ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทย คือ

ดาวเทียม นามพระราชทาน

           วงการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทยเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและน่าสนใจเรื่องหนึ่ง ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องอวกาศเป็นอย่างยิ่ง เป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งคือ พระองค์ทรงพระราชทานนามชื่อดาวเทียมสำคัญทั้ง 3 ดวง ในประเทศไทย มีชื่อว่า ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมไทพัฒ และดาวเทียมไทยโชต ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการการสื่อสารและการสำรวจทรัพยากรในประเทศไทย วันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับดาวเทียม ทั้ง 3 ดวง แบบเบื้องต้นกันก่อน

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทย คือ

ภาพที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องอวกาศ
ที่มา https://www.matichon.co.th/news/343176    

         ดาวเทียม สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ส่งไปโคจรรอบโลก คล้ายกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของการใช้งานก็เพื่อประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น เพื่อการส่งและรับสัญญาณการสื่อสาร เพื่อการศึกษา เพื่อการโทรนาคม  เพื่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทางการทหาร ที่มีไว้เพื่อสอดแนมศัตรูหรือข้าศึก เป็นต้น

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทย คือ

ภาพที่ 2 ดาวเทียมไทยคม
ที่มา http://www.thaicom.net

ดาวเทียมไทยคม

          ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร ประเทศไทยเริ่มมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างดาวเทียมนี้ขึ้นในปี 2534 และดำเนินงานสำเร็จจนใช้งานได้ในปี 2538 ภายใต้ชื่อที่ว่า “ไทยคม” ให้บริการด้านการสื่อสาร ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรที่ยังทำงานอยู่ในอวกาศมี 5 ดวง จากจำนวนทั้งหมด 8 ดวง โดยดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดคาสต์ ให้บริการถ่ายทอดสัญญาณรายการโทรทัศน์ ครอบคลุมประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และแอฟริกา   นอกจากนี้ ยังมีดาวเทียมสำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ หรือดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกของโลก

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทย คือ

ภาพที่ 3 ดาวเทียมไทพัฒ
ที่มา http://www.tpa.or.th

ดาวเทียมไทพัฒ

          ดาวเทียมไทพัฒ (Thaipat)  ดาวเทียมขนาดเล็กสัญชาติไทย ออกแบบพัฒนาและจัดสร้างโดยศูนย์วิจัยดาวเทียมไทพัฒ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ (University of Surrey) ประเทศอังกฤษ โดยในปี 2539 คณะอาจารย์ของไทยเดินทางไปร่วมดำเนินการเรียนรู้พื้นฐานการ ออกแบบดาวเทียม การสร้าง และการทดสอบดาวเทียมจนสำเร็จออกมาได้ดาวเทียมที่มีชื่อในตอนแรกว่า TMSAT (Thai Micro-Satellite) เสร็จสิ้นในปี 2540 นับเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบและสร้างโดยคนไทย ดาวเทียมไทพัฒมีการส่งสัญญาณแบบไมโครเวฟ ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการทหาร การพยากรณ์อากาศ การค้นหาทรัพยากรธรณี และการสื่อสาร

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทย คือ

ภาพที่ 4 ดาวเทียมไทยโชต
ที่มา http://www.gistda.or.th/main/th/node/90

ดาวเทียมไทยโชต

          ดาวเทียมไทยโชต หรือดาวเทียมที่มีชื่อเดิมว่า ดาวเทียมธีออส THEOS (Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมเพื่อสำรวจทรัพยากร โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก ทำงานโดยอาศัยแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกเพื่อสำรวจ และถ่ายภาพทรัพยากรบนผืนโลก และมีการติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบออฟติคคอลที่สามารถถ่ายภาพในคลื่นแสงที่ตามองไม่เห็นได้ด้วย 

          ทั้งหมดนี้จึงนำมาให้ทุกท่านได้อ่านกันเป็นความรู้เพิ่มเติม และเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อวงการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย

แหล่งที่มา

มติชน (2559, 1  พฤศจิกายน).   แสงที่มองเห็นในหลวง รัชกาลที่ 9 พระอัจฉริยภาพด้านอวกาศ. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2560, จาก
          https://www.matichon.co.th/news/343176   

ดาวเทียมไทยคม. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2560, จาก
          https://th.m.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยพัฒ. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2560, จาก
          https://th.m.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียมไทยพัฒ

mgronline (2559, 8  ธันวาคม).   10 ธ.ค.วันสำคัญของ “ไทยโชต” ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย.   สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2560, จาก
          https://mgronline.com/science/detail/9590000122255

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ดาวเทียม นามพระราชทาน

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันพุธ, 06 ธันวาคม 2560

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม