ที่มา รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

มีหลายเรื่องได้แก่ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุธ กลอนนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง กฎหมายตราสามดวง ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
สวรรคต  : พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๓ พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๒๗ พรรษา

ลักษณะคำประพันธ์ : เป็นกลอนบทละคร

        จุดประสงค์ในการแต่ง 
                ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเหตุผลหลายประการ คือ
      ๑.ใช้เป็นบทละครใน
      ๒.ทรงเกรงว่าจะสูญหายไป

      ๓. เพื่อให้มีเรื่องรามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์

5.   ๔. เพื่อแสดงให้เห็นว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม

6.   ๕. เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อบิดามารดา 

7.   ๖.เพื่อให้เห็นตัวอย่างของความไม่เที่ยงแท้ของสิ่งต่างๆในโลก


ลักษณะคำประพันธ์

แต่งด้วยกลอนบทละคร

                กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ คำ ถึง คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ คำ ถึง - คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้นบัดนี้น้องเอ๋ยน้องรัก

                                                                                                                                             

         แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน กลอน กลอน หรือ กลอน ผสมกันตามจังหวะ  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้



1


    รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีของไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอนในเรื่อง รามเกียรติ์ มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่าง  อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน  บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้วนิยมนำมาแสดงเป็นโขน เขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าฯ จำนวน ๑๗๘ ห้อง เขียนโดยจิตรกรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมของไทย เป็นภาพวิจิตรงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการ ซ่อมแซมหลายครั้งเมื่อปี .. ๒๓๗๕, .. ๒๔๒๕, .. ๒๔๗๕ และครั้งล่าสุดเมื่อปี .. ๒๕๒๕ นอกจากเนื้อเรื่อง รามเกียรติ์ แท้ ๆจากห้อง ๑ ถึงห้อง

ที่๑๗๘ ยังมีเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ในปางก่อน  อันเป็นที่มาของเรื่อง รามเกียรติ์ อีกหลายปางคือนรสิงหาวตาร ซึ่งเป็นปางที่สี่ วราหาวคาร ซึ่งเป็นปางที่ก่อให้เกิดวงศ์พระนารายณ์ขึ้น ที่โลกมนุษย์คือ ท้าวอโนมาตัน โอรสพระนารายณ์ ที่เกิดจาก องค์พระนารายณ์เอง ให้ครองกรุงศรีอยุธยาที่ พระอิศวร โปรดให้ พระอินทร์ ลงมาสร้างให้หลานปู่ของ ท้าวอโนมาตัน คือ ท้าวทศรถ ผู้เป็นพระราชบิดาของ พระราม  



ที่มา รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก


อนิเมชั่น รามเกียรติ์ ตอน พระนาราณย์ปราบนนกทก
ขอขอบคุณวีดีโอดีๆจากช่อง Chinnawat Prayoonrat


ส่วนตอนพระนารายณ์ปราบนนทก เรื่องย่อมีดังนี้ค่ะ

         นนทกเป็นยักษ์ที่อยู่บนสวรรค์นั่งประจำอยู่ที่เชิงเขาไกรลาศ มีหน้าที่ล้างเท้าให้กับเหล่าเทวดาที่จะเข้าเฝ้าพระอิศวร เหล่าเทวดาต่างพอใจที่นนทกรับใช้พวกตนเป็นอย่างดี แต่บางครั้งก็นึกสนุก เมื่อยื่น

เท้าให้ล้างแล้วก็แหย่เย้าเดี๋ยวถอนผมบ้าง เดี๋ยวถีบบ้าง นนทกแค้นใจ แต่จะหาทางตอบโต้ก็ไม่ได้เพราะไม่มีกำลังหรืออำนาจ จึงไปเฝ้าพระอิศวรแล้วทูลว่าตนทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบมาช้านานแล้วแต่ยังไม่ได้ของสิ่งใดเป็นรางวัลเลย วันนี้จะมาทูลขอให้นิ้วเป็นเพชรมีฤทธิ์สามารถลงโทษผู้ที่มารังแกตนได้ 

นนทกจึงมีนิ้วเพชรที่สามารถที่สั่งชี้สังหารใครๆได้ที่เข้ามารังแกตน


ที่มา รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก
ที่มา รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก



รูปตอนที่นนทกถูกแกล้งจากเหล่าเทวดา

ไม่อนุญาตให้นำภาพจากบล็อกนี้มาใช้เชิงพาณิชย์และห้ามบันทึกเด็ดขาด


       ไม่ทันนาน นนทกก็มีใจกำเริบไม่ยับยั้งชั่งใจและไม่ใคร่ครวญว่าจะใช้นิ้วเพชรนั้นอย่างไร เพียงแต่ถูกล้อเล่นเหมือนทุกวัน นนทกทกโกรธขึ้นมาทันที เทวดาที่มาแกล้ง นนทกก็สังหารเทวดานั้นเสียมากมาย พระอินทร์จึงไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรทรงเห็นว่านนทกได้รางวัลความดีความชอบไปแล้วแต่ กลับทรยศกบถใจทำการหยาบใหญ่ถึงเพียงนี้สมควรจะต้องถูกลงโทษ
 ผู้ที่พระอิศวรขอให้ไปลงโทษนนทกคือพระนารายณ์ พระนารายณ์อยากจะให้นนทกรู้ฤทธิ์ของอำนาจที่นนทกเที่ยวใช้ระรานผู้อื่นจึงลวงให้นนทกร่ายรำตามท่าต่างๆจนถึงท่าที่ชี้นิ้วลงขาตัวเอง “นิ้วอำนาจจึงวกกลับมาทำร้ายตัวนนทกเองพอที่จะทำให้นนทกได้รู้สึกตัวเสียก่อนแล้วพระนารายณ์จึงสังหารนนทกเสียในที่สุด 



  
พระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้งเพชรชี้เข่าตนเอง นนทกล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง  กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง  มือลงไปสู้ด้วย นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม



                           

                             
                                     เพลงประกอบรายเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนกทก
                                              ขอบคุณวิดีโอดีๆจากช่อง Blaxtae3012


แนวคิด

อำนาจเมื่ออยู่กับผู้ที่ไม่รู้จักใช้ย่อมเป็นโทษ

คุณค่างานประพันธ์

          ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ ใช้คำชมความงามของนางแปลงได้อย่างเห็นภาพพจน์ เหมาะสำหรับการนำไปแสดงโดยมีการขับร้องและใช้ดนตรีประกอบ