ภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากอะไร

หลายท่านคงปวดหัวกับการคำนวณภาษีสำหรับนิติบุคคลในแต่ละปีกันพอสมควร เพราะเรื่องตัวเลขนั้นเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ชอบมากนัก แต่อย่างไรก็ตามเราก็หนีไม่พ้นค่ะ เพราะหากคุณเป็นเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด หรืออาจจะเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) หรือที่เราเรียกกันว่านิติบุคคล ก็จำเป็นต้องคำนวณภาษีให้เป็นค่ะ

เอาล่ะ ในบทความนี้เราจะมาเปลี่ยนเรื่องของการคำนวณภาษีที่ยุ่งยาก ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ และเข้าใจง่ายสุด ๆ ด้วย ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่เราจะมายกตัวอย่างทั้งหมด 3 ตัวอย่าง ที่ครอบคลุมการคิดภาษีทั้ง 3 รูปแบบ ซึ่งจะคิดคำนวณจาก ฐานภาษีนิติบุคคล นั่นเองค่ะ นิติบุคคลในที่นี้ก็หมายถึง บริษัท และ ห้างหุ้นส่วน (หจก) แต่ถ้ายังสงสัยว่าบริษัทกับหจกต่างกันอย่างไร ก็ลองอ่านเพิ่มจากบทความ หจก กับ บริษัท ต่างกันอย่างไร ได้เลยค่ะ


สารบัญเนื้อหา สามารถเลือกอ่านได้นะคะ

  • ฐานภาษีนิติบุคคล มีแบบไหนบ้าง
    • อัตราภาษี SME
    • อัตราภาษีธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน)
  • ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
    • ตัวอย่างที่ 1 กรณีขาดทุน
    • ตัวอย่างที่ 2 กรณีกำไรสุทธิไม่ถึง 300,000 บาท
    • ตัวอย่างที่ 3 กรณีมีกำไรสุทธิระหว่างปี มากกว่า 300,000 บาท


ฐานภาษีนิติบุคคล มีแบบไหนบ้าง

ถึงแม้ว่าเราจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว แต่อัตราการชำระภาษีก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ธุรกิจ SME กับ ธุรกิจนอกเหนือจาก SME (มหาชน) โดยเราจะสามารถแบ่งว่าแบบไหนคือ SME และแบบไหนคือธุรกิจนอกเหนือ SME ได้ดังนี้

  1. ธุรกิจ SME จะมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท และรายได้ทั้งปีจะต้องไม่เกิน 30,000,000 บาท
  2. ธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) จะมีทุนจดทะเบียนมากกว่า 5,000,000 บาท ขึ้นไป และรายได้ทั้งปีมากกว่า 30,000,000 บาทขึ้นไป

เมื่อเราเข้าใจและสามารถแยกได้แล้วว่า ธุรกิจ SME กับธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) ต่างกันอย่างไร ต่อมาเรามาทำความเข้าใจกับอัตราภาษีในแต่ละธุรกิจกันค่ะ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากอะไร

อัตราภาษี SME

สำหรับอัตราภาษีของธุรกิจ SME จะมีการคิดเป็นขั้นบันไดในการคิดภาษีดังนี้

  • ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก
  • กำไรสุทธิ 300,001 บาท ถึง 3,000,000 บาท จะต้องชำระภาษี 15%
  • กำไรสุทธิ 3,000,001 บาทขึ้นไป จะต้องชำระภาษี 20%

มาถึงตรงนี้อย่าพึ่ง งง นะคะเดี๋ยวเราจะมี ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ในหัวข้อถัดไปค่ะ แต่กรณีที่คุณจ้างบริษัท รับทำบัญชี ที่เป็นบัญชีภายนอกอยู่ก็อาจจะสามารถปรึกษานักบัญชีได้ แต่ถ้าคุณยังไม่มีสำนักงานบัญชีก็จำเป็นต้องคำนวณให้เป็นค่ะ แต่ก่อนอื่นขอปูพื้นฐานให้เข้าใจ ฐานภาษีนิติบุคคล กันก่อน เพื่อให้เห็นภาพ อัตราภาษี SME มากขึ้น ลองดูตารางอัตราภาษีด้านล่างนี้ได้เลย

  กำไรสุทธิ (บาท)  อัตราภาษีที่ต้องชำระ  300,000  ยกเว้นภาษี  300,001 – 3,000,000  15%  3,000,001 ขึ้นไป  20%

ตารางการคิดอัตราภาษีธุรกิจ SME

อัตราภาษีธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน)

สำหรับการคิดภาษีธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) จะแตกต่างจาก SME โดยที่ธุรกิจนอกเหนือ SME จะมีการคิดอยู่แค่อัตราเดียว นั่นก็คือ

  • กำไรสุทธิตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป จะต้องชำระภาษี 20%

โดยถ้าดูจากตารางอัตราการเสียภาษีของธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) จะได้ดังนี้

  กำไรสุทธิ  อัตราภาษีที่ต้องชำระ  1 บาทขึ้นไป  20%

ตารางการคิดอัตราภาษีธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน)

 

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

ในข้างต้นน่าจะพอเข้าใจวิธีการคิดภาษีจาก ฐานภาษีนิติบุคคล ในเบื้องต้นแล้ว แต่อาจจะยังไม่มั่นใจในการนำไปใช้จริง ดังนั้นเพื่อเสริมความเข้าใจเรามีตัวอย่างที่ค่อนข้างครอบคลุม เพื่อให้คุณนำไปลองปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ โดยวันนี้จะขอยกมา 3 ตัวอย่าง ก็คือ

  • กรณีขาดทุน
  • กรณีกำไรสุทธิไม่ถึง 300,000 บาท
  • และกรณีกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท

โดยทั้ง 3 กรณีก็จะแยกออกให้เห็นภาพระหว่าง ธุรกิจ SME กับ ธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) เอาล่ะเรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ

 

ตัวอย่างที่ 1 กรณีขาดทุน

ก่อนอื่นเลยจะขอจำลองจำนวนตัวเลขของการดำเนินการธุรกิจทั้งปี ดังนี้

  • รายได้ทั้งปีอยู่ที่ 1,000,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายทั้งปีอยู่ที่ 1,200,000 บาท
  • ชำระภาษีระหว่างปีไปแล้ว 100,000 บาท

จากข้อมูลเบื้องต้นสังเกตก็คือ ค่าใช้จ่าย มากกว่า รายได้ ดังนั้นผลประกอบการก็คือขาดทุน 200,000 บาท ดังนั้นถ้าเป็นกรณีที่ธรุกิจขาดทุน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ SME หรือ ธุรกิจนอกเหนือ SME ก็ไม่ต้องชำระภาษีค่ะ และเรายังขอคืนภาษีที่ชำระแล้ว 100,000 บาทได้ด้วย

สรุปก็คือ กรณีขาดทุน ไม่ต้องชำระภาษี และสามารถขอคืนภาษีที่ชำระระหว่างปีได้

 

ตัวอย่างที่ 2 กรณีกำไรสุทธิไม่ถึง 300,000 บาท

จำลองตัวเลขของการดำเนินการธุรกิจทั้งปี ดังนี้

  • รายได้ทั้งปีอยู่ที่ 1,000,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายทั้งปีอยู่ที่ 800,000 บาท
  • ชำระภาษีระหว่างปีไปแล้ว 100,000 บาท

ถ้ากรณีมีกำไร จะต้องแยกการคิดอัตราการชำระภาษีเป็น 2 แบบ นั่นก็คือ ธุรกิจ SME กับ ธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) เรามาดูสำหรับการคำนวณภาษีจากอัตราภาษีของธุรกิจ SME กันก่อนเลย

การคำนวณภาษีกรณีมีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับธุรกิจ SME

จากข้อมูลจำลองตัวอย่างที่ 2 เราจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 200,000 บาท โดยคิดจาก รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่ายทั้งปี = กำไรสุทธิ

แต่จากอัตราภาษีของธุรกิจ SME ที่ยกเว้นภาษีที่ 300,000 บาทแรก (ถ้า งง ให้ลองกลับขึ้นไปดูที่ตารางด้านบนค่ะ) ฉะนั้น เราก็ไม่ต้องชำระภาษี

แต่ระหว่างปีเราชำระภาษีไปแล้ว 100,000 บาท (จากข้อมูลจำลอง) ดังนั้นเราก็สามารถขอภาษี 100,000 บาทคืนได้อีกค่ะ

การคำนวณภาษีกรณีมีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน)

จากข้อมูลจำลองเรามีกำไรสุทธิอยู่ที่ 200,000 บาท

และจากอัตราภาษีสำหรับธุรกิจนอกเหนือ SME จะมีแค่เรทเดียวก็คือกำไรสุทธิตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป จะเสียภาษี 20%

ดังนั้นการคำนวณภาษีของตัวอย่างนี้ก็คือ 200,000 x 20% = 40,000 บาท

แต่ระหว่างปีเราชำระภาษีไปแล้ว 100,000 บาท ดังนั้นเราสามารถขอคืนภาษีได้ 60,000 บาท โดยคำนวณจาก 100,000 – 40,000 = 60,000 บาท

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเปรียบเทียบอัตราภาษี SME กับ ธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน) ได้จากภาพด้านล่างนี้เลย

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากอะไร

 

ตัวอย่างที่ 3 กรณีมีกำไรสุทธิระหว่างปี มากกว่า 300,000 บาท

จำลองตัวเลขของการดำเนินการธุรกิจทั้งปี ดังนี้

  • รายได้ทั้งปีอยู่ที่ 1,000,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายทั้งปีอยู่ที่ 200,000 บาท
  • ชำระภาษีระหว่างปีไปแล้ว 100,000 บาท

ในตัวอย่างนี้จะคล้ายกับตัวอย่างที่ 2 ก็คือกรณีธุรกิจมีผลกำไรจะแยกการคำนวณภาษีออกเป็น 2 แบบก็คือ ธุรกิจ SME และธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน)

การคำนวณภาษีกรณีมีกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท สำหรับธุรกิจ SME

จากข้อมูลจำลองจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 800,000 บาท (รายได้ - ค่าใช้จ่าย)

จากอัตราการคิดภาษีตามขั้นบันไดของธุรกิจ SME จะต้องแยกกำไรสุทธิ 800,000 บาท ออกมาเพื่อคำนวณภาษีดังนี้

    • 300,000 บาทแรก ยกเว้นภาษี
    • ต่อมากำไรสุทธิ 500,000 บาทจะต้องชำระภาษี 15% ก็คือ 500,000 x 15% = 75,000 บาท (500,000 บาท คิดมาจาก กำไร 800,000 – ยกเว้นภาษี 300,000 บาทแรก)
    • เราได้ชำระภาษีระหว่างปีไปแล้วที่ 100,000 บาท (จากข้อมูลจำลอง) ดังนั้นเราจะสามารถขอคืนภาษีได้ที่ 25,000 บาท โดยคำนวณจาก 100,000 – 75,000 = 25,000 บาท

การคำนวณภาษีกรณีมีกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท สำหรับธุรกิจนอกเหนือ SME (มหาชน)

จากตัวเลขจำลองจะมีกำไรสุทธิ 800,000 บาท (รายได้ - ค่าใช้จ่าย)

จากอัตราการเสียภาษีของธุรกิจนอกเหนือ SME ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คือจากมีเรทการเสียภาษีอยู่ที่เรทเดียวก็คือ กำไรสุทธิตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี 20% โดยจะมีวิธีการคำนวณง่าย ๆ ดังนี้

    • จะต้องชำระภาษี 20% โดยการคำนวณก็คือ 800,000 x 20% = 160,000 บาท
    • โดยเราได้ชำระภาษีระหว่างปีไปแล้ว 100,000 บาท ดังนั้นเราจะต้องชำระภาษีเพิ่มอีกแค่ 60,000 บาท โดยวิธีการคำนวณก็คือ 160,000 – 100,000 = 60,000 บาท

เพื่อความเข้าใจมากขึ้นลองดูตามภาพด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากอะไร

และสำหรับเรื่อง ฐานภาษีนิติบุคล ก็จะมีประมาณนี้นะคะ รวมถึง ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะมีประมาณนี้ ซึ่งตัวอย่างทั้ง 3 ตัวอย่าง ก็จะค่อนข้างครอบคลุม ดังนั้นคุณสามารถนำไปดัดแปลงตัวเลข และสามารถนำไปใช้ได้จริงกับธุรกิจของคุณเองได้เลยนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ

ภาษีนิติบุคคลคิดจากอะไร

สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน ถ้าเป็นบริษัททั่วไป จะเสียภาษีอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก และได้รับสิทธิเสีย ...

ภาษีเงินเงินได้นิติบุคคลเก็บจากอะไรบ้าง

(1) กำไรสุทธิ (2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย (3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลมีลักษณะอย่างไร

ภาษีเงินได้นิติบุคคลคือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีSME คิดยังไง

อัตราภาษี SME สำหรับอัตราภาษีของธุรกิจ SME จะมีการคิดเป็นขั้นบันไดในการคิดภาษีดังนี้ ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก กำไรสุทธิ 300,001 บาท ถึง 3,000,000 บาท จะต้องชำระภาษี 15% กำไรสุทธิ 3,000,001 บาทขึ้นไป จะต้องชำระภาษี 20%