนาจมากขึ้น จึงถือโอกาสช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน ก่อกบฏยกกองทัพเข้ามาตีไทยเพื่อประกาศตนเป็นอิสระทว่าถูกกองทัพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขับไล่ออกไปได้หมดสิ้น ดินแดนแคว้นลาวจึงยังคงอยู่ในอำนาจของไทยต่อไปจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. ๒๓๗๖ - พ.ศ. ๒๓๙๐ สงครามกับญวน สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง ๑๕ ปี เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ญวนที่เมืองไซง่อน ก่อกบฏขึ้น พระเจ้าเวียดนามมินมาง จึงต้องทำสงครามปราบปรามกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่าเป็นโอกาสที่จะแย่งชิงเขมรกลับคืน และปราบญวนให้หายกำเริบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร หัวเมืองญวนไปจนถึงไซ่ง่อน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล สงครามยืดเยื้อมาเป็นเวลานานจนเป็นอันเลิกรบ แต่ไทยก็ได้เขมรมาอยู่ในปกครองอีกครั้ง

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

สำเนาต้นฉบับสนธิสัญญาเบอร์นี

เหตุการณ์ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญ มีดังนี้

  • สัมพันธไมตรีกับอังกฤษ ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๙ ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและพาณิชย์กับอังกฤษ ชื่อว่าสนธิสัญญาเบอร์นี (อังกฤษ: Burney Treaty) โดยมีเฮนรี่ เบอร์นี (อังกฤษ: Henry Burney หรือ Hantri Barani คำอ่าน: หันตรีบารนี) เป็นผู้ทำการเจรจากับรัฐบาลไทยเกี่ยวกับปัญหาการค้าและการเมืองในมลายู ใช้ระยะเวลา ๕ เดือน ประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี ๑๔ ข้อ และสนธิสัญญาทางการพาณิชย์แยกอีกฉบับรวม ๖ ข้อ สนธิสัญญาเบอร์นี ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์
  • สัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เริ่มจากการทำการค้าและมีการทำสนธิสัญญาระหว่างกันคือสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. ๑๘๘๓ หรือเรียกว่าสนธิสัญญาโรเบิร์ต (อังกฤษ: Roberts Treaty of 1833) เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่กรุงรัตนโกสินทร์ ลงนามกับสหรัฐอเมริกา และเป็นฉบับแรกที่ประเทศในทวีปเอเชียลงนามกับสหรัฐอเมริกา ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ โดยมีเอดมันด์ โรเบิตส์ (อังกฤษ: Edmund Roberts หรือเรียกตามสำเนียงไทยว่าเอมินราบัด ) เป็นทูตเจรจาใช้ระยะเวลาในการเจรจา ๒๒ วัน โดยมีข้อตกลงทางการเมืองและการค้าอยู่ในฉบับเดียวกัน ๑๐ ข้อ สำหรับบรรดาประเทศต่าง ๆ
  • สัมพันธไมตรีกับประเทศแถบเอเชีย ในเอเชียนั้น ประเทศจีนนับเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ทั้งทางด้านการทูตและการค้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้จัดส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีนใน พ.ศ. ๒๓๖๘ การค้าระหว่างไทยกับจีนดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓

ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

ภาพประกอบทัศนียภาพของเมืองบางกอก (View of the city of Bangkok) โดยจอห์น ครอว์เฟิร์ด (อังกฤษ: John Crawfurd) ทูตอังกฤษที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีในช่วงปลายรัชกาลที่ ๒ ในขณะนั้น รัชกาลที่ ๓ ยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

  • พ.ศ. ๒๓๖๗
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัย ขึ้นเป็นที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
  • พ.ศ. ๒๓๖๘ เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
  • พ.ศ. ๒๓๖๙
    • ลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี (อังกฤษ: Burney Treaty) เป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่กรุงรัตนโกสินทร์ ทำกับประเทศตะวันตก
    • เจ้าอนุวงศ์ ก่อกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ
    • กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)
    • โปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
  • พ.ศ. ๒๓๗๐ เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
  • พ.ศ. ๒๓๗๑
    • ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก
    • มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
  • พ.ศ. ๒๓๗๒
    • เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ เช่น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพน ฯลฯ ได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้
    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อซาย ฉายาพุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุต ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ. ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นว่าที่สมุหพระกลาโหม
  • พ.ศ. ๒๓๗๔
    • ทำการบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใช้เวลา ๑๖ ปีในการสร้าง
    • เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระราชอาณาจักร
  • พ.ศ. ๒๓๗๕ แอนดรูว์ แจ็กสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
  • พ.ศ. ๒๓๗๖ เกิดกบฏญวน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้สำเร็จราชการเป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบ
  • พ.ศ. ๒๓๗๗
    • ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
    • ญวนได้ส่งพระอุไทยราชา มาปกครองเขมร
  • พ.ศ. ๒๓๗๘
    • เกิดภาวะเงินฝืดเคือง
    • หมอบรัดเลย์ เดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. ๒๓๘๐
    • หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่
    • โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
  • พ.ศ. ๒๓๘๑ เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี
  • พ.ศ. ๒๓๘๒ ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง อีกทั้งยังมีการเผาฝิ่น และโรงยาฝิ่น พร้อมทั้งมีการปราบปรามอั้งอั้งยี่ ซึ่งค้าฝิ่นเหล่านั้น
  • พ.ศ. ๒๓๘๕ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. ๒๓๘๖ เกิดสุริยุปราคา เต็มดวงขึ้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๖ แนวคราสมืดพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางกรุงเทพฯ เห็นเป็นชนิดบางส่วน ๘๒%
  • พ.ศ. ๒๓๘๙
    • ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
  • พ.ศ. ๒๓๙๐ ทรงอภิเษกให้นักองค์ด้วง เป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ครองประเทศกัมพูชา
  • พ.ศ. ๒๓๙๑
    • ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม
    • กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
  • พ.ศ. ๒๓๙๒
    • กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ปราบอั้งยี่ ที่ ฉะเชิงเทรา
    • เกิดอหิวาตกโรค ระบาด มีคนตายมากกว่า ๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งรวมถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  • พ.ศ. ๒๓๙๓ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ขอแก้สนธิสัญญา
  • พ.ศ. ๒๓๙๔ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี ๘ เดือน ๑๒ วัน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระบรมสาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์

ครองราชย์ ๒๖ ปี ๘ เดือน ๑๒ วัน
๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔
พิธีราชาภิเษก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ พระราชวังหลวง
พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมนามาภิไธย หม่อมเจ้าชายทับ
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระราชสมภพ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังกรุงธนบุรี หรือพระราชวังเดิม
สวรรคต ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ (๖๓ พรรษา ๒ วัน) ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระบรมมหาราชวัง
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีสุลาไลย (เจ้าจอมมารดาเรียม)
พระบรมราชินี มิได้ทรงสถาปนา
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
วัดประจำรัชกาล วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
วันสำคัญ ๓๑ มีนาคม วันเจษฎาบดินทร์ วันน้อมรำลึกถึงพระมหาเจษฎาราชเจ้า (พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่)

  • ที่มา :
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วิกิพีเดีย พจนานุกรมเสรี (ภาษาไทย)
    • Rama III วิกิพีเดีย พจนานุกรมเสรี (ภาษาอังกฤษ)


ท้าวสุรนารี

ท้าวสุรนารี หรือคุณหญิงโม นิยมเรียกว่าย่าโม (พ.ศ. ๒๓๑๔ - พ.ศ. ๒๓๙๕) เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ไทยในฐานะวีรสตรีผู้มีส่วนกอบกู้เมืองนครราชสีมา จากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังคุณหญิงโม ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นท้าวสุรนารี

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยู่ตรงหน้าประตูชุมพล จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่าโม (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมา โดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๑๔ มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่ม และนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อแป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อจุก (ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร็อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร็อก มาอยู่ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมืองพนมซร็อกมาตั้งชื่อบ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นบ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจนทุกวันนี้)

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๙ เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ท่านได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระภักดีสุริยเดช ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็นคุณนายโม และต่อมาพระภักดีสุริยเดช ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุริยเดช ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็นคุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่าคุณหญิงโม และพระยาปลัดทองคำ ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูกหลานกับคุณหญิงโม อยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการใด ๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม คือนางสาวบุญเหลือ เมื่อครั้งเข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมา จากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์

ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้ว เป็นประจำ ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ (เดือน ๕ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔) สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี

วีรกรรม

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

ตราประจำจังหวัดนครราชสีมา แสดงภาพอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และประตูชุมพล

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ได้ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือ ได้รวบรวมครอบครัวชายหญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๙ ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด

เมื่อความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็นท้าวสุรนารี เมื่อ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๐ เมื่อคุณหญิงโม มีอายุได้ ๕๗ ปี พร้อมกับพระราชทานเครื่องยศต่าง ๆ ได้แก่ ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก ๑ ใบ จอกหมากทองคำ ๑ คู่ ตลับทองคำ ๓ ใบเถา เต้าปูนทองคำ ๑ ใบ คนโท และขันน้ำทองคำอย่างละ ๑ ใบ

เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในโอกาสนี้ ทรงพระราชทานบรมราโชวาท มีความตอนหนึ่งว่า

...ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง...


ศาสนาจารย์ นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์

หมอบรัดเลย์ บ้างก็เขียนเป็นหมอปรัดเลย์ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทย ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ประวัติ

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

หมอบรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๓

ศาสนาจารย์ นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ (อังกฤษ: Dan Beach Bradley) เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์ และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ (Emilie Royce Bradley) และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ บรัคลีย์ บรัดเลย์ (Sarah Brachly Bradley)

แดน บีช บรัดเลย์ ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๘ ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ ๓๑ พอดี โดยมาถึงพร้อมภรรยา เอมิลี ด้วยทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล (American Board of Commissioners for Foreign Missions) ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์) โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์ เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป ต่อมาจึงย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ที่เป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านที่ปลูกให้ฝรั่งเช่าของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาส โดยหมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการเมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๓๗๘

ที่บ้านพักแห่งใหม่นี้หมอบรัดเลย์ ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่พระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๓๘๐ พระภิกษุรูปนั้นประสบอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตก ในงานฉลองที่วัดประยุรวงศ์ ซึ่งประสบความสำเร็จดีจนเป็นที่เลื่องลือ เพราะแต่ก่อนคนไทยยังไม่รู้วิธีผ่าตัดร่างกายมนุษย์แล้วยังมีชีวิตอยู่ดี

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว *

การเรียนผ่าตัดของนักเรียนแพทย์สมัยแรก (ภาพจาก อนุสรณ์ ๘๔ ปี ศิริราช)

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ หมอบรัดเลย์ จึงมาเช่าที่หลวง ตั้งโรงพิมพ์อยู่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ข้างป้อมวิชัยประสิทธิ์ ติดกับพระราชวังกรุงธนบุรี (บ้างก็เรียกพระราชวังเดิม ) พักอาศัยอยู่ที่นั่นจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖ อายุ ๖๙ ปี

ผลงาน

  • ทำการผ่าตัดแผนใหม่เป็นรายแรกของประเทศไทย
  • ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย
  • ตั้งโรงพิมพ์และตีพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นซึ่งเป็นประกาศทางราชการที่ใช้วิธีตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
  • ริเริ่มนิตยสาร บางกอกรีคอเดอ (The Bangkok Recorder) หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก
  • พิมพ์ปฏิทินสุริยคติเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
  • พิมพ์หนังสือคัมภีร์ครรภ์ทรักษา

วีรกรรมใดเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้: ลงนามในสัญญา เบอร์นี เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก

บทบาทสำคัญของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตรงกับข้อใดมากที่สุด

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีหลายด้านคือ การบริหารและการปกครอง ทรงจัดระเบียบการบริหารประเทศ ตั้งเมืองขึ้นใหม่ 40 เมือง เช่น เมืองขอนแก่น เมืองอุบล เมืองนครพนม ฯลฯ

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า ...

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในสมัยใด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครองราชย์
2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
ราชาภิเษก
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบรมมหาราชวัง
ก่อนหน้า
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวnull