ตลาดปสาน มีความสําคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

ตลาดบาซาร์


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า ในสมัยสุโขทัยได้มีตลาดเกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า "ตลาดปสาน" เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งของชาวเมืองสุโขทัยและชาวเมืองใกล้เคียง

ตลาดปสาน มีความสําคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

 ในศิลาจารึกระบุไว้ว่า สินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดปสานมีหลายประเภท ตั้งแต่ผลไม้ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และสัตว์ที่ใช้เป็นแรงงานเป็นพาหนะ เช่น วัวและม้า ตลาดปสานนั้นตั้ง อยู่ทางตอนเหนือของเมืองสุโขทัย ลักษณะของตลาดเป็นลานกว้างๆ เหมาะสำหรับเป็นที่ชุมนุมกันของผู้ซื้อและผู้ขาย รูปแบบของตลาดเช่นนี้อาจจะเรียกได้ว่า ตลาดบก เพราะมีทำเลที่ตั้งค้าขายอยู่บนบก ตัวอย่างตลาดในสมัยสุโขทัยที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก เช่น ตลาดป่าตองขายใบตอง ตลาดป่าพร้าวขายมะพร้าว ตลาดป่าตะกั่วขายโลหะตะกั่ว จะเห็นได้ว่าตลาดมีลักษณะการขายสินค้าเป็นแหล่งๆไป


ประวัติความเป็นมาของตลาดปสาน

          พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช ได้สนับสนุนให้ชาวสุโขไทยประกอบอาชีพค้าขายอย่างอิสระ ได้ทรงเป็นศูนย์การค้าประจำเมืองขึ้น เรียกว่า ตลาดปสานหรือ บาซาร์ในภาษาเปอร์เซีย
ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่และมีความสำคัญที่สุด สำหรับเป็นที่ชุมนุมกันของผู้ซื้อและผู้ขาย ตลาดปสานจึง
เป็นแหล่งซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งของชาวสุโขทัยและชาวต่างประเทศสนใจเข้ามาทำการค้า
ขายมากขึ้น มีผลทำให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น และชาวสุโขทัยยังได้รู้จักการติดต่อกับคนต่างเมืองต่างภาษาได้มีการเลือกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน การค้าขายในกรุงสุโขทัยตามปกติ นิยมซื้อขายแบบเลือกเปลี่ยนสินค้าตามความพอใจ โดยจะตกลงต่อรองราคาสินค้ากันเอง และนำระบบเงินตราเข้ามาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยน คือ เงินพดด้วงซึ่งนับเป็นเงินตราไทยโดยแท้ มีลักษณะเป็นก้อนกลม ทำด้วยโลหะเงินนอกจากนั้นก็ยังมีตลาดที่มีลักษณะการค้าเป็นแหล่งๆไปในตัวเมืองสุโขทัย ดังนั้นลักษณะทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญจึงขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร

   เศรษฐกิจของสุโขทัยมีพื้นฐานอยู่ที่เกษตรกรรมและเป็นแบบยังชีพหรือสามารถเลี้ยงตนเองได้ คือทำเพื่อให้พอมีกินมีใช้ในครอบครัวในแต่ละปี ไม่ได้ทำเพื่อเป็นสินค้าส่งออกแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะผลิตผลที่สำคัญคือข้าวนั้นมีความสำคัญในการทำสงคราม ซึ่งผลของสงครามไม่ว่าจะได้รับชัยชนะหรือพ่ายแพ้ก็มีความผูกพันกับข้าวมาก ข้าวปลูกกันตามที่ราบลุ่มและตามริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้คนนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันมาก เพราะสะดวกในการเดินทางและเหมาะสมในการดำเนินชีวิต พืชสำคัญของสุโขทัยนอกจากข้าวก็มีมะพร้าว มะม่วง มะขาม หมาก พลู และพืชผลอื่นๆ โดยพืชผลที่ผลิตได้เกินความต้องการในครอบครัวก็จะนำออกมาขายในเมืองที่มีการตลาดการค้าหรือตลาดปสาน หรือขายตามตลาดนัด   

การค้าในสมัยสุโขทัยมีทั้งการค้าภายในอาณาจักรและการค้าภายนอกอาณาจักร การค้าในประเทศ เป็นการค้าขายตามตลาดปสานหรือตลาดนัด โดยมีสินค้าสำคัญคือข้าว ผลไม้ชนิดต่างๆ เครื่องจักสาน ผ้า เครื่องถ้วยชาม  เป็นต้น ส่วนการค้าภายนอกอาณาจักรนั้น สุโขทัยมีการค้ากับดินแดนใกล้เคียง เช่น มอญ ลาว เมืองต่างๆ ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ และดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป ที่สำคัญ คือ จีน สินค้าออกที่สำคัญ คือ เครื่องสังคโลกและของป่าต่างๆ เช่น สัตว์ ไม้หอม หนังสัตว์ งาช้าง เป็นต้น

เครื่องสังคโลกมีหลายแบบ ทั้งจาน ไห กระปุก แจกัน มีขนาดลวดลายแตกต่างกัน ที่ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น ช่อฟ้า ใบระกา รูปสัตว์ ก็มี แต่สีที่เคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กา ที่เป็นสีน้ำตาลก็มีบ้าง เชื่อได้ว่า รายได้จากการค้าเครื่องสังคโลกเป็นรายได้ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย และเมื่อสุโขทัยเสื่อมอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใน พ.ศ. 1893 รายได้จากการค้าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยลดลงมาก เนื่องจากเส้นทางส่งสินค้าออกทางทะเลถูกปิดกั้น อย่างไรก็ตาม การทำเครื่องสังคโลกเพื่อประโยชน์ใช้สอยและการค้าก็ได้ดำเนินต่อมา




ตลาดปสาน มีความสําคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย


ทำไมถึงปลูกอะไรก็ง่าย เลี้ยงอะไรก็คล่อง

ตระพังก็คือสระน้ำที่ขุดเต็มไปหมดภายในตัวเมืองนั้นแหละ พ่อขุนรามคำแหงท่านสอนให้ราษฎรแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพดินไม่สมบูรณ์ และขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และยังเป็นการจัดระบบชลประทานเพื่อช่วยในการเพาะปลูกในฤดูแล้รวมไปถึงเพื่ออุปโภคบริโภคด้วยนะ เช่น มีการสร้างเชื่อดินเรียกว่า สรีดภงส์ สร้างรางคันดิน สร้างเหมืองฝาย คู



ตลาดปสาน มีความสําคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย


                                                                     รูปตระพัง

การหัตถกรรม
การทำหัตถกรรมของสุโขทัย ที่มีชื่อเสียงอย่างมากของอาณาจักรสุโขทัย คือ การผลิต

“เครื่องสังคโลก” เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสุโขทัย โดยได้รับอิทธิพลในด้านรูปแบบมาจากประทศจีน แหล่งผลิตสำคัญนั้นอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย โดยมีการค้นพบเตาทุเรียงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเตาทุเรียงขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการเผาเครื่องสังคโลกมากมายที่สอง