ภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากอะไร

และต้องมีพนักงานหลายฝ่ายมาเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรนั้นพัฒนาต่อไป ซึ่งตัวองค์กรเองก็ต้องหารายได้เพื่อนำมาจ้างพนักงานและนำรายได้นั้นมาใช้พัฒนาปรับปรุงภายในองค์กรด้วย ซึ่งรายได้ของประเทศเรามาจาก 2 ช่องทางหลัก คือ รายได้จากการเก็บภาษีอากร และรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร ในวันนี้เราจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” เป็นภาษีทางตรงที่จะถูกเรียกเก็บเข้าสู่ระบบส่วนกลางของประเทศผ่านหน่วยงานที่เรียกว่ากรมสรรพากร 

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร

เชื่อว่าทุกคนคงจะได้ผ่านหูผ่านตากับคำว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล มาไม่มากก็น้อย และความเข้าใจที่มีต่อภาษีประเภทนี้ก็คงไม่ได้มีเท่ากันด้วย จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ยกเอาเรื่องราวของภาษีประเภทนี้มาแบ่งปันกัน หากจะพูดกันให้เข้าใจง่ายที่สุด ภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ในข้อกำหนดของกรมสรรพากรที่จะต้องจัดเก็บภาษีส่วนนี้มาจากกลุ่มองค์กรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยรูปแบบนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ได้บัญญัติไว้ก็จะแบ่งตามเงื่อนไขการก่อตั้ง ดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

– บริษัท จำกัด

– บริษัทมหาชน จำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

– ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แต่มีหน้าที่เสียภาษีในประเทศไทย (โดยต้องยึดตามเงื่อนไขในข้อบัญญัติ)
  2. กิจการที่ดำเนินการเพื่อหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์กรของรัฐบาลต่างประเทศ และนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
  3. กิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างองค์กร 2 องค์กรขึ้นไปเพื่อหากำไร (มีกำหนดเงื่อนไขตามข้อบัญญัติ)
  4. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการเพื่อสร้างรายได้ โดยจะไม่นับรวมมูลนิธิหรือสมาคมที่ถูกกำหนดให้เป็นองค์กรสาธารณกุศลอย่างเป็นทางการ
  5. นิติบุคคลอื่น ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นตามการอนุมัติของรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามข้อกำหนด

นิติบุคคลที่ถูกยกเว้นการเสียภาษีเงินได้

จากข้างต้นเราได้แจกแจงเกี่ยวกับกลุ่มนิติบุคคลที่เข้าเงื่อนไขการเสียภาษีเงินได้ไปแล้ว แต่ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงกลุ่มนิติบุคคลที่มองดูผิวเผินก็เป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามปกติ แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับเป็นกลุ่มนิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลที่ถูกยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ตามบัญญัติกฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ โดยอ้างอิงข้อมูลตามที่เผยแพร่ในเว็บไซต์กรมสรรพากร ได้แก่

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
  2. บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  3. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประเมินจากรายได้ส่วนใด

สำหรับการแจกแจงผลประกอบการต่าง ๆ ภายในองค์กรแล้วสรุปรวมออกมาเป็น ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อส่งให้กรมสรรพากรนั้นจะสรุปออกมาเป็นรูปแบบของกำไรสุทธิที่ผ่านการคำนวณตามฐานภาษีที่ถูกกำหนดไว้ แต่ถึงอย่างนั้นในระบบการดำเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ ก็อาจจะมีช่องว่างที่มีผลต่อการเลี่ยงภาษีบางส่วนไป การคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงไม่ได้มีฐานการคำนวณภาษีเงินได้เพียงแค่ข้อเดียว แต่ยังมีฐานภาษีที่ต้องยกมาใช้ในการคำนวณภาษีให้ครอบคลุมโดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

– ฐานภาษีกำไรสุทธิ

– ฐานภาษียอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

– ฐานภาษีเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

– ฐานภาษีการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

การเริ่มต้นประกอบธุรกิจใดก็ตาม หากให้ถูกต้องตามกฎหมายคือคุณจะต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความสบายใจ อีกทั้งแสดงถึงความน่าเชื่อถืออีกด้วย ส่งผลทำให้มองเห็นผลกำไรเพราะการทำบัญชีจะต้องเก็บรายละเอียดในส่วนนี้ประกอบด้วยนั้นเอง อย่างไรก็ตามศึกษารายละเอียดอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องครบถ้วน

ธุรกิจแบบนิติบุคคลกับธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาแบบไหนดีกว่า

ในส่วนนี้เราจะพูดถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยจะแบ่งทั้งหมดเป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบแรกธุรกิจแบบธรรมดา กับรูปแบบที่สองธุรกิจแบบนิติบุคคล โดยธุรกิจทั้ง 2 แบบนี้มีหน้าที่ต้องยื่นเรื่องเสียภาษีให้กับกรมสรรพากรเหมือนกัน แต่ว่าวิธีการคำนวณฐานภาษีจะแตกต่างกัน โดยภาษีเงินได้เหล่านี้จะพิจารณามาตั้งแต่รูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์นั้น ๆ แล้ว เพื่อให้ข้อมูลด้านนี้ครบถ้วนและชัดเจนเราไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมกันได้เลย ดังนี้

  1. กลุ่มแรกคือบุคคลที่ประกอบธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กแบบห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีบุคคลร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน หรือจะเป็นลักษณะธุรกิจที่มีเจ้าของลงทุนคนเดียว แต่ก็ยังคงสภาพเป็นบุคคลธรรมดาเพราะไม่มีการจดทะเบียน จึงทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีความน่าเชื่อถือน้อย การทำบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษีไม่ต้องยึดตามหลักบัญชีมาตรฐานก็ได้ แต่ต้องบันทึกรายการเพื่อแสดงรายได้ รายจ่าย ให้เห็นว่าผลการดำเนินกิจการมีตัวเลขขาดทุนหรือตัวเลขกำไรอย่างไร บันทึกไว้เพื่อนำมาใช้อ้างอิง
  2. . กลุ่มที่สองคือบุคคลที่ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ประเมินจากธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ดำเนินงานภายใต้ชื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามจุดประสงค์ของการก่อตั้ง ในระบบดำเนินงานจะต้องมีผู้บริหารหลายฝ่าย มีผู้ถือหุ้น และมีพนักงานภายในองค์กรจำนวนมาก การดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคลจะต้องถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจอย่าง กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรที่จะเข้ามาตรวจสอบเกี่ยวกับภาษีเงินได้ขององค์กรเหล่านั้นด้วย ดังนั้นตัวองค์กรจึงต้องจัดทำบัญชีให้ตรงตามมาตรฐานเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบตามสถานะจริง

หากมองในแง่การเสียภาษีแล้วนิติบุคคลจะมีการลดหย่อนหรือข้อหักล้างบางอย่างที่ทำให้เสียภาษีได้น้อยลง หรือในกรณีที่ขาดทุนก็สามารถยกเว้นการเสียภาษีได้ตามข้อบัญญัติ มีอัตราการเสียภาษีเพียงแค่อัตราเดียวในทุกผลกำไร แต่ต้องทำบัญชีให้ตรงตามาตรฐานที่กำหนด ในขณะที่การเสียภาษีบุคคลธรรมดาไม่มีข้อหักล้างหรือการลดหย่อนภาษี มีอัตราการเสียภาษีแบบก้าวกระโดดการเสียภาษีจึงไม่ได้ใช้เกณฑ์เดียวในการประเมิน ขึ้นอยู่กับการประเมินรายได้ของกิจการในแต่ละช่วงเวลา แต่ไม่ต้องยุ่งยากกับการทำบัญชีให้ตรงตามมาตรฐาน

เมื่อพิจารณาจากรูปแบบโดยรวมของการดำเนินธุรกิจทั้ง 2 แบบแล้ว จะเห็นได้ว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดากับธุรกิจแบบนิติบุคคลมีลักษณะการดำเนินงานที่ไม่เหมือนกัน มีวิธีการจัดทำบัญชีที่ต่างกัน ดังนั้น แนวทางการเสียภาษีเงินได้จึงมีวิธีการที่ต่างกันออกไปด้วย การจะตัดสินว่าธุรกิจแบบไหนดีกว่ากันโดยสิ้นเชิงคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งเจ้าของกิจการเองต้องนำข้อดีข้อเสียของธุรกิจทั้ง 2 แบบมาเป็นหลักพิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจตัวเอง และหากจะตอบว่าธุรกิจแบบไหนดีกว่าก็ต้องประเมินจากปัจจัยแวดล้อมในขณะนั้นนั่นเอง

บทสรุป

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้บอกเล่าไปจึงทำให้มองเห็นว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องศึกษาและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะเชื่อว่ามีหลายคนยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นัก แต่การศึกษาเอาไว้เป็นความรู้รอบตัวก็จะช่วยให้เราเป็นคนที่รู้เท่าทันโลก และได้ตระหนักว่าสิ่งที่อยู่ไกลตัวเราในวันนี้สักวันหนึ่งอาจจะกลายมาเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราต้องให้ความสนใจมากที่สุดก็ได้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บยังไง

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ จัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณี ...

ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้จากที่ไหน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีประเภทหนึ่งตาม ประมวลรัษฎากร โดยมี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นผู้เสียภาษี ซึ่งปัจจุบัน อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดอยู่ที่ 20% โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดเก็บ

นิติบุคคลต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ธุรกิจประเภทนิติบุคคล ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?.
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ... .
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ... .
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ... .
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ... .
อากรแสตมป์.

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเก็บจากอะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บาง ...