บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

ความแตกต่างระหว่าง TCP กับ UDP

TCP คือ อะไร?
TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol เป็นหนึ่งในโปรโตคอลหลักของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกแพ็กเก็ตที่จัดส่งไปยังปลายทางนั้นเป็นไปตามลำดับที่ถูกต้องตามที่ต้นทางส่งออกมา ด้วยการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองฝั่ง ทั้งผู้ส่งและผู้รับ ดังนั้นข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันจะมีความน่าเชื่อถือสูงและประกันความถูกต้อง

UDP คือ อะไร?
UDP ย่อมาจาก User Datagram Protocol เป็นโปรโทคอลหลักในชุดโปรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Datagram ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดเล็กกว่าส่งผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง  แต่ UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือของข้อมูลและลำดับของ Datagram ในขณะที่ TCP จะรับประกันความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งหมายความว่า Datagram อาจมาถึงไม่เรียงลำดับหรือสูญหายได้

ทั้ง TCP และ UDP ต่างก็เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการส่งรับข้อมูลเป็นแบบแพ็คเก็จในระบบสื่อสารบน Ethernet  โดยปกติ TCP และ UDP จะทำงานโดยการอ้างอิง IP(Internet Protocol) ซึ่งนิยมเรียกว่า TCP/IP และ UDP/IP  เราสามารถแยกความแตกต่างของโปรโตคอลทั้ง 2 อย่างได้ดังนี้

TRANSMISSION CONTROL PROTOCOL (TCP) USER DATAGRAM PROTOCOL (UDP)
TCP คือ โปรโตคอลแบบ connection-oriented ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ที่จะสื่อสารกันต้องเปิดเชื่อมต่อกันก่อนการรับส่งข้อมูลกันและต้องปิดการเชื่อมต่อหลังจากการรับส่งข้อมูลกัน UDP คือ โปรโตคอลแบบ Datagram oriented ซึ่งไม่มี overhead สำหรับการเปิดการเชื่อมต่อและรักษาการเชื่อมต่อและยกเลิกการเชื่อมต่อ  UDP เหมาะสำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ broadcast และ multicast
TCP มีความน่าเชื่อถือและประกันว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางแน่นอน UDP จะไม่สามารถรับประกันได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งถึงปลายทางหรือไม่
TCP มีการกลไกลในการตรวจสอบข้อผิดพลาด มีการ flow control และการรับรู้ว่าได้รับข้อมูล UDP มีการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลแบบพื้นฐานเท่านั้นโดยใช้ checksums
ลำดับของข้อมูลคือข้อเด่นของ Transmission Control Protocol (TCP) นั่นหมายความว่าแพ็คเก็จข้อมูลจะส่งถึงผู้รับเรียงลำดับกัน ไม่มีลำดับของข้อมูล ถ้าต้องการให้เรียงลำดับต้องให้แอฟลิเคชั่นเป็นตัวจัดการ
TCP ทำงานช้ากว่า UDP UDP ทำงานเร็วกว่า ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า TCP
มีการรับส่งซ้ำถ้ามีการสูญหายของข้อมูล ไม่มีการรับส่งซ้ำถ้าข้อมูลสูญหาย
TCP header มีขนาด 20 bytes. UDP Header มีขนาด 8 bytes.
TCP ถูกใช้งานกับ HTTP, HTTPs, FTP, SMTP และ Telnet UDP ถูกใช้งานกับ DNS, DHCP, TFTP, SNMP, RIP, และ VoIP

      สวัสดีครับวันนี้กลับมาพบกับ RVP Blog กันอีกครั้งนะครับ ทุกท่านทราบไหมครับว่า Protocol (โปรโตคอล) นั้นคืออะไร มีหน้าที่อะไร ใช้ทำอะไร มีกี่ชนิด และเกี่ยวอะไรกับ Internet of things เหมือนเดิมครับวันนี้ผมจะมาเล่าเรื่อง โปรโตคอล ให้ฟังว่ามันเป็นยังไงกันแน่มันมีความสำคัญขนาดไหนมีประโยชน์อย่างไรกัน

Protocol คืออะไร

      Protocol (โปรโตคอล) คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ หรือพูดให้เขาใจง่ายๆก็คือภาษาในการสื่อสารระของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างกันได้อย่างสะดวก ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นๆจะเป็นรุ่นเดียวกันหรือไม่ ในระบบเครือขาย โปรโตคอลมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเหมือนภาษาและการสื่อสารที่ทำให้อุปกรณ์ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไหร่หรือรุ่นไหนก็ตาม โปรโตคอลนั้นมีหลากมายชนิดมีความสามารถที่แตกต่างกันสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายประเภทตามความเหมาะสม

      IOT ที่เราได้อธิบายในบทความที่ผ่านมา อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า คือการนำอุปกรณ์ทุกชนิดมาเชื่อมต่อเข้ามากันผ่านระบบเครือข่ายดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ โปรโตคอลในการสื่อสารกันนั่นเองโดยมีหลากหลายชนิดให้เราได้เลือกใช้ วันนี้ผมจะมาอธิบายว่า โปรโตคอลที่นิยมใช้กับ IOT นั้นมีอะไรกันบ้าง…

บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

รูปภาพ : https://i0.wp.com/saixiii.com/wp-content/uploads/2017/05/tcpip.png?w=800&ssl=1

TCP/IP คืออะไร

      TCP/IP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol โดย TCP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ใน InternetProtocolSuite มันคือโปรโตคอลหรือข้อกำหนดในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์บนอินเตอร์เน็ตซึ่งถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน การทำงาน TCP  ทำหน้าที่จัดการข้อมูล เรียงลำดับ ตรวจสอบข้อผิดพลาด ระหว่างการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วย IP Network


      จุดกำเนิดของ TCP เกิดจาก IEEE :  (Institute of Electrical and Electronic Engineers) ได้ตีพิมพ์บทความที่เขียนขึ้นโดย Vint Cerf และ Bob Kahn ซึ่งได้อธิบายการแบ่งทรัพยากร โดย Packet-Switching ระหว่างอุปกรณ์ควบคุมโดย Transmission Control Program และได้พัฒนาต่อโดยให้ Module TCP ทำหน้าที่ในระดับ connection-oriented layer (Transaport layer) และ IP ทำหน้าที่ในระดับ internetworking layer (Network layer) ซึ่งได้กลายมาเป็น TCP/IP ในปัจจุบัน

อ้างอิง 
https://saixiii.com/what-is-tcp-ip/
https://simple.wikipedia.org/wiki/Institute_of_Electrical_and_Electronics_Engineers
https://simple.wikipedia.org/wiki/Transmission_Control_Protocol

บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

รูป : https://seekvectorlogo.com/wp-content/uploads/2019/04/modbus-organization-inc-vector-logo.png

MODBUS Protocol คืออะไร

      Modbus คือโปรโตคอลการสื่อสารรูปแบบอนุกรมแบบดิจิตอลอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย บริษัท Modicon System โดยถูกพัฒนาขึ้นในปี 1979 ซึ่งปัจจุบันคือบริษัท Schneider Electric มีหลักการทำงานที่ง่ายไม่ซับซ้อน โดยจะมี ModbusMaster รับข้อมูลและ ModbusSlave ส่งข้อมูล โดยมาตรฐานแล้วใน Modbus Network จะมี ModbusMaster 1 ตัว ต่อ ModbusSlave 247 ตัว โดย Modbus นั้นเป็น Open Protocol กล่าวคือมันเป็นโปรโตคอลที่บุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถนำไปใช้หรือพัฒนาต่อยอดได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จึงทำให้มันเป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นที่นิยมและพื่นฐานของการสื่อสารในอุตสาหกรรมทุกประเภท

อ้าง : https://en.wikipedia.org/wiki/Modbus

บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

รูป : https://magazine.odroid.com/wp-content/uploads/CAN-Bus-Featured-image.jpg

CAN BUS Protocol คืออะไร

      CAN BUS ย่อมาจาก control Area Network เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบมาเพื่ออุตสาหกรรมยานพาหนะเป็นหลัก เนื่องจากมีติดต่อสื่อสารและการรับส่งข้อมูลกับโมดูลต่างๆ ที่รวดเร็ว มันจึงเป็นที่นิยมนำมาใช้กับสถาปัตยกรรมยานยนต์สมัยใหม่

      มันสนับสนุนการสื่อสารแบบ Real-time ภายใต้ความปลอดภัยสูง CAN bus สื่อสารกันโดยใช้สายไฟสองสาย เรียกสายแรกว่า CAN High และอีกสายคือ CAN Low โดยเมื่อทั้งสองอยู่ในสภาวะว่าง จะมีแรงดันไฟ 2.5V แต่เมื่อต้องการส่งข้อมูล Bit ไปนั้น สาย CAN High จะมีแรงดันไฟสูงขึ้นเป็น 3.75V ส่วน CAN Low แรงดันจะลดลงไปเหลือ 1.25 V นั่นคือมีความต่างศักย์อยู่ที่ 2.5V ด้วยวิธีนี้ ส่งผลให้ CAN Bus ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็ก หรือสัญญาณกวนใดๆ น้อยมาก จึงทำให้เสถียร และมักถูกนำมาใช้ในการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ จึงนิยมใช้ในเครือข่ายการติดต่อสื่อสารกันระหว่างไมโครคอทโทรเลอร์ (Micro Controller Unit : MCU) 

      Robert Bosch ได้พัฒนา CAN ขึ้นในช่วงปี 1984 หลังจากนั้นปะ 1992 Benz ได้นำมันไปใช้ในรถยนต์หลายๆ รุ่น ต่อมามีการพัฒนา CAN เรื่อยมาจนกระทั้งปี 2008 รถยนต์ในสหรัฐเกือบทั้งหมดได้หันมาใช้ CAN BUS ถือได้ว่ามันกลายเป็น โปรโตคอลหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์ตั้งแต่นั้นมา แต่กระนั้นใช่ว่าจะมีเพียงอุตสาหกรรมรถยนต์เท่านั้นที่นำ CAN BUS มาใช้ปัจจุปันมีการใช้งาน CAN BUS อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องการความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูล

อ้าง
https://www.technology2029.com/Controller%20Area%20Network.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/CAN_bus

บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

รูป : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3e/Canopen_logo.svg/1024px-Canopen_logo.svg.png

CANOpen Protocol คืออะไร

      CANOpen ถูกพัฒนามาจาก CAN ให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นทั้งระยะทาง และความเร็วในการส่งข้อมูล พัฒนาโดย CiA(CAN in Automation) และแต่ละโหนดสามารถติต่อสือสารกันได้เอง โดยจำเป็นต้องผ่าน Master เป็นการลดจำนวนอุปกรณ์ให้น้อยลง โดยในระบบพื้นฐานสามารถเชื่อมต่อกันได้ถึง 127 จุด มีระยะรับส่งข้อมูลสูงสุด 5000 เมตร และความเร็วที่ 1Mbps มันเหมาะกับระบบควมคุมและระบบอัตโนมัติจึงได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย

บอกความหมายของโพรโทคอล และ tcp/ip

รูป : https://www.br-automation.com/fileadmin/1288381739663-en-html-1.0.jpg

DeviceNet Protocol คืออะไร

      DeviceNet ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก CAN bus (Controller Area Network) ที่ใช้กันอยู่ในวงการ Automotive สำหรับใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ Devicenet Network ถูกนำมาแทนการเดินสายเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แบบเดิม ข้อดีคือช่วยลดเวลา ความยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายของการเดินสาย การคอนฟิกค่าและการเข้าถึงข้อมูลในตัวอุปกรณ์ทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นมาก มันเป็นทางเลิกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสื่อสารในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการลดต้นทุนในการเดินสาย

      เป็นอย่างไรกันบ้างครับ วันนี้เราได้ทราบถึงโปรโตคอล คืออะไร ทำหน้าที่อะไร และทราบถึงโปรโตคอลชนิดต่างๆ หลากหลายชนิด แต่ยังไม่หมดเท่านี้นะครับ ยังมีโปรโตคอลที่น่าสนใจอีกหลากหลายตัว ที่ในอุตสาหกรรมใช้งาน ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแต่ต่างกันออกไป

อ้างถึง :
https://iiot.riverplus.com/industrial-iot/industrial-wireless/