วิธีช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวที่ติดยาเสพติดคือข้อใด

วิธีช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวที่ติดยาเสพติดคือข้อใด

ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด

การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี

          เมื่อคนที่คุณรักติดยาเสพติด ผู้รับการบำบัดยาเสพติดมักจะมีการเสพต่อเนื่องมายาวนาน จนเคยชินว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตตนเอง กลายเป็นโรคสมองติดยา(Addictive brain) และมีอาการดื้อต่อยาเสพติด(Tolerance) ต้องเสพปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้ความสุขเท่าเดิม เมื่อหยุดเสพหรือเสพลดลงผู้รับการบำบัดจะเกิดความรู้สึกอยาก(Craving) และเกิดอาการถอนสาร(Withdrawal)เหล่านั้นตามมา ดังนั้นผู้รับการบำบัดจึงติดอยู่ในวงจรของการเสพยาเสพติดโดยไม่รู้ตัวคนรอบข้างโดยเฉพาะครอบครัว ญาติหรือผู้ใกล้ชิดจะรับรู้ว่ายาเสพติดเป็นปัญหาได้เร็วกว่าผู้รับการบำบัดจึงเข้าไปเพื่อช่วยเหลือ แต่การช่วยเหลือจะทำได้ยากเนื่องจากผู้รับการบำบัดไม่ค่อยให้ความร่วมมือจึงต้องมีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจให้เวลา และใช้ทักษะต่างๆในการช่วยเหลือ ผู้รับการบำบัดให้เลิกยาเสพติดได้ในที่สุด คำแนะนำสำหรับญาติ มีดังต่อไปนี้

1. ญาติควรเรียนรู้ เรื่องโรคยาเสพติด อาการของโรค การดูแลบำบัดรักษายาเสพติดจากสื่อต่าง ๆ หรือ อาจเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์โดยตรงก่อน

2. ญาติควรหยุดการส่งเสริมพฤติกรรมการเสพโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยทบทวนถึงการกระทำที่เป็นการสนับสนุนพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดและหยุดการกระทำนั้นตัวอย่าง เช่น เนื่องจากกลัวผู้รับการบำบัดยาเสพติดอาละวาดจึงยอมให้เงิน เมื่อผู้รับการบำบัดได้เงินก็นำเงินไปซื้อยาเสพติด หรือ นั่งดื่มสุราเป็นเพื่อน เป็นต้น

3. ญาติควรส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติด รับผิดชอบในผลของพฤติกรรมจากการใช้ยาเสพติดด้วยตนเอง เช่น หนี้สินที่ตนก่อขึ้น คดีความ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับงาน เป็นต้น

4. ญาติควรหมั่นดูแลตนเองด้วย โดยทั่วไปสมาชิกในครอบครัวอาจดูแลผู้รับการบำบัดยาเสพติด จนลืมดูแลตนเองข้อแนะนำในการดูแลตนเอง เช่น ปล่อยวางความคิดความรู้สึกที่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวของผู้รับการบำบัดยาเสพติด หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายจิตใจของตนเองกระทำ ตามบทบาทหน้าที่ที่ควรจะเป็นในครอบครัว เช่น การดูแลลูก ดูแลพ่อแม่ระวังการถูกผู้รับการบำบัดทำร้ายขณะเมายาเสพติด

5. ญาติควรแสวงหาความช่วยเหลือเนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่เกิดผลกระทบกับทุกฝ่ายได้ง่าย มักไม่สามารถแก้ไขได้เพียงลำพังอาจต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้บำบัดยาเสพติด เป็นต้น

วิธีปฏิบัติสำหรับญาติ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษา  

1. ให้ญาติค่อย ๆ พูดจูงใจผู้รับการบำบัดยาเสพติด เวลาที่ผู้รับการบำบัดมีสติสัมปชัญญะและไม่ได้ใช้ยาเสพติด

2. พูดแสดงถึงความห่วงใยเกี่ยวกับสุขภาพที่เขาพอจะสนใจและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเสพยาเสพติด

3. ไม่ต้องพูดว่าผู้รับการบำบัดติดยาเสพติดและต้องไปเลิก เพราะผู้รับการบำบัดมักไม่ยอมรับ

4. หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดยังใช้ยาเสพติดอยู่ญาติไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติด เช่น รอผู้รับการบำบัดกลับบ้าน จัดเตรียมอาหาร รอรับโทรศัพท์ ลางาน แก้ตัวให้ ให้เงินไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เป็นต้น เพราะอาจเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดทางอ้อม

5. ญาติควรหันกลับมาดูแลตนเองมากขึ้น เพราะอารมณ์ที่เครียด ไม่ช่วยให้แก้ปัญหาการเสพของผู้รับการบำบัดยาเสพติดได้ ญาติควรระวังตัวอย่าปล่อยให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดทำร้าย และควรป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ผู้รับการบำบัดเมาสารเสพติด

6. หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดมีความก้าวร้าวรุนแรงอาจต้องหาคนมาช่วยหรือแจ้งตำรวจเพื่อระงับเหตุหรือช่วยนำผู้รับการบำบัด ส่งโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีแผนกจิตเวช หรือศูนย์บำบัดยาเสพติด

7. หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดยังไม่ไปพบแพทย์ ญาติอาจไปพบแพทย์ก่อนเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดสารเสพติดและคำ แนะนำในการพาผู้รับการบำบัดมาพบแพทย์

8. หากญาติมีอาการเครียดมากควรปล่อยวางปัญหาจากผู้รับการบำบัดยาเสพติด และควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลตนเองก่อน เมื่อตนเองดีขึ้นแล้วจึงเริ่มต้นคิดแก้ไขปัญหาของผู้รับการบำบัดต่อไป

จากการศึกษาพบว่าผลการรักษาดีขึ้นเมื่อสมาชิกครอบครัวอย่างน้อย 1 คน มีส่วนร่วมในการให้การช่วยเหลือผู้รับการบำบัดยาเสพติด เนื่องจากสมาชิกครอบครัวได้ทราบถึงการเตรียมตัวในระยะต่าง ๆ ของกระบวนการเลิกยาเสพติด ทำให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้รับการบำบัดที่กำลังเลิกและทราบว่าอะไรเป็นอุปสรรคในการเลิก


อย่างไรก็ตามมีผู้รับการบำบัดที่หลีกเลี่ยงความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวหรือกล่าวอ้างว่าสมาชิกในครอบครัวชอบบ่นว่าในการมาให้ความช่วยเหลือ ตนจึงอาจไม่ประสบความสำเร็จในการเลิกยาเสพติดเท่าที่ควร แต่การที่สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมกับการรักษาก็เป็นประโยชน์สำหรับผู้รับการบำบัดที่รับรู้ว่าครอบครัว ญาติหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมามีส่วนรับผิดชอบร่วมด้วยในปัญหายาเสพติดของเขา โอกาสที่จะเลิกยาเสพติดได้สำเร็จจึงเกิดได้มากขึ้นในผู้รับการบำบัดที่มีครอบครัวหรือญาติที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหา

การจะเลิกยาเสพติดไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการรู้จักวิธีบำบัดยาเสพติดที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด ที่กำลังหาวิธีเลิกยาเสพติด วิธีเลิกเหล้า ไปจนถึง วิธีเลิกพนัน ลองปรึกษา DAY ONE REHABILITATION CENTER ศูนย์บำบัดยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติดกินนอน ภายในสถานฟื้นฟู บรรยากาศรีสอร์ทและสถานที่โอบล้อมด้วยสายน้ำและธรรมชาติ สงบและผ่อนคลาย จังหวัดนครนายก โดยทีมสหวิชาชีพประกอบไปด้วย จิตแพทย์ พยาบาลจิตวิทยา นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านปัญหาสารเสพติด การบำบัดต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับแต่ละกิจกรรมการบำบัดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อแนวทางการดูแลผู้รับการบำบัดยาเสพติดแบบองค์รวม

ติดต่อเรา

99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000

064-645-5091

[email protected]

จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00