ประเทศ ที่ ประชากร ส่วนใหญ่ นับถือศาสนา คริสต์ คือ ประเทศ อะไร

ทางฝั่งแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคนี้นั้น จะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนมาก ประเทศเหล่านั้นคือ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ พม่า สิงคโปร์นั้นก็เป็นประเทศนับถือศาสนาพุทธ ส่วนทางด้านคาบสมุทรมลายู และ หมู่เกาะอินโดนีเซีย นั้น จะนับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นั้น นับถือศาสนาคริสต์ ประเทศติมอร์ตะวันออกนั้นก็นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลักเหมือนกัน

แบ่งออกได้เป็นอย่างนี้:
อินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (71%), พระพุทธศาสนา, คริสต์ศาสนา, ความเชื่อ เรื่องวิญญาณ, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาซิกข์
บรูไน บรูไน ศาสนาอิสลาม (67%), พระพุทธศาสนา (13%), คริสต์ศาสนา (10%), อื่นๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)
สหภาพ พม่า ประเทศพม่า พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (89%), ศาสนาอิสลาม (4%), คริสต์ศาสนา (4%), ความเชื่อ เรื่องวิญญาณ (1%), อื่นๆ (2%)
กัมพูชา กัมพูชา พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (95%), ศาสนาอิสลาม, คริสต์ศาสนา, ความเชื่อ เรื่องวิญญาณ อื่นๆ (5%)
เกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) พระพุทธศาสนา (36%), ศาสนาอิสลาม (25%), คริสต์ศาสนา (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่นๆ (6%)
หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) ศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (80%), อื่นๆ (20%)
ประเทศ ติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออก คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (90%), ศาสนาอิสลาม (5%), คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่นๆ (พระพุทธศาสนา, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อื่นๆ) (2%)
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ศาสนาอิสลาม (86.1%), คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (3%), ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่นๆ รวม พระพุทธศาสนา, หรือ ไม่ระบุ (3.4%)[6]
ลาว พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อ เรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ศาสนา (1.3%), อื่นๆ (0.8%)
มาเลเซีย ศาสนาอิสลาม (60.4%), พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ศาสนา (9.1%), ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อ เรื่องวิญญาณ (5.2%)
ปาปัว นิวกินี คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (27%), ศาสนาอีวาน จีลิค ลูเทอแรน (20%), ศาสนาเธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), ศาสนาคริสต์ นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), ศาสนา คริสต์ นิกายอีแวนเจลิค (7%), Anglican (3%), อื่นๆ Christian (8%), อื่นๆ (4%)
ฟิลิปปินส์ คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (80%), ศาสนาอิสลาม (5%), ศาสนา คริสต์ นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), อื่นๆ Christian (3%), อื่นๆ (Traditional beliefs, พระ พุทธศาสนา, Judaism, ไร้ศาสนา, อื่นๆ) (5%)
สิงคโปร์ พระพุทธศาสนา (42.5%), ศาสนาอิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (4%), ไร้ศาสนา (15%), Christian (10%), อื่นๆ (1%)
South China Sea Islands พระพุทธศาสนา, คริสต์ศาสนา, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาอิสลาม, ลัทธิเต๋า, ไร้ศาสนา
ไทย พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (94.6%), ศาสนาอิสลาม (4.6%), อื่นๆ (1%)
เวียดนาม พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน (78%), คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่นๆ (ความเชื่อ เรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าว, ศาสนาอิสลาม, ไร้ศาสนา, อื่นๆ; 7%)

แหล่งที่มา

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ลองลงมาคือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ตามลำดับ http://winne.ws/n11246

ประเทศ ที่ ประชากร ส่วนใหญ่ นับถือศาสนา คริสต์ คือ ประเทศ อะไร

1.5 หมื่น ผู้เข้าชม

Tags :

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน

         ศาสนานอกจากจะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนและประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปตามครรลองหรือบรรทัดฐานของสังคม โดยปราศจากการพันธนาการ ดังนั้น ศาสนา จึงเป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงส่ง และมีคุณูปการต่อโลกและมนุษยชาติทั้งมวล บทความนี ้ให้ความสำคัญศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน 

        ก่อนที่จะกล่าวถึงศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ควรจะทำความเข้าใจภาพรวม เพื่อเป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นเสรีภาพและหลักการพื้นฐานที่ประชาชนและรัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างกัน และสร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย

       เพื่อความมั่นคงของประชาคมอาเซียนโดยทั่วไป ศาสนา แปลว่า “คำสอน” และหมายความถึง “คำสั่ง” ด้วย จึงเรียกรวมกันว่า “คำสั่งสอน” อย่างไรก็ตามมีการให้ความหมายและความสำคัญของศาสนาไว้โดยปราชญ์ทางศาสนามากมายดังนี้ 

        ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล

        ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๒ เกิดหลังศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒,๐๐๐ ปี มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดียและเนปาล เกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐศรีลังกา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และภูฏาน เป็นต้น 

       สำหรับศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ ๓ มีแหล่งกำเนิดแถบประเทศปาเลสไตน์และอิสราเอล หลังพุทธศาสนา ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรนับถือเป็นศาสนาประจำชาติหลายประเทศทั่วโลก 

       สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๔ มีแหล่งกำเนิดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังศาสนาพุทธ ๑,๑๑๓ ปี และหลังศาสนาคริสต์ ๖๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐปากีสถาน และสาธารณรัฐบังคลาเทศ

แผนภูมิแสดงการนับถือศาสนาของคนไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2559)

ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน

        รัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙๕% ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ๗๕% ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๙๐% ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๔๒.๕% ราชอาณาจักไทย ๙๕% และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๗๐% 

       นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๖๗% ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘๗% และประเทศมาเลเซีย ๖๐.๔% 

       นับถือศาสนาคริสต์ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙๒% นอกจากนี้ยังนับถือศาสนาพุทธ ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงในประเทศมาเลเซีย ๑๙.๒% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๓% ศาสนาคริสต์ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๕% ประเทสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประเทศมาเลเซีย ๑๑.๖% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๐% อิสลาม ๑๐% ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% 

        การทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้เสาหลักของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ซึ่งเกื้อกูลและเกื้อหนุนต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSV) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)

อ้างอิงข้อมูลจาก https://aseanasean.wordpress.com/ศาสนาของประชาชนในประชา/