วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างเรา วัน ๆ ต้องเจอลูกค้าหลากหลายประเภท บางประเภทก็เฟรนลี่ ใจดี พูดง่าย น่ารัก แต่สำหรับลูกค้าบางคนนี่สิกลับตรงกันข้ามแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ทั้งขี้โมโห ฉุนเฉียว โกรธเกรี้ยว แล้วก็ขี้โวยวาย จนบางทีพ่อค้าแม่ค้าอย่างเราก็ตั้งรับแทบไม่ทัน แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะเพราะวันนี้ LnwShop มีวิธีรับมือกับลูกค้าอารมณ์ร้ายมาบอกกัน

หัวข้อในบทความ

  • 1. ปล่อยให้ลูกค้าได้ระบายออกมาจนหมด
  • 2. ตัดอคติหรืออารมณ์ร่วมทิ้งไปให้หมด
  • 3. แสดงความจริงใจ
  • 4. กระตือรือร้นที่จะแก้ไขปัญหา
  • 5. ตกลงกันถึงวิธีในการแก้ปัญหา
  • 6. ติดตามผลในการแก้ปัญหา

1. ปล่อยให้ลูกค้าได้ระบายออกมาจนหมด

เวลาลูกค้าโมโหหรือไม่พอใจเรื่องอะไร ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม อย่าเถียงหรือพูดแทรกเด็ดขาด เพราะมันจะทำให้พายุอารมณ์ของลูกค้ายิ่งพัดกระหน่ำแบบหยุดไม่อยู่ ทางที่ดคือปล่อยให้ลูกค้าได้ระบายอารมณ์โกรธจนหมดก่อนแล้วค่อย ๆ พูดคุยสอบถามข้อข้องใจกันอย่างนุ่มนวลจะดีกว่า

2. ตัดอคติหรืออารมณ์ร่วมทิ้งไปให้หมด

หลายครั้งที่ลูกค้าโวยวายใส่แล้วเราพลอยมีอารมณ์โมโหหรือหงุดหงิดร่วมไปด้วยจนบางทียังแอบนึกบ่นอยู่ในใจว่า “ทำไมถึงงี่เง่าอย่างนี้นะ” หรือ “ทำไมถึงไม่ยอมฟังกันบ้างเลย” ถ้ารู้ว่าตัวเองกำลังคิดอะไรทำนองนี้อยู่ล่ะก็ ขอให้รีสลัดความคิดนี้ทิ้งแบบด่วนๆเลยนะคะ เพราะอคติที่เรามีมันอาจจะถูกแสดงออกมาทางคำพูดหรือน้ำเสียงของเราโดยไม่รู้ตัวก็ได้

3. แสดงความจริงใจ

ประโยคที่แสดงออกถึงความเสียใจ ความเข้าใจ หรือการขอโทษอย่างจริงใจนั้นจะทำให้ความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อเราดีขึ้น เมื่อลูกค้าอารมณ์เย็นลงจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาในขั้นตอนต่อไปทำได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

4. กระตือรือร้นที่จะแก้ไขปัญหา

หลังจากปล่อยให้ลูกค้าได้ระบายอารมณ์เสร็จแล้วก็อย่ามัวแต่ตกใจจนตอบคำถามผิด ๆ ถูก ๆ แต่เราต้องมีสติและกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาให้ลูกค้า อาจจะเริ่มจากการถามถึงปัญหาอย่างตั้งใจ พูดทวนปัญหาให้ลูกค้าฟังอีกครั้ง เพราะการที่ลูกค้าโมโหอาจจะลืมพูดข้อมูลบางอย่าง ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือตกหล่นได้

5. ตกลงกันถึงวิธีในการแก้ปัญหา

เมื่อเรารับฟังปัญหาของลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน อย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันก็คือ ต้องตกลงกันอย่างตรงไปตรงมา อย่ารับปาโอเว่อร์แบบพอให้พ้นตัวไปเด็ดขาด เพราะเมื่อถึงเวลาแล้วทำไม่ได้อย่างปากว่า แล้วจะยิ่งเกิดปัญหาตามมา แถมปัญหาจะใหญ่กว่าเดิมด้วย

6. ติดตามผลในการแก้ปัญหา

เมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าแล้วก็อย่าลืมติดตามผลต่อไปด้วยว่าวิธีการแก้ไขปัญหาของเรานั้นได้ผลหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผลก็จะได้หาวิธีการใหม่ ๆ แก้ไขปัญหาต่อไป การติดตามผลในการแก้ปัญหานอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราใส่ใจต่อเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างจริงใจแล้ว การติดตามผลยังเป็นแนวทางให้เราปรับปรุงและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานั้นซ้ำอีกด้วย

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

นี่เป็น 6 ขั้นตอนง่ายๆ ที่ถ้าเราสามารถทำได้ทำได้ แค่ลองเอาใจเราไปใส่ในใจลูกค้า พยายามเข้าใจความรู้สึกของลูกค้าให้มาก การรับมือกับลูกค้าเจ้าอารมณ์ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินอีกต่อไป เชื่อเถอะค่ะว่าไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการเปลี่ยนลูกค้าขี้โวยวายให้มาเป็นลูกค้าที่ดีของเราได้หรอก ยังไงก็ลองทำดูนะคะ LnwShop เอาใจช่วยค่ะ

 

LnwShop - ร้านค้าออนไลน์ จัดการลูกค้า ร้านค้าออนไลน์ วิธีรับมือกับลูกค้าเจ้าอารมณ์ เปลี่ยนลูกค้าขี้โวยวายให้มาเป็นลูกค้าที่ดี

เคยเป็นมั้ย กับสภาพแวดล้อมในการทํางาน ที่ทำให้ไม่อยากทำงานเลย คุณเคยมีความคิดนี้หรือเปล่า รู้หรือไม่ว่าอาการไม่อยากไปทำงานบางครั้งก็ไม่ใช่ความผิดคุณ เพราะที่ทำงานคุณอาจจะมี Toxic people ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับการทำงาน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ บางคนที่รับมือกับมันไม่ได้อาจจะต้องพบเจอกับสภาวะถดถอยทางอารมณ์ เสียการเสียงาน จน “เลยเถิด” ไปถึงโรคซึมเศร้าหรือโรคเครียดเลยก็มี

ดังนั้น ใครที่กำลังเผชิญภาวะเช่นนี้อยู่ อย่าปล่อยให้หัวใจของคุณต้องทนอยู่กับเรื่องแบบนี้นานเกินไป รู้ใจจะชวนคุณมาหาวิธีรับมือกับเรื่อง Toxic แย่ ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำงานกันดีกว่า

คุณมีอุปสรรคในการทำงาน หรือ Toxic หรือเปล่า แล้ว Toxic คืออะไร?

คำว่า “Toxic” แปลตรงตัวว่าเป็นพิษ ถ้าเป็นสักสองสามปีก่อนคงจะหมายถึงสารเป็นพิษจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่หลัง ๆ คำนี้มักจะนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมแย่ ๆ ของคน คนที่มีนิสัยที่สร้างความอึดอัดใจให้คนอื่นเสมอ พูดง่าย ๆ ก็คือคนบางคนเป็นพิษกับชีวิตเรา และเมื่อคนคนนั้นเป็นคนในที่ทำงาน การได้เจอ ได้ทำงานร่วมกันทุกวัน ก็ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานของเรากลายเป็น Toxic workplace นั่นเอง ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะมีได้หลายแบบ แต่ละแบบนั้นรับรองว่ามีความสามารถในการปั่นระดับสุดยอดแน่นอน

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

1. นักวิจารณ์

Toxic อันดับแรกที่มักจะพบในที่ทำงานมากที่สุดก็คือ บุคคลจำพวกช่างติ ติไปซะทุกเรื่องไม่เคยมีอะไรที่คนอื่นทำแล้วจะดีในสายตาตัวเอง คนประเภทนี้มักจะอ้างว่าติเพื่อก่อหรือวิจารณ์เพราะหวังดี แต่เราจะจับความหวังดีไม่ได้เลยในน้ำเสียง เพราะคนพวกนี้จะไม่ได้วิจารณ์เพราะหวังดี แต่หากจะวิจารณ์เพื่อให้ตัวเองรู้สึกเหนือกว่า มีค่ามากกว่าคนที่โดนติ จิตแพทย์กล่าวว่าการอยู่ร่วมกันในที่ทำงาน ซึ่งเป็นทั้งที่ที่มีการร่วมมือ ในขณะเดียวกันก็เป็นที่ที่เกิดการแข่งขันกันด้วย เพราะฉะนั้น คนบางประเภทที่มีความสามารถในการแข่งขันได้น้อย จะใช้วิธีข่มคนอื่นด้วยการวิจารณ์ และด้อยค่าคนที่เห็นเป็นคู่แข่ง

2. ขี้นินทา

สิ่งที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับเราในละครหลังข่าว มันกลับเป็น Toxic ในชีวิตจริงได้อย่างเหลือเชื่อ แม้การถูกนินทาอาจจะไม้ได้ดูน่าเจ็บปวดมาก แต่การโดนนินทาลับหลังมักสร้างความกังวลให้เกิดขึ้นในใจของผู้ถูกนินทา ทำให้เกิดความระแวงว่าจะเกิดผลเสีย ระแวงว่าจะมีใครเชื่อคำนินทา นาน ๆ ไปอาจจะทำให้เป็นโรคเครียดได้

3. เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

การทำงานกับคนประเภทนี้ช่างเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย ยิ่งถ้าเป็นคนมีอำนาจเหนือเราด้วยแล้ว เราจะต้องเจอกับความไม่มีเหตุผลไม่ฟังใคร และจำเป็นที่เราจะต้องทำตาม นับเป็นเรื่องค่อนข้างร้ายแรงกับการที่จะต้องตื่นมาทำงานแล้วเจอสภาพแวดล้อมในการทำงานกับคนแบบนี้ทุกวัน เพราะนอกจากเราจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วยังต้องอดทนต่อไปไม่สิ้นสุด จนอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายงานที่ทำอยู่

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

4. เจ้าอารมณ์ 

เพื่อนร่วมงานที่สร้างความ Toxic ให้อีกแบบหนึ่ง คือพวกเจ้าอารมณ์ที่มักจะออกอารมณ์หงุดหงิดใส่คนอื่นตลอดเวลา ไม่พอใจอะไรก็ฟาดใส่ คนพวกนี้ไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง และไม่เกรงใจที่จะแสดงอารมณ์ใส่คนอื่น ถ้าเรายอมตกเป็นที่รองรับอารมณ์เมื่อไหร่ รับรองเลยว่ามันจะมาไม่สิ้นสุด ไม่ใช่แค่คนอารมณ์แบบโกรธรุนแรงเท่านั้น คนเจ้าอารมณ์ยังนับรวมพวกที่ออกดราม่าได้ง่าย นิดหน่อยก็ร้องไห้ คนพวกนี้เรียกร้องควมสนใจอยู่ตลอดและทำให้เราต้องมีอารมณ์ตามอยู่เสมอ

5. คนที่โกหกเป็นประจำ 

บางครั้งเราก็มักจะโกหกเพื่อรักษาจิตใจของคนอื่นหรือเพื่อรักษาความสัมพันธ์ ตราบใดที่การโกหกนั้นไม่ถูกจับได้และยังไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นคนขี้โกหก ความ Toxic จะยังไม่เกิด แต่ถ้าใครคนใดคนหนึ่งถูกตราหน้าว่าชอบโกหก และยังไม่รู้ตัว ปล่อยให้ตัวเองมีพฤติกรรมแบบนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะกลายเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจสำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้นมาทันที เพราะมันทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกัน เมื่อเกิดขึ้น การทำงานร่วมกันย่อมเกิดปัญหา

วิธีแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เต็มไปด้วย Toxic

เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ทำตัวเป็น Toxic นั้นเขามีความสุขที่ได้ทำและเสพติดมัน เรื่องนี้มันต้องค้นลงไปในจิตใจถึงจะเจอต้นตอของปัญหา ในทางจิตวิทยา พฤติกรรม Toxic เกิดจากรูปแบบความคิดที่ก่อให้เกิดอารมณ์รุนแรง โดยเกิดจากอารมณ์พื้นฐาน 3 อย่าง

  • ความกลัว
  • ความโกรธ
  • ความอับอายรู้สึกผิด

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

อารมณ์เหล่านี้เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มันจะเกิดเป็น Toxic ก็ต่อเมื่อมีการเสพติดมัน หลายคนอาจจะงงว่าอารมณ์เหล่านี้น่าจะเกิดจากความทุกข์ความเจ็บปวดมากกว่า แล้วจะทำให้เกิดการเสพติดได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง ในช่วงเวลาที่เราเจอกับเรื่องดี ๆ สารสื่อประสาทชนิดหนึ่งจะหลั่งออกมาและไปกระตุ้นศูนย์รางวัลในสมอง ทำให้เรารู้สึกดี ซึ่งสารตัวนี้จะเกิดได้ในเวลาที่เราเผชิญอันตราย เกิดความกลัว ความโกรธ ความรู้สึกผิดได้เช่นกัน 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะร่างกายต้องการให้เราเรียนรู้ เอาสิ่งที่เผชิญมาเป็นประสบการณ์เพื่อการเอาตัวรอด ได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับอันตรายแบบเดิมในครั้งหน้า เพราะฉะนั้นหลังจากผ่านอารมณ์เหล่านี้เราจะรู้สึกดีขึ้น ซึ่งสำหรับบางคนกลับชอบและเสพติดมัน เมื่อได้เหวี่ยง ได้ใส่อารมณ์ใส่ใคร เขาเหล่านั้นจะรู้สึกดี และทำให้คนคนนั้นเป็น Toxic โดยไม่รู้ตัว

จะจัดการกับคน Toxic เหล่านั้นได้อย่างไร

จิตแพทย์กล่าวไว้ว่าคนที่เป็น Toxic จะจัดการกับตัวเองไม่ให้เป็นปัญหากับผู้อื่นได้จะต้องยอมรับก่อนว่าตัวเองมีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะเขาเหล่านั้นได้เสพติดอารมณ์แบบนั้นไปแล้ว การจะแก้ไขนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นสิ่งที่พอจะทำได้สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบจากความเป็น Toxic ของคนเหล่านี้ก็ทำได้เพียงอย่างเดียวนั่นก็คือ หลีกหนีให้ห่างให้มากที่สุด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็คงต้องจัดการที่ตัวเรา ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกับความเป็น Toxic ได้

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

  • พูดคุยให้เห็นปัญหา คงไม่มีวิธีไหนที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกับบุคคลที่เป็น Toxic ในที่ทำงานได้มากไปกว่าการพูดตรง ๆ เพราะถ้าไม่สู้ ความเป็นอยู่ก็คงย่ำแย่ ดังนั้นเดินเข้าไปคุยกับคนเหล่านั้นตรง ๆ แต่ต้องแน่ใจว่าคุณจะพูดด้วยความหวังดี หวังให้เขาเห็นปัญหาของตัวเอง ไม่ใช่เข้าไปคุยเพราะคุณเกลียดเขา ไม่อย่างนั้นคุณเองจะกลายเป็นผู้สร้าง Toxic
  • คุณเลือกเพื่อนร่วมงานไม่ได้ แต่คุณเลือกงานใหม่ได้

ที่สุดแล้วคุณไม่สามารถบังคับให้ใครเปลี่ยนทัศนคติหรือความคิดในจิตใจได้ ดังนั้นการดึงดันที่จะเผชิญหน้าหรือพยายามเปลี่ยนคนเหล่านั้นอาจจะเป็นการทำร้ายตัวเองก็ได้ ถ้ามันถึงที่สุดแล้วการเปลี่ยนสังคมให้พ้นไปจากตรงนั้นน่าจะดีต่อจิตใจของเรามากกว่า เพราะเราไม่ควรเสียเวลาชีวิตที่มีค่าให้ใครมาทำลายเล่นได้ ดังนั้นการหนีไม่ใช่การยอมแพ้ แต่มันเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจจะดีที่สุด

วิธีรับมือกับลูกค้า ประสาท แดก

ไม่ว่าคุณตัดสินใจอย่างไรกับที่ทำงานที่เป็น Toxic จะสู้หรือจะหนี ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่คุณควรจะเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ “สุขภาพของคุณเอง” เพราะสภาวะ Toxic workplace นั้นอาจเป็นสาเหตุของความเครียด จนทำให้กลายเป็นโรคเครียดในที่สุด และโรคเครียดนี้เองที่จะทำให้เกิดโรคร้ายตามมาอีกหลายอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ จนไปถึงโรคมะเร็ง ดังนั้นการมีประกันสุขภาพติดไว้ย่อมดีกว่า 

ประกันที่รู้ใจคุณ จะช่วยให้คุณได้รับการดูแลครบถ้วนด้วยประกันโรคร้ายแรงที่สามารถทำได้เลย “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” คุณสามารถใช้ชีวิตในที่ทำงานได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นคุณจะได้รับการดูแล ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้ ช่วยให้คุณ “ลุยต่อได้” สามารถเผชิญกับเรื่อง Toxic และสภาดแวดล้อมในการทำงานที่แย่ได้อย่างมั่นใจ เราขอให้คุณยิ้มเข้าไว้ ถ้าคุณมั่นใจไม่ว่าจะ Toxic แค่ไหน ก็ทำอะไรคุณไม่ได้

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ ๆ จากรู้ใจได้ทาง FB Fan page: Roojai หรือ คลิก add Official Line ของเราไว้ได้เลย