ขอมิเตอร์น้ำ ราคา 2565 pantip

** ให้ผู้ที่มีความประสงค์ขอขยายเขตฯมายื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่กองการประปา จากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกไปสำรวจประมาณการ เมื่อคำร้องได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอฯมาชำระค่าธรรมเนียม หลังจากนั้นการประปาฯจะไปดำเนินการขยายเขตการใช้น้ำประปาให้ต่อไป

Show

การขอเปลี่ยนมาตรวัดน้ำประปาจากชั่วคราวมาเป็นถาวร

เอกสารที่ต้องนำมา

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาทะเบียนบ้านหลังใหม่
  4. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง
  5. ใบเสร็จเงินประกันการใช้น้ำประปา
  6. ใบเสร็จค่าน้ำประปา

**ให้ผู้ยื่นคำร้องฯนำเอกสารดังกล่าวมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เมื่อคำร้องได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้มารับเงินประกันคืนพร้อมดำเนินการแก้ไขให้เป็นมาตรวัดถาวรต่อไป


การขอยกเลิกการน้ำประปา

เอกสารที่ต้องนำมา

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. ใบเสร็จเงินประกันการใช้น้ำประปา
  4. ใบเสร็จค่าน้ำประปา

** ผู้ใช้น้ำมีความประสงค์ขอยกเลิกการใช้น้ำ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ให้มายื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่ และต้องชำระหนี้ค้างค่าน้ำประปาทั้งหมด หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการถอดมาตรวัดน้ำกลับมา เมื่อคำร้องได้รับการอนุมัติแล้วจะแจ้งให้ผู้ใช้น้ำมารับเงินประกันคืน


การขอโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้น้ำประปา

เอกสารที่ต้องนำมา

  1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับโอน
  2. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับโอน
  3. สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขาย (กรมที่ดิน)
  4. สำเนาทะเบีบนบ้านหลังซื้อขาย
  5. สำเนาโฉนดที่ดิน
  6. ใบเสร็จค่าน้ำประปา 1 ใบ

** ผู้ประสงค์จะขอโอนเปลี่ยนชื่อให้นำเอกสารข้างต้นมายื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการเปลี่ยนชื่อให้ในเดือนถัดไป

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การประปาส่วนภูมิภาค หรือ กปภ. หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำ “โครงการ ติดมิเตอร์ใหม่ ลดราคา การประปาฯ จัดให้” เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับประชาชน โดยลดค่าติดตั้งประปาใหม่ร้อยละ 10 เป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับลูกค้ารายใหม่ประเภทที่อยู่อาศัย (ติดตั้งมาตรวัดน้ำขนาด 1/2 นิ้ว) ในพื้นที่ให้บริการของ กปภ. 234 สาขาทั่วประเทศ และเฉพาะส่วนเหมาจ่าย ที่มีระยะห่างจากท่อเมนจ่ายน้ำประปาไม่เกิน 10 เมตร (ไม่รวมส่วนวางท่อภายในบ้าน) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประปาใหม่ สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสใช้น้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภคมากขึ้น และส่งเสริมพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

ขณะนี้มีประชาชนเข้าร่วมแล้ว 4,795 ราย ประชาชนที่สนใจ ยังสามารถยื่นคำขอติดตั้งเข้าร่วมโครงการได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ติดต่อ กปภ.สาขาที่ใช้บริการ หรือสาขาใกล้บ้าน สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PWA Contact Center 1662 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : พนิตนาฏ ขวัญแสนสุข / สวท.

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ผู้ต้องการใช้น้ำประปา ติดต่อขอแบบคำขอใช้ น้ำประปา ได้ที่ กปภ. ทุกสาขา หรือ Download แบบคำขอผ่านทาง http://www.pwa.co.th โดย กรอกแบบคำขอและยื่นแบบคำขอพร้อมด้วย หลักฐานที่ กปภ. สาขา ในพื้นที่ที่ขอใช้น้ำประปา

นอกจากนี้ยังสามารถยื่นคำขอ Online ทางเว็บไซต์ www.pwa.co.th หรือ QR Code


ขอมิเตอร์น้ำ ราคา 2565 pantip
  • 2. หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง

    • 2.1. กรณีผู้ขอใช้น้ำที่มีสัญชาติไทย ใช้หลักฐานดังนี้
      • 2.1.1 บัตรประจำตัวประชาชน
      • 2.1.2 สำเนาทะเบียนบ้านของอาคารที่ขอติดตั้งประปา (กรณีสถานที่ขอติดตั้งกับที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชนเป็นคนละสถานที่กัน)
      • 2.1.3 กรณีผู้ขอใช้น้ำมิใช่เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอมพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน เว้นแต่ผู้ขอใช้น้ำเป็นบิดามารดา บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และคู่สมรสของเจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน ไม่ต้องนำหนังสือยินยอมมาแสดง
      • 2.1.4 หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่แสดงว่าผู้ขอใช้น้ำเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่จะขอติดตั้งประปา ในกรณีเจ้าของบ้านยังมิได้ย้ายเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน หรือย้ายเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านแล้วแต่ในทะเบียนบ้านมิได้ระบุว่าเป็นเจ้าบ้าน
      • 2.1.5 กรณีผู้ขอติดตั้งประปาเป็นหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ บ้านพักของทางราชการและรัฐวิสาหกิจ สถานทูต สถานกงสุล วัด และสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ ที่ได้จดทะเบียนมีใบอนุญาตแล้ว ต้องให้หัวหน้าส่วนราชการ องค์การ หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ลงนามในแบบคำขอติดตั้งประปา และเป็นคู่สัญญาใช้น้ำประปากับ กปภ.
      • 2.1.6 กรณีผู้ขอติดตั้งประปาเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ธนาคารพาณิชย์ โรงเรียนเอกชน และนิติบุคคลอื่นๆ ให้ผู้จัดการหรือเจ้าของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เป็นผู้ลงนามในแบบคำขอติดตั้งประปา และเป็นคู่สัญญาใช้น้ำประปากับ กปภ.

    • 2.2. กรณีผู้ขอใช้น้ำที่ไม่มีสัญชาติไทย (ชาวต่างประเทศ) ใช้หลักฐานดังนี้
      • 2.2.1 หนังสือเดินทาง (Passport) และ หลักฐานการตรวจลงตราหรือหลักฐานแสดงตนอื่น
      • 2.2.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้น้ำ
      • 2.2.3 สำเนาเอกสารหลักฐานแสดง กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้น้ำ
      • 2.2.4 อื่นๆ (ถ้ามี) การขอใช้น้ำ จะมอบอำนาจให้กระทำการแทนก็ได้ โดยผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำสำเนาบัตร ประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และหลักฐานการตรวจลงตราหรือหลัก ฐานแสดงตนอื่นของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (Passport) และ หลักฐานการตรวจลงตราหรือหลักฐานแสดงตนอื่น ของผู้รับมอบอำนาจมาแสดงต่อ กปภ.สาขา

  • แนวทางการปฏิบัติกรณีการติดตั้งประปา สำหรับผู้ขอใช้น้ำที่มีทะเบียนบ้านชั่วคราว

    1. กรณีผู้ขอใช้น้ำมีหนังสือยินยอมจาก ส่วนราชการฯ ให้ดำเนินการติดตั้งประปาโดยเรียก เก็บค่าใช้จ่ายและจัดเก็บค่าน้ำประปา เช่นเดียวกับ ผู้ขอใช้น้ำทั่วไป
    2. กรณีผู้ขอใช้น้ำไม่มีหนังสือยินยอมจาก ส่วนราชการฯ หรืออยู่ในระหว่างการขอหนังสือ ยินยอม ให้เรียกเก็บค่าประกันการใช้น้ำและจัดเก็บ ค่าน้ำประปา ดังนี้
      • 2.1 ค่าประกันการใช้น้ำ ให้เรียกเก็บ ตามขนาดมาตรสำหรับการติดตั้งประปาเพื่อการ ใช้น้ำชั่วคราว
      • 2.2 ค่าน้ำประปา ให้จัดเก็บตามสภาพ การใช้น้ำและวัตถุประสงค์สำคัญของการใช้น้ำ ที่เป็นจริง ตามการจัดประเภทผู้ใช้น้ำประเภท 1, 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี
    3. เมื่อดำเนินการติดตั้งประปาแล้วเสร็จ หากต่อมาผู้ใช้น้ำได้รับหนังสือยินยอมจากส่วน ราชการฯ มาแสดงภายหลัง ให้คืนเงินค่าประกัน การใช้น้ำสำหรับการติดตั้งประปาเพื่อการใช้น้ำชั่วคราว และเรียกเก็บเงินค่าประกันการใช้น้ำ เช่นเดียวกับผู้ขอใช้น้ำทั่วไป
    4. สิทธิการใช้น้ำของผู้ที่ใช้ทะเบียนบ้าน ชั่วคราวเป็นอันระงับทันที เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่ถือกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน หรือมีหน้าที่ดูแลที่ดินที่บ้านเรือน อาคาร นั้นตั้งอยู่ แจ้งไม่ให้ใช้พื้นที่นั้นอีกต่อไป
    5. หากประชาชนผู้ได้รับทะเบียนบ้าน ชั่วคราวมายื่นคำขอติดตั้งประปา โดยมีกรณีพิพาทใน เรื่องบุกรุกที่ดินกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย งานของรัฐ ให้ชะลอการติดตั้งประปาไว้ก่อนจนกว่าข้อ พิพาทนั้นจะได้รับการพิจารณาเป็นที่ยุติแล้ว
  • 3. ขั้นตอนการดำเนินการติดตั้งประปาของ กปภ. สาขา

    • 3.1 เมื่อท่านยื่นคำขอใช้น้ำประปาตาม แบบฟอร์มคำร้อง ท่านต้องชำระเงินมัดจำ ในการติดตั้งวางท่อประปาตามตารางค่าใช้จ่าย ในการติดตั้งประปา แล้วเจ้าหน้าที่จะออกใบ เสร็จรับเงินให้ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะเดินทาง ไปสำรวจสถานที่ และจัดทำแบบแปลนแผนผัง หรือ พิมพ์เขียว พร้อมประมาณการค่าใช้จ่าย และจะแจ้งให้ผู้ขอใช้น้ำทราบโดยเร็วที่สุด
    • 3.2 เมื่อผู้ขอใช้น้ำได้รับแจ้งประมาณการ ค่าติดตั้งประปาแล้ว จะต้องนำเงินมาชำระภายใน 60 วัน และเมื่อ กปภ. สาขา ได้รับเงินแล้ว ก็จะดำเนินการ ติดตั้งประปา และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ใช้น้ำของ กปภ. ต่อไป แต่ถ้าไม่ชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด กปภ. จะริบเงินมัดจำ และถือว่าท่านสละสิทธิ์การขอใช้ น้ำประปาครั้งนี้ อนึ่ง ผู้ขอใช้น้ำที่ยื่นคำร้อง และ ชำระเงินค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประปาไว้แล้ว ต่อมา ปฏิเสธที่จะให้ กปภ. วางท่อและติดตั้งมาตรวัดน้ำ ภายในเวลาที่ กปภ. แจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ถือว่าผู้ขอใช้น้ำสละสิทธิ์การใช้น้ำ และ กปภ. จะคืนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประปาที่ได้ชำระไว้ โดย หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในอัตราร้อยละ 20
  • 4. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประปา

    ขอใช้น้ำจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประปาตามอัตราที่ กปภ. กำหนดไว้ตาราง ซึ่งจำแนกตามขนาดมาตรวัดน้ำ ดังนี้

    อัตราค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำประปา ***

    ขนาดมาตร
    (นิ้ว)ค่ามัดจำ
    (บาท)ค่าแรงและอุปกรณ์
    (บาท)รวม
    (บาท)1/2ไม่เก็บ3,6003,6003/4ไม่เก็บ4,7004,70011,000คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ1.51,500คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ22,500คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ2.54,000คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ35,000คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ410,000คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ620,000คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ820,000คิดค่าใช้จ่ายตามประมาณการ

    ยกเว้นเก็บเงินค่าประกันการใช้น้ำประปา

    • - ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 (ที่อยู่อาศัย)
    • - สถานที่ทำการหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานทูต และสถานกงสุล

    ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

    * เป็นการติดตั้งมาตรวัดน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2” และ 3/4” เฉพาะส่วนเหมาจ่ายที่มีระยะห่างจากตัวมาตรวัดน้ำไปถึงท่อเมนไม่เกิน 10 เมตร โดยค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป”
    • 4.1 ค่ามัดจำ ผู้ขอใช้น้ำ ต้องชำระให้แก่ กปภ. สาขา ในวันที่ขอติดตั้ง และเมื่อ กปภ. สาขา ได้รับค่าแรงงาน และค่าอุปกรณ์ในการติดตั้งประปา แล้ว จะคืนค่ามัดจำ โดยการหักคืนในประมาณการ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระ
    • 4.2 ค่าประกันการใช้น้ำ กปภ. สาขา จะเรียก เก็บตามขนาดมาตรวัดน้ำเพื่อเป็นหลักประกันความ เสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ค่าน้ำประปา ผู้ใช้น้ำจะได้รับค่าประกันการใช้น้ำคืนเต็มจำนวน เมื่อยกเลิกการใช้น้ำและไม่มีหนี้ค่าน้ำประปาค้างชำระ สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานทูต สถาน กงสุล วัด และสถานที่ประกอบพิธีศาสนาต่างๆ ที่ได้ จดทะเบียนมีใบอนุญาตแล้ว จะได้รับยกเว้นค่าประกัน การใช้น้ำ
    • 4.3 ค่าแรงและค่าวัสดุอุปกรณ์ อันได้แก่ ค่าแรงงาน มาตรวัดน้ำ ท่อประปาและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง นับจากมาตรวัดน้ำถึงจุดประสานท่อ (ซึ่งไม่รวมท่อและอุปกรณ์หลังมาตรวัดน้ำ ที่ผู้ขอใช้น้ำ ต้องดำเนินการเอง) การติดตั้งมาตรวัดน้ำเส้นผ่าน ศูนย์กลางไม่เกิน 3/4 นิ้ว และมีระยะห่างจากท่อเมน จ่ายน้ำประปาไม่เกิน 10 เมตร จะใช้ราคาเหมาจ่าย ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
  • 5. การติดตั้งอุปกรณ์หลังมาตรวัดน้ำ

    การติดตั้งมาตรวัดน้ำในระยะเหมาจ่ายไม่เกิน 10 เมตร ของมาตรวัดน้ำเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 และ 3/4 นิ้ว และการติดตั้งมาตรวัดน้ำในขนาดอื่นที่ไม่ได้ คิดราคาเหมาจ่าย กปภ. จะดำเนินการติดตั้งท่อ อุปกรณ์ภายนอกมาตรวัดน้ำและมาตรวัดน้ำรวมทั้ง ท่ออุปกรณ์ภายในมาตรวัดน้ำตามแบบมาตรฐานของ กปภ. คือ ประตูน้ำกันกลับ ประตูน้ำ ข้องอ ขาตั้งภายใน มาตรวัดน้ำและข้องอเท่านั้น ผู้ขอใช้น้ำจะต้องดำเนิน การในส่วนของท่อภายในที่ต่อเข้าบ้านเอง

    ขอมิเตอร์น้ำ ราคา 2565 pantip
  • 6. การจดหรืออ่านมาตรวัดน้ำ

    เมื่อ กปภ. สาขา ได้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดน้ำให้แก่ผู้ขอใช้น้ำประปาแล้ว จะไปทำการอ่านมาตรวัดน้ำของผู้ใช้น้ำในเดือนถัดไปที่ตรงกับวันที่ ได้ติดตั้งมาตรวัดน้ำ เพื่อออกใบแจ้งค่าน้ำประปา โดยให้ถือว่าเป็นค่าน้ำประปาประจำเดือนนั้นตัวอย่างเช่น ถ้าติดตั้งประปาให้กับผู้ใช้น้ำวันที่ 15 กันยายน กปภ. จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ใช้น้ำรายใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน เป็นต้นไป ดังนั้นการอ่าน มาตรวัดน้ำจะเริ่มอ่านในวันที่ 15 ตุลาคม และให้ถือว่าเป็นค่าน้ำประจำเดือนตุลาคม ในกรณีวันอ่านมาตรตรง กับวันหยุดราชการ จะทำการอ่านมาตรล่วงหน้าก่อนถึงวันหยุดราชการ อนึ่ง กปภ. สาขา อาจปรับระบบการอ่านมาตรวัดน้ำรายใหม่ให้สอดคล้องกับระบบการอ่านมาตรใน แต่ละชุมชนก็ได้ ในกรณีผู้ใช้น้ำ สงสัยเกี่ยวกับการอ่านมาตรหรือ การจดหน่วยมาตรวัดน้ำ สามารถ สอบถามรายละเอียดได้จากผู้อ่าน มาตรหรือ กปภ. สาขา ในพื้นที่

  • 7. การคิดราคาค่าน้ำประปา

    การคิดราคาค่าน้ำประปาในแต่ละเดือนจะคิดคำนวณจากปริมาณการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำ แต่ละรายที่อ่านจากมาตรวัดน้ำ คูณด้วยอัตรา ค่าน้ำประปาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผู้ใช้น้ำประเภท 2 และ 3 ที่ค่าน้ำน้อยกว่าอัตราค่าน้ำขั้นต่ำ จะต้องชำระค่าน้ำขั้นต่ำ ทั้งนี้ใบแจ้งค่าน้ำประปาจะปรากฏค่าน้ำที่ใช้ ค่าบริการทั่วไป และภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราที่รัฐบาลกำหนด

  • 8. อัตราค่าน้ำและค่าน้ำขั้นต่ำ

    การกำหนดอัตราค่าน้ำขั้นต่ำในแต่ละประเภทผู้ใช้น้ำ คิดบนพื้นฐานของความจำเป็น ที่ผู้ใช้น้ำต้องการใช้น้ำประปาในแต่ละเดือน กล่าวคือ ประชาชนในแต่ละชุมชนได้ร้องขอให้รัฐลงทุนก่อสร้าง ระบบประปา รัฐได้นำเงินภาษีบางส่วนมาดำเนินการ ก่อสร้างระบบประปา ให้แก่ชุมชนพร้อมทั้งกำหนด อัตราค่าน้ำประปา ผู้ใช้น้ำเป็นผู้จ่าย หากระบบ ประปาถูกสร้างขึ้นมา แล้วไม่มีการใช้น้ำประปา ก็จะเกิดการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เงินค่าน้ำขั้นต่ำนี้ จะถูกนำไปใช้ ในการบริหารจัดการ เช่นเดียว กับเงินค่าน้ำประปาที่เก็บได้จากประชาชน

    อัตราค่าบริการทั่วไป

    ช่วงการใช้น้ำ
    (ลบ.ม. / เดือน)จำนวน หน่วยประเภทผู้ใช้น้ำ1. ที่อยู่อาศัย2. ราชการและ ธุรกิจขนาดเล็ก3. รัฐวิสาหกิจ / อุตสาหกรรม / ธุรกิจขนาดใหญ่ราคาราคาราคาไม่เก็บอัตราขั้นต่ำ
    150 บาท / เดือน
    (8 ลบ.ม.)อัตราขั้นต่ำ
    300 บาท / เดือน
    (15 ลบ.ม.)0 - 101010.2017.0018.2511 - 201016.0020.0021.5021 - 301019.0021.0025.5031 - 502021.2022.0028.5051 - 8030-23.0031.0081 - 10020-24.0031.25101-300200-27.4031.50301-1,000700-27.5031.751,001-2,0001,000-27.6032.002,001-3,0001,000-27.8032.25> 3,000-28.0032.500 -101010.2018.0018.5011 - 201016.0021.0022.0021 - 301019.0022.0026.0031 - 502021.2023.0029.0051 - 8030-24.0031.5081 - 10020-26.0032.50101-300200-30.2533.50301-1,000700-30.2534.751,001-2,0001,000-30.2534.752,001-3,0001,000-30.2534.75> 3,000-30.2534.750 -101010.2016.0018.0011-201016.0019.0021.0021-301019.0020.0024.0031-502021.2021.5027.0051-8030-21.6029.0081-10020-21.6529.25101-300200-21.7029.50301-1,000700-21.7529.751,001-2,0001,000-21.8029.502,001-3,0001,000-21.8529.25> 3,000-21.9029.00
  • 9. อัตราค่าบริการทั่วไป

    ค่าบริการทั่วไป จะเรียกเก็บตามขนาด มาตรวัดน้ำทุกเดือนตามตารางด้านล่าง โดย เป็นการเรียกเก็บเพื่อนำไปใช้ในการบำรุงรักษาท่อเมนของ กปภ. และมาตรวัดน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี

    อัตราค่าบริการทั่วไป

    ขนาดมาตร
    (นิ้ว)ค่าบริการทั่วไปต่อเดือน
    (บาท)1/2303/4501601 1/29023502 1/245034504550695081,200
  • 10. การชำระเงินค่าน้ำประปามีหลายวิธี

    ช่องทางอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขอให้ตรวจสอบข้อมูล ณ จุดให้บริการ
  • 11. การงดจ่ายน้ำประปา

    กปภ.สาขา จะงดจ่ายน้ำประปาให้แก่ผู้ใช้น้ำ เมื่อผู้ใช้น้ำปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของ กปภ. ในกรณีดังต่อไปนี้
    • 11.1 ผู้ใช้น้ำผิดนัดชำระค่าน้ำประปาและ กปภ. สาขา แจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่าจะงดจ่ายน้ำแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน
    • 11.2 ยินยอมให้ผู้อื่นต่อน้ำประปาไปใช้ใน สถานที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก กปภ. สาขา
    • 11.3 ละเมิดการใช้น้ำหรือกระทำการใด ๆ ให้ กปภ. ได้รับความเสียหายหรือไม่ยอมชำระค่าเบี้ย ปรับหรือค่าเสียหายตามที่ กปภ. สาขา เรียกเก็บเมื่อ ถูกงดจ่ายน้ำประปาแล้ว แต่ กปภ. ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากผู้ใช้น้ำนำเงินมาชำระหนี้ค่าน้ำที่ค้างชำระ ทั้งหมด ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่งดจ่ายน้ำ แล้ว กปภ. สาขา จะทำการติดตั้งมาตรวัดน้ำให้ใช้ตามเดิม ทั้งนี้ผู้ใช้น้ำจะต้องชำระค่าธรรมเนียมถอด ฝาก และบรรจบมาตรวัดน้ำ ตามอัตราที่ กปภ. กำหนด แต่ถ้าพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่งดจ่ายน้ำ ผู้ใช้น้ำจะต้องยื่นคำขอใช้น้ำ และชำระค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ประปาเช่นเดียวกับผู้ขอใช้น้ำรายใหม่ หากยังมีหนี้ค่าน้ำค้างชำระ ก็จะต้องจ่ายหนี้ดังกล่าวทั้งหมดก่อน
  • 12. ค่าธรรมเนียมถอด ฝาก และบรรจบมาตรวัดน้ำ กรณีผู้ใช้น้ำถูกงดจ่ายน้ำประปา

    กรณีผู้ใช้น้ำถูกงดจ่ายน้ำประปา (ตัดมาตร) แล้วมีความประสงค์จะเปิดใช้น้ำประปาต่อไปอีก ให้ยื่นคำร้อง ขอและชำระค่าธรรมเนียมดังนี้

    ขนาดมาตร
    (นิ้ว)ค่าธรรมเนียมบรรจบมาตร
    (บาท)1/23003/460018501 1/21,20022,9002 1/23,40034,10045,50067,70089,500
  • 13. การฝากมาตรวัดน้ำ

    หากผู้ใช้น้ำคาดว่าจะไม่ได้ใช้น้ำประปาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน อาจยื่นคำร้องขอ ฝากมาตรวัดน้ำพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนแสดง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

    การฝากมาตรวัดน้ำไว้กับ กปภ.สาขาจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้น้ำ คือไม่ต้องเสียเวลาไปชำระค่าน้ำประปาที่ กปภ.สาขาทุกเดือนและเสียค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างมากนักกับกรณีไม่ฝากมาตรวัดน้ำ เช่น ผู้ใช้น้ำประเภทที่ อยู่อาศัย ต้องชำระค่าบริการทั่วไป เดือนละ 30 บาท รวมเป็นเงินที่ต้องจ่าย 360 บาทต่อปี (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในขณะที่การฝากมาตรวัดน้ำ จะเสียค่าใช้จ่ายปีละ 300-400 บาท นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาการดูแลมาตรวัดน้ำ และป้องกัน การรับภาระค่าน้ำประปากรณีท่อรั่วภายในหรือมี การลักใช้น้ำได้ด้วย

    อัตราค่าธรรมเนียมฝากมาตรวัดน้ำ

    การฝากมาตรวัดน้ำ สามารถกระทำต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี หากเกิน กำหนดจะถูกระงับสิทธิการใช้น้ำ และเมื่อครบ 1 ปี ต้องยื่นคำร้องขอฝากมาตรวัดน้ำต่อไป ภายใน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนด ทั้งนี้ผู้ใช้น้ำจะต้องชำระเงิน ค่าน้ำในส่วนที่ใช้ไปก่อนการฝากมาตรวัดน้ำ และ หากต้องการเปิดใช้น้ำ ก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใน การบรรจบมาตร

    ขนาดมาตร
    (นิ้ว)ค่าธรรมเนียมถอดและ
    ฝากมาตรวัดน้ำ
    ในปีแรกค่าธรรมเนียมถอด
    และฝากมาตรวัดน้ำ
    ในปีที่สองค่าธรรมเนียม
    บรรจบมาตร1/24003001003/450040010017005501501 1/21,00080020022,5002,1004002 1/23,0002,60040033,5002,90060044,5003,5001,00066,5005,3001,20088,0006,5001,500หมายเหตุ : ราคานี้ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ค่าท่ออุปกรณ์เพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น ซึ่งต้องคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มตามความเป็นจริง
  • 14. การแจ้งเหตุขัดข้องในการใช้น้ำประปา

    ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำไม่ได้รับความสะดวกในด้านบริการ หรือมีความประสงค์จะแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการของ กปภ. สามารถดำเนินการได้ดังนี้

    • 14.1 สอบถามรายละเอียดหรือแจ้ง เรื่องราวต่างๆ ได้โดยตรงกับพนักงานประปา ผู้จัดการ กปภ.สาขา หรือ ผู้อำนวยการ กปภ.เขต ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่นั้น ๆ ได้ทันที หรืออาจ ติดต่อทางโทรศัพท์ หรือติดต่อที่ กปภ. สาขา
    • 14.2 ส่งจดหมายแสดงข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะมาได้ที่สำนักงาน กปภ.ทุกสาขา
    • 14.3 ผู้ใช้น้ำสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ความคืบหน้าโครงการต่าง ๆ ของ กปภ. การจัดซื้อ จัดจ้าง และร้องเรียนเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยผ่านทาง อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ของ กปภ. ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ http://www.pwa.co.th หรือ E-Mail : [email protected]
    • 14.4 ในกรณีพบเห็นท่อแตกรั่ว กรุณาแจ้งให้ กปภ. สาขาที่ให้บริการทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขทันที หรือแจ้ง PWA Contact Center หมายเลขโทรศัพท์1662
    • 14.5 การติดต่อ PWA Contact Center 1662 เพื่อแจ้งท่อแตกท่อรั่วในส่วนภูมิภาค ผู้รับแจ้งอาจมิได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีท่อแตกรั่ว จึงขอให้ผู้แจ้งระบุพื้นที่ที่ใช้บริการ หรือพื้นที่ที่พบท่อแตกรั่ว ว่าอยู่ในเขตบริการของ กปภ. สาขาใด เพื่อจะได้แจ้ง ประสานงานให้ กปภ.สาขาผู้รับผิดชอบแก้ไขโดยด่วนต่อไป
  • 15. การตรวจสอบมาตรวัดน้ำ

    หากผู้ใช้น้ำสงสัยว่ามาตรวัดน้ำคลาดเคลื่อนสามารถยื่นคำร้องไปที่ กปภ. สาขา ในพื้นที่ที่ท่าน ใช้บริการ เพื่อขอให้ตรวจสอบมาตรวัดน้ำที่ใช้อยู่ ซึ่งหากตรวจพบว่ามาตรมีการคลาดเคลื่อน กปภ. สาขา จะดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนให้ใหม่ โดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากปรากฏว่า มาตรวัดน้ำ อยู่ในสภาพใช้การได้ดี ผู้ใช้น้ำจะต้อง เสียค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบ มาตร ดังนี้

    การตรวจสอบมาตรวัดน้ำ

    ขนาดมาตร
    (นิ้ว)ค่าธรรมเนียมตรวจสอบมาตรวัดน้ำ
    (บาท)1/22503/425015001 1/280021,6002 1/21,60032,40044,00065,4008 ขึ้นไป7,000
  • 16. การขอเปลี่ยนขนาดมาตรวัดน้ำ

    ผู้ใช้น้ำต้องนำหลักฐานมาแสดงดังนี้
    • บัตรประจำตัวประชาชน
    • ใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำ (ถ้ามี)

    ในการลดหรือเพิ่มขนาดมาตรวัดน้ำ ตามที่ผู้ขอใช้น้ำร้องขอ ผู้ใช้น้ำต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่นเดียวกับการขอติดตั้งประปาใหม่ โดย กปภ. จะคืนเงินค่าประกันการใช้น้ำ ที่เรียกเก็บไว้เดิม และ ออกใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำใหม่ให้แก่ผู้ใช้น้ำ ตามขนาดมาตรวัดน้ำที่ขอปรับเปลี่ยน

    ทั้งนี้ กปภ. มีสิทธิเปลี่ยนแปลงขนาดมาตรวัดน้ำ ในกรณีมาตรวัดน้ำที่ติดตั้งไว้มีขนาดไม่เหมาะ สมกับปริมาณการใช้น้ำเป็นระยะเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 เดือน ซึ่งทำให้ไม่สามารถวัดหน่วยน้ำที่ใช้จริงได้ถูกต้อง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

  • 17. การย้ายสถานที่ใช้น้ำ

    หากผู้ใช้น้ำประสงค์จะย้ายสถานที่ใช้น้ำ หรือเปลี่ยนจุดประสานท่อจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ภายในพื้นที่ให้บริการของ กปภ. สาขาแห่งเดียวกัน โดย ไม่เปลี่ยนขนาดของมาตรวัดน้ำ จะต้องยื่นคำร้องขอ ย้ายสถานที่ใช้น้ำ กับ กปภ. สาขา พร้อมหลักฐานดังนี้

    • 17.1 บัตรประจำตัวประชาชน
    • 17.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่จะย้าย สถานที่ใช้น้ำ
    ค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่นเดียวกับการ ขอติดตั้งประปาใหม่ แต่จะได้รับการยกเว้นในส่วน ของค่ามาตรวัดน้ำและค่าประกันการใช้น้ำ
  • 18. การโอนสิทธิการใช้น้ำประปา

    การโอนสิทธิการใช้น้ำประปา อาจมีได้ในหลายกรณี เช่น มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งประปาไว้แล้ว หรือผู้ขอใช้น้ำประปาเดิม ย้ายที่อยู่หรือถึงแก่กรรม ซึ่ง ผู้ใช้น้ำต้องแจ้งให้ กปภ. สาขาทราบ และให้ผู้รับโอน มาลงนามในสัญญาใช้น้ำกับ กปภ. การโอนสิทธิการใช้ น้ำประปา ต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดง

    • 18.1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับโอน
    • 18.2 เอกสารแสดงสิทธิกรณีผู้รับโอนไม่มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านที่ติดตั้งประปา
    • 18.3 สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรอง การถึงแก่กรรมที่นายทะเบียนออกให้ (ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำประปาเดิมถึงแก่กรรม)
    • 18.4 สำเนาสัญญาซื้อขาย (ในกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
    • 18.5 ใบเสร็จค่าน้ำประปาเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือสำเนา

    (กดที่นี่เพื่อดูรายละเอียด)

  • 19. การขอยกเลิกการใช้น้ำประปาและขอเงินประกันคืน

    หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้น้ำประปาคืน มีดังนี้
    • 19.1 บัตรประจำตัวประชาชน
    • 19.2 ใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำ แต่ถ้าไม่มี ผู้ขอยกเลิกการใช้น้ำประปาและขอเงิน ประกันคืนจะต้องไปแจ้งความ ณ สถานีตำรวจ เพื่อใช้เป็นหลักฐานนำมาแสดงแทนใบเสร็จ ค่าประกันการใช้น้ำ

    ผู้ใช้น้ำ อาจทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่น ไปทำการแทนได้ โดยต้องมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ ตามกฎหมาย ผู้รับมอบ อำนาจจะต้องนำหลักฐานตามข้อ 19.1 - 19.2 และ หลักฐานของผู้รับมอบอำนาจไปแสดงด้วย เมื่อท่าน นำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อ กปภ. สาขา ในพื้นที่ ที่ท่านใช้บริการ และเขียนคำร้องขอเลิกใช้น้ำประปา กปภ. สาขา จะตรวจสอบว่าท่านมีหนี้ค่าน้ำค้าง ชำระหรือไม่ หากไม่มี กปภ. จะคืนเงินประกัน การใช้น้ำคืนเต็มตามจำนวน แต่หากมีค่าน้ำประปา ค้างชำระ กปภ. สาขา จะหักจากเงินประกัน การใช้น้ำ และคืนเงินในส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ให้แก่ ผู้ใช้น้ำ

  • 20. ข้อควรระวังในการใช้น้ำประปา

    • 20.1 การละเมิดการใช้น้ำประปา เช่น การต่อท่อประปาตรงโดยไม่ผ่านมาตรวัดน้ำ /การลักใช้น้ำ ตลอดจนการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ มาตรวัดน้ำ วัดค่าผิดไปจากการใช้น้ำประปาจริง ๆ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เท่ากับเป็นการลักทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ของ กปภ. ซึ่งเป็นหน่วยงาน ของรัฐ ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดีฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และทางอาญา
    • 20.2 กรณีมาตรวัดน้ำชำรุดหรือต้องการย้าย มาตรวัดน้ำ ผู้ใช้น้ำต้องแจ้งให้ กปภ. สาขาทราบ โดยเร็วที่สุด เพื่อ กปภ. สาขา จะได้เข้าไปทำการ ซ่อมแซมแก้ไขต่อไป
    • 20.3 หากพบการชำรุด / บกพร่อง เช่น การแตกรั่วของเส้นท่อภายนอกมาตรวัดน้ำ โปรดแจ้ง ให้ กปภ. สาขาทราบ เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขต่อไป
    • 20.4 ผู้ใช้น้ำไม่ควรติดตั้งปั๊มน้ำโดยตรง จากเส้นท่อ ควรปล่อยให้น้ำประปาลงบ่อพักน้ำ เสียก่อน แล้วจึงสูบน้ำขึ้นจากบ่อพักไปใช้ การติดตั้ง ปั๊มน้ำ โดยตรงจากเส้นท่อ อาจทำให้ท่อและมาตรวัดน้ำ ชำรุดได้ง่าย รวมทั้งเป็นการทำให้ผู้ใช้น้ำรายอื่น เดือดร้อนด้วย การมีถังหรือบ่อพักน้ำสำรองในบ้าน ประมาณ 500 - 1,000 ลิตร จะทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าท่านมีน้ำประปาใช้ตลอดเวลา ถึงแม้จะมีท่อ ประปาแตกอยู่นอกบ้านก็ตาม
    • 20.5 ผู้ใช้น้ำจะต้องไม่กระทำการซ่อมแซม แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดกับมาตรวัดน้ำ ประตูน้ำ (วาล์ว) หรือท่ออุปกรณ์ นอกมาตรวัดน้ำเป็นอันขาด
    • 20.6 กรณีที่ลวดหรือวัตถุใด ๆ ที่ กปภ. ได้ทำการตีตราผนึกไว้ที่ตัวมาตร หรือประตูน้ำ เกิดชำรุดเสียหายหรือสูญหายไป รวมทั้งตัวมาตรวัดน้ำ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ของผู้ใดก็ตาม ผู้ใช้น้ำ จะต้องแจ้งให้ กปภ. สาขา ทราบโดยเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกิน 3 วัน
    • 20.7 ผู้ใช้น้ำจะต้องชำระเงินค่าน้ำ ค่าบริการอื่น ๆ และค่าเสียหาย ที่ กปภ. สาขาในพื้นที่ หรือช่องทางการชำระเงิน (ตามข้อ 10) หากพ้น กำหนด ผู้ใช้น้ำยังไม่ไปชำระ กปภ. จะงดจ่ายน้ำ ด้วยวิธีการที่ กปภ. กำหนด
    • 20.8 การชำระค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียม ใด ๆ ผู้ใช้น้ำจะต้องขอรับใบเสร็จรับเงินจาก เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
    • 20.9 เมื่อมีกลุ่มบุคคลใดมาติดต่อรับจ้าง ดัดแปลง หรือแก้ไขมาตรวัดน้ำ หรืออุปกรณ์ประกอบ โปรดแจ้งให้ กปภ. สาขา ในพื้นที่ของผู้ใช้น้ำทราบทันที ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาผลประโยชน์ และ ทรัพย์สินของทางราชการ สำหรับกลุ่มบุคคลที่อ้างตน เป็นพนักงาน กปภ. มาติดต่อกับผู้ใช้น้ำครั้งใดก็ตาม ขอ ให้ผู้ใช้น้ำตรวจสอบหนังสือแนะนำตัว ของพนักงานใน การเข้ามาตรวจสอบมาตรวัดน้ำ เช่น บัตรประจำตัว พนักงาน กปภ. โดยการจดเลขที่บัตร ชื่อ-สกุลไว้ ก่อน ที่จะให้พนักงานเข้าทำการตรวจสอบมาตรวัดน้ำ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการกล่าวอ้างเป็นพนักงาน กปภ.
  • 21. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระบบน้ำประปา

    คำนิยามที่ควรรู้ในระบบประปา
    1. มาตรวัดน้ำ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ กปภ.สาขา ได้ติดตั้งให้กับผู้ใช้น้ำเพื่อวัดปริมาณน้ำ
    2. เครื่องกั้นน้ำ หมายถึง ประตูน้ำที่ติดตั้งอยู่หน้าหรือหลังมาตรวัดน้ำ ซึ่งมีไว้สำหรับปิดและเปิดน้ำ
    3. จุดที่ติดตั้งมาตรวัดน้ำ หมายถึง สถานที่ที่ถูกกำหนดเป็นที่ตั้งมาตรวัดน้ำและเครื่องกั้นน้ำ เพื่อให้มีการอ่านมาตรวัดน้ำ ได้อย่างสะดวก
    4. ท่อและอุปกรณ์ภายใน หมายถึง ท่อ และอุปกรณ์ที่ต่อจากหลังมาตรวัดน้ำ เข้าสู่ภายในบริเวณสถานที่ใช้น้ำ หรืออาคารของผู้ใช้น้ำ
    5. ท่อและอุปกรณ์ภายนอก หมายถึงท่อและอุปกรณ์ที่ต่อจากมาตรวัดน้ำออกไปบรรจบกับท่อจ่ายน้ำ
    6. ค่าบริการทั่วไป หมายถึง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตามขนาดมาตรวัดน้ำที่ติดตั้ง เพื่อนำไปใช้ในการบำรุงรักษา ซ่อม หรือ เปลี่ยนมาตรวัดน้ำ อุปกรณ์และท่อจ่ายน้ำ

    น้ำประปาได้มาฟรีหรือไม่

    เมื่อพูดถึงการผลิตน้ำประปาหลายคนอาจมีความเข้าใจว่า น้ำประปาคือน้ำที่สูบขึ้นมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีอยู่โดยทั่วไป และไม่ต้องซื้อหา เมื่อสูบน้ำขึ้นมาแล้ว จ่ายผ่านไปตามเส้นท่อ เพื่อให้ประชาชนอย่างพวกเราได้ใช้กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว กว่าที่เราทุกคนจะได้มีน้ำประปาที่ใสสะอาด ปลอดภัย ไว้สำหรับอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันนั้น น้ำประปาต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ได้แก่ การจัดหาแหล่งน้ำดิบที่มีคุณภาพ และ ปริมาณเพียงพอที่จะใช้ในการผลิตน้ำประปา การตรวจสอบคุณภาพของน้ำดิบ การปรับปรุงคุณภาพของน้ำดิบ การกำจัดสิ่งที่ปนเปื้อนมากับน้ำ การทำให้ตกตะกอน การกรอง จนใสสะอาด การฆ่าเชื้อโรค และ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ก่อนสูบจ่ายไปให้กับประชาชน การปรับปรุงพัฒนาแหล่งนำดิบหรือการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบผลิต และ วางท่อส่งน้ำเพิ่ม เพื่อขยายพื้นที่การให้บริการจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ เพื่อให้มีน้ำประปาบริการอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้ผู้ไม่มีโอกาสใช้น้ำประปา ได้มีโอกาสใช้น้ำประปาจากการลงทุนวางท่อขยายเขตจ่ายน้ำ

    น้ำที่มีกลิ่นคลอรีนมีอันตรายหรือไม่

    กปภ.ใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา เพื่อให้น้ำประปามีคุณภาพได้มาตรฐานน้ำดื่มและมีความปลอดภัยต่อประชาชน น้ำประปาในบางพื้นที่อาจมีกลิ่นคลอรีนสูง โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตจ่ายน้ำ แต่ขอให้มั่นใจว่าปริมาณคลอรีนที่ผสมอยู่ในน้ำประปานั้น อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด กลิ่นคลอรีนในน้ำประปาแสดงถึงความปลอดภัยว่าน้ำประปาที่ส่งมาถึงบ้านท่านสะอาดปราศจากเชื้อโรคแน่นอน จึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือทำให้เจ็บป่วยเมื่อดื่มน้ำประปาอีกด้วย ถ้าท่านไม่คุ้นเคยกับกลิ่นคลอรีนที่เติมลงในน้ำประปา สามารถแก้ไขได้นิดเดียวเพียงแต่นำน้ำประปาใส่ภาชนะที่สะอาด ตั้งทิ้งไว้สักครู่ ( 30 นาที ) กลิ่นคลอรีนจะระเหยหมดไป ภาชนะที่รองรับน้ำประปาต้องมีความสะอาดด้วย จึงจะทำให้น้ำประปาที่เก็บไว้มีความสะอาดเมื่อนำไปใช้ โครงการน้ำประปาดื่มได้เป็นอย่างไร น้ำประปาของ กปภ.ที่ผลิตจากโรงกรองน้ำทุกแห่ง มีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถดื่มได้ โดยปราศจากอันตราย และ เพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น เพื่อให้ กปภ.จึงร่วมกับ กรมอนามัยจัดทำโครงการน้ำประปาดื่มได้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ กปภ.ควบคุมการผลิตน้ำประปาให้มีความสะอาด ปลอดภัย ตามเกณฑ์คุณภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) และเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการบริโภคน้ำประปามากยิ่งขึ้น โดยการประกาศรับรองว่าน้ำประปาดื่มได้จากกรมอนามัย วิธีนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จากการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด และยังเป็นการลดปริมาณขยะจากขวดพลาสติก ตลอดจน เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในส่วนภูมิภาคอีกด้วย ในการดำเนินโครงการ กรมอนามัยจะเป็นผู้ตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาของ กปภ.อย่างละเอียด โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด จะเก็บตัวอย่างน้ำประปาในบริเวณต้นทาง ที่โรงกรองน้ำ และ ปลายทาง ของระบบจ่ายน้ำ หรือ บริเวณสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด โรงเรียน สถานที่ราชการ เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย แห่งละ 2 ครั้ง ใช้ระยะเวลาห่างกันประมาณ 1-2 เดือน หากคุณภาพน้ำผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้ง 2 ครั้ง ก็จะประกาศรับรองให้เป็นพื้นที่น้ำประปาดื่มได้ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นพื้นที่ที่ได้มีการปรับปรุงระบบท่อส่ง-จ่ายน้ำแล้ว หลังจากประกาศรับรองพื้นที่น้ำประปาดื่มได้แล้ว จะยังคงมีการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่า น้ำประปาในบ้านของผู้ใช้น้ำ อยู่ในเขตของพื้นที่น้ำประปาดื่มได้คุณภาพดีตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้น้ำควรหมั่นตรวจสอบระบบท่อ อุปกรณ์ บ่อพักน้ำในบ้านอย่างสม่ำเสมอด้วยว่าอยู่ในสภาพดีตลอดเวลาเช่นกัน

    สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนในบางพื้นที่

    อาจเกิดจากสภาพพื้นที่จ่ายน้ำที่เป็นเนินสูงต่ำไม่เท่ากันและมีการใช้น้ำประปาพร้อมกันในช่วงเช้า-เย็น จึงทำให้แรงดันน้ำประปาลดลงและไหลอ่อน หากผู้ใช้น้ำประสบปัญหาน้ำไหลอ่อนผิดปกติ โปรดแจ้ง กปภ.สาขา ในพื้นที่ที่ท่านใช้บริการทราบ