งานประดิษฐ์ประเภทของใช้ในงานพิธีหมายถึง

งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย2

     งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป
ความหมายและความเป็นมาของใบตอง

ใบตอง คือ ใบของกล้วย ต้นกล้วย เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์จากกล้วยได้ทั้งต้น ทั้งปลี และผลกล้วยมารับประทาน โดยเฉพาะใบตองที่คนไทยในอดีตนิยมนำมาใช้เป็นภาชนะใส่อาหารทั้งคาวและหวาน  นอกจากนี้  ยังนิยมนำใบตองมาประดับพานร่วมกับดอกไม้ เพื่อใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรีพานขันหมากขันหมั้นการประดิษฐ์ถาดใบตอง ฯลฯ ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดเวลาในการทำงานและยังทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพ  และสวยงาม โดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของใบตอง กรรไกร เข็ม ด้าย ฯลฯ งานใบตองเป็นงานที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักนำวัสดุจากธรรมชาติ มาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารได้อย่างวิจิตรสวยงามความสำคัญและคุณค่างานใบตอง แบ่งออกได้ 3 ด้วย คือ คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม, คุณค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีสมาธิ ทำให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้มีจิตใจเยือกเย็นสุขุม เกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่สำเร็จ และยังเป็นการช่วยดำรงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างดี

งานประดิษฐ์ประเภทของใช้ในงานพิธีหมายถึง

ความหมายของงานประดิษฐ์
1. ความหมายของงานประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่จัดทำขึ้น โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เกิดความประณีต สวยงาม น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ที่พึงประสงค์ เช่น งานประดิษฐ์ดอกไม้ ผ้ารองจาน กระเป๋า ตุ๊กตา ที่คั่นหนังสือ กระทงใบตอง บายศรี พานดอกไม้ มาลัยแบบอื่นๆ
2. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์
2.1 ประหยัดค่าใช้จ่าย
2.2 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.3 ความเพลิดเพลิน
2.4 เพิ่มคุณค่าของวัสดุ
2.5 สร้างความแปลกใหม่ที่มีอยู่เดิม
2.6 ชิ้นตรงตามความต้องการ
2.7 เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น
2.8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
2.9 เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
2.10 เกิดความภูมิใจในตนเอง
ประโยชน์ของ งานประดิษฐ์
1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. มีความภูมิใจในผลงานของตน
3. มีรายได้จากผลงาน
4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
5. เป็นการฝึกให้รู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ลักษณะของงานประดิษฐ์
1. งานประดิษฐ์ทั่วไป เป็นงานที่บุคคลสร้างขึ้นมาจากความคิดของตนเองโดยอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ ตัว นำมาดัดแปลง หรือเรียนรู้จากตำรา เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การประดิษฐ์ดอกไม้
2. งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นงานที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในครอบครัวหรือในท้องถิ่น หรือทำขึ้นเพื่อใช้งานหรือเทศกาลเฉพาะอย่าง เช่น มาลัย บายศรี งานแกะสลัก
ประเภทของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์ต่างๆ สามารถเลือกทำได้ตามความต้องการและประโยชน์ใช้สอย ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอยดังนี้
1. ประเภทใช้เป็นของเล่น เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่ในครอบครัวทำให้ลูกหลานเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น งานปั้นดินเป็นสัตว์ สิ่งของ งานจักสานใบลานเป็นโมบาย งานพับกระดาษ
2. ประเภทของใช้ ทำขึ้นเพื่อเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสานกระบุง ตะกร้า การทำเครื่องใช้จากดินเผา จากผ้าและเศษวัสดุ
3. ประเภทงานตกแต่ง ใช้ตกแต่งสถานที่ บ้านเรือนให้สวยงาม เช่น งานแกะสลักไม้ การทำกรอบรูป ดอกไม้ประดิษฐ์
4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น การทำกระทงลอย ทำพานพุ่ม มาลัย บายศรี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงานต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้งานออกมามีคุณภาพ สวยงาม รวมทั้งต้องดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทของเล่น
- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ใบลาน ผ้า เชือก พลาสติก กระป๋อง
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น กรรไกร เข็ม ด้าย กาว มีด ตะปู ค้อน แปรงทาสี
2. ประเภทของใช้
- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ ดิน ผ้า
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เลื่อย สี จักรเย็บผ้า กรรไกร เครื่องขัด เจาะ
3. ประเภทของตกแต่ง
- วัสดุที่ใช้ เช่น เปลือกหอย ผ้า กระจก กระดาษ ดินเผา
- อุปกรณ์ เช่น เลื่อย ค้อน มีด กรรไกร สี แปรงทาสี เครื่องตอก
4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี
- วัสดุที่ใช้ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ใบเตย ผ้า ริบบิ้น
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เข็มเย็บผ้า เข็มร้อยมาลัย คีม ค้น เข็มหมุด
การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ มีหลักการดังนี้
1. ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทของวัสดุและอุปกรณ์
2. ควรศึกษาวิธีการใช้ก่อนลงมือใช้
3. เมื่อใช้แล้วเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
4. ซ่อมแซมเครื่องมือที่ชำรุดให้พร้อมใช้เสมอ

งานประดิษฐ์ประเภทของใช้ในงานพิธีหมายถึง

       http://demhot088.blogspot.com/2010/09/blog-post.html

งานประดิษฐ์ประเภทของใช้ในงานพิธีหมายถึง

ในหลวง ร.10 พระราชทานโครงการ "จิตอาสาเราทำความดี ด้วยหัวใจ" เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสมัครสมานสามัคคี สร้างสรรค์ความดีเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไม่หวังสิ่งตอบแทน

เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 นี้ ฐานเศรษฐกิจ ชวนคนไทยร่วมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว "ในหลวง รัฐกาลที่ 10" 

 

จากโครงการ “จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงทุ่มเทพระวรกาย ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ โดยคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของราษฎรเป็นสำคัญ และทรงมีพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบรมราชชนกที่ได้ทรงพระราชทานไว้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาประเทศ ต่อมาทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อใหม่เป็น "โครงการจิตอาสาเราทำความดี ด้วยหัวใจ" โดยพระราชทานโครงการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมให้พสกนิกรชาวไทยทุกคน มีความเสียสละ และความสมัครสมานสามัคคี ในการสร้างสรรค์ความดี เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ

 

ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการต่างๆ และประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชน ปัญหาการจราจร และอื่นๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิต ได้เปิดให้ประชาชนทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ”ปรากฏว่า  มีประชาชนสมัครเข้าร่วมจำนวนมากจนเสื้อยืดคอโปโลสีดำ “ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์” ที่พระราชทานให้ประชาชนจำนวน 770,000 ตัว ถูกแจกจ่ายจนหมด ซึ่งหมายความว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 770,000 คน และอาจจะถึง 1 ล้านคน เพราะมีประชาชนอีกมากที่เข้าร่วมโครงการแม้จะไม่ได้รับเสื้อ ถือเป็นโครงการที่มีประชาชนเข้าร่วม และประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่ง

 

สำหรับ จิตอาสาตามพระราโชบาย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 

1. จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่ทำเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพ รวมทั้งการสาธารณสุข ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กระทำได้ตลอดเวลา สามารถแบ่งตามภารกิจงานออกเป็น 8 กลุ่มงาน ดังนี้

 

-จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ประชามีสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถาน หรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นอยู่ของ ชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน

 

-จิตอาสางานประดิษฐ์และเผยแพร่งานศิลปาชีพ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่นำความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน/ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น มาเผย แพร่ และถ่ายทอดเพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป

 

-จิตอาสาฝ่ายกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรมการแสดงและมีนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเผยแพร่กิจกรรมจิตอาสาฯ เช่น กิจกรรมการแสดงดนตรีบริเวณพระลานพระราชวังดุสิต การจัดงานอุ่นไอ รัก คลายความหนาว งานเถลิงศกสุขสันต์มหาสงกรานต์ตำนานไทย เป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระราชปณิธาน ในหลวง ร.10 “ด้านการกีฬา”

พระราชกรณียกิจ “ด้านการเกษตร” ของ "ในหลวง ร.10"

พระราชกรณียกิจ "ทางการแพทย์-สาธารณสุข" ของ ในหลวง ร.10

มท.เตรียมจัดกิจกรรม “จิตอาสาวิถีใหม่” เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง ร.10”

 

-จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาล รวมถึงช่วยอำนวย ความสะดวกด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

 

 

-จิตอาสาฝ่ายทะเบียนและข้อมูล หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกประชาชนที่มาลงทะเบียนจิตอาสาฯ

 

-จิตอาสาฝ่ายส่งกำลังบำรุงและสนับสนุน หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุน อำนวยความสะดวก ดูแลความเรียบร้อย จัดหาหรือบริการอาหาร น้ำดื่ม ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม/จิตอาสาที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน

 

-จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯรวมถึงช่วยดูแลต้อนรับ ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม

 

-จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกในการสัญจรของประชาชนการแนะนำ เส้นทางการแจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้เจ้าพนักงานทราบ

 

ตัวอย่างของโครงการที่ประสบความสำเร็จและเห็นเป็นรูปธรรมอย่างมาก เช่น โครงการจิตอาสาพัฒนาคลองเปรมประชากร,โครงการจิตอาสาพัฒนา คลองแม่ข่า จ.เชียงใหม่ และโครงการท่อลอด ถนนวิภาวดีรังสิต

 

2.จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติในงานพระราชพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆ เป็นการใช้กำลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานรวมทั้งการเตรียมการ การเตรียมสถานที่และการฟื้นฟูสถานที่ภายหลัง การปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของคนไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงโปรดให้เปิดรับสมัคร โครงการ “จิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” ขึ้น ด้วยเพราะทรงมีพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และทรงรับรู้จากพระราชหฤทัยของพระองค์ถึงพลังแห่งคุณค่าของความรัก ความศรัทธาเทิดทูนและความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

 

ดังนั้น เพื่อทรงสนองตอบต่อความรัก และน้ำใจอันประเสริฐสุดของประชาชนทั้งหลาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ประชาชนทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมถวายความอาลัยรัก น้อมส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในห้วงเดือนตุลาคม 2560 เพื่อเป็นการรวมพลังความรักอันมีค่า รวมพลังน้ำใจของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าที่จะน้อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จสู่สวรรคาลัย

 

ปรากฏว่า ระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน ประชาชนไทยทั่วประเทศและที่พำนักอยู่ต่างประเทศ สมัครเป็นจิตอาสาเฉพาะกิจฯ เพื่อปฏิบัติงานตามความสามารถและความสมัครใจ โดยแบ่งงานเป็น 8 ประเภท ได้แก่ งานดอกไม้จันทน์, งานประชาสัมพันธ์,งานโยธา, งานขนส่งเพื่อความปลอดภัยของประชาชน, งานบริการประชาชน, งานแพทย์, งานรักษาความปลอดภัย และงานจราจร มียอดรวมผู้สมัครจิตอาสาเฉพาะกิจฯ ทุกประเภท นับตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2560 รวมทั้งสิ้น 4,006,825 คน ที่ได้ร่วมปฏิบัติเป็นจิตอาสาเฉพาะกิจ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 อย่างสมพระเกียรติงดงามตามราชประเพณี

3. จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้า ตรวจ เตือน และเตรียมการรองรับภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรวมและการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ดังกล่าว เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น

 

ภาพเหตุการณ์ที่ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาจับจ้องประเทศไทยอีกครั้งเมื่อเกิดปฏิบัติการช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง-น้ำขุนนางนอน จ.เชียงราย ซึ่งนอกเหนือจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งพระราชทานกำลังใจไปยังครอบครัวผู้ประสบภัยทุกคนแล้ว มีอาสาสมัครในโครงการจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ได้เข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือตามที่ถูกร้องขออย่างเต็มที่ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน อาหาร เครื่องดื่มแก่จิตอาสาและผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จโดยสวัสดิภาพ และเมื่อปฏิบัติการกู้ชีวิตประสบความสำเร็จ

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระราชกระแส ความว่า “น่าชื่นชมยินดียิ่งนัก ที่ปฏิบัติการช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมีออกจากถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเรื่องสุดวิสัย และไม่มีผู้ใดคาดคิด ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ จึงต้องกระทำอย่างปัจจุบันและเร่งด่วน แต่ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็สามารถบริหารจัดการสถานการณ์ได้อย่างดีเยี่ยม และทุกภาคส่วนก็ระดมสรรพกำลังกันมาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ต่างยอมเสียสละกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์ และยอมสละแม้ชีวิตของตน

 

ส่วนผู้ประสบภัยนั้นต่างก็ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาที่เกิดเหตุ ประกอบกับการที่ประชาชนทั่วโลกก็ส่งกำลังใจมายังผู้ประสบภัยและผู้ปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างท่วมท้น จึงกล่าวได้ว่า ปฏิบัติการครั้งนี้แม้จะมีความยากลำบาก แต่ก็มีสิ่งที่ดีและมีคุณค่าบังเกิดขึ้นอย่างไม่อาจประมาณได้

 

ข้าพเจ้าขอขอบใจทุกคนทุกฝ่ายเป็นอย่างยิ่ง และหวังว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจที่จะทำให้ทุกคนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่า การบริหารจัดการที่ดี การใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ให้พอเหมาะพอดีกับสถานการณ์ การปฏิบัติตนและปฏิบัติการอย่างรอบคอบ มีวินัย มีสติ ตลอดจนการรู้หน้าที่ของตน และปฏิบัติหน้าที่ให้ประสานส่งเสริมกับทุกคนทุกฝ่ายโดยเต็มกำลัง เป็นครื่องมืออย่างสำคัญ ที่จะสามารถนำไปใช้แก้ไขอุปสรรคปัญหา รวมทั้งพัฒนาบ้านเมืองของเราได้ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยความรัก ความปรารถนาดีต่อกันนั้น เป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ที่จะทำให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกยั่งยืนตลอดไป”

 

ขณะที่จิตอาสาอีกกว่า 4,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนในพื้นที่ต่างช่วยกันทำความสะอาด บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ถ้ำหลวง เพื่อคืนความสมบูรณ์ของวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อีกด้วย
 

 

ปัจจุบันคนไทยได้เห็นภาพของ จิตอาสา สวมหมวกสีฟ้า ผูกผ้าพันคอสีเหลืองพระราชทานกระจายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินไทย ผ้าพันคอสีเหลืองเป็นสีประจำพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่วนด้านหลังผ้าพันคอมีตราพระปรมาภิไธยย่อ “ว.ป.ร.” หมายถึง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและหมวกจิตอาสาสีฟ้า เป็นสีประจำพระชนมวารของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งหน้าหมวกมีภาพวาดฝีพระหัตถ์ เราทำความดี ด้วยหัวใจ โครงการจิตอาสา “ทำความดีด้วยหัวใจ”ได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง